Aqua.c1ub.net

Fish & Aquatic Pet => คุยเรื่องปลาๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: parasall ที่ 19/04/12, [13:36:30]



หัวข้อ: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 19/04/12, [13:36:30]
วงศ์ปลาช่อน (Channidae)
ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ (Cycloid) ปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า suprabranchia จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้

แพร่พันธุ์โดยการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับพื้นที่น้ำตื้น ๆ ให้เป็นแปลงกลม แล้ววางไข่ลอยเป็นแพ ตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่จนไข่ฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงลูกปลาจนโต เรียกว่า "ลูกครอก" ซึ่งมีสีแดงหรือส้ม รูปร่างคล้ายพ่อแม่ จากนั้นจึงปล่อยให้หากินเอง

พบในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย ปัจจุบันพบทั้งสิ้น 31 ชนิด (Species) (และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้อนุกรมวิธาน) แบ่งเป็น 2 สกุล (Genus) คือ Parachanna 3 ชนิด และ Channa 28 ชนิด พบในแอฟริกา 3 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบประมาณ 10 ชนิด ปลาขนาดเล็กสุดคือ ปลาก้าง (Channa limbata) ซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 ฟุต และใหญ่ที่สุดคือ ชะโด (Channa micropeltes) ที่ใหญ่ได้ถึง 1-1.5 เมตร

ฉะนั้น เรามาทำความรู้จักกัน เนื่องจากปลาในตระกูลนี้ที่พบแล้ว 31 ชนิด แบ่งเป็น 2 สกุล (Genus) คือ Parachanna 3 ชนิด และ Channa 28 ชนิด

1 Channa amphibeus (McClelland, 1845) ปลาช่อนเชล หรือ ปลาช่อนบอร์นา
ชื่อทั่วไป : Borna snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 90.0 cm TL
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินเดีย และ ภูฐาน

เป็นปลาที่อาศัยอยู่เฉพาะในแม่น้ำเชล ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตร ใกล้กับเชิงเทือกเขาหิมาลัยในภูฏานและปากีสถาน ซึ่งจะอาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิค่อนข้างอุ่น ประมาณ 22-28 องศาเซลเซียสนับเป็นปลาช่อนขนาดกลางที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ C. barca และ C. aurantimaculata ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีสีสันที่ใกล้เคียงกัน แต่ว่ามีจำนวนก้านครีบหลัง 50 ก้าน ก้านครีบก้น 35 ครีบ มีเกล็ดข้างลำตัวมากถึง 81 เกล็ด นับว่ามากกว่าชนิดอื่น ๆ ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าเล็กกว่า 2 ชนิดข้างต้น
** บางครั้งจะสับสนกับ Channa barca
มีแต่ภาพวาดนะครับ
(https://upic.me/i/fa/tq7g1.jpg) (https://upic.me/show/34797895)

2 Channa argus argus (Cantor, 1842)
ชื่อทั่วไป : Snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 100.0 cm TL
สภาพภูมิอากาศ : เขตอบอุ่น 14 - 22 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเขีย : จีน และ ทางตะวันตกของเกาหลีใต้. ญี่ปุ่น และเป็นชนิดที่มีรายงานว่าไปคุกคามปลาท้องถิ่นในประเทศอเมริกา
(https://upic.me/i/kn/ou322.jpg) (https://upic.me/show/34798165)

3 Channa argus warpachowskii (Berg, 1909)
ชื่อทั่วไป : Amur snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 80.0 cm TL
สภาพภูมิอากาศ : เขตอบอุ่น 4 - 20 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : จากรัสเซีย ทะเลสาป Khanka. ตอนกลางและตอนล่างของ Amur. แต่ไม่พบในแม่น้ำ Suifun. พบมีการนำเข้ามายังลุ่มน้ำ Aral ในปี 1960 และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และกระจายไปยังตอนล่างของ Amu Darya, Syr Darya และแม่น้ำ Kashka-Darya. ปัจจุบันมีการนำเข้าไปยัง Talas และ แม่น้ำ Chu
(https://upic.me/i/50/f5om3.jpg) (https://upic.me/show/34798171)

4 Channa asiatica (Linnaeus, 1758) ปลาช่อนเล็ก
ชื่อทั่วไป : Amur snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 20.0 cm TL
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22 - 28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ลุ่มแม่น้ำ Yangtze ตอนกลางของจีน ไต้หวัน, เกาะ Hainan ลุ่มแม่น้ำแดง ของเวียตนามเหนือ. และมีรายงานว่าพบที่ญี่ปุ่นและศรีลังกาด้วย
(https://upic.me/i/9v/oes34.jpg) (https://upic.me/show/34798180)

5 Channa aurantimaculata (Musikasinthorn, 2000)  ปลาช่อนออแรนติ
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 19.1 cm SL
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินเดีย
       มีความยาวเต็มที่ประมาณ 45 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำรามบุตรา ซึ่งเป็นแควสาขาของแม่น้ำพรหมบุตร ในตอนเหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย โดยในตอนแรกมักถูกสับสนกับปลาช่อนบาร์กาเนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกันมากและพบในแหล่งน้ำเดียวกัน แต่ได้ถูกอนุกรมวิธานปรัชญา มุสิกสินธร นักมีนวิทยาชาวไทย ที่ได้เข้าไปศึกษาปลาในประเทศอินเดียเมื่อปี ค.ศ. 2000
(https://upic.me/i/u0/iiwz5.jpg) (https://upic.me/show/34798199)

เดี๋ยวมาต้อนะครับ  [on_055] [on_055] [on_055]



หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 19/04/12, [17:26:05]
6 Channa bankanensis (Bleeker, 1852) ปลาช่อนแบงก้า
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 23.5 cm TL
สภาวะแวดล้อม : pH 2.8-3.8
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย
(https://upic.me/i/os/whd36.jpg) (https://upic.me/show/34804747)

7 Channa baramensis (Steindachner, 1901)
ชื่อทั่วไป : Baram snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : มาเลเซีย
(https://upic.me/i/g2/ubyi7.jpg) (https://upic.me/show/34804752)

8 Channa barca (Hamilton, 1822)
ชื่อทั่วไป : Barca snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 90.0 cm TL
สภาพแวดล้อม : เป็นชนิดที่มีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน
สภาพภูมิอากาศ : เขตอบอุ่น
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินเดีย และ บังคลาเทศ
(https://upic.me/i/wn/ib9m8.jpg) (https://upic.me/show/34804760)

9 Channa bleheri (Vierke, 1991)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 13.5 cm SL
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินเดีย
(https://upic.me/i/e4/3plx9.jpg) (https://upic.me/show/34804775)

10 Channa burmanica (Chaudhuri, 1919)
ชื่อทั่วไป : Burmease snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : พม่า
(https://upic.me/i/xv/shl10.jpg) (https://upic.me/show/34804801)


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 19/04/12, [17:28:03]
ตอนนี้เปลี่ยนเเนวมาเป็นพวกนี้เรียบร้อยเเล้ว  [กรี๊ดดดด] [กรี๊ดดดด] น่ารักกกกกอ่า


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Nongtree ที่ 19/04/12, [17:30:58]
ชอบตัวที่ 8 Channa barca ลายเเปลกดีครับ..ชอบๆๆ  [เจ๋ง] [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: ค้อนสายฟ้า ที่ 19/04/12, [17:34:40]
ชอบตัวที่ 8 Channa barca ลายเเปลกดีครับ..ชอบๆๆ  [เจ๋ง] [เจ๋ง]

เคยเห็น ตัวเป็น ๆ ละ แต่ค่าตัว ประมาณ สามหมื่น ครับ

ไม่กินปลา แต่กินกบ กับแมลง ครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 19/04/12, [17:41:57]
เคยเห็น ตัวเป็น ๆ ละ แต่ค่าตัว ประมาณ สามหมื่น ครับ

ไม่กินปลา แต่กินกบ กับแมลง ครับ
โอ้....ตัวนี้ก็สวยทีเดียว..เเต่ราคาเเทบเป็นลม  [บ๊ะบาย] [บ๊ะบาย]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Nongtree ที่ 19/04/12, [18:55:34]
เคยเห็น ตัวเป็น ๆ ละ แต่ค่าตัว ประมาณ สามหมื่น ครับ

ไม่กินปลา แต่กินกบ กับแมลง ครับ
โอ้โห...เเพงละเลี้ยงยากอีก  [on_026] [on_026]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Nongtree ที่ 19/04/12, [18:56:18]
ปูเสื่อมารอชมต่อครับ  [นะโม นะโม] [นะโม นะโม]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: ค้อนสายฟ้า ที่ 19/04/12, [19:01:54]
โอ้โห...เเพงละเลี้ยงยากอีก  [on_026] [on_026]

เลี้ยงไม่ยาก ไป ฟาร์มที่เขานำเข้ามา เลี้ยงธรรมดา ไม่ต้องใส่ Oxy ด้วย

แต่ไม่กิน ปลาเป็น ที่ฟาร์ม เขาให้ หนอนนก จิ้งหรีด กบ ครับ



หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: ค้อนสายฟ้า ที่ 19/04/12, [19:02:51]
http://www.youtube.com/watch?v=aHQqHqGLlUQ (http://www.youtube.com/watch?v=aHQqHqGLlUQ)

ลุงเคยเลี้ยง ว่าง ๆ ต้องหามาเลี้ยงใหม่ ครับ สวย จริง ๆ ครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Longhairguy ที่ 19/04/12, [19:10:01]
กลุ่มปลาช่อนมีสวยๆเยอะครับ อย่ามองแค่เพียงว่ามันเป็นแค่ปลาช่อน


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Last,,One ที่ 19/04/12, [19:45:52]
ช่วนตัวไหนที่เล็กที่สุดครับ พอดีมีที่ไม่มาก emb01

จริงๆชอบปลากินดุๆหน่อยแต่ส่วนใหญ่มันจะตัวใหญ่กันซะเยอะ 036


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Longhairguy ที่ 19/04/12, [19:48:16]
ช่วนตัวไหนที่เล็กที่สุดครับ พอดีมีที่ไม่มาก emb01

จริงๆชอบปลากินดุๆหน่อยแต่ส่วนใหญ่มันจะตัวใหญ่กันซะเยอะ 036

ช่อนเจ็ดสีอินเดีย channa bleheri เลย สวยงาม

หรืออยากได้อารมณ์ไทยๆก็ปลากั้ง


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 19/04/12, [20:06:51]
กลุ่มปลาช่อนมีสวยๆเยอะครับ อย่ามองแค่เพียงว่ามันเป็นแค่ปลาช่อน
ใช่ครับ....ตอนนี้ผมเริ่มติดใจพวกมันเเล้วครับ  [ตกหลุมรัก] [ตกหลุมรัก]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 19/04/12, [20:15:25]
อัฟกันต่อเลยจ้า... [on_055] [on_055]
11 Channa cyanospilos (Bleeker, 1853) ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 17.6 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินโดนีเซีย (สุมาตรา)
(https://upic.me/i/1l/ywh11.jpg) (https://upic.me/show/34809599)

12 Channa diplogramma (Day, 1865)
ชื่อทั่วไป : Indian Giant Snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : -
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : Cochin, ชายฝั่ง Malabar, อินเดีย
ตัวนี้คล้ายๆชะโดบ้านเรานะ
(https://upic.me/i/6k/iad12.jpg) (https://upic.me/show/34809631)

13 Channa gachua (Hamilton, 1822)
ชื่อทั่วไป :
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 20.0 cm SL
สภาวะแวดล้อม : pH 6 - 7
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22-26 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ศรีลังกา จนถึง แม่กลอง และ บาหลี อินโดนีเซีย. รวมถึง Maharashtra, อินเดีย
(https://upic.me/i/q5/yw213.jpg) (https://upic.me/show/34809654)

14 Channa harcourtbutleri (Annandale, 1918)
ชื่อทั่วไป : Inle snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 18.5 cm SL
สภาวะแวดล้อม : อาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : พม่า
(https://upic.me/i/q1/93a14.jpg) (https://upic.me/show/34809822)

15 Channa lucius (Cuvier, 1831) ปลากระสง  ชื่ออื่น กระจน(อีสาน) ช่อนไช (ใต้)
ชื่อทั่วไป : Pla kra song
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 40.0 cm SL
สภาวะแวดล้อม : เป็นชนิดที่มีการอพยพ
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22 - 26 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ไทย และ อินโดนีเซีย

อาจฟังไม่คุ้นหูคนทั่วไปเท่าปลาช่อนหรือปลาชะโด อาจเป็นเพราะมันหาตัวยากกว่าและมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อน จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมจับมากินเป็นอาหาร ทั้งที่จริง ๆ แล้วเนื่อมันก็มีรสชาติพอใช้ได้ทีเดียวเชียวแหละ ปลากระสง เด่นที่ลวดลายด้านข้างของลำตัว มีลักษณะคล้ายจุดกลมเรียงเป็นแถวสองแถวขนานกัน บนพื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเหลือง อมเทา ดูไปดูมาคล้ายงูอนาคอนด้า ดีเหมือนกัน เทียบปลากระสงกับปลาช่อนและปลาชะโดแล้วเห็นได้ชัดว่าส่วนหัวของปลากระสงจะเล็กเรียวแหลมกว่ามาก อาหารของมันจึงไม่ค่อยโลดโผนใหญ่โตนัก ส่วนใหญ่เป็นลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ ทั่วไป
ในธรรมชาติ ปลากระสงชอบลอยตัวนิ่งในลำธารหรือแม่น้ำสายเล็กไหลเอื่อยหรือหยุดนิ่งที่มีพืชน้ำชั้นค่อนข้างหนาแน่น เพื่อดักจับเหยื่อ ปลากระสงไม่ก้าวร้าวดุร้ายเท่าหัวงูชนิดอื่น แต่ก็มีเขี้ยวแหลมคมสองแถวในปากการเลือกเฟ้นปลาที่จะมาเป็นเพื่อนร่วมตู้จึงต้องดูคุณสมบัติให้ไวเข้าไว้ การจัดตู้ก็เหมือนกลุ่มหัวงูชนิดอื่น เพียงแต่ให้ร่มครึ้มมากกว่าสักหน่อยเพราะดูเหมือนมันจะขี้อายถ้าอยู่ในที่โล่งเกินไป
(https://upic.me/i/ah/119039646032163.jpg) (https://upic.me/show/22313810)

วันนี้ขอเเค่นี้ก่อน...อิอิ [แลบลิ้นแอ๊บแบ๊ว] [แลบลิ้นแอ๊บแบ๊ว]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: H.G.N Lobster ที่ 19/04/12, [21:28:39]
ช่อนไช ลายสวย ที่ใต้กินพอใช้ได้ ไม่อร่อยเท่าลูกช่อนนาทอดกรอบ 5555+


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Last,,One ที่ 19/04/12, [21:35:18]
ช่อนเจ็ดสี น่าโดนจริงๆ  emb01 รอก่อนนะจ๊ะ ตู้ยังไม่ว่าง   

จัดแนวไบโอโทป แล้วเลี้ยงสัก สาม สี่ ตัวคงจะเหมาะดี  emb01


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 20/04/12, [09:38:02]
ช่อนเจ็ดสี น่าโดนจริงๆ  emb01 รอก่อนนะจ๊ะ ตู้ยังไม่ว่าง   

จัดแนวไบโอโทป แล้วเลี้ยงสัก สาม สี่ ตัวคงจะเหมาะดี  emb01
โอ้ผมเลี้ยงอยู่ครับ...เลี้ยงง่ายดีครับ...ชอบลูกกบ..เป็นพิเศษเเต่เเปลกจิ้งหรีดมันไม่กินเลยครับ  [on_066] [on_066]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: corydoras ที่ 20/04/12, [10:37:18]
ช่อนนาดีกว่า เบื่อเเล้วปล่อยโตไปใหญ่เนื่ออร่อย


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 20/04/12, [11:01:12]
ช่อนนาดีกว่า เบื่อเเล้วปล่อยโตไปใหญ่เนื่ออร่อย
เีลี้ยงไว้เเล้วเพื่อกิน...ผมว่าสู้ซื้อตัวใหญ่และเอามากินเลยดีกว่าครับ...เสียเวลาเลี้ยง  [เอ๊ะ!!!] [เอ๊ะ!!!]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Nongtree ที่ 20/04/12, [11:04:13]
เีลี้ยงไว้เเล้วเพื่อกิน...ผมว่าสู้ซื้อตัวใหญ่และเอามากินเลยดีกว่าครับ...เสียเวลาเลี้ยง  [เอ๊ะ!!!] [เอ๊ะ!!!]
โอ้...อันนี้ผมเห็นด้วยนะครับ  [on_024] [on_024]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: corydoras ที่ 20/04/12, [11:57:12]
อาหารสำรองครับ อิอิ
พูดเล่นครับ เอาฮาเฉยๆ เเต่ผมว่าช่อนนาก็สวยนะ น่าจะประกวดเเบบกรายบ้างนา


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 20/04/12, [12:03:23]
อาหารสำรองครับ อิอิ
พูดเล่นครับ เอาฮาเฉยๆ เเต่ผมว่าช่อนนาก็สวยนะ น่าจะประกวดเเบบกรายบ้างนา
เดี๋ยวยังมีอีกเยอะครับ...พวกปลาไทยก็มีต้องคอยติดตามชมต่อครับ อิอิ  emb01 emb01


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: corydoras ที่ 20/04/12, [13:02:43]
เนอะ ผมว่านะครับ ใครขอบปลาหน้าโหดตัวใหญ่ๆลายเเปลกๆ ต้องปลาไทยนี่เเหละ ทน ถึก ดูเเลง่าย กินทุกอย่าง เป็นอาหารสำรองได้อีกตะหาก ปลาไทยจะไปตลาดปลาโลก!!!!!! [on_023] [on_023] [on_023]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Longhairguy ที่ 20/04/12, [13:03:53]
เนอะ ผมว่านะครับ ใครขอบปลาหน้าโหดตัวใหญ่ๆลายเเปลกๆ ต้องปลาไทยนี่เเหละ ทน ถึก ดูเเลง่าย กินทุกอย่าง เป็นอาหารสำรองได้อีกตะหาก ปลาไทยจะไปตลาดปลาโลก!!!!!! [on_023] [on_023] [on_023]

ปลาไทยไปตลาดโลกนานแล้ว และราคาแพงเหมือนที่เราซื้อปลาจากนอกมาเลี้ยง


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 20/04/12, [13:15:31]
ปลาไทยไปตลาดโลกนานแล้ว และราคาแพงเหมือนที่เราซื้อปลาจากนอกมาเลี้ยง
ผมเคยดูคลิปของเมืองนอกเค้า..เอาปลาชะโดบ้านเราเลี้ยงนี่ละเเต่ตัวอยู่ที่ประมาณ 5-6 นิ้ว...เค้าคงนึกว่ามันคงสวยดีอะครับเเต่คงยังไม่รู้ตอนโตเป็นอย่างไร  ้hahaha ้hahaha


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ง... ที่ 20/04/12, [13:53:09]
ผมเคยดูคลิปของเมืองนอกเค้า..เอาปลาชะโดบ้านเราเลี้ยงนี่ละเเต่ตัวอยู่ที่ประมาณ 5-6 นิ้ว...เค้าคงนึกว่ามันคงสวยดีอะครับเเต่คงยังไม่รู้ตอนโตเป็นอย่างไร  ้hahaha ้hahaha

ชะโดบ้านเราตัวโต ๆ เวลาถูกแดดนี้ สีสวยมากน่ะครับ จนบางที่ เขาเรียกว่าแมลงภู่
หารูปมาให้ดู (หาได้แต่ที่เขาตกได้ hah1 ไม่มีรูปในตู้เลย เห็นแล้วเสียดายจัง)
ในหน้าเวปนี้ มีสวยโคตรอีกหลายตัวเลยครับ มีสามหน้าลองเข้าไปดูครับ http://www.mokoley.com/en/photogallery/fishing-photo/giant-snakehead/2005_07_18-thailand.html

(http://www.fishsiam.com/images/catchReports/1_1302801306.jpg)
(http://www.fishsiam.com/images/catchReports/3_1302801306.jpg)
(http://i196.photobucket.com/albums/aa221/888max/9%20toman%20fishing%20by%20bkkguy/DSC08212_exposure.jpg)
(http://www.thaimtb.com/webboard/128/64032-15.jpg)
(http://www.thaimtb.com/webboard/128/64032-17.jpg)
(http://www.siamfishing.com/board/upload2009/200908/125064889470427.jpg)
(http://www.siamfishing.com/board/upload2009/200908/125064935770427.jpg)


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Wonner163 ที่ 20/04/12, [13:57:28]
ใครเคยเลี้ยงปลาช่อนจุดอินโดไม่ครับ [งง]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Wonner163 ที่ 20/04/12, [13:58:25]
อยากรู้ว่ามันกระโดดไม่ครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 20/04/12, [15:36:56]
อยากรู้ว่ามันกระโดดไม่ครับ
กระโดดครับ...ผมเลี้ยงอยู่  [on_055] [on_055]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 20/04/12, [17:03:40]
มาต่อกันเลย..... [on_018] [on_018]
16 Channa maculata (Lacep่de, 1801)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 20.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม :
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ญี่ปุ่น, จีนตอนใต้, เวียตนาม, ไต้หวัน และ ฟิลิปปินส์
(https://upic.me/i/4h/4wq16.jpg) (https://upic.me/show/34837713)

17 Channa marulioides (Bleeker, 1851) ปลาช่อนข้าหลวง  ช่อนทอง (นราธิวาส)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 27.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม :
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินโดนีเซีย และ มาเลซีย
เป็นปลาหายาก มีขนาดใหญ่และมีสีสันสวยงาม รูปร่างโดยรวมดูคล้ายปลาช่อนงูเห่า ทว่าสั้นป้อมกว่าสีของลำตัวด้านบนเข้มเหลืองสลับดำอมเขียวลำตัวส่วนท้ายมีลายบั้งจาง ๆ คล้ายช่อนงูเห่าส่วนท้องออกจาง ดูเผิน ๆ คล้ายสีนั้นแบ่งเป็นสองโทนตรงกลางแนวนอนลำตัวพอดิบพอดี ในตลาดปลาสวยงามปลาช่อนข้าหลวงถือเป็นปลาคลาสสิค เป็นปลาชั้นสูงมีสกุลสมชื่อจริงๆ แต่การเลี้ยงก็เหมือนกลุ่มหัวงูอื่น ๆ คือกินแหลกและไม่ค่อยจู้จี้จุกจิกมากนัก ชอบตู้กว้าง ๆ จัดตกแต่งพอเหมาะพอควร ไม่จำเป็นต้องหนาแน่นรกครึ้มแต่ก็อย่าให้ถึงกับล้านเลี่ยนเตียนโล่งไม่มีที่ให้หลบซ่อนเลย ปลาที่เลี้ยงในสภาพเหมาะสมจะแสดงความโดดเด่นงดงามของมันออกมาเหนือชั้นกว่าช่อนทั้งหลาย
ตัวนี้ส่วนตัวผมชอบมากๆ  [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง] [กู้ดครับ!] [กู้ดครับ!] [กู้ดครับ!]
(https://upic.me/i/vv/zvi17.jpg) (https://upic.me/show/34837750)

18 Channa marulius (Hamilton, 1822)
ชื่อทั่วไป : Great snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 183 cm TL
สภาวะแวดล้อม : มีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 24 - 28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ตั้งแต่อินเดีย จนถึง จีน, ทางตอนใต้ของประเทศไทย และ กัมพูชา รวมถึงปากีสถานชนิดนี้จะเป็นช่อนงูเห่าชนิดที่พบในอินเดีย และบังคลาเทศ ซึ่งเป็นคนละชนิดกับช่อนงูเห่าที่พบในประเทศไทยและพม่า ปลาช่อนชนิดนี้มีหน้าตารูปร่างเหมือนงูเห่า คือมีหัวแบนแถมยังมีดอกจันตรงหางเหมือนดอกจันของงูเห่าเปี๊ยบ ลำตัวก็ยาวเรียว ในปากมีเขี้ยวแหลมยาว ปลาชนิดนี้ถ้าพบแล้วให้รีบเผ่น อย่าได้คิดจับมันขึ้นมาเป็นอันขาดเพราะดุร้ายมีพิษ ถ้ากัดโดนเข้าเป็นอันว่าตายลูกเดียว ฟังแบบนี้เด็กที่ไหนก็กลัวกันทั้งนั้นแหละครับ แต่โตขึ้นมาได้รู้จักธรรมชาติของปลามาขึ้น จึงได้พบว่า พวกผู้ใหญ่นี้มันโม้สิ้นดี ผมได้เห็นปลาช่อนงูเห่าเต็มตาก็ในร้านขายปลาร้านหนึ่ง รูปร่างของมันไม่ได้ต่างจากปลาช่อนทั่วไปนัก ผิดกันตรงที่ยาวกว่าเรียวกว่า ส่วนหัวเล็กแบนกว่า ลำตัวมีลายบั้งจาง ๆ พอเห็นไม่จืดชืดอย่างช่อนเบสิก และจุดเด่นสำคัญของปลาชนิดนี้ก็คือวงกลมคล้ายดอกจันตรงโคนหางติดกับครีบ ตรงนี้เองที่ทำให้คนเรียกพวกมันว่าช่อนงูเห่า เพราะมีดอกจันนั่นเอง เรื่องพิษอะไรนั่นก็ปั้นมาหลอกเด็กกันไปตามเรื่องราว ช่อนงูเห่าดูเท่มากถ้าเลี้ยงได้โตเต็มวัยโตเต็มที่ เพราะมันจะเชื่องไม่กลัวคน ออกมาโชว์ออฟหน้าตู้ด้วยการลอยตัวนิ่งโบกครีบว่ายไปมาช้า ๆ การเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่มาก ๆและจัดสภาพเลียนแบบธรรมชาติเท่านั้นถึงจะทำให้ช่อนงูเห่าเติบโตได้ดีและมีลวดลายสวยงาม ตู้ควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 60 นิ้วตกแต่งด้วยขอนไม้ที่เป็นกิ่งก้านและมีพรรณไม้ชนิดที่ชอบแสงน้อย เช่น เฟิร์น หรือต้นอนูเบียสประดับไว้จำนวนหนึ่ง ปล่อยให้มีพื้นที่ว่างด้านหน้าตู้ไว้เพื่อเป็นแคตวอล์กสำหรับปลา ในช่วงแรกปลามักซุกหลบซ่อน จนผ่านไประยะหนึ่งมันจะค่อย ๆ เชื่องแล้วไม่กลัวคนเลยในที่สุด ช่อนงูเห่า มีนิสัยดุร้ายเหมือนชะโดการเลี้ยงรวมกันต้องมีจำนวนมากกว่าสี่หรือห้าตัว ถ้าใส่เพียงคู่เดียวหรือสามตัวปลาจะกัดกันจนตาย สามารถเลี้ยงปลาอื่นรวมลงไปได้ แต่แนะนำว่าควรเลี้ยงเป็นฝูงและมีขนาดความว่องไวมากสักหน่อย อาหารที่ชอบแน่นอนว่าต้องเป็นสัตว์ตัว เล็ก ๆ พอดีปากพอดีคำตามประสาปลาโหด แต่ก็สามารถขัดเกลานิสัยให้หันมากินอาหารสำเร็จรูปได้ และควรเสริมด้วยอาหารสด เนื้อปลา หรือเนื้อกุ้งบ้าง
(https://upic.me/i/z0/zt218.jpg) (https://upic.me/show/34837803)

19 Channa melanoptera (Bleeker, 1855)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 65.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : อินโดนีเซีย
ตัวนี้คล้ายช่อนข้าหลวงเราเลยนะครับ
(https://upic.me/i/40/1ai19.jpg) (https://upic.me/show/34838006)

20 Channa melasoma (Bleeker, 1851)
ชื่อทั่วไป : Black snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 30.0 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : แม่น้ำแม่กลองในประเทศไทย ไปจนถึง อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์
ในบ้านเราเรียกกันว่าช่อนดำครับ
(https://upic.me/i/28/43y20.png) (https://upic.me/show/34838039)

วันนี้เเค่นี้ก่อนเดี๋ยวไม่มีเล่าพรุ่งนี้


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: corydoras ที่ 20/04/12, [18:16:07]
อยากได้ตัวที่16 สวนมีขายป่าวครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: CaT66 ที่ 20/04/12, [22:45:29]
เพิ่งทราบว่ามีปลาช่อนลายสวยๆก็จากกระทู้นี้นี่แหล่ะค่ะ  emb01

ตอนเด็กเคยช่วยปลาช่อนมาตัวนึงเอาใส่ตู้ปลาไม่มีฝาปิดไว้
กะว่าเช้าๆจะเอาไปปล่อย
ตอนกลางคืนมันกระโดดออกมาตายที่พื้น มาเห็นตอนเช้าแห้งตายซะแล้ว [on_007]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: bakapuchino ที่ 20/04/12, [23:04:15]
ชะโดที่เห็นเลี้ยงกันในตู้ ไม่เคยเจอที่สวยๆ สีเขียวแมลงภู่แบบนั้นเลยง่ะ ส่วนใหญ่เจอแต่ดำๆลายขาว  [งง]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: ปaาน้oe ที่ 21/04/12, [00:40:21]
 [mo_001] โห... ตระกูลปลาช่อน เยอะขนาดนี้เลยหรอเนี่ย สวย ๆ ด้วย
เมื่อก่อนแถวบ้าน ยังพอมีให้เห็นพวก ปลากั้ง กระสง ชะโด ช่อน เดี๋ยวนี้หายหมด ...  [on_024]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Last,,One ที่ 21/04/12, [03:05:52]
โทษเจ้าของกระทู้เลย กระตุ้นความอยากเลี้ยงขึ้นมา [on_024] [on_024]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: ouiiiiii ที่ 21/04/12, [08:06:54]
อยากรู้ว่ามันกระโดดไม่ครับ
โดดกระจายครับ ผมเลี้ยงไว้10ตัวไม่มีฝาปิด เช้ามาหายหมด บางตัวไปอยู่หน้าบ้านเกือบ10ม. 036 036
ไม่ต้องถามนะว่ารอดมั้ย แห้งสนิท [on_051] [on_051]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 21/04/12, [09:32:06]
ชะโดที่เห็นเลี้ยงกันในตู้ ไม่เคยเจอที่สวยๆ สีเขียวแมลงภู่แบบนั้นเลยง่ะ ส่วนใหญ่เจอแต่ดำๆลายขาว  [งง]
ปลาอยู่เเหล่งธรรมชาติผมว่ายังไงก็สวยกว่าในตู้นะครับ (ความคิดส่วนตัวนะครับ)  [on_062] [on_062]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 21/04/12, [09:33:17]
โทษเจ้าของกระทู้เลย กระตุ้นความอยากเลี้ยงขึ้นมา [on_024] [on_024]
ฮาๆ....ผมเจอผมยังอยากเลี้ยงไปหมดเลยครับกระทั้งตอนนี้มีอยู่ 2 ชนิดเเล้วยังอยากได้อยู่  ้hahaha ้hahaha


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 21/04/12, [09:35:54]
โดดกระจายครับ ผมเลี้ยงไว้10ตัวไม่มีฝาปิด เช้ามาหายหมด บางตัวไปอยู่หน้าบ้านเกือบ10ม. 036 036
ไม่ต้องถามนะว่ารอดมั้ย แห้งสนิท [on_051] [on_051]
ของผมช่อนอินโด...มีขอนจมเเละขอนอันใหญ่เเต่ลอยอยู่เเรกก็ไม่โดดอยู่หลอกเเต่เลี้ยงไปได้เกือบ 2 เดือน โดดออกมาเเห้งเเต่ยังไม่ตาย...มาเจอทันพอดีนับจากนั้นมาก็เอาพวกฝามาปิดกันไว้ดีกว่าเเก้ครับ  ้hahaha ้hahaha


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Nongtree ที่ 21/04/12, [09:44:23]
สวยๆงามๆทั้งนั้นชอบๆๆให้กำลังใจหน่อยๆ  lau01 lau01 lau01


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 21/04/12, [09:56:35]
สวยๆงามๆทั้งนั้นชอบๆๆให้กำลังใจหน่อยๆ  lau01 lau01 lau01
ขอบคุณหลายๆครับ  emb01 emb01


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 21/04/12, [13:34:09]
ชอบไม่ชอบยังไง...เป็นกำลังใจด้วยการ+++ให้ด้วยนะครับช่วงนี้ดาวขึ้นยาก ฮาๆๆ  ้hahaha ้hahaha ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: BiriBiri ที่ 21/04/12, [17:59:28]
Channa maculata (Lacep่de, 1801)

ขี้ตะไคร่ ขึ้นจนสวยเลยครับ  ้hahaha


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 23/04/12, [09:42:41]
มาต่อกันเลยครับ..... [on_055] [on_055]
21 Channa micropeltes (Cuvier, 1831)
ชื่อทั่วไป : Giant snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 130 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 25 - 28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, เพนนินซูล่า มาเลเซีย, เกาะต่างๆของสุมาตราและบอร์เนียว อินโดนีเซีย
ปลาชะโดจอมโหดนั่นเองครับ
(https://upic.me/i/ho/ejly5.jpg) (https://upic.me/show/32581526)

22 Channa nox (Zhang, Musikasinthorn & Watanabe, 2002)
ชื่อทั่วไป : Night snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 19.8 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตอบอุ่น
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : จีน
(https://upic.me/i/qq/cno22.jpg) (https://upic.me/show/34921631)

23 Channa orientalis (Bloch & Schneider, 1801)
ชื่อทั่วไป : Walking snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 33.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : เป็นชนิดที่มีการอพยพ อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย pH. 6-8 dH 5 -19
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 23 - 6 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : อาฟกานิสถาน และ Baluchistan ทางใต้แพร่กระจายไปถึง ศรีลังกา และทางตะวันออกไปถึง อินโดนีเซีย
(https://upic.me/i/6n/6ws23.jpg) (https://upic.me/show/34921637)

24 Channa panaw (Musikasinthorn, 1998)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 17.1 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : เท่าที่ทราบพบจากลุ่มแม่น้ำอิระวดี (Irrawaddy) และ ซิสแตง (Sittang) ในประเทศพม่าเพียง 2 แหล่งเท่านั้น
(https://upic.me/i/zs/exo24.jpg) (https://upic.me/show/34921650)

25 Channa pleurophthalmus (Bleeker, 1851)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 40.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : สุมาตราในอินโดนเซีย และบอเนียว
ช่อนอินโดที่เรารู้จักกันนี่เอง  [on_018] [on_018]
(https://upic.me/i/wo/69y25.jpg) (https://upic.me/show/34921679)

ติดตามชมตอนต่อไปคร๊าบๆ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: ckman ที่ 23/04/12, [23:25:25]
เป็นสารคดีต้องติดตามตอนต่อไป


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 24/04/12, [09:32:56]
เป็นสารคดีต้องติดตามตอนต่อไป
  ้hahaha ้hahaha ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 24/04/12, [09:39:09]
มาต่อกันเลย  emb01 emb01
26 Channa punctata (Bloch, 1793)
ชื่อทั่วไป : Spotted snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 31.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : เป็นชนิดที่มีการอพยพ อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำกร่อย
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22-28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ :ทวีปเอเชีย : อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, บังคลาเทศ, พม่า
(https://upic.me/i/oa/h5826.jpg) (https://upic.me/show/34960181)

27 Channa stewartii (Playfair, 1867)
ชื่อทั่วไป : Assamese snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 25.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : พื้นที่ทางตะวันออกของหิมาลายา (อินเดีย และ เนปาล)
(https://upic.me/i/43/kxs27.jpg) (https://upic.me/show/34960183)

28 Channa striata (Bloch, 1793)
ชื่อทั่วไป : Common snakehead
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 100.0 cm SL
สภาวะแวดล้อม : การอพยพอย่างภายในแหล่งน้ำจืด, อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด และน้ำกร่อย, pH 7 – 8; dH 20, ระดับความลึก 1 – 10 m
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 23-27 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชีย : ปากีสถานจนถึงประเทศไทย และทางตอนใต้ของจีน. ในหลายประเทศจากรายงานพบว่าจากการนำเข้าปลาช่อนชนิดนี้เข้ามาในประเทศส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของประเทศเหล่านั้น
ชนิดนี้คือปลาช่อนที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีครับ
(https://upic.me/i/ad/26u28.jpg) (https://upic.me/show/34960193)

