Aqua.c1ub.net
*
  Fri 11/Jul/2025
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สารเคมีที่ใช้ควบคุมและกำจัดตะไคร่น้ำในตู้ไม้น้ำ  (อ่าน 3616 ครั้ง)
SongOn ออฟไลน์
Club Follower
« เมื่อ: 16/01/14, [13:17:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

หากว่าเราควบคุมและกำจัดตะไคร่น้ำด้วยวิธีการธรรมชาติ คือใช้สัตว์ที่กินตะไคร่น้ำ ควบคุมแสง ค่าน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ อย่างเหมาะสมแล้ว ไม่ทันใจแล้วละก็ ทางเลือกสุดท้ายต้องใช้เคมีบำบัดตะไคร่น้ำ

สารเคมีที่ใช้ประกอบเป็นตัวยาในการควบคุมตะไคร่และกำจัดตะไคร่น้ำได้ดีมีอยู่หลายตัว แต่ทั้งหมดก็ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะสารเคมีเหล่านี้เป็นสารพิษ หากว่าใช้ในปริมาณที่ไม่หมาะสมแล้วก็จะมีผลต่อสัตว์น้ำ และพืชน้ำอื่นๆ ด้วย

ตะไคร่น้ำมีผนังเซลที่เปราะบางกว่าพืชน้ำ และสัตว์น้ำ การใช้สารเคมีที่เป็นพิษเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสม จะมีฤทธิ์ให้ผนังเซลของตะไคร่น้ำเสียหาย โดยไม่ทำอันตรายกับพืชน้ำ และสัตว์น้ำอื่นๆ

เราอาจจะตรวจวัดปริมาณของสารเคมีเหล่านี้ได้โดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันมีแถบวัดอยู่หลายยี่ห้อในต่างประเทศ หากว่าไม่มีเครื่องมือวัด ควรค่อยๆ เติมสารเคมี แล้วสังเกตอาการของสัตว์และพืชน้ำอื่นๆ ประกอบ

  • เคมีอย่างแรกเลย คือ กลูตารัลดิไฮด์ (Glutaraldehyde) ใช้ควบตะไคร่น้ำได้ดี นิยมนำมาเป็นอาหารเสริมของพืชน้ำ โดยมีคุณสมบัติให้คาร์บอนไดออกไซด์กับพืช ทำให้พืชดูดซึมธาตุอาหารและปุ๋ยได้ดีขึ้น หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "คาร์บอนน้ำ"
  • อย่างที่ 2 นิยมใช้กันหลายยี่ห้อ มีส่วนผสมของ คอปเปอร์ซัลเฟต (Copper sulfate pentahydrate) เป็นสารเคมีหลัก ให้สังเกตได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะตั้งชื่อสูตรว่าอะไรก็ตาม แต่พอหยดลงน้ำแล้ว เป็นตะกอนแขวนลอยออกสีฟ้าๆ มันคือ คอปเปอร์ซัลเฟต นั่นเอง

คำถามที่มักจะเจอบ่อยๆ

*ลองใช้เคมีเหล่านี้แล้ว ใช้ตามโดส ตะไคร่ไม่ตายไม่ลด

ต้องเข้าใจก่อนว่าสารเคมีเหล่านี้คือสารพิษที่สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตทุกอย่างในตู้ไม้น้ำได้เลยทีเดียว คงไม่มีใครกล้าเอาผลิตภัณฑ์ใดกล้ารับประกันได้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยง การใช้ผลิตภัณฑ์ตามฉลากมักจะเป็นโดสที่อ่อนพอจะจะควบคุมหรือฆ่าตะไคร่น้ำได้ในบางสภาพตู้ หรือตู้ควบคุมทดลองเท่านั้น แต่ตู้ไม้น้ำโดยทั่วไปมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างที่ไม่เหมือนตู้ควบคุม เช่น ปริมาณพืชน้ำ ประเภทของพันธุ์ไม้น้ำ ปริมาณน้ำ การให้แสงสว่าง ระบบบำบัดน้ำ และอีกหลายๆ ปัจจัย

ผู้ผลิตได้ใช้หลักของความปลอดภัยเวลาใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดตะไคร่น้ำจึงต้องระบุในฉลากไว้ในโดสที่อ่อนเกินกว่าที่จะกำจัดตะไคร่น้ำได้จริง จะได้ไม่ถูกด่าตามหลังว่าใช้ผลิตภัณฑ์แล้วปลาตาย กุ้งตาย หอยตาย ไม้น้ำละลาย แต่จะถูกด่าว่าใช้แล้วไม่ได้ผลก็ยังดีเสียกว่าให้เกิดความเสียหายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ละครับ

ฉะนั้นเวลาใช้งานจริง เราต้องเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้มากขึ้นกว่าโดสที่ระบุในฉลาก ผู้ใช้ก็ต้องรับความเสี่ยงกันเองเองนะครับ ค่อยๆ เพิ่มปริมาณ ทีละน้อย เว้นระยะสัก 2-3 วัน ตะไคร่น้ำบางชนิดมันไม่ออกอาการป่วยในทันทีที่โดนสารเคมี แต่จะค่อยๆ ตาย ขอให้รอครับ อย่าเพิ่งเพิ่มปริมาณอย่างทันด่วน เดี่ยวอย่างอื่นจะตายไปด้วย เตือนกันไว้เสียก่อน เราจะจะได้โดสที่เหมาะสมกับตู้ของเราแล้วละครับ [เจ๋ง]



(ยังมีต่อครับ) [on_023]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18/01/14, [13:23:52] โดย SongOn »
คุณพ่อหน้าเด็ก ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #1 เมื่อ: 16/01/14, [19:37:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชอบๆ [เจ๋ง]
ibiker ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #2 เมื่อ: 16/01/14, [22:14:27] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รอติดตามครับ
PicsaaNJ ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #3 เมื่อ: 17/01/14, [00:12:27] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ความรู้เพิ่มเลยครับ
SongOn ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #4 เมื่อ: 18/01/14, [13:24:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชอบๆ [เจ๋ง]

ขอบคุณครับ อัพเดทเล็กๆ คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการใช้นะครับ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: