Aqua.c1ub.net
*
  Fri 03/May/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: UV กับ Ozon อันไหนดี  (อ่าน 1214 ครั้ง)
ka_kao ออฟไลน์
Club Member
« เมื่อ: 20/10/11, [03:05:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คือตู้ประมาณ200กว่าลิตร แนะนำหน่อยครับ

แล้วมันต่างกันยังไง
[Bl@cKM@sub@] ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #1 เมื่อ: 20/10/11, [09:02:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

UV กับ  Ozone
 
ทั้งสองอย่าง มีหลักการทำงานที่แตกต่างกันครับ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

เริ่มจาก UV ก่อน
หลอดกำเนิดแสง UV ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในตู้ปลา จะให้รังสี UV-C ออกมา ซึ่งโดยปกติแล้ว รังสี UV-C จากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะถูกดูดกลืนโดยโอโซน ในชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้ไม่สัมผัสกับมนุษย์โดยตรง

UV-C มีอันตรายต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบนโลก หากมนุษย์สัมผัสกับแสงโดยตรง ก็อาจจะทำให้เกิดการไหม้เกรียมของผิวหนัง หรือหากมองด้วยตาเปล่าก็อาจจะทำให้เกิดอาการเยื่อบุตาอักเสบ และสามารถทำลายเซลล์ต่างๆของสิ่งมีชีวิตได้อย่างรุนแรง ดังนั้น หลอดยูวีที่ใช้ในตู้ปลา จึงต้องบรรจุอยู่ในกระบอกทึบ เพื่อป้องกันอันตรายจากตรงจุดนี้

เวลาใช้งาน ก็ทำได้โดยการส่งน้ำให้ไหลผ่านเข้าไปในกระบอกอย่างช้าๆ ไข่หรือตัวอ่อนของปรสิต แพลงตอน เชื้อโรค หรือแบคทีเรียต่างๆ เมื่อสัมผัสกับแสงยูวี เซลล์ก็จะถูกทำลายและตายไป

จึงถือเป็นการฆ่าเชื้อในน้ำที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกขนาดของยูวี และอัตราการไหลเวียนของน้ำให้เหมาะสมกับขนาดปริมาณน้ำในตู้ด้วย (หากน้ำไหลผ่านเร็วเกินไป เชื้อต่างๆจะมีเวลาสัมผัสกับแสงน้อย อาจจะทำให้ไม่ตาย)

การใช้ยูวีฆ่าเชื้อในน้ำ เป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตในตู้ อาจจะใช้เวลามากหน่อย แต่ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพ

หลอด UV ก็มีอายุการใช้งาน เช่นเดียวกับหลอดไฟทั่วๆไป เมื่อใช้งานไปซักระยะหนึ่ง หลอดจะค่อยๆเสื่อม ทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคลดลง โดยทั่วไปแล้ว จึงควรจะมีการเปลี่ยนหลอดทุกๆ 1 ปีครับ


ส่วน โอโซน (Ozone)
โอโซน (O3) เป็นก๊าซที่ไม่เสถียร สลายตัวได้ค่อนข้างเร็ว มีคุณสมบัติเป็น oxidizing agent (สารที่ทำให้สารอื่นรวมตัวกับอ็อกซิเจน)
 
ในความเป็นจริงแล้ว โอโซนคือก๊าซพิษ หากมีปริมาณมากพอก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆได้ แต่หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถนำไปทำประโยชน์ได้มหาศาล

ดังนั้น โอโซนจึงมีคุณสมบัติในการช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำ และยังทำลายสารพิษ สี กลิ่น สารเคมี ฯลฯ ในน้ำด้วย

การใช้โอโซนในปริมาณที่เหมาะสม และมีความแรงเพียงพอ จึงช่วยฆ่าเชื้อโรค และตัวอ่อนของปรสิตต่างๆในน้ำได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่เป็นอันตรายกับปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แถมยังช่วยบำบัดคุณภาพน้ำ กำจัดของเสีย สี และสารเคมีต่างๆในน้ำอีกด้วย

แต่การใช้โอโซนโดยไม่มีตัววัดค่า หรือตัวควบคุมค่า(ORP Controller) ก็มีข้อเสียคือ หากใช้ในปริมาณน้อยเกินไป เชื้อโรคหรือปรสิตต่างๆก็อาจจะไม่ตาย หรือหากใช้ในปริมาณมากเกินไป ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อปลา หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆในตู้ อุปกรณ์ในการวัด หรือควบคุมค่าโอโซน ส่วนใหญ่ก็จะมีราคาค่อนข้างสูง

ดังนั้น การจะใช้โอโซนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงสามารถทำได้เฉพาะผู้ที่มีตัวควบคุมค่าโอโซนเท่านั้น
แต่หากใช้เปิดโดยการกะระยะเวลา หรือคาดคะเนเอา โดยไม่มีตัวควบคุม ก็อาจจะได้ประโยชน์ในแง่การช่วยบำบัดคุณภาพน้ำ แต่การฆ่าเชื้อโรคอาจจะทำได้ไม่เต็มที่นัก

เมื่อรู้จักคุณสมบัติ และหลักการทำงานของทั้งสองตัวแล้ว ก็ลองตัดสินใจด้วยตัวเองดูครับ ว่าจะเลือกใช้อันไหน หรือจะใช้ทั้งสองตัวเลย

ปล.ไม่มีใครตอบหรือกำหนดได้ ว่าตู้ต้องคุณต้องมี หริอไม่มี อุปกรณ์อะไรบ้าง เพราะแต่ละตู้ หรือผู้เลี้ยงแต่ละคน ก็ย่อมมีปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเราเข้าใจถึงประโยชน์และหลักการทำงานของมันแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองครับ ว่าเราเหมาะสมที่จะเลือกใช้อุปกรณ์ชิ้นไหน

Cradit: K.i_brabus
azumi ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #2 เมื่อ: 20/10/11, [12:51:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จริงป่าวครับเค้่บอว่า โอโซนใช้ไปสักพักระวังตู้อาจรั่วได้ เนื่องจากโอโวนมันไปทำปฏิกิริยากับซิลิโคลน  [on_003]
ka_kao ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #3 เมื่อ: 20/10/11, [14:05:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

UV กับ  Ozone
 
ทั้งสองอย่าง มีหลักการทำงานที่แตกต่างกันครับ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

เริ่มจาก UV ก่อน
หลอดกำเนิดแสง UV ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในตู้ปลา จะให้รังสี UV-C ออกมา ซึ่งโดยปกติแล้ว รังสี UV-C จากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะถูกดูดกลืนโดยโอโซน ในชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้ไม่สัมผัสกับมนุษย์โดยตรง

UV-C มีอันตรายต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบนโลก หากมนุษย์สัมผัสกับแสงโดยตรง ก็อาจจะทำให้เกิดการไหม้เกรียมของผิวหนัง หรือหากมองด้วยตาเปล่าก็อาจจะทำให้เกิดอาการเยื่อบุตาอักเสบ และสามารถทำลายเซลล์ต่างๆของสิ่งมีชีวิตได้อย่างรุนแรง ดังนั้น หลอดยูวีที่ใช้ในตู้ปลา จึงต้องบรรจุอยู่ในกระบอกทึบ เพื่อป้องกันอันตรายจากตรงจุดนี้

เวลาใช้งาน ก็ทำได้โดยการส่งน้ำให้ไหลผ่านเข้าไปในกระบอกอย่างช้าๆ ไข่หรือตัวอ่อนของปรสิต แพลงตอน เชื้อโรค หรือแบคทีเรียต่างๆ เมื่อสัมผัสกับแสงยูวี เซลล์ก็จะถูกทำลายและตายไป

จึงถือเป็นการฆ่าเชื้อในน้ำที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกขนาดของยูวี และอัตราการไหลเวียนของน้ำให้เหมาะสมกับขนาดปริมาณน้ำในตู้ด้วย (หากน้ำไหลผ่านเร็วเกินไป เชื้อต่างๆจะมีเวลาสัมผัสกับแสงน้อย อาจจะทำให้ไม่ตาย)

การใช้ยูวีฆ่าเชื้อในน้ำ เป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตในตู้ อาจจะใช้เวลามากหน่อย แต่ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพ

หลอด UV ก็มีอายุการใช้งาน เช่นเดียวกับหลอดไฟทั่วๆไป เมื่อใช้งานไปซักระยะหนึ่ง หลอดจะค่อยๆเสื่อม ทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคลดลง โดยทั่วไปแล้ว จึงควรจะมีการเปลี่ยนหลอดทุกๆ 1 ปีครับ


ส่วน โอโซน (Ozone)
โอโซน (O3) เป็นก๊าซที่ไม่เสถียร สลายตัวได้ค่อนข้างเร็ว มีคุณสมบัติเป็น oxidizing agent (สารที่ทำให้สารอื่นรวมตัวกับอ็อกซิเจน)
 
ในความเป็นจริงแล้ว โอโซนคือก๊าซพิษ หากมีปริมาณมากพอก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆได้ แต่หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถนำไปทำประโยชน์ได้มหาศาล

ดังนั้น โอโซนจึงมีคุณสมบัติในการช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำ และยังทำลายสารพิษ สี กลิ่น สารเคมี ฯลฯ ในน้ำด้วย

การใช้โอโซนในปริมาณที่เหมาะสม และมีความแรงเพียงพอ จึงช่วยฆ่าเชื้อโรค และตัวอ่อนของปรสิตต่างๆในน้ำได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่เป็นอันตรายกับปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แถมยังช่วยบำบัดคุณภาพน้ำ กำจัดของเสีย สี และสารเคมีต่างๆในน้ำอีกด้วย

แต่การใช้โอโซนโดยไม่มีตัววัดค่า หรือตัวควบคุมค่า(ORP Controller) ก็มีข้อเสียคือ หากใช้ในปริมาณน้อยเกินไป เชื้อโรคหรือปรสิตต่างๆก็อาจจะไม่ตาย หรือหากใช้ในปริมาณมากเกินไป ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อปลา หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆในตู้ อุปกรณ์ในการวัด หรือควบคุมค่าโอโซน ส่วนใหญ่ก็จะมีราคาค่อนข้างสูง

ดังนั้น การจะใช้โอโซนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงสามารถทำได้เฉพาะผู้ที่มีตัวควบคุมค่าโอโซนเท่านั้น
แต่หากใช้เปิดโดยการกะระยะเวลา หรือคาดคะเนเอา โดยไม่มีตัวควบคุม ก็อาจจะได้ประโยชน์ในแง่การช่วยบำบัดคุณภาพน้ำ แต่การฆ่าเชื้อโรคอาจจะทำได้ไม่เต็มที่นัก

เมื่อรู้จักคุณสมบัติ และหลักการทำงานของทั้งสองตัวแล้ว ก็ลองตัดสินใจด้วยตัวเองดูครับ ว่าจะเลือกใช้อันไหน หรือจะใช้ทั้งสองตัวเลย

ปล.ไม่มีใครตอบหรือกำหนดได้ ว่าตู้ต้องคุณต้องมี หริอไม่มี อุปกรณ์อะไรบ้าง เพราะแต่ละตู้ หรือผู้เลี้ยงแต่ละคน ก็ย่อมมีปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเราเข้าใจถึงประโยชน์และหลักการทำงานของมันแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองครับ ว่าเราเหมาะสมที่จะเลือกใช้อุปกรณ์ชิ้นไหน

Cradit: K.i_brabus

ขอบคุณครับ [เจ๋ง]
note_Chonburi ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 20/10/11, [14:47:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จริงป่าวครับเค้่บอว่า โอโซนใช้ไปสักพักระวังตู้อาจรั่วได้ เนื่องจากโอโวนมันไปทำปฏิกิริยากับซิลิโคลน  [on_003]

ใช้อยู่ 2 ปียังไม่รั่วครับ กับซิลิโคนมันทนได้มากกว่า แต่ถ้าเป็นพวก ยาง หรือพลาสติกมันจะกรอบครับ

aquamedical_fraghouse ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #5 เมื่อ: 21/10/11, [17:59:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โอโซนมีผลกับซิลิโคนน้อยครับ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: