Aqua.c1ub.net

Fish & Aquatic Pet => ห้องปลาก้นตู้ => ข้อความที่เริ่มโดย: stepkang ที่ 20/04/11, [14:48:12]



หัวข้อ: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 20/04/11, [14:48:12]
สืบเนื่องจากกระทู้นี้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=130981.0
ผมก็เลยนั่งแปลออกมาอ่าน
เลยคิดว่าอาจจะมีพี่ๆเพื่อนๆท่านใดอยากอ่านแต่ไม่มีเวลาแปล
ผมก็เลยเอามานำเสนอครับ
ไม่สมควร ลบได้เลยนะครับ



ยังไงก็ขอเชิญ ชมได้ครับ......


Breeding and fry development in Corydoras rabauti

การเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกปลา  Corydoras rabauti
Corydoras rabauti เป็นปลาที่สวยงามที่มีลักษณะคล้ายกับชนิดอื่นๆ  ซึ่งโดยปกติจะเป็น C.zygatus
และร้านค้ามักจะรวมทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน
แต่ถ้ามีความเข้าใจก็ไม่ยากที่จะแยกมันออกจากกัน
(https://upic.me/i/ha/c_rabauti2.jpg) (https://upic.me/show/23182880)
Corydoras rabauti
(https://upic.me/i/io/c_zygatus.jpg) (https://upic.me/show/23182882)
C.zygatus


           C.rabauti เป็นปลาที่มีลำตัวอ้วน มีสีสนิมที่ลำตัวและครีบ  มีแถบสีเขียวพาดตามยาว
บริเวณด้านบนของลำตัวสิ้นสุดจะโค้งลงที่บริเวณคอดหาง  
แต่ถ้าปลาที่มีสุขภาพดีจะมีสีออกทองๆ  
แต่สำหรับ C.zygatus   จะมีขนาดใหญ่และยาวกว่านิดหน่อย
มีสีพื้นเป็นสีเทาออกชมพู มีแถบสีเขียวพาดตามยาวบริเวณด้านบนของลำตัว
มีส่วนแถบเงาๆอยู่บริเวณปลาย ไม่มีส่วนโค้งลงของแถบที่คอดหาง
และมีแถบสีทองแดงป้ายอยู่บริเวณใต้ตาเล็กน้อย
          
            สำหรับการเพาะพันธ์ุนั้น ผมจะใช้ พ่อแม่พันธุ์ขนาดใหญ่ บำรุงด้วยหนอน และ ไรแดงหรือ
บางทีก็เรียกไรน้ำจืด ไรฝุ่น เป็นบางครั้ง  
โดยปลาชุดนี้เคยไข่มาแล้วเมื่อ สอง สามปีก่อน  โดยพวกมันได้ไข่ประมาณ  200 ฟอง
ไว้ที่พื้นตู้ในบริเวณที่เอาออกได้ยากและมันก็เป็นไข่เสียมันเสีย

             โดยปลาของผมได้เริ่มวางไข่อีกครั้งในฤดูร้อนของปี 2009
โดยไข่ทุกๆวันที่ผมได้ทำการเปลี่ยนน้ำ
แต่ก็ไม่มีไข่ที่ได้รับการผสมเลย  
ผมมีตัวเมีย สี่ ตัว และตัวผู้ หนึ่งตัว ซึ่งไม่ใช่อัตราที่ดีเลย
(คำแนะนำคือให้ใช่ตัวผู้มากกว่าตัวเมียในการเพาพันธุ์ )
แต่ในที่สุดผมก็ได้ไข่มา 200 ฟอง ผมเก็บไข่ที่ได้รับการผสมไว้ 50 ฟอง


สำหรับพารามิเตอร์ของตู้คือ
Tank size: 36” x 12” x 12”
Temp: 80°F
ph: 6.5
Carbonate hardness: 1KH
General hardness: 1GH
Filtration: Air-powered sponge filter plus Fluval 3 power filter for water movement กรองฟองน้ำ
Substrate: River sandทรายแม่น้ำ
Decoration: ไม้พัน Java fern, จอกแหนม
Other tank mates: Brochis splendens ฝูงเล็กๆ


         ปลาได้ไข่ไว้ในบริเวณ ต่างที่มีการไหลของน้ำมาก
และมีอากาศเยอะ
ฟักออกจากไข่ในอ่างผมใช้ methylene blue and
a vigorous air stone เพื่อป้องกันเชื้อรา
มันใช้เวลาในการฟักน้อยกว่าที่ฉันคิด
ลูกปลาบางตัวยังคงออกมาหลังจากครบสัปดาห์
หลังจากนั้นพวกมันได้ดูดไข่แดงจากถุงใช้เป็นอาหาร
นักเลี้ยงบางคนหลีกเลี่ยงการใช้ methylene blue
เพราะมันสามารถทำให้เปลือกไข่แข็งและป้องกันไม่ให้ลูกปลาฟักออกจากไข่ได้
ผมไม่รู้ แต่นี่เป็นที่ผิดปกติอย่างแน่นอน

ลูกปลาถูกเลี้ยงด้วยของหนอนจิ๋วและอาหารสำเร็จรูป ZM100

(https://upic.me/i/b9/icon_zm100.png.jpeg) (https://upic.me/show/23184827)
        ZM100

ในแต่ละวันที่ผมเปลี่ยนครึ่งหนึ่ง โดยน้ำต้องมีอุณหภูมิเดียวกัน
ผมปล่อยหอยทากแอปเปิ้ลไว้กับลูกปลาเพื่อป้องกัน
ไม่ให้เชื้อราขึ้นบนด้านล่างพลาสติก
ซึ่งอาจเกิดความเสียหายหรือแม้กระทั่งฆ่าลูกปลาได้

(https://upic.me/i/sh/c_rabauti5.jpg) (https://upic.me/show/23184989)
ลูกปลาอายุ 1 สัปดาห์
เริ่มจะมีสีมากขึ้นและมีแถบสีที่ตาชัดเจน
แต่ส่วนท้ายของลำตัวยังคงโปร่งใส่เหมือนเดิม

            ผมย้ายปลาออกเป็นสองตู้กับปลาแพะ ขนาดเล็กอื่น ๆ และกุ้ง
 ตู้หนึ่งอยู่บนชั้นวางด้านบน (อบอุ่น) และอีกตู้ที่วางด้านล่างซึ่งเย็นกว่า
 ฉันไปเที่ยวในวันหยุดสัปดาห์และเมื่อฉันกลับมาลูกปลาในตู้บนก็ไม่รอด
ส่วนพวกที่อยู่ในตู้ล่างที่น้ำเย็นกว่านั้นโตดี


(https://upic.me/i/3m/c_rabauti6.jpg) (https://upic.me/show/23185936)
ลูกปลาอายุ 2 สัปดาห์
ผมเริ่มให้อาหารโดยใช้กุ้งน้ำเค็มฟักใหม่ๆและTetra Tabimin
ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของปลาแพะทุกสายพันธุ์  
ตอนนี้ ครีบหลังของปลาเป็นสีน้ำตาลช็อคโกแลตและวงตรงกลางเริ่มกว้างขึ้น
ด้านหลังของปลาขาวมากขึ้น หนวดและครีบได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่

(https://upic.me/i/kr/c_rabauti8.jpg) (https://upic.me/show/23186179)
ลูกปลาอายุ 4 สัปดาห์
หลังจากครบ1 เดือนผมสังเกตุว่ามีลูกปลามีครีบที่ขาดหายไป
ผมไม่สามารถตรวจสอบสาเหตุของการนี้ แต่ผมคาดเดาว่า
ความผิดปกติทางพันธุกรรม• -- แต่ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะพ่อแม่สมบูรณ์แบบ
•ความเสียหายในระหว่างการฟักไข่เป็นเวลานาน -- มีโอกาสผมคิดว่า
•โดนกุ้งกินไปในตอนเด็ก -- ผมยังไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ แต่ผมคิดว่ามันเป็นไปได้
•ความเสียหายจากเชื้อราหรือโรคอื่น ๆ -- เป็นไปได้

(https://upic.me/i/f7/c_rabauti9.jpg) (https://upic.me/show/23186274)
ลูกปลาที่ครีบหายไป มุมนี้เหมือนปลากดเลย อ่ะ

ถึงตอนนี้รูปแบบการพัฒนาเป็นไปอย่างเต็มที่และสามารถเห็น
สามแถบสีที่แตกต่างจากด้านหน้าไปด้านหลัง
เป็นสนิมสีน้ำตาล, สีดำและสีฟ้าขาว
ราดออกด้วยครีบหลังช็อคโกแลต ตามีแถบจาง ๆ
โดยตอนนี้ยังคงมองเห็นได้เพียงแค่สีช็อคโกแลตที่ครีบกระดูกเชิงกราน

(https://upic.me/i/vz/c_rabauti10.jpg) (https://upic.me/show/23186604)
ลูกปลาอายุ 6 สัปดาห์
ลวดลายของลูกปลาค่อยๆจางลงและสีของตัวเต็มวัยที่คุ้นเคยกับสถานที่จะชัดเจนขึ้น
ปลาน้อยเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็วต่อไปครับ

(https://upic.me/i/b0/c_rabauti11.jpg) (https://upic.me/show/23186606)
Corydoras rabauti  อายุ 2 เดือน



เป็นยังไงบ้างครับเพื่อนๆ พี่ ๆไม่ทราบว่ามีใครตามอ่านหรือปล่าว
ถ้าใครอ่านอยู่ช่วยติชมด้วยนะครับผม  [on_062] [on_062] [on_062] [on_062] [on_062]

Credit :Graham Ramsay
From  :http://www.scotcat.com/articles/article114.htm





หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: Fibo ที่ 20/04/11, [15:04:53]
ดีมากครับ  ใช้ได้ [on_019]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: บอลลูน ที่ 20/04/11, [15:15:14]
เยี่ยมมากครับ  emb01


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: firetailed ที่ 20/04/11, [16:20:34]
ขอบคุณครับ  [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: ค้อนสายฟ้า ที่ 20/04/11, [16:28:47]
ดีมากครับ  + ให้ครับ

หา พวก L บ้างครับ


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: Scrubb ที่ 20/04/11, [16:35:36]
โคตรเจ๋งอ่ะนาย เอาอีกๆ  ้hahaha

+ ให้ครับ  ชอบราบิวตี้ตอน 6 สัปดาห์มาก


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: msw ที่ 20/04/11, [17:06:34]
เยี่ยมครับ
ยินดีที่มีคนต่อยอด เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆครับ

daphnia  - เหมือนไรน้ำจืดบ้านเรา


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: ทุ่งญ่าสีเขียว ที่ 20/04/11, [17:46:55]
แปลได้ดี กว่าผมเยอะ ก็ต้อง  +ไป


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 20/04/11, [20:42:02]
ดีมากครับ  ใช้ได้ [on_019]

ขอบคุณครับผม  [on_066] [on_026] [on_026]


เยี่ยมมากครับ  emb01
ขอบคุณครับ  emb01 emb01



ขอบคุณครับ  [เจ๋ง]

ครับ  emb01 emb01

ดีมากครับ  + ให้ครับ

หา พวก L บ้างครับ

ครับไว้จะหามาให้ได้อ่านกันนะครับ

โคตรเจ๋งอ่ะนาย เอาอีกๆ  ้hahaha

+ ให้ครับ  ชอบราบิวตี้ตอน 6 สัปดาห์มาก

ผมก็ชอบ ครับ สีมันเข้มดี ไว้จะแปลมาอีกนะครับ

เยี่ยมครับ
ยินดีที่มีคนต่อยอด เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆครับ

daphnia  - เหมือนไรน้ำจืดบ้านเรา

ครับผมเดี่ยวจะแปลมาให้อ่านกันอีกนะครับ
แต่ว่า ไอ้เจ้า daphnia  เนี้ยผมหาข้อมูลตั้งนานเลย
ขอบคุณนะครับที่มาเฉลย

แปลได้ดี กว่าผมเยอะ ก็ต้อง  +ไป

ขอบคุณครับ แต่ผมพึ่งหัดแปล
คงต้องขอคำแนะนำด้วยครับ
 emb01 emb01


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: ossca ที่ 20/04/11, [22:12:53]
เยี่ยมมากค่ะ ขอบคุณนะคะ


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: runner ที่ 20/04/11, [22:15:17]
แจ่มเลยครับ
ผมว่าเดี๋ยวตั้งกระทู้นึงขึ้นมาช่วยๆกันแปลแล้วเอาไปใส่น่าจะดีนะครับ [on_018]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: บัง! ที่ 20/04/11, [22:19:44]
daphnia ก็ที่บ้านเราเรียกไรแดงนั่นแหละครับ บางทีก็เรียกไรน้ำจืด ไรฝุ่น

ใช้หอยป้องกันเชื้อราที่ตู้นี่ดีแฮะ ไว้ลองมั่ง


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: akarin ที่ 20/04/11, [22:57:57]
โคตรเจ๋งเลยครับ lau01 + ให้ครับ  [on_066] ถ้าได้พันธุ์อื่นบ้างก็จะดีมากครับ


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: John-Amazonas ที่ 20/04/11, [23:06:42]
ไม่บวกไม่ได้จิงๆๆแล้ว อิอิ

พอดีช่วงนี้ลูกแพะปลาในตู้

เกิดได้หลายตัวด้วย

เด๋วเอาไปลองใช้คับ [เจ๋ง] [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 22/04/11, [10:14:54]
เยี่ยมมากค่ะ ขอบคุณนะคะ
ครับบบผม emb01 emb01
แจ่มเลยครับ
ผมว่าเดี๋ยวตั้งกระทู้นึงขึ้นมาช่วยๆกันแปลแล้วเอาไปใส่น่าจะดีนะครับ [on_018]

ยังไงครับ งงๆ

daphnia ก็ที่บ้านเราเรียกไรแดงนั่นแหละครับ บางทีก็เรียกไรน้ำจืด ไรฝุ่น

ใช้หอยป้องกันเชื้อราที่ตู้นี่ดีแฮะ ไว้ลองมั่ง


แอดมินลองแล้ว เอาผลมาบอกด้วยนะครับผม [on_062] [on_062]

โคตรเจ๋งเลยครับ lau01 + ให้ครับ  [on_066] ถ้าได้พันธุ์อื่นบ้างก็จะดีมากครับ

ครับเดี่ยวคอยชมตอนต่อไป ครับผม

ไม่บวกไม่ได้จิงๆๆแล้ว อิอิ

พอดีช่วงนี้ลูกแพะปลาในตู้

เกิดได้หลายตัวด้วย

เด๋วเอาไปลองใช้คับ [เจ๋ง] [เจ๋ง]

เอาลูกปลามาแบ่งกันชม + กับวิธีการอนุบาลของพี่มา
แชร์กับเพื่อนๆก็ได้นะครับผม


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: JeDI ที่ 22/04/11, [14:11:05]
เป็นกระทู้ที่ดีมากเลยคับ


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้ บทความดีๆ การเพาะพันธ์ปลาแพะ
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 22/04/11, [15:23:51]
มาต่อกันที่ตัวที่ 2 นะครับ นั่นคือ.......

Corydoras adolfoi คู่แฝดของ ดุฟนั่นเอง

(https://upic.me/i/9a/corydoras20adolfoi1.jpg) (https://upic.me/show/20999416)

สำหรับบทความนี้เป็นของ คุณ Mona Opland

เริ่มกันเลยนะครับ

     ปลาของผมเป็นปลาป่าทั้งหมด 8 ตัว
พวกมันได้วางไข่หลังจากที่ผมได้มันมาเพียง
3 สัปดาห์ ผมเลี้ยงพวกมันด้วยอาหารที่มีคุณค่า
ทางอาหารสูงและใช้อาหารแช่แข็งหลายๆตัวเช่น
หนอนแดงแช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง อาหารเม็ดและอาหารแผ่นสำหรับ
ปลาแพะ ของ Hikari และ JBL โดยจะไม่ให้อาหารซ้ำกันเกิน 2 วัน
เพื่อความหลากหลายของอาหารครับ

     ตู้ใบนี้ใช้ไฟเพียงสำหรับตู้ไม้น้ำเพียง 1 หลอด เป็นหลอดที่มีสีออก
ชมพูเล็กน้อยซึ่งสว่างน้อยมาก ปลาแพะพวกนี้จะรู้สึกว่าพวกมันปลอดภัย
เมื่อแสงสว่างไม่มากนัก มีรากไม้คอยบังแสงบ้าง และมีวัสดุลองพื้นเป็นทราย

     ผมจะเปลี่ยนน้ำประมาณ 10 %ทุกๆ วัน หรือสองวัน และวัดค่า พารามิเตอร์ของ
น้ำได้ pH 6.7  ส่วนค่า Hardness น้อยมากๆ kH 1 และ  gH 1หรือ 2
     หลังจากวางไข่ครั้งแรก พวกมันเกือบจะวางไข่อย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลา 7 เดือนแล้ว แต่ได้หยุดไปในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ประมาณ3 สัปดาห์ แล้วพวกมันก็เริ่มไข่อีกครั้ง
และได้ไข่ทุกสัปดาห์ตั้งแต่นั้นมา ตอนนี้ผมมีลูกปลาประมาณ 20 ตัง
อายุ 5 และ 6 เดือนขึ้นไป ตอนนี้ฉันจะหยุดการเก็บไข่ ก่อนที่เวลาแห่งการ
พักร้อนกำลังจะมาถึง  [on_062] [on_062]
  
     ตัวเต็มวัยมักจะกินไข่ที่ติดอยู่บนกระจก แต่ไข่ในจาวามอสส่วนมากจะรอด
คู่ผสมพันธุ์ครั้งละหนึ่งคู่ คือ หนึ่งหญิงและหนึ่งชาย
ส่วนที่เหลือจะไม่เข้าร่วมผสมด้วย พ่อแม่จะไม่กินไข่ของตัวเอง
แต่ตัวอื่นๆที่เหลือจะกินทันทีที่มีโอกาศ    
ดังนั้นฉันมักจะนั่งเฝ้าและเก็บไข่ออกมาทีละฟองตามที่พวกมันได้วางไข่ไว้

(https://upic.me/i/6z/peat_to_anthracite.jpg) (https://upic.me/show/23276642)
(https://upic.me/i/yo/pmhands.jpg) (https://upic.me/show/23276645)
พีท หรือ พีทมอสครับ
     เคล็ดลับที่ดีที่สุดสำหรับการฟักไข่ของผมคือการเอาพีทมอสใส่ในไว้ในถุงน่อง
แช่ทิ้งไว้ในภาชนะที่ฟักไข่ด้วยวิธีนี้ไม่มีไข่ติดเชื้อราเลยสักฟองเดียว
แต่อย่าลืมเปลี่ยนน้ำก่อนการนำไข่มาฟักด้วยเพราะน้ำนั้นได้รับกรดมากจากพีทมอสมาก
และจะเป็นการดีที่สุดที่จะปรับน้ำก่อนการฟักไข่
ซึ่งมันจะทำได้ยากมากขึ้นหลังจากที่ลูกปลาได้เกิดแล้ว
พวกมันตายง่ายแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพียง 2 องศาเซลเซียส  
มันเป็นลูกปลาที่มีความไวต่อค่าน้ำมาก

     ผมให้อาหารลูกปลาด้วยลูก brine shrimps
ผมคิดว่าน่าจะเป็นอาทีเมีย
ที่เกิดให่มในช่วง 4-5 สัปดาห์แรกหลังจากนั้น
ผมค่อยๆให้อาหารอื่น ๆ
โดย C.adolfoi นั้นยากที่จะอนุบาลเพราะพวกมันไม่แตะต้อง
อาหารอื่นเลยยกเว้น brine shrimps เกิดใหม่
สิ่งที่สำคัญคือตู้ต้องสะอาดและผมได้เปลี่ยนน้ำ 95% ทุกๆวัน
โดยน้ำที่ใช้เปลี่ยนนั้นจะต้องมีทั้งอุณหภูมิและ pH ที่เท่ากันกับน้ำในตู้
ผมยังทำความสะอาดตู้ทุกวันในสัปดาห์แรกด้วยการขัดตู้ด้วยน้ำร้อน
เป็นงานที่หนักมาก แต่ทำให้อัตราการรอดตายสูง :)
  
