หัวข้อ: มาร่วมมือกันเลี้ยงพืชและสัตว์ต่างถิ่นด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งเวดล้อมกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: toggy ที่ 22/07/10, [14:07:53] ผมก้เป็นคนที่ชอบเลี้ยงตู้ไม้น้ำ เห็นไม้น้ำและปลาแปลกๆสวยๆก็หาซื้อมาเลี้ยงที่บ้าน และผมก้ไม่เคยปล่อยพืช หรือสัตว์เลี้ยงจากต่างถิ่นออกสู่ธรรมชาติ
ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวสของเราอย่างร้ายแรง เช่น ผัดตบชวา หอยเชอรี่นาข้าว เลยอยากให้เพื่อนๆช่วยกันระวัง การหลุดรอดของสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นด้วย เพื่อสิ่งแวดล้อมของเรานะครับ ปีนี้...องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก ก็คือการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือที่เรียกกันว่า “เอเลี่ยนสปีชีส์” นั่นเอง ในงานเสวนา “เอเลี่ยนสปีชีส์ ภัยร้ายความหลากหลายทางชีวภาพ” ที่ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพใน ประเทศไทยหรือบีอาร์ที จัดขึ้น ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ถือเป็นเรื่องปกติ หากเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งสิ่งมีชีวิตจะมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด หากปรับตัวไม่ได้ก็จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน “คน” กลายเป็นตัวการสำคัญในการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นหรือเอเลี่ยนสปีชีส์จำนวนมาก และหากเอเลี่ยนสปีชีส์ที่เข้ามา กลายเป็นสปีชีส์รุกราน จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ก่อให้เกิดการครอบครองพื้นที่โดยชนิดพันธุ์เดียว และอาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์พื้นเมืองได้ อีกทั้งเอเลี่ยนสปีชีส์ที่รุกรานยังอาจนำเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคต่อคน สัตว์ และพืช เข้ามาแพร่ระบาด ส่งผลเสียทางด้านสุขภาพ อนามัย รวมถึงสิ้นเปลืองงบประมาณในการกำจัดหรือควบคุม ศ.ดร.สมศักดิ์ บอกว่า ในต่างประ เทศนิตยสารไทม์และซีเอ็นเอ็นได้มีการจัด 10 ลำดับชนิดพันธุ์รุกรานที่มีความร้ายแรง อาทิ เอเชี่ยนคาร์ป หรือปลาไน ที่แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วในอเมริกา จนกีดขวางการจราจรทางน้ำ กระต่ายยุโรป คางคกไร่อ้อย ที่มีต่อมพิษที่ผิวหนังที่มีพิษร้ายแรงมาก ถั่วคัดสึจากญี่ปุ่นที่แพร่พันธุ์ปกคลุมพื้นที่ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว กระรอกสีเทา ผึ้งเพชฌฆาต นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรปที่บินรบกวนการจราจรทางอากาศ ปลาช่อนงูเห่า หอยม้าลายและ งูหลามจากเอเชีย สำหรับประเทศไทย แม้จะยังไม่มีการจัดลำดับภัยคุกคามร้ายแรงเหมือนต่างประเทศ แต่ก็มีการแพร่ระบาดแล้วและเป็นที่รู้จักกันดี อย่างเช่น หอยเชอรี่ จากอาร์เจนตินา ที่สร้างความสูญเสียให้ กับชาวนา หอยทากยักษ์ แอฟริกา หอยกะพงเทศที่แพร่ระบาดในทะเลสาบสงขลา เต่าแก้มแดงและเต่าญี่ปุ่น ตะพาบไต้หวัน ปลากดหลวง ต้นสาบหมา ผักตบชวา มายราบยักษ์ นากหญ้า ไส้เดือนยักษ์ แมงมุมแม่หม้ายสีน้ำตาล หอยข้าวสารที่สร้างความเสียหายกับสวนกล้วยไม้ กบบลูฟร็อก และปลาซัคเกอร์ หรือปลากดเกราะที่พบเป็นจำนวนมากในแหล่งน้ำบ้านหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี ซึ่งจากงานวิจัยของดร.รัฐชา ชัยชนะ และคณะจากมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ พบว่าปลาซัคเกอร์ที่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำของไทย มีผลต่อการลดลงของปลาพันธุ์พื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีการพบจอกหูหนูยักษ์แพร่ระบาดในแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งนักวิชาการเกษตรออกมาเตือนว่าเริ่มพบผลกระทบต่อพันธุ์พืชท้องถิ่นบ้าง แล้ว ซึ่งความน่ากลัวของเอเลี่ยนสปีชีส์นี้คือกำจัดได้ยาก เศษที่แตกหักของลำต้นที่เปราะบางสามารถเกิด เป็นต้นใหม่ได้ทันที และยังมีเอเลี่ยนสปีชีส์อีกหลายชนิดที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายใน ประเทศไทย แต่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ถูกจัดลำดับความร้ายแรงในต่างประเทศที่มักถูกนำ เข้ามาเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบันแม้จะเริ่มมีมาตรการป้องกันควบคุมและกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น แต่ศักย ภาพในการตรวจสอบการนำเข้ายังไม่เพียงพอ สัตว์หรือพืชแปลกใหม่ อาจสร้างความภูมิใจให้ผู้เลี้ยงได้เพียงชั่วคราว แต่เมื่อสัตว์เหล่านี้ไม่เป็นที่ต้องการหรือหลุดรอดออกไปรุกรานชนิดพันธุ์ ท้องถิ่น นี่ก็คือหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของระบบนิเวศ ภัยร้ายของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สร้างผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนไทยอีกด้วย!!!!. นาตยา คชินทร nattayap@dailynews.co.th ที่มาตามลิ้งค์นี้ http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=316&contentID=77545 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=316&contentID=77545) การระวังไม่ให้สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นหลุดออกสู่ธรรมชาติอย่างไม่ตั้งใจ 1 เศษซากพืช ถ้าทำได้ควรเผาทำลายเสีย ถ้าโยนทิ้งลงพื้นเวลาฝนตกก็อาจพัดพาลงสู่แหล่งน้ำ หรืออาจมีสปอร์ เมล็ดหลุดรอดไปได้ 2 น้ำที่ใช้เลี้ยงพืชหรือสัตว์น้ำ ทิ้งลงไปในโถส้วมดีกว่าทิ้งลงท่อระบายน้ำเพราะอาจมีตัวอ่อนหรือเมล็ดพันธุ์พืชหลุดรอดออกไปได้ 3 ศึกษาธรรมชาติของสิ่งที่เราเลี้ยงว่าเป็นอันตรายต่อสิ่งเเวดล้อมหรือไม่ 4 ช่วยกันแนะนำผู้ที่ชื่นชอบเลี้ยงพืชและสัตว์ต่างถิ่นให้ระวังการหลุดรอดของสายพันธุ์เหล่านี้สู่ธรรมชาติ 5 ถ้าพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าถิ่นที่เป็นอันตรายกำลังเริ่มขยายพันธ์ โปรดช่วยกำจัดเสียก่อน หรือถ้าทำไม่ได้ โปรดแจ้ง ทางราชการให้มากำจัดเสียก่อนที่จะลุกลามไปมากขึ้น ขอบคุณทุกท่านที่อ่านข้อความนี้แล้วนำไปปฎิบัตินะครับ (http://s.mynicespace.com/myspacepic/201/20131.jpg) หัวข้อ: Re: มาร่วมมือกันเลี้ยงพืชและสัตว์ต่างถิ่นด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งเวดล้อมกันเถอะ เริ่มหัวข้อโดย: Fibo ที่ 22/07/10, [20:56:38] ครับรับทราบ [on_035]
|