หน้าหลัก
ค้นหา
บทความ
คำนวณ
ล๊อกอิน
สมัครสมาชิก
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
Sun 27/Jul/2025
ปลาปอมปาดัวร์
Description:
ปลาปอมปาดัวร์ หรือ Discus Fish
Family: Cichlidae
Genus: Symphysodon
ปอมปาดัวร์ถือว่าเป็นราชินีของปลาตู้น้ำจืด ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ก็ยังเป็นที่นิยมอยู่เสมอ
ปลาปอมปาดัวร์มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำอเมซอน แต่เดิมเป็นปลาที่มีรูปร่างกลมอย่างปัจจุบัน แต่สีไม่สวย ภายหลังจากที่คนนิยมนำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ ก็ประสพความสำเร็จในการผสมข้ามสายพันธ์ ทำให้ปอมปาดัวร์มีสีและลวดลายที่สวยงามอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะแตกต่างกับปอมปาดัวร์ที่กำเนิดและอาศัยอยู่ตามธรรมชาติซึ่งจะมีสีตุ่นๆ
ปลาปอมปาดัวร์เป็นปลาที่มีขนาดโตตามตู้ที่เลี้ยง แต่ควรจะเลี้ยงในตู้ที่มีปริมาณน้ำไม่ต่ำกว่า 200 ลิตร (ตู้ 36 นิ้ว เป็นอย่างต่ำ) โดยจำนวนที่เหมาะสมคือ ปลาปอมปาดัวร์ 1 ตัว ต่อปริมาณน้ำ 40 ลิตร โดยปลาอายุ 8 เดือน ถ้ากินอยู่ดีจะมีขนาดประมาณ 4.5-5.0 นิ้ว เป็นอย่างต่ำ แล้วจะโตเต็มที่ในขนาดตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป
ปอมปาดัวร์จะหาอาหารกลางน้ำและตามพื้น อาหารหลักของปลาปอมปาดัวร์ที่นิยมให้กันมากที่สุดก็คือ หนอนแดงแช่แข็ง และ เตตร้าบิท ส่วนอาหารเสริมเป็นครั้งคราวที่นิยมให้ก็คือ หัวใจวัว (ทำให้ตัวหนา) และไข่กุ้ง (ทำให้สีและลายเด่นชัด) โดยให้อาหารครั้งละน้อยๆ แต่ให้หลายๆครั้ง ถ้าเป็นไปได้ควรให้อาหารด้วยมือ จะทำให้ปลาคุ้นเคยกับคนมากขึ้น และจะไม่ตื่นตกใจไปหลบตามมุมตู้ ถ้าเป็นตู้ไม้น้ำควรจะฝึกให้ปลามากินที่กรวยอาหารมากกว่าที่จะปล่อยให้อาหารจมไปที่พื้นตู้ อาหารจะได้ไม่ตกค้างที่พื้นตู้มากนัก
น้ำที่ใช้เลี้ยงปอมปาดัวร์นั้นจะต้องปราศจากคลอรีน โดยเป็นน้ำที่พักเอาไว้อย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกจนหมดเสียก่อนที่จะเติมน้ำลงตู้ สภาพน้ำควรจะเป็นน้ำอ่อน มี pH อยู่แถวๆ 6.8 แต่ไม่เกิน 7.0 อุณหภูมิน้ำที่ปอมจะอยู่อย่างสุขสบายก็คือ 26-31 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ถ้าไม่ต้องการที่จะเลี้ยงเพื่อประกวดหรือเพาะพันธุ์ นอกจากระวังเรื่องคลอรีนที่มาพร้อมกับน้ำประปาให้ดีแล้ว ก็ให้ความสำคัญกับการรักษาอุณหภูมิน้ำให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมและคงที่ก็พอ สำหรับค่า pH และความกระด้าง จะมีผลกับการแพร่พันธุ์ของปลาและสีสันลวดลาย มากกว่าสุขภาพและการอยู่รอด
สำหรับระบบกรองน้ำที่เหมาะสมกับปลาปอมปาดัวร์ก็คงหนีไม่พ้นระบบกรองนอกที่ใช้ใส้กรองชีวภาพประกอบกับใยกรองละเอียดที่มีอัตราไหลเวียนของน้ำสูงประมาณ 3-5 เท่าของปริมาณน้ำในตู้ เพราะปลาปอมปาดัวร์นั้นเป็นปลาตัวใหญ่ที่กินเยอะ ขับถ่ายเยอะ ของเสียก็เลยเยอะตามไปด้วย แต่เนื่องจากปลาปอมปาดัวร์นั้นชอบน้ำนิ่งๆ บางคนก็ว่าน้ำแรงไปปลาจะไม่กลม ดังนั้นเราควรระวังเรื่องน้ำที่อาจจะแรงเกินไปด้วย อย่าลืมหาปลาที่กินเศษอาหารที่ตกอยู่ตามพื้นมาช่วยเก็บกวาดเศษอาหาร เช่นปลาแพะ ก็ทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี
ข้อควรพิจารณาก่อนที่จะเอาปอมมาเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ
1. ปอมฯ เป็นปลาน้ำอุ่น อาศัยในน้ำที่อุณหภูมิ 26-31 องศา ดังนั้นจะเลี้ยงในตู้ไม้น้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่า 26 องศาไม่ได้ เพราะปลาจะป่วยง่าย
2. ปอมฯ ไม่เหมาะกับตู้ไม้น้ำขนาดต่ำกว่า 200 ลิตร (36 นิ้ว) ดังนั้นถ้าตู้ไม้น้ำของท่านมีขนาดเล็ก ก็ไม่ควรจะบรรจุปอมฯเอาไว้ในตู้ของท่านแม่จะเป็นตัวเล็กก็ตาม เพราะอีก 6 เดือนต่อมา มันจะโตจนคับตู้ซะแล้ว
3. ปอมฯ กินอาหารจมน้ำ และกินเยอะ ต้องให้อาหารบ่อยๆ ถ้าตู้ของท่านเป็นแนวทุ่งหญ้ารกรุงรัง ยากที่ปอมปละปลาเล็กปลาน้อยจะเข้าไปเก็บกวาดเศษอาหาร ปอมฯ อาจจะไม่เหมาะกับตู้ที่บ้านท่านซักเท่าไรนัก
4. ควรจะศึกษาปลาที่อยู่ร่วมกันได้กับปอมเสียก่อนที่จะหาอะไรมาลงร่วมกัน โดนปลาที่ต้องห้ามคือ ปลาหมู (คนเลี้ยงไม้น้ำคงไม่ค่อยจับมาลงตู้อยู่แล้ว) ปลาซักเกอร์ ปลาเสือต่างๆ แล้วก็ปลาที่ชอบตอดหาง ส่วนปลาที่นิยมเลี้ยงกับปอมได้แก่ปลาเทวดา (ส่วนตัวผมเลี้ยงปลากัดด้วยเพราะช่วยกินเศษหนอนแดงที่ลอยอยู่บนผิวน้ำให้)
หลายคนบอกว่าเลี้ยงปอมปาดัวร์จะต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ แต่จริงๆแล้วถ้าจะเอาแค่รอด ผมทดลองกับตู้สำรอง เปลี่ยนน้ำเดือนละสองครั้งในตู้ที่กรองนอกที่เซ็ทตัวแล้ว (ใส้พัมมิส) อัตราไหลของน้ำที่ 5 เท่าของปริมาตรตู้ แล้วก็ให้อาหารเม็ดเป็นหลัก นานๆทีก็ให้อาหารสดบ้าง ก็สามารถอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหาครับ ตอนนี้อยู่มา 3 เดือนแล้ว ปลาก็ยังดูดีตามปกติ ไม่มีอาการแปลกอะไรครับ
Record Stats:
Views: 9753
Keywords:
ปอมปาดัวร์
ปอม
discus
ปลาปอม
Posted by:
shopzguy
at 11/02/08, [21:38:52]
Image Linking Codes
BB Code
0 Members และ 1 บุคคลทั่วไป are viewing this record.
Comments
Return to Database
SMF Database
กำลังโหลด...
บอร์ดเก่านี้ "โพสข้อความไม่ได้" แล้วนะครับ
ตอนนี้เราย้ายไปใช้บอร์ดระบบใหม่แล้ว
สมาชิกเก่าที่ล็อกอินล่าสุดไม่เกิน 1 ปี สามารถใช้ username และ password เก่าล็อกอินได้เลย ไม่ต้องสมัครใหม่
<< คลิ๊กที่นี่เพื่อไปบ้านใหม่ได้เลย >> หรือเข้าไปที่ https://aqua.c1ub.net/home