Aqua.c1ub.net

Aquatic Plant => คุยเรื่องไม้น้ำ => ข้อความที่เริ่มโดย: Coffman ที่ 08/05/10, [15:51:23]



หัวข้อ: บทความ :ใยกรอง ฟองน้ำ ล้างกันให้ถูกวีธีมีประโยชน์นะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Coffman ที่ 08/05/10, [15:51:23]
หลักๆของบทความนี้เป็นเรื่องระบบหมักแบบไร้อากาศในฟองน้ำ และการดูแลฟองน้ำที่เลอะๆให้คุ้มค่าที่สุด ผู้ที่รู้แล้วข้ามไปได้ครับ  [เอ๊ะ!!!]

ถ้าบทความซ้ำต้องขออภัย แต่ค้นหาแล้วไม่เจอครับ

เข้าเรื่องครับ
การหายใจแบบใร้อากาศ หรือไม่มีอากาศเป็นกระบวนการที่สำคัญในตู้ไม้น้ำ   รูปนี้ที่หลายท่านบอกระบบเซ็ตตัว ไม่ล่ม ดังรูป
(http://dl.dropbox.com/u/6550544/Ncycle2.jpg)
ง่ายๆคือ ดูลูกศรสีเขียว ขี้ปลาคือแหล่งแอมโมเนีย NH3 ซึ่งมีพิษรุนแรง   >>>>>>>>>ถูกย่อยหรือลดพิษโดยแบคทีเรียกลุ่ม Nitorsomonas ในระบบกรองและวัสดุปูพื้นใช้ออกซิเจน ลดพิษของ NH3 ให้อยู่ในรูป ไนไตรท์ No2 แต่ไม่ใช่ว่า NO2 จะเซฟนะครับ ยังมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตอยู่>>>>>>>>>ดูลูกศรสีส้ม NO2 จะถูกเปลี่ยนรูปอีกโดยแบคทีเรีย Nitrobactor ในระบบกรองและวัสดุปูพื้นใช้ออกซิเจน เปลี่ยนรูปเป็น ไนเตรท NO3 ซึ่งเป็นพิษน้อยมากๆแล้ว และยังถูกเอาไปใช้เป็นแหล่ง ลูกศรสีม่วงไปที่ไม้น้ำ ปุ๋ย nitrogen N  ให้ไม้น้ำได้อีก แล้วมันจบกันง่ายๆแบบนี้เหรอ
ไม่จบครับ

แล้วการย่อยแบบไร้อากาศล่ะมีบทบาทอะไร?
ลองนึกดูว่าถ้าระบบไม่เซ็ตตัวเราจะมี NO3 หรือในเตรทเราเยอะมากๆๆๆ ซึ่งก็มีพิษได้อีก ซวยแล้ว sho01
แต่โชคดีที่แบคทีเรียกลุ่มที่ไม่ใช้อากาศกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า denitrifying ดูลูกศรสีม่วงอีกกิ่งหนึ่งครับ สามารถใช้NO3 ได้โดยผ่านกระบวนการปรับกลับให้  NO3 เป็น NO2 และ ย่อยจนสุดทางเป็น ก๊าสไนโตรเจน N2 ระเหยไปจากตู้ไม้น้ำเรา


แล้วแบคทีเรียกลุ่มที่สามารถใช้ NO3 มีอยู่แห่งใดในตู้บ้าง
แหล่งที่เขาปักหลักอยู่เตรียมลด NO3 ไปสู่อากาศในรูปก๊าส N2 คือ
ฟองน้ำ ใยกรองที่อุดตัน และอีกที่คือในชั้นดินที่มีการหมักหมม จนเกิดกระบวนการย่อยแบบไร้อากาศ ภายในนั่นเอง
(http://dl.dropbox.com/u/6550544/spong%20clean1.jpg)
 
บทความนี้จะชี้ว่าส่วนที่ตันของฟองน้ำใยกรองของท่านมีประโยชน์อะไรในตู้เพื่อความเข้าใจใน ส่วนหนึ่งระบบนิเวศน์ในตู้ครับ

เราเคยคิดไหมว่า เมื่อไหร่จะต้องล้างกรอง ทั้งกรองนอก และกรองแขวนที่มักจะใส่ฟองน้ำไว้ทางออกของน้ำ โดยเฉพาะ ส่วนสำคัญที่ตันก่อนเพื่อนคือ ใยกรอง หรือบางท่านใช้ฟองน้ำสีต่างๆ ดำ น้ำเงิน
แล้วเราจะล้างเมื่อไหร่ บางคนทุกสัปดาห์ บางคนนึกขึ้นได้ก็ล้าง  [เอ๊ะ!!!] บางคนเป็นเดือน บางคนหลายเดือน  sho01
อันนั้นแล้วแต่ประสบการณ์ แต่ละท่านครับ ประเด็นหลักๆ ความถี่ที่แท้จริงคือล้างเมื่อมันตันมากๆ หรือล้างเมื่ออัตราการไหลของกรองแต่ละประเภทลดลงอันนี้ชัวร์
และผมไม่ขอแนะนำอะไรมากครับถึงเรื่องความถี่ แต่ข้อที่ผมอยากจะชี้ให้ท่านเห็นข้อดีของใยกรอง ฟองน้ำต่างๆ ถ้าหากเราล้างอย่างถูกวิธี จุลินทรีย์ที่มีอยู่ภายในก็มีส่วนช่วยให้ระบบในตู้ไม้น้ำสมบูรณ์ได้ ตามหัวข้อนี้คือ

ล้างยังไง?
  ในซับสเตรทพวก พัมมิส เซรามิกซ์ริง เราทราบดีอยู่แล้วถึงวิธีล้างแบบระมัดระวังแบบนี้
http://www.youtube.com/watch?v=QqPGjcMFd8U&playnext_from=TL&videos=8bMHh9Q55UI

เราต้องล้างกรองฟองน้ำ ใยกรองแบบไม่ค่อยสะอาดเช่นกันครับ  ที่ผมห่วงคือส่วนใหญ่จะขยี้ๆ ซักๆ กันจนขาวจั๊วะเหมือนใหม่ บางคนก็ทิ้งตัดใส่ใหม่ไปเลย ในตำราของ Peter Hiscock บอกชัดเจนครับว่าต้องล้างแบบละทิ้งให้สมดุลของแบคทีเรียมีอากาศ(น้ำผ่านสบายๆแบบที่เราชอบล้างใยกรองกัน) กับต้องมีการอุดตันไว้บ้าง เพื่อสมดุลย์
(http://dl.dropbox.com/u/6550544/ww.jpg)
(http://dl.dropbox.com/u/6550544/ww2.jpg)
ถึงแม้การล้างใยกรองต่างๆ ไม่ค่อยสำคัญกับการเลี้ยงปลา แต่มันสำคัญกับการเลี้ยงไม้น้ำในตู้มากกว่า เพราะระดับการควบคุมไนเตรท NO3 ให้ได้ไม่เกิน 30 ppm ซึ่งเป็นระดับอันตรายต่อไม้น้ำบางประเภทนั้นทำได้ยากยิ่งในการตั้งตู้(์NO3 1-2 ppm ก็เพียงพอแล้ว asspain)
วิธีล้างและหลักการ

ต้องล้างให้ตันบ้างบางจุด แต่มองดูสะอาด โปร่ง โดยใช้น้ำในตู้เท่านั้น
เช่นเดียวกับมีเดียครับคือใช้น้ำที่เลี้ยงปลาล้าง เพื่อไม่ให้น้ำประปาที่มีคลอรีนทำลายเชื้อไป หากาละมังมาบีบๆ ขยำๆเบาๆ หากมีใยกรองที่ต้องเปลี่ยนใหม่ ให้เอาใยกรองเก่ามาใส่ไว้ก่อนกรองใหม่เพื่อเป็นการรักษาเชื้อไว้ในใยกรองก่อนเปลี่ยน
แต่ในตำราเขามีไอเดียให้ใช้ใยกรองสองแผ่นนะครับ คือใยกรองหน้าต้องตันก่อน และใยกรองหลังจะสะอาดกว่า เวลาล้างก็สลับเอาอันสะอาดมาใส่ไว้ข้างหน้า ส่วนใยกรองหน้าอันเก่าที่สกปรกก็เอาไปขยำในน้ำตามวิธีการล้างมีเดียทั่วไป ครับ
 (http://dl.dropbox.com/u/6550544/spong%20clean2.jpg)
 

เครดิต  Peter Hiscock Ebook
(http://dl.dropbox.com/u/6550544/page.jpg)


