Aqua.c1ub.net
*
  Sat 18/May/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความต่อยอดต้นปี : ว่าด้วยเรื่อง ปุ๋ยรอง Ca Mg S ทำไมฉัน(ไม้น้ำ)ถึงต้องการเธอ?  (อ่าน 9781 ครั้ง)
ณ~ใชเหมี่ยง ออฟไลน์
Club Champion
« เมื่อ: 08/01/11, [00:23:57] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

      เราก็ได้รู้หน้าที่และความสำคัญของธาตุอาหารหลัก N, P, และ K ว่าเป็นส่วนสำคัญขององค์ประกอบสำคัญสำหรับธาตุอาหารของพืชจากบทความที่คุณ Coffman ได้เขียนไว้ >>>> http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=118577.0
      

      ธาตุอาหารรอง
      ธาตุรองมีอยู่ด้วยกัน 3 ธาตุคือ แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) แต่ถึงจะถูกจัดให้เป็นธาตุรอง ทว่าธาตุอาหารในกลุ่มนี้พืชต้องการในปริมาณมากเช่นกัน แต่ในดินส่วนใหญ่มักจะมีอยู่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เราถึงชอบเข้าใจเอาเองว่าธาตุอาหารในกลุ่มนี้เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ถึงจะเป็นส่วนน้อยโดยปกติจะมีความจำเป็นสำหรับพืชมากที่สุดถึงกับขาดไม่ได้เลย  
     จากที่นั่งมึนมาจึงสรุปได้ว่า ธาตุอาหารหลักเป็นธาตุที่พืชต้องการมากเพราะในดินมีธาตุอาหารหลักได้แก่ N P และ K ในปริมาณนี้ที่น้อยจึงต้องหมั่นให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ส่วนธาตุอาหารรอง ธาตุรองเป็นธาตุที่มีความสำคัญถัดรองลงมาจากธาตุหลัก (แต่ไม่ได้หมายความว่าความสำคัญจะน้อยลงไป) เพียงแต่ว่าธาตุอาหารรอง Ca , Mg และ S จะไม่ค่อยมีปัญหาขาดแคลนมากนักในดินเมื่อเทียบกับธาตุอาหารหลัก
                                                      
                                    

คราวนี้มาดูบทบาทและหน้าที่ของธาตุรองแต่ละธาตุกันครับ
      
       Ca หรือ แคลเซียม
       แคลเซียมช่วยให้รากและใบเจริญเติบโตแข็งแรงและมีสุขภาพดี ช่วยต่อต้านจากการถูกทำร้ายจากภายนอก หลักการทำงานก็เหมือนกับยาสีฟันที่เราๆใช่กันทุกวันนี้แหละครับ มีแคลเซียมผสมด้วยทั้งนั้น เพราะจะช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ไม่ผุกร่อนได้ง่าย กับต้นไม้เช่นกันจะช่วยให้ลำต้นและความต้านทานภายนอกของต้นไม้แข็งแรงขึ้น แคลเซียมยังช่วยในเรื่องเพิ่มการดูดซึมของสารอาหารอื่น ๆ โดยรากส่วนหนึ่งจะทำการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ทั้งระบบเอ็นไซม์ช่วยเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนโตรเจน และมีส่วนจำเป็นในการสร้างโปรตีนรวมถึงการสร้างผนังเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช มีผลก่อให้เกิดความต้านทานโรคที่ดีขึ้น แคลเซี่ยมแมกนีเซียมและโพแทสเซียมจขะทำงานร่วมกันเพื่อปรับสภาพกรดที่เหมาะสมในสารอินทรีย์ (ในดิน) ที่จะมีผลระหว่างการเผาผลาญอาหารในพืช
  
      หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช
 -มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
 -ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
 -ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
 -ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืช
 -ช่วยเพิ่มการติดผล
 -ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
 -ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
 -ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
 -มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
 -มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
 -เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
 -เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล

     การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม
 -ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่
 -ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด
 -ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) ทำให้ผลร่วง
 -พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล,
 -ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม,
 -ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
 -ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่
  สมบูรณ์
 -ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหาร
  ไม่ปกติ
 -ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง

    สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม
 -ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
 -เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก
 -เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก
 -เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช
 -เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ
 -ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง
  3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ
 -ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
 -ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้

      Mg หรือ แมกนีเซียม
      แมกนีเซียม มีบทบาทในการเจริญเติบโตของพืช เและยังป็นอะตอมกลางในคลอโรฟิล รับผิดชอบในการสังเคราะห์แสงและกระบวนการที่พืชเปลี่ยนแสงแดดและสารอาหารในการเจริญเติบโต เป็นธาตุอาหารที่พบมากที่สุดในสารสีเขียวของพืชก็คือคลอโรฟิลเช่นเดียวกับฟอสฟอรัส และหน้าที่สำคัญอีกอย่างของแมกนีเซียมก็คือมันจะมีหน้าที่ย้ายตัวเองจากใบเก่าๆแก่ๆของพืชเพื่อไปสร้างการเจริญเติบโตให้กับใบที่แตกออกมาใหม่ นี่ถึงเป็นเหตุผลอีกอย่างว่าการที่ใบอ่อนเจริญเติบโตช้า ก็เพราะเกิดจากการที่ขาดธาตุแมกนีเซียมด้วยเช่นกันครับ เราจะสังเกตุการขาดธาตุตัวนี้ได้อีกอย่างคือสังเกตุจากการดูสีและเส้ยใยของใบ ถ้าพืชขาดแมกนีเซียมใบที่แก่แล้วจะมีสีเทา สีเหลือง หรือ สีแดงในขณะที่เส้นใบเป็นสีเขียว

                                    

     หน้าที่สำคัญของธาตุแมกนีเซียมในพืช
 -เป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์ หรือความเขียวในพืช ช่วยให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้
 -ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
 -มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง
 -มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการสุกการแก่ของผลผลิต
 -ช่วยให้พืชเพิ่มการใช้ธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น
 -เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่าง ๆ ของพืช เคลื่อนย้ายภายในพืชได้ดี
 -ช่วยเสริมสร้างให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
 -ช่วยเสริมสร้างให้พืช มีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
 -พืชอาหารสัตว์ ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม จะเป็นสาเหตุของพืชอาหารสัตว์เป็นพิษ

    การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม
 -จะทำให้ต้นเล็กแคระแกรน ใบเหลือง
 -ในใบแก่จะมีสีซีดจาง ไม่เขียวสดใส และเมื่อแตกใบอ่อนก็จะมีสีซีดจางเช่นเดียวกัน และธาตุแมกนีเซียม  
  สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้
 -เมื่อใบแก่ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ก็จะขาดด้วย ใบจะเป็นสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสี
  น้ำตาลและตายไปในที่สุด
 -ผลจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
 -ในพืชตระกูลถั่วจะทำให้พืชไม่ค่อยจะลงฝัก และจะทำให้แบคทีเรียที่รากถั่ว ไม่จับธาตุไนโตรเจนไว้ได้ดีเท่า
  ที่ควร
 -ในพืชอาหารสัตว์จะให้ผลผลิตต่ำ และทำให้พืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
  

    สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียม
 -ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
 -ในดินที่มีปริมาณของธาตุแมกนีเซียมต่ำ
 -ในดินที่มีธาตุแคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมมาก
 -ในดินที่มีปริมาณของเกลือมาก เช่น พวกเกลือโซเดียม
 -ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
 -ในระยะที่พืชแตกใบอ่อน
 -ในระยะที่พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนมาก

                                                          

     S หรือ ซัลเฟอร์ (กำมะถัน)
     กำมะถันเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตกรดอะมิโนซึ่งเป็นหน่วยการสร้างของโปรตีนที่พบในสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และจำเป็นมากในพืชที่มีลักษณะเป็น หัว หรือ เหง้าที่อยู่ใต้ดินและยังมีผลกระทบกับกลิ่นและรูปร่างลักษณะด้วย  

                                    

    หน้าที่สำคัญของธาตุกำมะถัน
 -ธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน(Amino acids) พืชต้องการธาตุกำมะถันเพื่อสังเคราะห์กรดอะ
     มิโนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ซีสตีน(Cystine) ซีสเตอีน(Cysteine) และเมทธิโอนีน(Methionine) ดังนั้นจึงมี
     ส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีน, กรดอะมิโนเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งคน
     และสัตว์ด้วย
 -ธาตุกำมะถันจะช่วยในการควบคุม ชนิดและโครงสร้างของเม็ดสีคลอโรพลาสต์ ซึ่งภายในประกอบด้วย
     คลอโรฟีลล์เป็นแหล่งที่พบกำมะถันสะสมอยู่มาก เมื่อพืชขาดธาตุกำมะถันปริมาณของคลอโรฟีลล์จะลดลง
     ทำให้พืชมีสีเหลืองซีด
 -ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชทนทานต่ออุณหภูมิที่เย็น และต้านทานต่อ
     โรคพืชหลายชนิด
 -ช่วยสนับสนุนการเกิดปมที่รากของพืชตระกูลถั่วและกระตุ้นการสร้างเมล็ด
 -มีส่วนสำคัญในการเกิดน้ำมันพืชและสารระเหยให้หัวหอมและกระเทียม

    การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุกำมะถัน
 -พืชจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต
 -ใบอ่อนมีสีเขียวจางลง รวมทั้งเส้นใบจะมีสีจางลงด้วย แต่ในใบแก่จะยังคงมีสีเขียวเข้ม
 -ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถันมาก พืชจะพัฒนาการเจริญเติบโตได้ช้า
 -ลำต้นพืชจะสั้นและแคบเข้า ใบยอดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
 -ในพืชตระกูลถั่ว การตรึงธาตุไนโตรเจนที่ปมรากจะลดลงทั้งขนาดและจำนวนปม

    สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุกำมะถัน
 -ในดินที่มีของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.0-6.0
 -ในดินที่มีค่าอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งสำรองของธาตุกำมะถัน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์
 -ผลจากการหักล้างถางพงป่ามาเป็นพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรจะทำให้ดินสูญเสียอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น
 -การใช้ปุ๋ยสูตรที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง จะทำให้เกิดการขาดธาตุกำมะถัน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม
  ฟอสเฟต (MAP)  ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต(DAP) หรือ ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต(TSP)

    

   จากรูปถังไม้จะเป็นตัวแทนของธาตุอาหารในดิน
   จะสังเกตุได้ว่าปุ๋ยที่ทำออกมาส่วนมากจะไม่มีธาตุกำมะถัน (S) ขึ้นอยู่กับสภาวะของดินในแต่ละที่และการใช้งานที่แตกต่างไป ส่วนธาตุแมกนีเซียม (Mg) จะลดปริมาณลง แต่จะเน้นแคลเซียมและเหล็กเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพแวดล้อมปัจจุบันมีผลเกี่ยวเนื่องกับการที่ก่อให้เกิดซัลเฟอร์ (S) ได้มากขึ้นกว่าอดีต การผลิตปุ๋ยจึงต้องมีการคำนวณค่าความต้องการของพืชให้เหมาะสมก่อนถึงเวลาการนำไปใช้งาน ไม่เช่นนั้นคงจะเกิดผลเสียตามมาแน่นอนครับ ยกตัวอย่างง่ายๆกับการเลี้ยงไม้น้ำคือ ถ้าเราใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือมากเกินกว่าที่พืชจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันสิ่งที่ตามมาคงหนีไม่พ้นตะไคร่แน่นอนครับ
                                                        

                                    


   แผนภูมิแสดงหน้าที่และการทำงานของธาตุต่างๆ

                                    

                                    

   รูปภาพแสดงวัฏจักรการเกิดธาตุอาหารและการทำงานของระบบธรรมชาติ

              

                            


บทความอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง
- http://www.fertilizer101.org/science/?seq=10
- http://www.ipni.net/ipniweb/portal.nsf/0/5BFE7B077DCF57FD8525721700774B7F
- http://www.indoor-gardening-guide.com/articles/plant-care/Plant-Nutrient-Primary-secondary-and-micro-nutrients.html
- http://turfgrass.cas.psu.edu/education/turgeon/Modules/05_PrimaryPractices/Nutrition/VC_text02.html
- www.back-to-basics.net/efu/pdfs/Secondary_Nutrients.pdf
- http://www.sikkimagrisnet.org/General/en/Agriculture/mineral_nutrition_manures.aspx
- http://www.bcgrasslands.org/grasslands/ecosystemprocesses.htm

สีสันหน้าตารวมถึงรูปภาพประกอบจะตามมาทีหลังนะครับ ต้องปรับแต่งอีกเยอะ ตึ๊บๆ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08/01/11, [18:36:45] โดย ณ~ใชเหมี่ยง »
Tags: ไม้น้ำ 
RK` ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #1 เมื่อ: 08/01/11, [13:56:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

+เป็นกำลังใจก่อนเดียวตามอ่านทีหลัง  [เจ๋ง]
vinbitxp ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #2 เมื่อ: 08/01/11, [16:30:09] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เนื้อหาดีมากครับ [เจ๋ง]
juris ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #3 เมื่อ: 08/01/11, [18:11:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เนื้อหาดีๆมีความรุ้มาอิกแล้ว  [on_066]
l3EП-nophila™ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 08/01/11, [22:33:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บทความดีมากคับ รูปภาพ การจัดวาง หัวข้อ-ย่อหน้าชัดเจน ทำเป็นรายงานส่งได้เลยนะเนี่ย ้hahaha
ช่วยลุ้นๆให้ได้ Award นะครับ [เจ๋ง]
+ให้นะครับ
AM ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #5 เมื่อ: 08/01/11, [22:42:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

+ ให้เลย....สุดยอด
เคยอ่านมาเหมือนกัน...แต่อันนี้สรุปให้เข้าใจได้ดีมาก ๆ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #6 เมื่อ: 09/01/11, [10:27:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รูปสวยเลยไอซ์ เดี๋ยวพี่ต้องทำ Trace element ต่อ  [on_026]
Kasama ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #7 เมื่อ: 09/01/11, [10:39:16] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับพี่ไอซ์
ณ~ใชเหมี่ยง ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #8 เมื่อ: 09/01/11, [19:37:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


+เป็นกำลังใจก่อนเดียวตามอ่านทีหลัง  [เจ๋ง]

ขอบคุณครับผม อย่าลืมมาอ่านละ  [ฮี่ๆๆ]

เนื้อหาดีมากครับ [เจ๋ง]

ขอบคุณครับผมสำหรับกำลังใจ

เนื้อหาดีๆมีความรุ้มาอิกแล้ว  [on_066]

ตามมาอ่านให้หมดนะครับ  ้hahaha
บทความดีมากคับ รูปภาพ การจัดวาง หัวข้อ-ย่อหน้าชัดเจน ทำเป็นรายงานส่งได้เลยนะเนี่ย ้hahaha
ช่วยลุ้นๆให้ได้ Award นะครับ [เจ๋ง]
+ให้นะครับ

สงสัยยังไม่ถึงขั้นหรอกครับ ต้องฝึกช่วงโมงบินให้เยอะกว่านี้ก่อน แต่ถ้าได้ก็ดีเน๊อะ อิอิ ....ขอบคุณสำหรับกำลังใจดีๆครับ

+ ให้เลย....สุดยอด
เคยอ่านมาเหมือนกัน...แต่อันนี้สรุปให้เข้าใจได้ดีมาก ๆ


อาจจะน่าเบื่อไปหน่อยครับ เพราะมันแนววิชาการไปหน่อย คราวหน้าจะพัฒนาให้ดีกว่านี้นะครับ

รูปสวยเลยไอซ์ เดี๋ยวพี่ต้องทำ Trace element ต่อ  [on_026]

ชั่วโมงบินผมยังห่างกับพี่มากโข ต้องขออาจารย์เก่งช่วยชี้แนะด้วยนะครับ  [on_035]

ขอบคุณครับพี่ไอซ์

ยินดีครับม่า เจออะไรดีๆจะเอามาเขียนใหม่


shunsu ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #9 เมื่อ: 10/01/11, [04:39:16] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]เพิ่มความรู้กันอีกแล้ว
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: