หัวข้อ: ค่า PH ในน้ำ เริ่มหัวข้อโดย: beginning ที่ 29/10/08, [23:23:11] อยากทราบว่าค่า PH ในน้ำสูง หมายถึงมีแคลเซียมในน้ำปริมาณสูงด้วยใช่ไหมครับ... [งง]
หัวข้อ: Re: ค่า PH ในน้ำ เริ่มหัวข้อโดย: ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ที่ 30/10/08, [00:38:47] ความเป็นด่าง (Alkalinity)
ความเป็นด่างของน้ำ หมายถึงคุณสมบัติของน้ำที่ทำให้กรดเป็นกลาง โดยความเป็นด่างของน้ำประกอบด้วย คาร์บอเนต ไบคาร์บอเนต ไฮดรอกไซค์ เป็นส่วนใหญ่แต่อาจมีพวกบอเรต ซิลิเคต ฟอสเฟต และสารอินทรีย์ต่าง ๆ ค่าความเป็นด่างโดยตัวมันเองไม่ถือว่าเป็นสารมลพิษ แต่มีผลเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอื่น ๆ เช่น ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ความเป็นกรด (acidity) และความกระด้าง Hardness คุณสมบัติของความเป็นด่างต่อแหล่งน้ำเป็นตัวการควบคุมมิให้ pH เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปหากปรากฏว่าแหล่งน้ำมีค่าเป็นด่างต่ำแสดงว่ามี buffering capacity น้อย ค่าความเป็นด่างของน้ำมีค่าแตกต่างกันไป มีค่าตั้งแต่ 25-500 mg/L แหล่งน้ำเสียชุมชนหรือจากโรงงานอุตสาหกรรมอาจมีค่าเป็นด่างสูง เกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำควรมีค่าความเป็นด่างระหว่าง 100-120 mg/l เราสามารถปรับค่าความเป็นด่างให้สูงขึ้นโดยใส่ปูนขาว (Liming) การลดความเป็นด่างและความกระด้างจะทำได้ยากไม่นิยมกระทำกัน ค่าความเป็นด่างกับความกระด้าง (Hardness) มีความสัมพันธ์กัน น้ำที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างใกล้เคียงกัน ค่าความเป็นด่างในน้ำไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว น้ำที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำและความเป็นด่างต่ำจะให้ผลผลิตไม่ดี เช่น การเจริญเติบโตจะต่ำ ฯลฯ แพลงก์ตอนพืชและพืชน้ำจะใช้ คาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อสังเคราะห์แสงในตอนกลางวันทำให้ค่า pH สูงขึ้น คือน้ำจะมีสภาพความเป็นด่างมากขึ้นและค่อยๆลดในตอนกลางคืน เนื่องจาก คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ถูกปล่อยออกมาจากการหายใจน้ำที่มีค่าความเป็นด่างต่ำจะมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7.5 ในตอนเช้าหากมีปริมาณแพลงก์ตอนหนาแน่นค่า pH ในตอนบ่ายอาจจะสูงถึง 10 หรือมากกว่า ส่วนน้ำที่มีค่าเป็นด่างสูงจะไม่พบการเปลี่ยนแปลงของ pH มากนักโดยอาจมีค่าอยู่ระหว่าง 7.5-8 ในตอนเช้าและเพิ่มเป็น 9-10 ในช่วงบ่ายในบ่อที่มีค่าความเป็นด่างสูงมากประกอบกับมีค่ากระด้างต่ำค่า pH อาจสูงมากถึง 11 ในระหว่างที่มีการสังเคราะห์แสง ดังนั้น การวัดค่า pH จึงควรเช็คในตอนเช้าและช่วงบ่ายเพื่อได้ทราบค่าความเปลี่ยนแปลงต่ำสุดและสูงสุดใน อ้างอิงจาก : http://www.nicaonline.com/articles9/site/view_article.asp?idarticle=137 หัวข้อ: Re: ค่า PH ในน้ำ เริ่มหัวข้อโดย: beginning ที่ 30/10/08, [01:59:56] ความกระด้าง (Hardness)
ความกระด้างของน้ำ (water hardness) หมายถึง ปริมาณของเกลือ, แคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยมที่ละลายอยู่ในน้ำ ความกระด้างของน้ำแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือความกระด้างชั่วคราว (Temporary hardness) โดยเกิดจากสารละลายของ calcium หรือ magnesium bicarbonate เมื่อถูกความร้อนจะตกตะกอนกลายเป็นหินปูน (carbonate) ส่วนความกระด้างถาวร (permanent hardness) เกิดจากสารละลายพวก calcium หรือ magnesium carbonate และความกระด้างรวมของน้ำ Total hardness หมายถึง ผลรวมของความกระด้างชั่วคราวและถาวรโดยอยู่ในรูปของ calcium carbonate ค่าความกระด้างของน้ำมีค่าตั้งแต่ 0-100 mg/l ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของแหล่งน้ำ เราสามารถแบ่งระดับความกระด้างของน้ำได้ดังนี้ ความกระด้าง 0 - 75 mg/l น้ำอ่อน ความกระด้าง 75 - 150 mg/l กระด้างปานกลาง ความกระด้าง 150 - 300 mg/l น้ำกระด้าง ความกระด้าง 300 mg/l ขึ้นไป น้ำกระด้างมาก น้ำทะเลหรือน้ำกร่อยที่มี Na+ ปะปนอยู่สามารถทำให้ความกระด้าง ของน้ำสูงขึ้นได้ซึ่งไม่เป็นความกระด้างที่แท้จริงเรียกว่า pseudo-hardness ความกระด้างโดยตัวของมันเองไม่ถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำ แต่ความกระด้างของน้ำมีความสัมพันธ์กับค่าความเป็นด่าง (alkalinity) และความเป็นกรดด่าง (pH) น้ำกระด้างยังช่วยลดความเป็นพิษของสารพิษหลายชนิด เช่น โลหะหนัก (heavy metal) ได้แก่ ปรอท ตะกั่วและแคดเมี่ยม ฯลฯ น้ำกระด้างปานกลางหรือสูงเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ส่วนน้ำกระด้างอ่อนหรือน้ำฝนไม่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เราสามารถเพิ่มความกระด้างของน้ำได้โดยการเติมปูนขาว เช่นเดียวกันกับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำ ค่าความกระด้างของน้ำหากเป็นความกระด้างถาวร ถ้าเราใช้อุปโภคบริโภคเป็นประจำในชีวิตประจำวันจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้นจึงควรต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้ รบกวนถามอีกนิดนะครับ แคลเซียมในที่นี้หมายถึงแคลเซียมที่น้องกุ้งใช้ในการดำรงชีวิตใช่ไหมครับ แล้ววิธีตรวจความกระด้างของน้ำทำอย่างไร การเพิ่มความกระด้างของน้ำในตู้เลี้ยงทำได้อย่างไร ป.ล. ขอขอบคุณที่ให้คำตอบ และลิ้งค์ดีๆด้วยครับ ขอบคุณมากมายครับ [เจ๋ง] หัวข้อ: Re: ค่า PH ในน้ำ เริ่มหัวข้อโดย: ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ที่ 30/10/08, [02:23:36] ความกระด้าง (Hardness) ความกระด้างของน้ำ (water hardness) หมายถึง ปริมาณของเกลือ, แคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยมที่ละลายอยู่ในน้ำ ความกระด้างของน้ำแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือความกระด้างชั่วคราว (Temporary hardness) โดยเกิดจากสารละลายของ calcium หรือ magnesium bicarbonate เมื่อถูกความร้อนจะตกตะกอนกลายเป็นหินปูน (carbonate) ส่วนความกระด้างถาวร (permanent hardness) เกิดจากสารละลายพวก calcium หรือ magnesium carbonate และความกระด้างรวมของน้ำ Total hardness หมายถึง ผลรวมของความกระด้างชั่วคราวและถาวรโดยอยู่ในรูปของ calcium carbonate ค่าความกระด้างของน้ำมีค่าตั้งแต่ 0-100 mg/l ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของแหล่งน้ำ เราสามารถแบ่งระดับความกระด้างของน้ำได้ดังนี้ ความกระด้าง 0 - 75 mg/l น้ำอ่อน ความกระด้าง 75 - 150 mg/l กระด้างปานกลาง ความกระด้าง 150 - 300 mg/l น้ำกระด้าง ความกระด้าง 300 mg/l ขึ้นไป น้ำกระด้างมาก น้ำทะเลหรือน้ำกร่อยที่มี Na+ ปะปนอยู่สามารถทำให้ความกระด้าง ของน้ำสูงขึ้นได้ซึ่งไม่เป็นความกระด้างที่แท้จริงเรียกว่า pseudo-hardness ความกระด้างโดยตัวของมันเองไม่ถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำ แต่ความกระด้างของน้ำมีความสัมพันธ์กับค่าความเป็นด่าง (alkalinity) และความเป็นกรดด่าง (pH) น้ำกระด้างยังช่วยลดความเป็นพิษของสารพิษหลายชนิด เช่น โลหะหนัก (heavy metal) ได้แก่ ปรอท ตะกั่วและแคดเมี่ยม ฯลฯ น้ำกระด้างปานกลางหรือสูงเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ส่วนน้ำกระด้างอ่อนหรือน้ำฝนไม่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เราสามารถเพิ่มความกระด้างของน้ำได้โดยการเติมปูนขาว เช่นเดียวกันกับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำ ค่าความกระด้างของน้ำหากเป็นความกระด้างถาวร ถ้าเราใช้อุปโภคบริโภคเป็นประจำในชีวิตประจำวันจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้นจึงควรต้องปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้ รบกวนถามอีกนิดนะครับ แคลเซียมในที่นี้หมายถึงแคลเซียมที่น้องกุ้งใช้ในการดำรงชีวิตใช่ไหมครับ แล้ววิธีตรวจความกระด้างของน้ำทำอย่างไร การเพิ่มความกระด้างของน้ำในตู้เลี้ยงทำได้อย่างไร ป.ล. ขอขอบคุณที่ให้คำตอบ และลิ้งค์ดีๆด้วยครับ ขอบคุณมากมายครับ [เจ๋ง] ครับ แคลเซียม เป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งกุ้งมักดึงมาใช้ในการสร้างเปลือก เช่นเดียวกับสัตว์ในตระกูลเดียวกันชนิดอื่นๆ ส่วนการตรวจวัดความกระด้างของน้ำจะสะดวก ง่าย และแม่นยำ ก็คือการใช้เครื่องวัดนะครับ แต่อันหนึ่งก็หลายร้อยบาทอยู่ และวิธีเพิ่มความกระด้าง ก็เช่นใส่พวกประการัง , หินปูน และในบางช่วงอุณหภูมิในที่เลี้ยง ก็มีส่วนทำให้ PH สูงขึ้นได้เช่นเดียวกันครับ หัวข้อ: Re: ค่า PH ในน้ำ เริ่มหัวข้อโดย: beginning ที่ 30/10/08, [02:38:51] โห.. ตอบเร็วมาก กระจ่างและชัดเจนมากมายครับ ขอบคุณหลายๆอีกครั้งครับ [เจ๋ง] ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: ค่า PH ในน้ำ เริ่มหัวข้อโดย: beginning ที่ 30/10/08, [02:44:25] อ่อ..ลืมครับ ไอ้เครื่องวัดนี่หาซื้อได้ที่ไหนครับ หลักหลายร้อยบาท ผมว่ามันคุ้มค่ามาก เมื่อเทียบกับชีวิตน้องกุ้งและทรัพย์สิน (อยู่ต่างจังหวัด)
หัวข้อ: Re: ค่า PH ในน้ำ เริ่มหัวข้อโดย: ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ที่ 30/10/08, [07:21:59] อ่อ..ลืมครับ ไอ้เครื่องวัดนี่หาซื้อได้ที่ไหนครับ หลักหลายร้อยบาท ผมว่ามันคุ้มค่ามาก เมื่อเทียบกับชีวิตน้องกุ้งและทรัพย์สิน (อยู่ต่างจังหวัด) [เขิลลลล]ลองติดต่อร้านจำหน่ายไม้น้ำชั้นนำ หรือ ร้านค้าอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดตู้ไม้น้ำ หรือตู้ทะเลดูครับ hawaii มีโฆษณาอยู่ตามหนังสือหลายเล่ม อยู่เน่อ เพราะว่าพวกตู้ไม้น้ำ และ ตู้น้ำทะเล หลายๆท่านก็นิยมใช้อุปกรณ์พวกนี้ในการวัดค่าน้ำครับ hawaii หัวข้อ: Re: ค่า PH ในน้ำ เริ่มหัวข้อโดย: JumperZ The XIII ที่ 30/10/08, [08:14:09] ว่าว....ละเอียดมากเลย
ถ้า PH เหมาะสม กุ้งคงอยู่สบายใจไปเลยเนอะ credit: ทั้งสองท่านไว้ด้วยครับ |