     C.adolfoi ครอกแรกของผมมีอัตรารอด 100% ด้วยวิธีการเหล่านี้ :-)
(นี้เป็นครั้งแรกที่เคยพยายามเพาะพันธุ์ปลาแพะของฉัน) ฉันไข่ออกมา 11 ฟอง
และไข่ฟัก 9 ฟองพวกมันทั้ง 9 ตัวตอนนี้อยู่อย่างมีความสุขในตู้ของฉัน
ตอนนี้พวกมันอายุจะ  6 เดือนแล้ว

                    เรามาดูลูกปลาในช่วงวัยต่างๆนะครับ
(https://upic.me/i/hs/c_duplicareus5.jpg) (https://upic.me/show/23276140)
ลูกปลาอายุ 1 วันมีถุงไข่แดงด้วย

(https://upic.me/i/lj/c_duplicareus6.jpg) (https://upic.me/show/23276143)
ลูกปลาอายุ 8 วัน
(https://upic.me/i/30/c_duplicareus7.jpg) (https://upic.me/show/23276145)
ลูกปลาอายุ 11 วัน
(https://upic.me/i/kz/c_duplicareus9.jpg) (https://upic.me/show/23276146)
ลูกปลาอายุ 1 เดือน
(https://upic.me/i/vs/c_duplicareus10.jpg) (https://upic.me/show/23276134)
ลูกปลาอายุ 7 สัปดาห์
(https://upic.me/i/j8/c_duplicareus11.jpg) (https://upic.me/show/23276354)
ลูกปลาอายุ 2 เดือน  

     สุดท้ายนี้ผมอยากจะชี้ให้เห็นความจริงบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาพ C.adolfoi
ในโหมดการวางไข่ คือจะมีแหวนสีเงินปรากฎขึ้นที่รอบดวงตาของพวกมัน
ในวันที่พวกเขากำลังจะวางไข่ โดยปกติแล้วตาของพวกมันเป็นสีดำทั้งหมดไม่มีวงแหวนสีเงิน


(https://upic.me/i/2e/c_duplicareus.jpg) (https://upic.me/show/23276136)
ปลาที่จะไข่มีวงแหวนสีเงินที่ตา
(https://upic.me/i/qi/c_duplicareus4.jpg) (https://upic.me/show/23276802)
ปลาในช่วงปกติตาดำครับ


***************************************
Credit: Mona Opland จาก นอร์เวย์
From : http://www.scotcat.com/articles/article88.htm

เป็นยังไงมั่งครับ สำหรับตอนนี้ที่่ 2 นิ
ผมว่าตาคนนี้เค้ามีเทคนิคที่บ้านๆมากเลยนะครับ
แต่กลับได้ผลออกมากดีที่เดียวเลย
ยังไงขอฝากผลงานการแปลของผมด้วยนะครับ พี่น้องง



หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: Fibo ที่ 22/04/11, [15:50:21]
ดีมากอีกแล้วครับท่าน   [ไอ้แว่น]  จะติดตามเรื่อยๆครับ


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: ค้อนสายฟ้า ที่ 22/04/11, [17:26:35]
ขอบคุณ ครับ เป็นบทความที่ดีมาก ครับ

ลงหนังสือเลยครับ พี่

ชอบ ๆ  แต่ ยังไม่มีทั้ง dup ,adolfoi  เลย   ต้องหา


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: Scrubb ที่ 22/04/11, [18:57:25]
ขอบคุณมากมายครับ   emb01


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 22/04/11, [19:46:41]
ดีมากอีกแล้วครับท่าน   [ไอ้แว่น]  จะติดตามเรื่อยๆครับ
[กระซิกๆ] [กระซิกๆ]  ขอบคุณครับ
ยังไงฝากติดตามต่อด้วยนะครับ  emb01 emb01