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: Hawk ที่ 08/05/10, [16:37:57]
ผมไม่เคยใส่เลยอะไยแก้วไยกรอง  n032


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: M ที่ 08/05/10, [19:47:55]
อาจารย์ มาเองเลย อิอิ


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: # ตู ด ห มึ ก # ที่ 08/05/10, [21:19:54]
สุดยอดครับ ลึกซึ้งมาก ขอบคุณมากครับ


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: ▂ ▃ ▅ ▆ ▇ ★ขุuเดช ที่ 08/05/10, [21:28:13]
 [ปิ๊งๆๆ]มีของดีๆมาอีกแล้ว


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: bokk ที่ 08/05/10, [21:47:57]
สุดยอดครับ ลึกซึ้งมาก ขอบคุณมากครับ
+1


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: NP ที่ 08/05/10, [22:06:36]
ไนเตรท 1-3 PPM...คอนเซอร์เวถีฟมาก


อย่างนี้พื้นปลูกจะต้องมี N เยอะๆ เพื่อชดเชย


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: TEOS! ที่ 08/05/10, [22:29:15]
บทความดีมีประโยชน์ครับ อิอิ แต่นานๆทีผมจะล้างอะ แป่วๆๆ


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: mikiboyz ที่ 08/05/10, [22:44:53]
ตอนล้างผมจะเอาของเก่าใส่ไปครึ่งนึง อีกครึ่งนึงเปลี่ยนเป็นของใหม่อะครับ 555+ ดีนะเนี่ยที่มั่วๆอย่างฟลุค

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ  [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: อ๊อด Melanochromis ที่ 09/05/10, [09:54:07]
ข้อมูลมีประโยชน์
ขอบคุณครับ
 [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: Art_of_Nature ที่ 09/05/10, [10:21:06]
ใช้วิธีการล้างแบบเดียวกับที่เขาแนะนำมาเป็น10ปีแล้ว [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: DominoFx ที่ 09/05/10, [19:35:30]
ถ้าไม่ล้างเลยล่ะครับ ผมมีใยแก้วชันแรกของระบบกรอง(ล่าง)
ตั้งตู้มาร่วมสามเดือนแระ มันก็ยังไม่ตันอะครับ เลยไม่ล้าง  [เขิลลลล]

มีผลเสียหรือเปล่าครับ??


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: Coffman ที่ 09/05/10, [19:51:32]
ถ้าไม่ล้างเลยล่ะครับ ผมมีใยแก้วชันแรกของระบบกรอง(ล่าง)
ตั้งตู้มาร่วมสามเดือนแระ มันก็ยังไม่ตันอะครับ เลยไม่ล้าง  [เขิลลลล]

มีผลเสียหรือเปล่าครับ??
ตรงตามเงื่อนไขครับ แรงดันน้ำไม่ลดใช้ต่อไปครับ

"
"
แต่ล้างบ้างก็ดีนะครับ  n032


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอกตัวจริงที่ถูกมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: NP ที่ 10/05/10, [00:37:20]
อ้างถึง
แล้วแบคทีเรียกลุ่มที่สามารถใช้ NO3 มีอยู่แห่งใดในตู้บ้าง
แหล่งที่เขาปักหลักอยู่เตรียมลด NO3 ไปสู่อากาศในรูปก๊าส N2 คือ
ฟองน้ำ ใยกรองที่อุดตัน กระบวนการย่อยแบบไร้อากาศ ภายในนั่นเอง

ผมไม่คิดว่ากรองแบบธรรมดาจะช่วยลดไนเตรทอย่างมีนัยยะสำคัญได้นะ
เพราะหลักการที่หนังสือเล่มนั้นอธิบาย มันขัดแย้งกันในตัวเอง

การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นในที่ที่มีออกซิเจนน้อย
แต่การหมุนเวียนน้ำในกรองธรรมดามันสูงมากจนลักษณะนั้นเกิดขึ้นได้ยาก

โอเค บริเวณที่เกิดอาการตันอาจจะมีบ้าง แต่บริเวณที่ว่านั้นก็มีพื้นที่ไม่มาก
เมื่อมีพื้นที่ไม่มาก ประกอบกับน้ำต้องไหลผ่านช้าๆ ทำให้ปริมาณน้ำที่
ผ่านกระบวนการลดไนเตรทในกรองธรรมดาเกิดขึ้นน้อยมาก

กรองที่ออกแบบมาสำหรับลดไนเตรทด้วยวิธีชีวภาพจะเป็นกรองที่มีขนาดใหญ่
พอสมควร และมีอัตราการไหลเวียนน้ำต่ำ ออกซิเจนจะได้เหลือน้อยๆ

ผมว่าในตู้อย่างที่เราๆ ใช้กัน ถ้ามีการเปลี่ยนน้ำเป็นประจำและปลูกไม้น้ำ
ไนเตรทจะไม่ใช่ปัญหาเลย เพราะนอกจากจะเปลี่ยนน้ำแล้ว เรายังเล็มตัดไม้น้ำ
เป็นการนำไนเตรทออกจากตู้กันอยู่แล้ว

การล้างแบบอย่าให้สะอาดเกินไป ผมว่ามีประโยชน์ตรงรักษาแบคทีเรียที่มี
ประโยชน์ให้ยังคงติดอยู่กับวัสดุกรองเยอะๆ มากกว่า


หัวข้อ: Re: บทความ :ฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ พระเอก&
เริ่มหัวข้อโดย: Coffman ที่ 10/05/10, [00:59:44]
ผมไม่คิดว่ากรองแบบธรรมดาจะช่วยลดไนเตรทอย่างมีนัยยะสำคัญได้นะ
เพราะหลักการที่หนังสือเล่มนั้นอธิบาย มันขัดแย้งกันในตัวเอง

การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นในที่ที่มีออกซิเจนน้อย
แต่การหมุนเวียนน้ำในกรองธรรมดามันสูงมากจนลักษณะนั้นเกิดขึ้นได้ยาก

โอเค บริเวณที่เกิดอาการตันอาจจะมีบ้าง แต่บริเวณที่ว่านั้นก็มีพื้นที่ไม่มาก
เมื่อมีพื้นที่ไม่มาก ประกอบกับน้ำต้องไหลผ่านช้าๆ ทำให้ปริมาณน้ำที่
ผ่านกระบวนการลดไนเตรทในกรองธรรมดาเกิดขึ้นน้อยมาก

กรองที่ออกแบบมาสำหรับลดไนเตรทด้วยวิธีชีวภาพจะเป็นกรองที่มีขนาดใหญ่
พอสมควร และมีอัตราการไหลเวียนน้ำต่ำ ออกซิเจนจะได้เหลือน้อยๆ

ผมว่าในตู้อย่างที่เราๆ ใช้กัน ถ้ามีการเปลี่ยนน้ำเป็นประจำและปลูกไม้น้ำ
ไนเตรทจะไม่ใช่ปัญหาเลย เพราะนอกจากจะเปลี่ยนน้ำแล้ว เรายังเล็มตัดไม้น้ำ
เป็นการนำไนเตรทออกจากตู้กันอยู่แล้ว

การล้างแบบอย่าให้สะอาดเกินไป ผมว่ามีประโยชน์ตรงรักษาแบคทีเรียที่มี
ประโยชน์ให้ยังคงติดอยู่กับวัสดุกรองเยอะๆ มากกว่า
ขอบคุณที่เพิ่มเติมนะครับ ที่ตอบมาถูกต้องครับ ผมไม่ได้ชี้หรือวัดว่ามันจะมีนัยสำคัญมากน้อย แต่อยากให้เข้าใจไปถึงการอุดตันในฟองน้ำก็มีส่วนช่วยในการควบคุมระบบในตู้ อยากให้มองถึงจุดนี้กันแหละครับ อยากให้เข้าใจถึงขบวนการกำจัดไนเตรทในชั้นน้ำ ใต้ตะกอนดิน ในมีเดียต่างๆด้วย ถึงองค์ประกอบจำลองใตตู้ไม้น้ำอย่างเข้าใจ เพราะในหนังสือนั่นมันใช้กรองนอกแบบใส่ฟองน้ำ เดี๋ยวนี้อะไรมันก็เจริญขึ้น รากจากความรู้สมัยเก่าจึงปรับปรุงจากฟองน้ำมาเป็น มีเดียที่มีรูพรุนอย่างที่เราๆใช้กัน อีกอย่างกรองนอกปัจจุบันก็ลดปัญหาการกระจายน้ำซึ่งทำให้เกิดโซนตาย หรือ stagnant zone ไปได้เยอะ หนังสือเล่มนั้นไม่มีอะไรที่ขัดแย้งในเนื้อหาของมันหรอกครับ แต่มันขัดแย้งกับระบบกรองที่ถูกพัฒนามากขึ้นในปัจจุบัน ความรู้นี้ทำให้เรามองถึงการมี การเกิดของวัสดุกรอง โดยเฉพาะตามหัวข้อที่ชี้ไปถึงฟองน้ำใยกรองที่ใช้กันว่ามัน ก็มีส่วนช่วยรักษาระบบนิเวศน์ของตู้ไม้น้ำที่เรามี ที่เราใช้กันให้ถูกต้องทั้งในอดีตและปัจจุบันครับ (ซึ่งผมได้เข้าใจในส่วนนี้จึงเขียนไว้ในบรรทัดแรก ไม่ได้ต้องการวัดว่ามันจะสลักสำคัญมากมายหรือใช้อะไรชี้วัด)

ในส่วนที่ติงมาได้ปรับข้อความเข้าไปในส่วนเนื้อหาให้สมบูรณ์มากขึ้นแล้วนะครับ
เป็นการตอบที่ยอดเยี่ยมครับ ขอบคุณครับ

 
 
ปล. อันนี้นอกเรื่องฟองน้ำนะครับ ความเข้าใจที่ผมไฮไลท์สีไว้ผมเข้าใจว่าระบบกรองที่ใส่มีเดียในปัจจุบันมันก็มีการลดไนเตรทในระบบกรองชีวภาพ ทั้งใช้อากาศและไม่ใช้อากาศ ถ้าเติบโตแบบสมดุล อย่างเกื้อกูลกันไม่ใช่เหรอครับ
ตอนแรกที่ตั้งตู้มีเดียใหม่จะเป็นแบบนี้คือมีแต่ชั้นที่ใช้ออกซิเจนตามที่เข้าใจอันนี้ถูก
(http://www.nswcs.org.au/Fb-grain.GIF)

แต่พอมีเดียใช้ไปนานๆ แบคทีเรียที่เกาะติดมีเดียแบบใช้อากาศตาย ข้างในจะเกิดโซนไร้อากาศขึ้นมา ให้พวกไร้อากาศโต ที่เขียมไว้ว่า anoxic ในภาพอ่ะครับ ดังนั้นในกรองไม่ใช่มีแต่ก่ารสลายแบบใช้อากาศนะครับ
(http://www.water-technology.net/projects/seine-aval/images/2-biostyr-process.gif)
(http://test.aquanerd.com/wp-content/uploads/2009/11/biopellets_lg.jpg)


แต่ส่วนที่มันตันในฟองน้ำจริงๆมันมีแต่ลดไนเตรทอย่างเดียว

เข้าใจตรงกันไหมครับ  [เจ๋ง]
 


หัวข้อ: Re: บทความ :ดูแลฟองน้ำ ใยกรอง ในตู้ไม้น้ำ มีส่วนช่วยให้ระบบกำจัดแอมโมเนียสมบูรณ์ขึ้น
เริ่มหัวข้อโดย: Champies ที่ 10/05/10, [13:36:29]
ผมไม่คิดว่ากรองแบบธรรมดาจะช่วยลดไนเตรทอย่างมีนัยยะสำคัญได้นะ
เพราะหลักการที่หนังสือเล่มนั้นอธิบาย มันขัดแย้งกันในตัวเอง

การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะเกิดขึ้นในที่ที่มีออกซิเจนน้อย
แต่การหมุนเวียนน้ำในกรองธรรมดามันสูงมากจนลักษณะนั้นเกิดขึ้นได้ยาก

โอเค บริเวณที่เกิดอาการตันอาจจะมีบ้าง แต่บริเวณที่ว่านั้นก็มีพื้นที่ไม่มาก
เมื่อมีพื้นที่ไม่มาก ประกอบกับน้ำต้องไหลผ่านช้าๆ ทำให้ปริมาณน้ำที่
ผ่านกระบวนการลดไนเตรทในกรองธรรมดาเกิดขึ้นน้อยมาก

กรองที่ออกแบบมาสำหรับลดไนเตรทด้วยวิธีชีวภาพจะเป็นกรองที่มีขนาดใหญ่
พอสมควร และมีอัตราการไหลเวียนน้ำต่ำ ออกซิเจนจะได้เหลือน้อยๆ

ผมว่าในตู้อย่างที่เราๆ ใช้กัน ถ้ามีการเปลี่ยนน้ำเป็นประจำและปลูกไม้น้ำ
ไนเตรทจะไม่ใช่ปัญหาเลย เพราะนอกจากจะเปลี่ยนน้ำแล้ว เรายังเล็มตัดไม้น้ำ
เป็นการนำไนเตรทออกจากตู้กันอยู่แล้ว

การล้างแบบอย่าให้สะอาดเกินไป ผมว่ามีประโยชน์ตรงรักษาแบคทีเรียที่มี
ประโยชน์ให้ยังคงติดอยู่กับวัสดุกรองเยอะๆ มากกว่า


เห็นด้วยครับ กับประโยคนี้

"การล้างแบบอย่าให้สะอาดเกินไป ผมว่ามีประโยชน์ตรงรักษาแบคทีเรียที่มี
ประโยชน์ให้ยังคงติดอยู่กับวัสดุกรองเยอะๆ มากกว่า"

เพราะในทางปฎิบัติ ลักษณะทางกายภาพของกรองในปัจจุบันนั้นเื้อื้อต่อการเกิด Nitrosomonas มากกว่า

น่าเพิ่มปริมาณโซนอับ O2 ให้เกิดปฏิกิริยา Denitrification ในตู้ มากว่ามาลดการเกิด Nitrification ในกรอง

การอุดตันบ้างบางส่วนย่อมมีผลต่ออัตราการไหลของกรองไม่มากก็น้อย ซึ่งก็มีผลต่อเนื่องไปถึงการทำให้ประสิทธิภาพของ Nitirfication ลดลง

และเนื่องจาก ไนเตรทเป็นพิษไม่มาก พืชนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อีกต่างหาก ดังนั้น Nitrification จึงสำคัญมากกว่า

เพราะฉะนั้นประเด็นน่าจะคือ "การที่ฟองน้ำในกรองอุดตัน ไม่ใช่จะเกิดผลเสียเสมอไป"

การแต่ล้าง(แบบอย่าสะอาดเกินไป)เพื่อให้อัตราการไหลเวียนได้ดี จะดีกว่า


หัวข้อ: Re: บทความ :ใยกรอง ฟองน้ำ ล้างกันให้ถูกวีธีมีประโยชน์นะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: aunnina ที่ 01/12/11, [18:17:21]
ขอบคุณครับ เป็นสาระมั๊กมาก อย่างน้อยก้อถือว่าได้รื้อความรุ้มาให้มือใหม่ที่หาไม่เจอ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: บทความ :ใยกรอง ฟองน้ำ ล้างกันให้ถูกวีธีมีประโยชน์นะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Coffman ที่ 01/12/11, [18:43:32]
โห 036 อันนี้ปีกว่าแล้ว ตอนนี้ซุ่มทำบทความใหม่อยู่นะครับ  อดใจรอนิดนุง อะไรๆก็รุมเร้า ไม่ได้นั่งแช่นานๆเลย


หัวข้อ: Re: บทความ :ใยกรอง ฟองน้ำ ล้างกันให้ถูกวีธีมีประโยชน์นะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: MilL ★ GuitaRiSt (มิว) ที่ 03/12/11, [17:15:50]
ขอบคุณมากครับ  [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: บทความ :ใยกรอง ฟองน้ำ ล้างกันให้ถูกวีธีมีประโยชน์นะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Bankcaramel ที่ 03/12/11, [17:19:17]
โห 036 อันนี้ปีกว่าแล้ว ตอนนี้ซุ่มทำบทความใหม่อยู่นะครับ  อดใจรอนิดนุง อะไรๆก็รุมเร้า ไม่ได้นั่งแช่นานๆเลย
[on_026]ไม่้ต้องซุ่มเลยเดี๋ยวเข้าไปถามเลย [on_026]


หัวข้อ: Re: บทความ :ใยกรอง ฟองน้ำ ล้างกันให้ถูกวีธีมีประโยชน์นะครับ
เริ่มหัวข้อโดย: THEFOOL ที่ 08/08/12, [19:59:13]
ขอบคุณครับผม