หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ROMMY ที่ 12/12/13, [03:49:23] lau01
เนื่องจากผมเห็นว่ากระทู้หลายๆกระทู้(ส่วนมาก)มีการพูดถึงค่าK ในการเลือกซื้อหลอดไฟมาเลี้ยงไม้นํ้าว่าต้องเป็น 6500K นะ เเละบางกระทู้(ส่วนน้อย)จะพูดถึงความยาวคลื่นที่พืชต้องการ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยครับว่าทำไมต้อง 6500K ??ดังนั้นผมจะนำมาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆครับว่าจริงๆเเล้วมันสัมพันธ์กันอย่างไรครับ #ถ้าพี่เอเห็นว่าเป็นประโยชน์รบกวนช่วยปักหมุดหรือใส่ในห้องบทความให้ด้วยนะครับ ด้วยความเคารพครับ ROMMY มาเกริ่นนำเรื่องเเสงกันเล็กน้อยครับเพื่อง่ายต่อการอธิบายในประเด็นถัดไป (ผมจะเเปลให้ใต้รูปนะครับ เเปลสดๆด้วยความรู้ภาษาอังกฤษเท่าหางอึ่งครับ อิอิ) เเละจะอธิบายเสริมให้อย่างละเอียดครับ (https://upic.me/i/36/screenshot2556-12-12at1.44.02am.png) (https://upic.me/show/48599194) > คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางในอวกาศในรูปของพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแม่เหล็ก เเละบางครั้งพลังงานนั้นก็จะอยู่ในรูปของคลื่นเเละบางครั้งก็อยู่ในรูปของอนุภาคที่เราเรียกว่า"โฟตอน" โดยเมื่ออยู่ในรูปของคลื่นเราจะสามารถอธิบายพลังงานของมันด้วย"ความยาวคลื่น" ซึ่งหมายถึงระยะทางระหว่างสันคลื่นถึงสันคลื่นที่อยู่ติดกัน หรือวัดจากท้องคลื่นถึงท้องคลื่นที่อยู่ติดกัน ดังรูปนี้ (https://upic.me/i/u6/wavelength.jpg) (https://upic.me/show/48599228) ซึ่งเจ้าความยาวคลื่นของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้านี่ อาจจะมีความยาวเป็นไมล์ๆ(คลื่นวิทยุ) หรือมีความยาวเพียงไม่กี่นิ้ว(คลื่นไมโครเวฟ) หรือมีความยาวเป็นล้านๆนิ้ว(เช่นเเสงที่เราเห็น) หรือมีความยาวเป็นพันล้านนิ้ว(รังสีเอกซ์) ความยาวคลื่นของเเสงโดยมากเเล้วก็วัดกันเป็นหน่วยนาโนเมตร (1นาโนเมตร เท่ากับสิบยกกำลังลบ9 เมตร) โดยเเสงที่ตาเราสามารถมองเห็นได้จะมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 400 - 700 นาโนเมตร ซึ่งเรียกว่าช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ ซึ่งถ้าดูจากรูปที่มีสีรุ้งจะเห็นว่าถ้าตํ่ากว่าที่ตามองเห็นได้คือรังสียูวี เเละถ้าสูงกว่าที่ตามองเห็นได้คือ รังสีอินฟาเรด (https://upic.me/i/ht/screenshot2556-12-12at1.44.18am.png) (https://upic.me/show/48599263) >>คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงที่ตามองเห็นได้ จะมาจากหนึ่งในสามของเเหล่งกำเนิดนี้คือ 1.พวกที่เป็นหลอดไส้(หลอดที่ใช้การเเผ่รังสีของวัตถุร้อน) เช่น หลอดไส้ที่ทำด้วยทังสเตน 2.พวกที่ไม่ใช่หลอดไส้(หลอดที่ใช้หลักการการคายประจุในก๊าซ) เช่น หลอดฟลูออเรสเซนส์ , หลอดเมทัล เฮไลด์ ,หลอดไอปรอท ,หลอดนีออน,Hydrargyrum medium-arc iodide 3.ดวงอาทิตย์ ... พระอาทิตย์ ยิ้มเเฉ่ง เเก้มเเด๊ง เเดง เอ้ย ไม่เกี่ยวครับ555 (จริงๆเเล้วดวงอาทิตย์เป็นเเบบที่1 เพราะเเสงที่ได้มันเกิดจากการเเผ่รังสีของวัตถุร้อน เเต่ว่าในพวกคนที่ถ่ายภาพนั้นเจ้าหลอดที่ใช้การเเผ่รังสีของวัตถุ จะหมายถึงเเหล่งกำเนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น เลยไม่รวมดวงอาทิตย์ครับ อิอิ วัตถุทุกชนิดจะปล่อยคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า เเละเมื่อวัตถุถูกให้ความร้อนจะปล่อยคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น"สั้น" มากขึ้นเเละจะปล่อยคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น"ยาว" น้อยลง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของเเสงทำให้เครื่องวัด สามารถวัดอุณหภูมิสีของเเสงได้ รูปต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ของพลังงานที่ปล่อยออกมาเมื่อเทียบกับความยาวคลื่นของอุณหภูมิสีที่แตกต่างกันใน 5500K Daylight เเละ ที่ 3200K จะมีปริมาณความยาวคลื่นที่"ยาว"อยู่มากและจะมีปริมาณความยาวคลื่น"สั้น"อยู่น้อย ในขณะที่อุณหภูมิสีเพิ่มขึ้น 5500K, 6500K และ 10000K ทำให้สังเกตได้ว่าจะมีปริมาณความยาวคลื่นที่"ยาว"ลดลง เเละจะมีปริมาณความยาวคลื่นที่"สั้น"มากขึ้น ที่5500K Daylight กราฟจะไม่สมูทเหมือนกับ 5500K เพราะเจ้า5500K Daylight จะรวมพลังงานที่ปล่อยจากดวงอาทิตย์ ,พลังงานที่ถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศของโลก,พลังงานที่กระจายอยู่โดยอนุภาคในชั้นบรรยากาศ ^เห็นมั้ยครับว่า พลังงานจากดวงอาทิตย์เดินทางมาหาเราก็มีพลังงานมาเติมเสริมให้ เเละก็มีการสูญเสีย(ถูกดูดซับไว้เช่นกัน) โอเคครับมาดูกราฟที่ว่ากันเลย (https://upic.me/i/d5/screenshot2556-12-12at1.44.27am.png) (https://upic.me/show/48599347) เเละจะพูดต่อเนื่องเกี่ยวกับความยาวคลื่นที่รงควัตถุในพืชสามารถดูดได้ (ความยาวคลื่นที่พืชตอบสนองได้ดี)ดังรูป (https://upic.me/i/28/carotenoids_absorption-spectrum-1.jpg) (https://upic.me/show/48599350) จากรูปจะเห็นว่ารงควัตถุในพืชมีการตอบสนองต่อความยาวคลื่นได้ไม่เท่ากันในเเต่ละช่วงความยาวคลื่น โดยสังเกตว่าช่วงที่กราฟเป็นภูเขาสูงๆ ทั้งฝั่งซ้าย เเละฝั่งขวา นั่นคือช่วงความยาวคลื่นที่พืชต้องการมากที่สุด โดยทั้งกราฟนั้นถ้าเรามาดูดีๆจะเห็นว่า ความยาวคลื่นที่พืชต้องการอยู่ในช่วง 400-700นาโนเมตร(ตามองเห็นได้) ซึ่งอย่างที่บอกไปตอนเเรกว่าเราเรียกช่วงนี้ว่า"visible light" ที่เป็นเเสงสีขาวที่มีการรวมกันของเเสงสี(หลักๆมี7สี)เเละเเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศเเละผ่านท้องฟ้าลงมาก็เป็นเเสงขาว (ถ้าเเยกด้วยปริซึมจะเห็นเป็นเเถบสีจากม่วง-เเดง) ดังนั้นเเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาเรียกได้ว่ามีความยาวคลื่นที่พืชต้องการอยู่ครบถ้วนเเละมากที่สุด เเละเราก็ต้องหาหลอดไฟที่มีค่าKใกล้เคียงกับเเสงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมา *หมายเหตุสำคัญที่เดี๋ยวจะอธิบายต่อด้านล่างคือ เเสงจากดวงอาทิตย์ กับเเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศเเละผ่านท้องฟ้าลงมายังพื้นโลกที่เรายืนอยู่ ไม่เหมือนกันนะครับ!! อย่าเพิ่งสับสน [เย้ะ] มาดูอีกครั้งจะเห็นว่า ที่6500 K เส้นสีฟ้า จะมีพลังงานของความยาวคลื่นในช่วง400-550นาโนเมตรอยู่มากที่สุด เเละก็ยังมีปริมาณพลังงานของความยาวคลื่นในช่วง600-700นาโนเมตรอยู่มากเช่นกัน คือตัวเส้นกราฟสีฟ้ามีช่วงความยาวคลื่นที่ครอบคลุม เเละมีปริมาณพลังงานมาก เเละตรงกับที่พืชต้องการมากที่สุด นั่นคือเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกหลอดที่มีค่า K ที่6500 K ครับ *จริงๆ5500K กับ6500K ดูจากกราฟจะใกล้เคียงกันมาก เเละกราฟด้านที่ความยาวคลื่นยาวๆ (ฝั่ง700nm) ดูเหมือนว่า 5500K จะดีกว่า เเต่ถ้าพิจารณาจากความยาวคลื่นช่วงที่พืชต้องการ(หลักๆ)คือ400-500nm เป็นหลักนั้น จะเห็นว่า 6500K ตอบโจทย์ได้ดีกว่าครับ (https://upic.me/i/t5/screenshot2556-12-12at3.18.21am.png) (https://upic.me/show/48599394) เเละก็เห็นได้จากรูปด้านล่างว่า"เเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศเเละผ่านท้องฟ้าลงมายังพื้นโลกที่เรายืนอยู่" ก็มีค่าKประมาณ 5500K เเบบdaylight ครับ (https://upic.me/i/tj/11-20051223113123.jpg) (https://upic.me/show/48599405) อย่าเพิ่งงง !!!ผมจะอธิบายต่อ (จุดนี้สำคัญมากๆ) ว่าถ้าดูจากรูปด้านบนจะเห็นว่าเเสงอาทิตย์มีค่าKประมาณ 5800K อ้าวเเล้วไหนบอกว่าเเสงที่มี 6500K ดีกว่า ??? จริงๆเเล้วเเสงอาทิตย์ที่ออกจากดวงอาทิตย์โดยตรงมันมีค่าKประมาณ5800K เเต่พอเดินทางมาผ่านชั้นบรรยากาศโลกเเละผ่านท้องฟ้าเเละมีการรับพลังงานเพิ่ม เเละสูญเสียจนมาถึงตัวเรานั้นมันได้รวมเเสงของท้องฟ้าไว้ด้วยเเละมีค่าK ประมาณ5500 ซึ่งเป็นค่าK ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งสอดคล้องกับกราฟทั้งสองอัน เเล้วทำไมถึงบอกว่า6500K ดีกว่า?? ... คือผมจะอธิบายอย่างนี้ว่า ค่าKของเเสงที่ส่องตัวเราอยู่นั้นมันไม่ใช่ตัวเลขตรงๆโดดๆ เเต่มันเป็นช่วง ดังนั้นช่วงเเสงที่ส่องเรามันก็ครอบคลุมทั้ง 5500-6500 K คือมันมีทั้งค่าK ในช่วงนั้นมากมาย เเต่ในทางทฤษฎีเเล้วค่าKที่6500K จะดีที่สุดครับ (ซึ่งเเสงที่ส่องเราก็เป็นช่วงที่รวมค่าKนี้ไว้ด้วย) เเต่ในกราฟอาจจะดูเหมือนว่าเเสงที่ส่องเราคือ 5500K เพียงตัวเดียว *เเสงจากดวงอาทิตย์มีค่าK 5800K *เเสงที่ส่องหน้าเราอยู่คือ 5500-6500K เเละพืชชอบด้วย(โดยเฉพาะ6500K) (https://upic.me/i/6x/screenshot2556-12-12at1.10.46pm.png) (https://upic.me/show/48603884) จากตารางข้างบนจะเห็นว่า "Average Summer Sunlight (plus blue skylight) 6,500K" มันคือเเสงที่ออกจากดวงอาทิตย์ในหน้าร้อน ที่เฉลี่ย เเละรวมเเสงจากท้องฟ้าไว้เเล้ว ซึ่งก็คือเเสงอาทิตย์+เเสงจากท้องฟ้า ว่าง่ายๆเเบบชาวบ้านๆคือ เเสงที่ส่องถึงตัวเรานั่นเเหละครับ(เเสงที่ส่องผิวหน้าอยู่ในตอนนี้) เป็นค่าKที่ดีที่สุดที่เหมาะสม เเละอย่างที่บอกไปว่าเเสงที่ส่องเราก็รวม 6500K นี้ไว้ด้วยนะ (มันคลุม5500-6500Kเลยครับ) คำจำกัดความของเเสงเเดด เเละเเสงจากท้องฟ้าดูในรูปล่างนี้เลยครับ (https://upic.me/i/33/screenshot2556-12-12at11.41.14am.png) (https://upic.me/show/48602993) สรุปได้ดังนี้ -เเสงจากดวงอาทิตย์กลมๆ มีค่าKประมาณ 5800K -เเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศโลกเเละผ่านท้องฟ้าลงมาถึงตัวเรา(ส่องหน้า)มีค่าK 5500-6500K -ช่วงความยาวคลื่นที่พืชต้องการ จะสัมพันธ์กับเส้นกราฟของ 6500K มากที่สุด -sunlight =เเสงอาทิตย์(ที่ออกจากดวงอาทิตย์) =5800K (วัดที่พื้นผิวด้วยอาทิตย์) -Daylight=Sunlight + skylight =5500-6500K อธิบายมาจนเกือบจะจบ หลายคนอาจจะงงว่าค่าKคืออะไร วัดกันอย่างไร ผมเลือกที่จะเอามาอธิบายตอนท้ายสุดเพื่อจะได้ไม่งงครับ ส่วนการอธิบายตอนเรกให้รู้ว่าสิ่งที่เราสนใจมันคือค่าK กับความสัมพันธ์ของ ความยาวคลื่นที่เเสงต้องการ เเค่นั้นพอ มาต่อกันครับ ดูคำอธิบายค่าKกันสั้นๆในรูปด้านล่างนี้ก็เข้าใจครับ (https://upic.me/i/is/screenshot2556-12-12at3.27.14am.png) (https://upic.me/show/48599412) ก็คือคนมันช่างคิดครับ มันเอาวัตถุดำมาเผาเเล้วดูว่าเผาด้วยอุณหภูมิที่กำหนดเเล้วจะเป็นสีอะไร เเค่นั้นเองครับ อุณหภูมิในหน่วยKelvin = 273 +อุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสนะครับ เช่น 27องศาเซลเซียส จะเท่ากับ 300เคลวิน เป็นต้นครับ ดังนั้นสีของไฟที่ออกมานั่นก็คืออุณหภูมิสีของเเสงที่เราสนใจครับ ลองดูตัวอย่างเทียบว่าหลอดLED ที่เปิดเเล้วมีสีต่างๆจะมีค่าKเท่าไหร่กันบ้างนะครับ (https://upic.me/i/2w/led-color-temperature.jpg) (https://upic.me/show/47252781) จากที่ผมอ่านกระทู้เก่าๆ(กระทู้พี่บังที่พูดเรื่องLEDไว้) สำหรับไฟ LED เเล้วต้องเลือกให้ดีเพราะว่าบางครั้งสีที่ออกมามันขาวจริง เเต่มันเกิดจากการผสมสีของหลอด ทำให้ดูขาว ซึ่งจริงๆเเล้วเลี้ยงไม้นํ้าไม่ได้ ก็มีถมไปครับ .... เเต่ถ้าเลือกตัวที่ดีๆหน่อย ผมว่า LEDดีกว่าเยอะครับ เพราะมันไม่ร้อนเเละอายุการใช้งานนานกว่ามาก ซึ่งLEDที่ผมลองใช้เเทนPL (เลี้ยงหวีดจิ๋ว)เเละพอใจกับโคมมากๆคือ LED up aqua z series ครับ(ไม่ได้ค่าโฆษณานะค้าบ5555) ส่วน LEDของIntenseเห็นเค้าว่าเเจ่ม เดี๋ยวจะลองใช้เเล้วมาบอกกันครับว่าดีเเค่ไหน เเละที่อยากลองอีกตัวคือพวกหลอด Grow light ที่สีออกม่วงๆ ชมพูๆ ต่างประเทศใช้เลี้ยงต้นไม้ กันเยอะมาก น่าสนใจครับ อิอิ จบไปนะครับกับความสัมพันธ์ของค่าK อุณหภูมิสีของเเสง กับความยาวคลื่นในช่วงที่พืชต้องการ ยํ้าว่า ตัวเลขของเเสงที่ส่องหน้าเราอยู่ตอนนี้นั้นมีค่าKเป็นช่วงนะครับ ไม่ใช่เป็นค่าโดดๆเหมือนเลขล๊อตเตอรี่ ดังนั้นสิ่งที่อยากจะให้เข้าใจมากที่สุดคือ เเสงจากดวงอาทิตย์ที่อยู่ไกลโพ้นนั้นเมื่อเดินทางมาหาเรา มันก็จะได้รับพลังงานเพิ่มเเละมีการสูญเสียพลังงาน จนเดินทางมาถึงเราด้วยค่าK ในช่วงๆหนึ่ง ซึ่งในช่วงที่ว่านี้มันรวม 6500K ที่เป็นค่าKที่เหมาะสมเเละดีที่สุดสำหรับพืชไว้ด้วย (เเหม่ เเสงมันก็เจ๋งนะครับ) เเละถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าพืชชอบเเสงช่วงไหน ต้องไปดูที่ความยาวคลื่นที่รงควัตถุในพืชสามารถดูดกลืนได้(ตอบสนองได้ดี)อย่างที่กล่าวมาครับ ดังนั้นเลือกหลอดให้ใกล้เคียง6500K มากที่สุดนะครับ อ้างอิงเนื้อหาส่วนต้นที่เเปลมาจากเว็บนี้ >http://www.theodoropoulos.info/attachments/076_kodak03_Nature-of-Light.pdf อ้างอิงความหมายของค่าK > http://www.tieathai.org/know/general/general0.htm อ้างอิงส่วนรูปภาพอื่นๆพวกรูปเเสดงการวัดความยาวคลื่น ฯลฯ มาจากกูเกิ้ลครับ อิอิ เพิ่มเติมเรื่องรงควัตถุใครอยากอ่านเพิ่มก็ไปอ่านในด้านล่างของกระทู้อันนึงที่คุณ ณชช โคม ปะการัง เคยเอามาอธิบายไว้ครับ > http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=238692.0 บทความอันนี้ค่อนข้างจะยาวมากเหมือนบทความอื่นๆที่ผมเคยทำไว้นะครับ เพื่อความละเอียดเเละครอบคลุมมากที่สุด เเละถ้ามีตรงไหนที่อธิบายไม่เคลียร์หรือมีข้อสงสัยก็ถามได้ครับ เเละถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เพราะส่วนที่เเปลก็เเปลเองสดๆ ส่วนที่อธิบายก็อธิบายจากความเข้าใจ ประกอบกับเช็คจากเว็บต่างๆครับ ... อยากจะบอกว่า ตั้งใจทำมากกกกครับ บทความนี้ ดังนั้น ช่วยอ่านให้จบด้วยนะครับ ขอบพระคุณค้าบบบ ไว้พบกันใหม่ครับ อิอิ ROMMY 12dec2013 [21.00] เเก้คำผิด&อธิบายบางส่วนเพิ่มเติม เเละใส่ภาพประกอบเพิ่มเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เเล้วนะครับ ลองอ่านดูครับ อิอิ หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: My Scape ที่ 12/12/13, [10:49:26] ความรู้อีกแลั้ว ขอบคุณครับคุณรอมมี่ [เจ๋ง] +++
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ×××MaxZiNumZeed××× On|in ที่ 12/12/13, [10:54:27] ยาวมาก แต่ความรู้เน้นๆ....
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ratchata ที่ 12/12/13, [20:57:57] ขอบคุณมากๆเลยคับ ได้ความรู้เพิ่มอีกละคับ [on_066]
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ณชช โคม ปะการัง ที่ 13/12/13, [11:16:33] เน้นๆ เนื้อๆ สุดยอดมากครับคุณ ROMMY [กูร็อคคคค] ขอขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆมากมายนะครับ ถ้าอย่างไรขออนุญาตแชร์ต่อนะครับ อธิบายให้เข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ROMMY ที่ 13/12/13, [13:58:23] เน้นๆ เนื้อๆ สุดยอดมากครับคุณ ROMMY [กูร็อคคคค] ขอขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆมากมายนะครับ ถ้าอย่างไรขออนุญาตแชร์ต่อนะครับ อธิบายให้เข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ ยินดีอย่างยิ่งครับ เเชร์ได้ตามสบายเลยครับ คุณ ณชช โคม ปะการัง [เจ๋ง] ขอบคุณครับ หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: clextor ที่ 13/12/13, [14:47:39] ขอบคุณมากๆ สำหรับข้อมูลแน่นๆครับ [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง]
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: pigasso ที่ 13/12/13, [20:50:35] ความรู้แน่นๆ...กระจ่างในทันใด "เยี่ยมครับ [เจ๋ง]
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: NiCoTiN ที่ 13/12/13, [21:41:03] เจ้าพ่อ บทความจริงๆ lau01 lau01
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ibiker ที่ 13/12/13, [22:52:25] อย่างพวกหลอดไฟ led ใช้ในบ้านเช่น philips ที่มีค่า k 6500 นี่ใช้ได้ไหมครับ
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ROMMY ที่ 14/12/13, [02:07:32] อย่างพวกหลอดไฟ led ใช้ในบ้านเช่น philips ที่มีค่า k 6500 นี่ใช้ได้ไหมครับ LED ถ้าspecระบุว่า 6500K น่าจะใช้ได้ครับ ต้องลองทดสอบเลี้ยงดูเลยครับ ...เเต่ส่วนมากที่สังเกตคือไฟLEDที่ใช้ในบ้าน โดยเฉพาะห้องทานอาหาร มักจะเป็นสีออกเหลืองๆ ครับ ซึ่งค่าKจะประมาณ2000K-3000K ถ้าเป็นเเบบนี้ก็ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงครับ จริงๆนอกจากค่าอุณหภูมิสีของเเสง(ค่าK) ก็ควรจะดูเรื่อง ความสว่าง(Illuminance)ที่จะระบุมาในspecว่ากี่ ลูเมน(lumen) เเละจำนวนหลอดไฟว่าเยอะเเค่ไหน เเละการวางตำเเหน่งของหลอดไฟว่ามันให้เเสงส่องลงตู้ทั่วถึงทั้งตัวโคมหรือไม่ด้วยครับ ฯลฯ ครับ *หมายเหตุ ความสว่าง(Illuminance) ที่ระบุข้างกล่องจะเป็น lumen เเต่ถ้าอยากจะรู้ความสว่างจริงๆที่เเสงตกลงบนพื้นที่1หน่วย ต้องวัดเป็นlux (lumen/ตารางเมตร)จะมีเครื่องมือวัดครับ หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ibiker ที่ 14/12/13, [10:52:02] LED ถ้าspecระบุว่า 6500K น่าจะใช้ได้ครับ ต้องลองทดสอบเลี้ยงดูเลยครับ ...เเต่ส่วนมากที่สังเกตคือไฟLEDที่ใช้ในบ้าน โดยเฉพาะห้องทานอาหาร มักจะเป็นสีออกเหลืองๆ ครับ ซึ่งค่าKจะประมาณ2000K-3000K ถ้าเป็นเเบบนี้ก็ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงครับ จริงๆนอกจากค่าอุณหภูมิสีของเเสง(ค่าK) ก็ควรจะดูเรื่อง ความสว่าง(Illuminance)ที่จะระบุมาในspecว่ากี่ ลูเมน(lumen) เเละจำนวนหลอดไฟว่าเยอะเเค่ไหน เเละการวางตำเเหน่งของหลอดไฟว่ามันให้เเสงส่องลงตู้ทั่วถึงทั้งตัวโคมหรือไม่ด้วยครับ ฯลฯ ครับ *หมายเหตุ ความสว่าง(Illuminance) ที่ระบุข้างกล่องจะเป็น lumen เเต่ถ้าอยากจะรู้ความสว่างจริงๆที่เเสงตกลงบนพื้นที่1หน่วย ต้องวัดเป็นlux (lumen/ตารางเมตร)จะมีเครื่องมือวัดครับ ขอบคุณครับ เผื่อได้ทำโคมสำหรับโถวาบิเล็กๆน่ะครับ [เจ๋ง] หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: savagepong ที่ 14/12/13, [22:01:18] แบบนี้พวก LED ขาวจั๊วที่บอกว่าค่าอยู่ที่ 10000K ก็ไม่ค่อยดีน่ะสิครับ
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ROMMY ที่ 14/12/13, [23:31:52] แบบนี้พวก LED ขาวจั๊วที่บอกว่าค่าอยู่ที่ 10000K ก็ไม่ค่อยดีน่ะสิครับ ใช่ครับตามทฤษฎีเป็นเเบบนั้นครับ เเต่ผมเเนะนำว่าให้ลองดูครับ เพราะตัวเเปรอื่นๆในตู้มีมากมาย การจะเลี้ยงรอดเเละฟอร์มสวยขึ้นกับหลายๆปัจจัยครับ อิอิ [เจ๋ง] อย่างLED up aqua Z series ระบุค่าKข้างกล่องว่า 8000-10,000K ซึ่งผมก็คิดๆอยุ่ว่าจะเลี้ยงได้มั้ย เเต่พอลองเลี้ยงตู้18" ส่องหวีดจิ๋ว เเทนโคมPL ก็พบว่าถ้าตู้ไม่ลึกมาก สามารถเลี้ยงได้จริงครับ เเละต้นไม้งามเเละฟอร์มสวย ไม่ต่างอะไรกับPLเลยครับ (ประหยัดไฟกว่าด้วย อิอิ) [เจ๋ง] ส่วนพวกPL หาหลอด6500K มาใช้เลยครับ หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: FINDING NEMO ที่ 15/12/13, [09:51:42] เป็นบทความที่ดีมากๆเลยละครับ ผู้เลี้ยงไม้น้ำมือสมัครเล่นส่วนใหญ่มีปัญหาการเลือกใช้ไฟมากครับ เป็นปัญหาต้นๆเลย ของตู้ทะเลก็เป็น ปักหมุดไว้ก็ดีนะครับ
ปล. ของผมก็ใช้ led เหมือนกันครับ ต้นไม้มีการตอบสนองดีมากครับ ทั้งคายฟองและ แตกยอดไวมาก ตั้งตู้ได้อาทิตย์เดียวเอง หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: sthapana ที่ 03/01/14, [13:42:56] + โล้ดด..ด
อธิบายได้ละเอียด เข้าใจง่ายดีครับ.. [เจ๋ง] หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: JPS ที่ 03/01/14, [17:19:39] แบบนี้พวก LED ขาวจั๊วที่บอกว่าค่าอยู่ที่ 10000K ก็ไม่ค่อยดีน่ะสิครับ จริงๆ แล้วค่า K เป็นแค่ค่าสีของแสงที่ตาเรามองเห็นเฉยๆ ครับ เป็นค่าที่บอกสีที่ผสมกันแล้วของแสงช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ในสเปคตรัมทั้งหมดรวมกัน ดังนั้นการดูที่ค่าK บอกอะไรเกี่ยวกับแสงที่พืชต้องการแทบไม่ได้เลย มันบอกได้แค่แนวโน้มว่ามีแสงช่วงความยาวคลื่น(λ)สั้นมีมากกว่า หรือแสงช่วงความยาวคลื่นยาวมีมากกว่าแค่นั้นเองครับ ถ้าแสง λสั้น(ช่วงแสงสีฟ้า ม่วง) มีมาก ก็จะ K สูง ถ้าแสง λยาว(ช่วงแสงเหลืองส้มแดง) มีมาก ก็จะ K ต่ำ การจะดูว่าแสงนั้นใช้กับพืชได้ดีรึเปล่าต้องดูที่ช่วงความยาวคลื่นที่ปล่อยออกมาครับว่ามีแสงช่วงความถี่ไหนบ้าง หลอดที่ค่า K เท่ากัน ยี่ห้อเดียวกันคนละรุ่นยังมีสเปคตรัมออกไม่เหมือนกันเลยครับ (http://i140.photobucket.com/albums/r3/jezdo/osramlumilux.png) ตัวอย่างสเปคตรัมหลอด fluorescent T5 รุ่นต่างๆ ของ Osram ครับ ที่ตีกรอบสีแดงคือรุ่นที่แสงสี 6500K เท่ากันหมด จะเห็นได้ว่ามีความเข้มของแสงที่ช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ไม่เท่ากัน การจะว่าดูหลอดไฟนั้นพืชชอบรึไม่นั้น เราต้องดูที่สเปคตรัมของแสงที่ปล่อยออกมา ว่ามีช่วงแสงที่ความถี่เท่าไหร่บ้าง โดยเอากราฟมาเทียบ ว่าตรงกับช่วงความยาวคลื่นที่ chlorophyll ดูดกลืนได้มากแค่ไหน (http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/ge24/03.jpg) แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมาถึงโลก ถ้าตัดแค่เฉพาะช่วงที่ตามองเห็นก็จะได้เป็นกราฟที่คุณ Rommy เอามาให้ดูอันนี้ (https://upic.me/i/d5/screenshot2556-12-12at1.44.27am.png) เมื่อเทียบกับกราฟสเปคตรัมของ chlorophyll เทียบพื้นที่ใต้กราฟจะเห็นได้ว่าแสงที่ chlorophyll สามารถนำไปใช้ได้มีเพียงประมาณ 20-25% ของแสงแดดที่มองเห็นเท่านั้นเอง ดังนั้นแสงแดดจึงไม่ใช่แสงที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดสำหรับการปลูกพืชนะครับ ด้านล่างนี่เป็นกราฟสเปคตรัมของ LED แบบที่เป็นสีๆ เขียว แดง น้ำเงิน จะเห็นได้ว่าหลอดแต่ละสีจะปล่อยแสงออกมาเป็นช่วงความยาวคลื่นแค่แคบๆ ค่าเดียว (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f4/Red-YellowGreen-Blue_LED_spectra.png/350px-Red-YellowGreen-Blue_LED_spectra.png) ส่วนนี่เป็นกราฟของ LED แบบแสงขาว (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/48/White_LED.png/350px-White_LED.png) จะเห็นได้ว่าสเปคตรัมของพวกหลอด LED จะสมูทน่ารัก ง่ายต่อการผสม และมีช่วงแสงให้เราเลือกเจาะจงเฉพาะที่ต้องการได้ง่าย ถ้าผสมให้เหมาะสมจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหลอดไฟแบบอื่นๆ สรุป ค่า K ไม่เกี่ยวนะครับ ชอบสีไหนก็เลือกสีนั้น ให้ดูที่สเปคตรัมของมัน ส่วนตัวผมก็ชอบสีที่ 6500K นะ รู้สึกว่ามันกำลังดีไม่ขาวแสบตา และไม่เหลืองเกินไป [on_066] หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ROMMY ที่ 03/01/14, [19:48:04] จริงๆ แล้วค่า K เป็นแค่ค่าสีของแสงที่ตาเรามองเห็นเฉยๆ ครับ
มันบอกได้แค่แนวโน้มว่ามีแสงช่วงความยาวคลื่น(λ)สั้นมีมากกว่า หรือแสงช่วงความยาวคลื่นยาวมีมากกว่าแค่นั้นเองครับ ถ้าแสง λสั้น(ช่วงแสงสีฟ้า ม่วง) มีมาก ก็จะ K สูง ถ้าแสง λยาว(ช่วงแสงเหลืองส้มแดง) มีมาก ก็จะ K ต่ำ
หลอดที่ค่า K เท่ากัน ยี่ห้อเดียวกันคนละรุ่นยังมีสเปคตรัมออกไม่เหมือนกันเลยครับ (http://i140.photobucket.com/albums/r3/jezdo/osramlumilux.png) ตัวอย่างสเปคตรัมหลอด fluorescent T5 รุ่นต่างๆ ของ Osram ครับ ที่ตีกรอบสีแดงคือรุ่นที่แสงสี 6500K เท่ากันหมด จะเห็นได้ว่ามีความเข้มของแสงที่ช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ไม่เท่ากัน การจะว่าดูหลอดไฟนั้นพืชชอบรึไม่นั้น เราต้องดูที่สเปคตรัมของแสงที่ปล่อยออกมา ว่ามีช่วงแสงที่ความถี่เท่าไหร่บ้าง โดยเอากราฟมาเทียบ ว่าตรงกับช่วงความยาวคลื่นที่ chlorophyll ดูดกลืนได้มากแค่ไหน (http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/ge24/03.jpg) แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมาถึงโลก ถ้าตัดแค่เฉพาะช่วงที่ตามองเห็นก็จะได้เป็นกราฟที่คุณ Rommy เอามาให้ดูอันนี้ (https://upic.me/i/d5/screenshot2556-12-12at1.44.27am.png) เมื่อเทียบกับกราฟสเปคตรัมของ chlorophyll เทียบพื้นที่ใต้กราฟจะเห็นได้ว่าแสงที่ chlorophyll สามารถนำไปใช้ได้มีเพียงประมาณ 20-25% ของแสงแดดที่มองเห็นเท่านั้นเอง ดังนั้นแสงแดดจึงไม่ใช่แสงที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดสำหรับการปลูกพืชนะครับ
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f4/Red-YellowGreen-Blue_LED_spectra.png/350px-Red-YellowGreen-Blue_LED_spectra.png) ส่วนนี่เป็นกราฟของ LED แบบแสงขาว (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/48/White_LED.png/350px-White_LED.png) จะเห็นได้ว่าสเปคตรัมของพวกหลอด LED จะสมูทน่ารัก ง่ายต่อการผสม และมีช่วงแสงให้เราเลือกเจาะจงเฉพาะที่ต้องการได้ง่าย ถ้าผสมให้เหมาะสมจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหลอดไฟแบบอื่นๆ สรุป ค่า K ไม่เกี่ยวนะครับ ชอบสีไหนก็เลือกสีนั้น ให้ดูที่สเปคตรัมของมัน ส่วนตัวผมก็ชอบสีที่ 6500K นะ รู้สึกว่ามันกำลังดีไม่ขาวแสบตา และไม่เหลืองเกินไป [on_066]
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: Longhairguy ที่ 03/01/14, [23:58:15] เป็นบทความที่ดี +1
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: JPS ที่ 04/01/14, [01:52:51] อันนี้ไม่ใช่ครับ เพราะค่าK เเต่ละค่า มีปริมาณพลังงานเรียกง่ายๆคือ ความมากน้อย ของความยาวคลื่นในช่วงต่างๆไม่เท่ากันดังกราฟนี้ครับ จะเห็นว่าค่าKในกราฟเเต่ละเส้นที่โค้งไป มันมีปริมาณพลังงานของเจ้าความยาวคลื่นไม่เท่ากันครับ(มีความมาก น้อย ของความยาวคลื่นไม่เท่ากัน) ดังกราฟ (https://upic.me/i/d5/screenshot2556-12-12at1.44.27am.png) & สีของสเปคตรัมทั้งหมด ถ้าเอามารวมกัน คือเเสงขาว ครับ ซึ่งเเสงขาวถ้าเอามาเเยกด้วยปริซึม ก้จะได้สี7หลักๆสีครับนั่นเเหละครับ เเละอย่างที่บอกครับ ค่าKเเละสีของค่าKเเต่ละค่า มันได้จากการเผาวัตถุดำเเล้วดูสีครับ ไม่เกี่ยวกับสีของสเปกตรัมของเเสงเเต่อย่างใดครับ เเต่มันสัมพันธ์กันในเเง่ปริมาณความยาวคลื่นในเเต่ละช่วง ที่มีความเเตกต่างกันในเเต่ละค่าK ซึ่งมันก็สอดคล้องกับ ความยาวคลื่นในเเต่ละช่วง ที่ต้นไม้ตอบสนองได้ดี(ดูดกลืนได้ดี) ครับ ขอยืนยันว่าในกราฟข้างบนมันเป็นกราฟสเปกตรัมของวัตถุดำ ในช่วง visible light ที่แกน y เป็น relative energy คือ E/Emax ครับ ซึ่งถ้าแกน y ถ้าเป็นหน่วยพลังงาน E เฉยๆ จะเป็นประมาณรูปนี้ครับ (http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/imgmod/bbrc1b.gif) คือยิ่ง K มากพลังงานที่ปล่อยออกมาก็จะยิ่งมาก เส้นกราฟมันไม่ทับกัน เวลาเปรียบเทียบเรื่องสีมันจะดูยาก เค้าเลย ใช้แกน y เป็น relative energy E/Emax เพื่อที่กราฟของแต่ละค่า K มันจะได้ทับกัน และจุด peak ของกราฟเท่ากับ 1 วัตถุดำมันเป็นค่า ideal ครับ แสงจากหลอดไฟต่างๆ มันไม่ได้มีแสงครบทุกช่วงความยาวคลื่นกราฟเป็นรูประฆังคว่ำสวยงามแบบนั้น แต่มันน่าเกลียดๆ แบบนี้ครับ (http://i140.photobucket.com/albums/r3/jezdo/osramlumilux.png) การรวมให้ได้แสงขาวไม่จำเป็นต้องมีแสงครบทุกสีนะครับ มีแสงแค่ 3 สีก็รวมกันได้ขาวแล้ว เช่นไฟ LED แสงขาวแบบที่มีหลอด 3 สี RGB จอ LCD ที่ฉายออกมาเป็นสีขาว ก็แยกสเปคตรัมออกมาได้แค่ 3 สีเองครับ (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f4/Red-YellowGreen-Blue_LED_spectra.png/350px-Red-YellowGreen-Blue_LED_spectra.png) ^ แสงขาวสเปคตรัมหน้าตาแบบนี้ก็มีครับ หาค่า K ได้ด้วย อันนี้ก็ไม่ใช่ครับ ดูจากกราฟนะครับ ถ้าคุณบอกว่า "แสง λสั้น(ช่วงแสงสีฟ้า ม่วง) มีมาก ก็จะ K สูง " ทำไมอ่านกราฟอย่างนั้นละครับ [on_065]ผมจะให้ดูกราฟ ลองลากเส้นตัดกราฟในเเนวดิ่ง ลงที่ ความยาวคลื่น=450นาโนเมตร จะเห็นได้ว่า ที่ 450nm ณ. ตำเเหน่งจุดตัดบนกราฟเส้นสีฟ้าคือ 6500K (โดยเเกนyมันคือปริมาณพลังงานหรือว่าง่ายๆคือความมากน้อยของความยาวคลื่น ดังนั้นถ้าจุดใดบนกราฟสูงกว่า หมายถึงการมีปริมาณของความยาวคลื่นค่าหนึ่งๆมากกว่าครับ) ซึ่งจุดที่เส้นที่ผมบอกให้ลากเเนวดิ่งไปตัดกราฟที่เส้นสีฟ้า คือเเสงที่มีค่า K =6500K มีปริมาณ ความยาวคลื่นที่450nm มากกว่า(จุดที่ตัด สูงกว่านะครับ) เเสงที่มีค่าKที่10000 K (เส้นสีดำ) อีกครับ ดังนั้นเเสงที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นๆ อยู่มาก (พิจารณาที่450nm)ก็ไม่ได้มีค่า Kมากกว่า เเบบที่คุณบอกนะครับ (https://upic.me/i/d5/screenshot2556-12-12at1.44.27am.png) ที่มันสูงกว่า เส้น10,000K เพราะ ค่า peak ของ 10,000K มันอยู่นอกกราฟครับ มันสูงสุดที่ความยาวคลื่นสั้นกว่า 400nm ถ้าแสง λสั้น(ช่วงแสงสีฟ้า ม่วง) มีมาก ก็จะ K สูง ถ้าแสง λยาว(ช่วงแสงเหลืองส้มแดง) มีมาก ก็จะ K ต่ำ ดูที่ 6500K นะครับ 450nm =1 650nm = 0.75 ดูที่ 5500k 450nm = 0.94 650nm = 0.9 ดูที่ค่า กลางๆ อาจจะไม่ค่อยชัด ลองเทียบ 10,000K กับ 3000K ดูนะครับ กราฟทั้งสองอัน ไม่สามารถเทียบพื้นที่ใต้กราฟได้โดยตรงนะครับ ต้องใช้การพิจารณาเทียบเคียงกันครับ =.= แกนคนละหน่วย แต่มี degree เท่ากันครับ ไร้หน่วยทั้งคู่ กราฟของคุณ หน่วยเป็น E/Emax ส่วนกราฟ chlorophyll ค่า absorption ก็ไร้หน่วย จะใส่หน่วยเป็น% ลงไปก็ได้ครับ เพราะว่ากราฟอันที่ผมยกมา มันคือ กราฟที่"เเสดงให้เห็นว่า เเสงที่มีค่าKต่างๆกัน จะมีความมาก-น้อย ของความยาวคลื่นในช่วงต่างๆ ที่ไม่เท่ากัน ดังเเสดงในกราฟ" เพราะกราฟที่ผมยกมา เเกนy มันคือ ปริมาณพลังงาน ว่าง่ายๆคือ ความมากน้อย ของความยาวคลื่น ซึ่งถ้ากราฟโด่งๆ คือมีความยาวคลื่น ช่วงนั้นๆมากครับ ส่วนกราฟที่คุณยกมา มันคือกราฟเเสดง"การตอบสนองของรงควัตถุหรือสารสีในพืช ต่อความยาวคลื่นต่างๆกัน" โดยมันเเสดงให้เห้นว่า พืชต้องการความยาวคลื่นในช่วงไหนมากๆ เเละต้องการความยาวคลื่นในช่วงไหนน้อยๆ ดูได้จากความสูงกราฟครับ เพราะเเกนyมันคือ ปริมาณที่พืช absorption ซึ่งคือการดูดกลืนครับ เเละถ้าพืชชอบดูดกลืนเเสงความยาวคลื่นช่วงไหนมาก เเสดงว่า พืชต้องการเเละมีการตอบสนองต่อความยาวคลื่นช่วงนั้นดีครับ วางทับกันตรงๆ ไม่ได้ แต่เทียบเคียงกันได้ครับ อย่างกราฟสเปคตรัม ของหลอดไฟหลายๆ รุ่นที่ผมยกมาให้ดู เค้าไม่ใส่หน่วยด้วยซ้ำครับ เพราะมันใส่ได้หลายค่า จะให้เป็นรูปความเข้มพลังงาน หรือให้เป็นแกนไร้หน่วยแบบ relative energy อย่างกราฟที่คุณยกมาก็ได้ครับ รูปร่างกราฟมันก็เหมือนเดิมครับ แค่เอาค่า max ซึ่งเป็นค่าคงตัวหารเข้าไปก็ไร้หน่วยแล้ว และจุดมุ่งหมายของกราฟสเปคตรัมคือไว้เทียบปริมาณของแต่ละความยาวคลื่นอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องบอกหน่วยครับ คนอ่านกราฟเค้าไม่สนใจ อย่างมากแค่ใส่สเกลให้ซักหน่อยก็พอแล้ว ป.ล. เล่นยัดคำตอบลงไปใน quote คนจะ quote ตอบบ้างงานงอกเลยครับ มึนมากกว่าจะแกะได้ heaven ตรวจทานผ่านๆ ไปรอบเดียว ผิดพลาดต้องขออภัย ต้องไปนอนก่อนละครับพรุ่งนี้มีธุระ ดูดพลังงานมากกระทู้นี้ [on_abe] หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: kibommm01 ที่ 04/01/14, [05:10:15] ใจเย็นๆ ก่อนนะครับ จากที่ผมพิจารณาด้วยวิจารณญาณและความรู้ที่ตนเองมีอาจจะถูกหรือผิดก็ได้นะครับ
ประเด็นที่ 1: ผมเข้าในคุณ JPS ต้องการจะสื่อให้เห็นว่าอย่าไปสนใจค่า K เลยเพราะมันบอกอะไรเกี่ยวกับการเติบโตของพืชไม่ค่อยได้ (อ้างอิง: ค่า K บอกอะไรเกี่ยวกับแสงที่พืชต้องการแทบไม่ได้เลย) ผมคิดว่ามีทั้งส่วนถูกและไม่ถูกนะครับ เพราะค่า K มันคือหน่วยอุณหภูมิสีของแสงที่ผสมกันออกมา (ได้มาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากวัตถุที่ผสมกัน) อุณหภูมิสีของแสง หรือ Correlated Color Temperature ( CCT ) อุณหภูมิสี บ่งบอกค่าเป็น K หรือ Kelvin (อ่านว่าเคลวินนะครับ อย่าอ่านองศาเคลวิน ผิดนะครับ) ทฤษฏีนี้ เป็นการวัดการกระจายแสงของวัตถุสีดำ(black body) ทางฟิสิกส์ ที่ถูกทำให้ร้อน เมื่อร้อนช่วงแรก ๆ จะปลดปล่อยแสงที่อยู่ช่วงความเข้มแสงสีแดงซะมาก แล้วเปลี่ยนเป็นสีส้ม เหลือง ....ไปจนถึงน้ำเงิน (ลองนึกถึงถ่านเมื่อโดยเผาไฟช่วงแรกจะเป็นสีแดง สักพักพออุณหภูมิสูงขึ้นจะเป็นสีเหลือง ==> ขาว ===>น้ำเงิน โดยสีขาวกับน้ำเงินจะเห็นได้ในเตาเผาโลหะพวกมีด ดาบ) หลอดที่มีอุณหภูมิสีน้อยประมาณ 4000 K จึงดูออกแสงสีส้ม และจะถูกเรียกว่า warm light ขณะที่หลอดที่มีอุณหภูมิสีสูง ๆ จะดูมีสีน้ำเงิน (Cool light ) บอกประมาณโทนสีร้อน โทนสีเย็น ประมาณนี้ ถ้าระบบมาตรวิทยาที่ใช้วัดอ้างอิงจากมาตรฐานเดียวกัน ก็พอจะคาดเดาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงกับค่า K อย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะอย่างที่บอกมันคือการผสมผลรวมทั้งหมดของคลื่นแสงแล้วเปล่งออกมาให้ตาของเรามองเห็นเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่า ค่า K สามารถอ้างอิงถึงความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นองค์ประกอบของแสงชนิดนั้นๆ ได้ และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้นบางช่วงความยาวคลื่น พืชก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อการเจริญเติบโตได้นะครับ แต่ผมเข้าใจที่คุณ JPS อยากจะเน้น สื่อสารให้ผู้อ่านสนใจค่าความยาวคลื่นแสงจำเพาะที่พืชใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงมากกว่า (ซึ่งอาจจะเรียกว่าสเปกตรัมก็ได้) เพราะพืชจะมีกลุ่มรงควัตถุคลอโรฟิลล์ที่มีหน้าที่ดูดกลืนแสง และนำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อการเจริญเติบโต โดยที่คลอโรฟิลล์นี้จะดูดกลืนแสงช่วงความยาวคลื่นช่วงแสงสีน้ำเงิน และแดง เป็นหลัก (ซึ่งอนุมานได้ว่าช่วงคลื่นแสงทั้ง 2 ช่วงนี้กระตุ้นกระบวนการภายในเซลล์ของพืชเพื่อการเจริญเติบโต เพราะไม่อย่างนั้นจะดูดกลืนไปทำซากอะไร) ดังนั้นช่วงความยาวคลื่นแสงสีอื่นๆ เช่นช่วงความยาวคลื่นแสงสีเขียวจึงไม่มีประโยชน์ เพราะคลอโรฟิลล์ไม่ได้ดูดกลืนนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นคุณ JPS จึงคิดว่าการพิจารณาความยาวคลื่นแสงที่จำเพาะ จะเป็นประโยชน์มากกว่าจึงแนะนำให้เลือกใช้หลอดไฟที่มีองค์ประกอบความยาวคลื่นแสงที่หลอดไฟนั้นๆ ปล่อยออกมาเป็นสำคัญเพราะตรงประเด็นที่พืชนำไปใช้สังเคราะห์แสงได้โดยตรง ดังนั้นผมจึงสรุปว่า ถูกครับเพราะช่วงความยาวคลื่นแสงอื่นๆ เช่นสีเขียวแทบไม่มีประโยชน์ให้พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเลย ประเด็นที่ 2: กราฟของน้องรอม (Rommy) น้องรอมครับพี่ว่ามันตัดมาเฉพาะช่วง visible light จริงๆครับ และแกน Y น่าจะเป็น relative energy E/Emax เพื่อที่กราฟของแต่ละค่า K มันจะได้ทับกัน และจุด peak ของกราฟเท่ากับ 1 (ตามที่คุณ JPS) บอกครับ ประเด็นที่ 3: การอ่านกราฟของน้องรอม "อันนี้ก็ไม่ใช่ครับ ดูจากกราฟนะครับ ถ้าคุณบอกว่า "แสง λ สั้น(ช่วงแสงสีฟ้า ม่วง) มีมาก ก็จะ K สูง " ผมจะให้ดูกราฟ ลองลากเส้นตัดกราฟในเเนวดิ่ง ลงที่ ความยาวคลื่น=450นาโนเมตร จะเห็นได้ว่า ที่ 450nm ณ. ตำเเหน่งจุดตัดบนกราฟเส้นสีฟ้าคือ 6500K (โดยเเกน y มันคือปริมาณพลังงานหรือว่าง่ายๆคือความมากน้อยของความยาวคลื่น ดังนั้นถ้าจุดใดบนกราฟสูงกว่า หมายถึงการมีปริมาณของความยาวคลื่นค่าหนึ่งๆมากกว่าครับ) ซึ่งจุดที่เส้นที่ผมบอกให้ลากเเนวดิ่งไปตัดกราฟที่เส้นสีฟ้า คือเเสงที่มีค่า K =6500K มีปริมาณ ความยาวคลื่นที่450nm มากกว่า(จุดที่ตัด สูงกว่านะครับ) เเสงที่มีค่าKที่10000 K (เส้นสีดำ) อีกครับ ดังนั้นเเสงที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นๆ อยู่มาก (พิจารณาที่ 450nm)ก็ไม่ได้มีค่า K มากกว่า เเบบที่คุณบอกนะครับ" รอมครับ กราฟจริงๆ จะเป็นแบบที่คุณ JPS บอกครับ รอมต้องเทียบจากกราฟเต็มรูปแบบ ดังนั้นการแปลผลจากกราฟของรอมนั้นอาจจะไม่ถูกทั้งหมดซะทีเดียวนะครับ เช่นจุดพีคของ 10000 K อยู่ที่ต่ำกว่า 400 nm. จริงครับ หรือที่ 3000 k จุดพีคอยู่สูงกว่า 700 nm. ดังกราฟ (https://upic.me/i/vs/blackbodyspectrum_loglog_150dpi_en1.png) (https://upic.me/show/48934488) แต่พี่ว่าภาพนี้อาจจะทำให้เห็นและเข้าใจง่ายกว่า แต่ต้องเทียบจากอุณหภูมิสีของดาวเลยครับออกไปนอกโลกเลย (https://upic.me/i/ui/star_colors.png) (https://upic.me/show/48934479) มันคือการบาลานซ์กันของช่วงความยาวคลื่นแสงน่ะครับ คุณ JPS ครับน้องรอมยังเป็นน้องน้อยอยู่ครับ ยังแปลผลจากกราฟตรงไปตรงมาและอาจจะยังไม่เคยเจอกราฟการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณเปรียบเทียบแบบละเอียดหลากหลายรูปแบบน่ะครับ เลยอาจจะมีการเข้าใจผิดได้ ประเด็นที่ 4: การเทียบพื้นที่ได้กราฟ ในความคิดของผมมันมีทั้งส่วนที่เทียบกันได้ และเทียบกันไม่ได้นะครับ ด้วยความเคารพผมว่าส่วนที่มันทียบกันได้ก็คือแกน X มันเป็น wavelength(nm.) ที่ช่วง visible light เหมือนกัน จึงพอเทียบกันได้ว่าแสงที่ K ต่างๆ ช่วงความยาวคลื่นแสงใดเป็นองค์ประกอบบ้าง (เน้นนะครับจากค่า K อุดมคติทางฟิสิกส์/ideal เพราะแสงจากหลอดไฟบางชนิดไม่ได้มีกราฟที่สวยงามขนาดนั้นอย่างที่คุณ JPS บอกเลยครับ) แล้วช่วงคลื่นแสงไหนที่รงควัตถุนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงบ้าง แต่แกนของกราฟ Y ไม่ได้เหมือนกัน และไม่น่าจะใช้พื้นที่ใต้กราฟบอกเชิงปริมาณที่สามารถจะมาเทียบกันถึงปริมาณที่รงควัตถุดูดกลืนเข้าไป หรือปริมาณของความยาวคลื่นแสงที่มีอยู่ (ตอนนี้ผมง่วง อ่านดูคงงงๆ) ตรงส่วนนี้ก็คงเทียบไม่น่าจะได้ครับ แต่ถ้าเทียบกันเอง ในกราฟของตัวเองพอจะอ้างอิงได้อยู่ จริงๆ ด้วยครับกระทู้นี้ดูดพลังมาก ว่างๆ ถ้ามีเวลาจะเข้ามาเขียนเรื่องเกี่ยวกับ 1.การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช จริงๆ แล้วรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืชมีมากมายไม่ใช่มีแค่ คลอโรฟิลล์ a, b, c, d แคโรทีนอยด์ จริงๆ ยังมีอีกมากมาย และพืชแต่ละชนิดก็มีไม่เหมือนกัน เช่นสาหร่ายกับพืชมีดอก ก็มีกลุ่มรงควัตถุไม่เหมือนกันนะครับ และรงควัตถุแต่ละชนิดก็มีการดูดกลืนคลื่นแสงที่ช่วงความยาวคลื่นแตกต่างกัน เพราะอะไร? 2. สเปกตรัม กับค่าอุณหภูมิสีของแสง (K) ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่มีผมต่อการเจริญเติบโตของพืช ยังมีเรื่องของ Light Intensity, Power Consumption, Photosynthetically Active Radiation, Photosynthetically Usable Radiation,Photosynthetically Stored Radiation อีกเยอะครับ ศึกษากันได้ไม่จบสิ้น สุดท้ายที่ผมเขียนคือความเห็นส่วนตัวของผมนะครับและให้ความเคารพทั้งคุณ JPS และน้องรอมด้วยครับ ไม่ได้มีเจตนาร้าย กับฝ่ายใดผ่ายหนึ่งผิดถูกอย่างไรช่วยกันวิเคราะห์และให้อภัยกันนะครับ จากใจของผมผมดีใจที่เห็นคนไทยคิดและวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรครับ [on_026] หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: JPS ที่ 04/01/14, [14:18:19] ประเด็นที่ 4: การเทียบพื้นที่ได้กราฟ
อันนี้ผมก็อธิบายได้ไม่ดีครับใช้คำไม่ค่อยถูกด้วย คือผมจะสื่อว่าค่าแสงที chlorophyll เอาไปใช้ได้เนี่ยมันมีแค่ประมาณ 20% ของช่วงแสงที่มองเห็นน่ะครับ ตามพื้นที่ใต้กราฟของมัน แสงที่มันใช้ไม่ได้น่ะ มันเป็นพลังงานที่สูญเปล่าครับ ในกำลังวัตที่เท่ากัน ถ้าหลอดไฟเปล่งแสงที่มีสเปคตรัมเหมือนที่ chlorophyll ต้องการเป๊ะๆ ได้ ในกำลังวัตต์ที่เท่ากัน ย่อมมีประสิทธิภาพดีกว่าหลอดไฟที่เปล่งแสงออกมาเต็มทุกค่าความยาวคลื่นแบบแสงจาก blackbody ครับ แล้วจริงๆ กราฟปริมาณแสงช่วงต่างๆ ที่ chlorophyll ดูดกลืนได้ แค่เปลี่ยนคำพูดครับว่าเป็น กราฟสเปคตรัมของแสงที่ chlorophyll ต้องการ แค่นี้ก็เป็นหน่วยเดียวกันได้แล้วครับ จับ E/Emax ซะ กราฟมันก็เทียบกันได้แล้ว เหมือนที่เอากราฟสเปคตรัมของ blackbody ที่ค่า K ต่างกันมาเทียบกันนั่นแหละ ใครที่เคยมี grow light จะเข้าใจดีเลยครับ ไฟแค่อ่อนๆ สีม่วงๆ กราฟสเปคตรัมมีแค่สองแท่งน้ำเงินแดง แต่ต้นไม้คายฟองมากกว่าแสงขาวที่กำลังวัตต์เยอะกว่าเป็นเท่า เรื่องรงควัตถุที่มี คลอโรฟิลล์ a, b, c, d แคโรทีนอยด์ อันนี้ทราบครับ แต่ chlorophyll c, d เนี่ยส่วนมากจะอยู่ในพืชชั้นต่ำที่เราไม่ต้องการเช่นตะไคร่และแพลงตอนพืช การให้แสง full-range spectrum ที่มีช่วงแสงที่ chlorophyll c, d ต้องการก็มีแต่จะเข้าไปช่วยให้ตะไคร่เติบโตได้ดีครับ ส่วนแคโรทีนอยด์นี่ก็มีไม่เยอะและมันก็มีดูดกลืนแสงช่วงทับกับ chlorophyll อยู่แล้วผมจึงไม่ได้พูดถึงแต่ chlorophyll a,b ครับ คุณ JPS ครับน้องรอมยังเป็นน้องน้อยอยู่ครับ ยังแปลผลจากกราฟตรงไปตรงมาและอาจจะยังไม่เคยเจอกราฟการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณเปรียบเทียบแบบละเอียดหลากหลายรูปแบบน่ะครับ เลยอาจจะมีการเข้าใจผิดได้ ผมไม่ได้โกรธอะไรน้องเค้านะ อ่านแล้วเหมือนโกรธเหรอ... jealous ผมไม่ได้รู้จักตัวจริงน้องเค้าน่ะครับไม่ทราบว่าเป็นใครอายุเท่าไหร่ จริงๆ เรื่องอายุก็ไม่เกี่ยวหรอกครับ คนอายุมากกว่าประสบการณ์มากกว่าแต่เข้าใจผิดมาตลอดมีเยอะแยะ การโต้แย้งมันก็อย่างนี้แหละ เถียงกันด้วยข้อมูลวิชาการครับ ประเทืองปัญญาดี ผมก็ไม่ได้มั่นใจว่าตัวเองถูกทุกเรื่องนะครับ เห็นใครเข้าใจต่างจากเราก็ต้องมาถกกันดูครับว่าใครเป็นฝ่ายที่เข้าใจถูก ถ้าเราเข้าใจผิดมาก็จะได้เข้าใจให้ถูกครับ ยิ่งเป็นข้อมูลที่ตั้งใจเขียนมาเป้นบทความวิชาการเผยแพร่ ให้อ่านกันนี่ยิ่งต้องถกกันให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดครับเพื่อพัฒนาวงการไม้น้ำบ้านเรา [on_066] เรื่องวิชาการมันต้องมีการโต้แย้งถกเถียงกันครับถึงจะเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ ตรงไหนผมผิดเถียงมาได้เลยครับไม่ต้องยั้งเดี๋ยวผมเถียงกลับเองครับไม่ต้องเกรงใจกัน [on_026] คนไทยชอบขี้เกรงใจกันในเรื่องที่ไม่ควรเกรงใจครับ เล่นบอร์ดต่างประเทศเถียงเรื่องวิชาการณ์กันทีนี่มันส์มาก เอาไปลง drama addict ได้เลยทีเดียว ถ้าไม่ถกเถียงเชื่อตามกันไปเรื่อยๆ มันก็ไม่ต่างอะไรกับเชื่อสรรพคุณน้ำหมักป้าเช็งหรอกครับ ที่ผมเขียนอาจจะมีที่อ่านแล้วดูมึนๆ หน่อยนะครับ เรียบเรียงคำพูดไม่ค่อยเก่ง พอดีเขียนจากความเข้าใจที่เคยศึกษามาน่ะครับนึกอะไรได้ก็พิมพ์ลงไป ไม่ได้แปลจากบทความ รูปก็เซิชๆ google เอา ข้อมูลหลายๆ เรื่องก็ปะติดปะต่อจากข้อมูลหลายๆ แหล่งที่เคยศึกษาแล้วประมวลออกมา ไม่รู้จะใส่ reference ยังไง [on_abe] พอดีเคยสนใจแล้วก็ค้นคว้าข้อมูลเรื่องแสงที่พืชต้องการอยู่ช่วงนึง(จะทำ growlight เล่นดู) และพอจะมีความรู้เรื่องสีของแสงอยู่จากประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับการ proof สีในงานสิ่งพิมพ์อยู่บ้าง หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่อง"ความสัมพันธ์ของค่าK (color temperature) & ความยาวคลื่นเเสง(wavelength)"★★★★★ เริ่มหัวข้อโดย: ROMMY ที่ 04/01/14, [19:03:17] ขอบคุณพี่หมอบูมนะครับ ที่มาคอมเม้นท์ เเละขอบคุณคุณ JPS ด้วยค้าบบบ [เจ๋ง]
เดี๋ยวมาอ่านนะครับ ยาวมากๆๆ 55555 .... ดีมากๆเลยครับ ได้เเสดงความคิดเห็นเพิ่มพูนความรู้กันครับ ^^ To.คุณ JPS ผมเเฮปปี้มากๆครับ ได้โต้เเย้ง ยกข้อคิดเห็นมาคุยกัน ผมว่ากระทู้นี้มีสาระเเละเพิ่มรอยหยักในสมองได้ดีมากๆครับ เเละที่ผมเเสดงความคิดเห็นไป ด้วยความเคารพนะครับ คือผมคิดเห็นอย่างไรก็จะพิมพ์ไปเเบบนั้นครับ ^^ เเละเท่าที่อ่านๆคร่าวๆ ผมผิดเรื่องกราฟที่ยกมาครับ เพราะว่าผมเอากราฟที่ตัดมาเเค่ส่วนๆเดียว ไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมดของกราฟครับ ยังไงเดี๋ยวผมจะมาอ่านอีกรอบนะครับ (ช่วงนี้ยุ่งๆนิดหน่อยครับ^^) ถ้าคุณJPSมีตรงไหนเพิ่มเติม พิมพ์เเสดงความคิดเห็นไว้ได้เลยครับ เดี๋ยวผมจะมาอ่านพร้อมกับอ่านคอมเม้นท์พี่หมอบูมนะครับ ขอบพระคุณค้าบบบบ beg1 ด้วยความเคารพค้าบบบบบบ ROMMY &หวังว่าจะไม่เข้าใจเจตนาผมผิดไปนะครับ.... ขอบพระคุณอีกครั้งครับ .. [เจ๋ง] |