ขอบคุณ ครับ เป็นบทความที่ดีมาก ครับ

ลงหนังสือเลยครับ พี่

ชอบ ๆ  แต่ ยังไม่มีทั้ง dup ,adolfoi  เลย   ต้องหา

ครับขอบคุณครับ แต่เรื่องลงหนังสือนิคงไม่ได้หรอกครับ
เพราะมันไม่ใช่บทความที่ผมเขียน ผมแค่แปลเท่านั่นครับบ
ส่วน dup ,adolfoi ถ้าหาได้แล้วช่วยถ่ายรูปมาแชร์กันด้วยนะครับ [on_060] [on_060] [on_060]

ขอบคุณมากมายครับ   emb01

ครับ ขอบคุณที่ติดตามครับ  [mo_007] [mo_007] [mo_007]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: fish3345 ที่ 22/04/11, [20:27:46]
กระทู้ดีๆอย่างนี้ต้อง save ไว้เลย
ขอบคุณที่แปลมาให้อ่าน
อย่างนี้ต้อง +1 ให้อีกคนนะครับ

 [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: runner ที่ 22/04/11, [20:49:20]
ต้องไปส่องดุ๊ปล่ะว่าตามีวงสีเงินป่าว ้hahaha ้hahaha ้hahaha


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: chapy ที่ 23/04/11, [00:33:08]
 [on_066]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 23/04/11, [21:18:11]
กระทู้ดีๆอย่างนี้ต้อง save ไว้เลย
ขอบคุณที่แปลมาให้อ่าน
อย่างนี้ต้อง +1 ให้อีกคนนะครับ

 [เจ๋ง]

ครับขอบคุณครับผม emb01 emb01
ต้องไปส่องดุ๊ปล่ะว่าตามีวงสีเงินป่าว ้hahaha ้hahaha ้hahaha

ลองดูแล้วเอาผลมาบอกด้วยนะครับผม

[on_066]
[on_008] [on_008] [on_018] [on_018]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: TonBa_Cory&Apistro ที่ 24/04/11, [15:14:42]
แจ๋วมากๆครับ ข้าน้อยขอคาราวะ อิอิ [เจ๋ง]

ปลาแพะส่วนมาก เมื่อฟักออกจากไข่จะตายง่ายมากๆ
เท่าที่ผมมีประสบการณ์ก็คือสภาพอากาศและอุณภูมิในตู้ที่ไม่คงที่
ทีไรบินหมดทุกที  [on_007]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: Raph ที่ 24/04/11, [18:19:22]
แจ่มเป็ดอีกแล้ว  [เจ๋ง] ชอบวิธีตาคนสองนะ คิดได้ตามีวงแหวนสีเงิน กลายเป็นadolfoiเนตรวงแหวน [on_026]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: bobo ที่ 26/04/11, [08:25:42]
daphnia นี่ผมดูว่าเหมือนไรฝุ่นมากกว่านะ


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 26/04/11, [08:31:53]
daphnia นี่ผมดูว่าเหมือนไรฝุ่นมากกว่านะ

ประมาณนั้ืนครับบ


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: praesepe ที่ 26/04/11, [13:53:34]
+ ให้ครับ ชอบๆ ถึงแม้ผมจะไม่ได้เลี้ยงปลาแพะก็ตาม  [on_062]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: นายพี ที่ 27/04/11, [12:50:15]
เยี่ยมมากครับ รอบนี้ผมโดนรากินไข่หมดเลยเศร้า  [on_007]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 28/04/11, [09:45:33]
เยี่ยมมากครับ รอบนี้ผมโดนรากินไข่หมดเลยเศร้า  [on_007]

ไม่เป็นไรนะครับ สู้ๆรอบหน้าเอาใหม่นะครับผม  [เจ๋ง] [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: สืบเนื่องจากกระทู้บทความดีๆการเพาะพันธ์ปลาแพะ ตอนที่2 Corydoras adolfoi ครับผม
เริ่มหัวข้อโดย: stepkang ที่ 28/04/11, [15:10:55]
+ ให้ครับ ชอบๆ ถึงแม้ผมจะไม่ได้เลี้ยงปลาแพะก็ตาม  [on_062]

ขอบคุณครับ