เพิ่มเติมอีกนึดนึงนะครับ วงศ์ปลาช่อนที่พบในประเทศไทย จะเห็นว่าบางชนิดจะไม่มีในข้อมูลครับ
Channa grandinosa (Cuvier, 1831) ก๊วน
Channa limbata (Cuvier, 1831) ก้าง
Channa lucius (Cuv. in Cuv. & Val., 1831) กะสง
Channa aurolineatus (Day, 1870) ล่อน, ช่อนงูเห่า
Channa maruloides (Bleeker, 1851) ข้าหลวง
Channa melasoma (Bleeker, 1851) ช่อนดำ
Channa micropeltes (Cuv. in Cuv. & Val., 1831) ชะโด
Channa striata (Bloch, 1797) ช่อน

ปลาก้าง Channa limbata
ชื่ออื่น ปลากั้ง,กั๊ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa limbata (Cuvier,1831)
ชื่อภาษาอังกฤษ Red-Tailed Snakehead
แหล่งอาศัย ทางตอนใต้ของประเทศจีนลงมาจนถึงพม่า ไทย ลาว มาเลเซีย และอินโดนิเซีย
ขนาด 15-20 ซ.ม
ปลาก้าง คือปลาในวงศ์ปลาช่อนเมืองไทยที่มีขนาดเล็กที่สุด สีลำตัวค่อนข้างอ่อนจางมองแทบไม่เห็นลวดลายแต่ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน ปลายครีบหางมีขลิบสีส้ม หากเลี้ยงในสภาพเหมาะสมใกล้เคียงธรรมชาติปลาจะมีสีสันเข้มสวยงามไม่น้อยเหมือนกัน การเลี้ยงปลาก้างไม่วุ่นวายเหมือนหัวงูชนิดอื่นด้วย เหตุเพราะมันตัวเล็กนิดเดียวสามารถเลี้ยงรวมกับปลาก้างรวมกัน จำเป็นต้องให้มีจำนวนมากกว่าสองหรือสามเพราะถึงอย่างไรปลาในวงศ์นี้ก็ยังมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวต่อพวกเดียวกันอยู่นั่นเอง ตู้ที่เหมาะสมเป็นตู้ขนาด 36 นิ้วขึ้นไป(เอาแบบสบาย ๆ เลี้ยงได้หลายตัว) จัดตกแต่งด้วยขอนไม้ที่มีกิ่งก้าน พรรณไม้น้ำต้องเป็นชนิดต้องการแสงน้อย ยิ่งปลามีที่ให้ซุกมาเท่าไหร่ปลาจะยิ่งไม่เครียด เลี้ยงไม่นานก็ออกมา ว่ายปร๋อเสนอหน้าขออาหารกันสลอน ตรงกันข้ามกับตู้ที่โล่งไม่มีวัสดุกำบังอย่างขอนไม้หรือดินเผา ปลาจะเครียดจัด และเมื่อเครียดแล้วสีก็เลยไม่สวย กลายเป็นตุ่น ๆ เทา ๆ นอนซุกตามมุมตู้อย่างซังกะตาย อาหารที่เหมาะสมได้แก่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ เนื้อสัตว์แช่แข็งหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอคำ หรือฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปก็ได้แต่ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง
(https://upic.me/i/tt/pbe4w.jpg) (https://upic.me/show/34960213)

พรุ่งนี้มาต่อ....สกุล  Parachanna อีก 3 ตัวที่เหลือนะครับ  [on_055] [on_055]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: TomCm ที่ 25/04/12, [12:10:11]
ตอนนี้มีข้าหลวงสุราษฎร์อยู่ตัวนึง
สุภาพ เรียบร้อย ไม่กัดเพื่อนร่วมตู้ ขออย่างเดียวอย่าเล็กกว่าปากมันเป็นพอ
วัดปาก - โคนหางได้ 18 นิ้วแว้วววว

ในอนาคตอันไม่ไกล อาจจะต้องตั้งตู้รวมช่อนแคระซะหน่อย
 [on_018]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: nightdream ที่ 25/04/12, [12:19:45]
สอบถามหน่อยครับ พอดีผมมี บ่อ หน้าบ้านว่างอยู่ อยากลงปลาชะโด
แต่อยากทราบว่า ปลามันจะกระโดด ออกมั้ยอะครับ
บ่อ เป็น บ่อปูน ยาว ประมาณ 2 เมตร กว้าง ประมาณ ฟุตกว่า ๆ อะครับ
ในบ่อไม่มีอะไรเลยครับ บ่อโล่ง  [งง]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 25/04/12, [12:36:29]
สอบถามหน่อยครับ พอดีผมมี บ่อ หน้าบ้านว่างอยู่ อยากลงปลาชะโด
แต่อยากทราบว่า ปลามันจะกระโดด ออกมั้ยอะครับ
บ่อ เป็น บ่อปูน ยาว ประมาณ 2 เมตร กว้าง ประมาณ ฟุตกว่า ๆ อะครับ
ในบ่อไม่มีอะไรเลยครับ บ่อโล่ง  [งง]
สูงเท่าไรครับบ่อก่อขึ้นมาหรือบ่อขุดอะครับ...ถ้าบ่อก่อขึ้นมายาวขนาดนั้นผมว่าไม่กระโดดนะละควรจะหากิ่งไม้หรืออะไรให้หลบด้วยนะครับ....ใส่น้ำก็อย่าให้สูงเกินไปละกันเพื่อเอาไว้  ้hahaha ้hahaha


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 25/04/12, [12:46:47]
ตอนนี้มีข้าหลวงสุราษฎร์อยู่ตัวนึง
สุภาพ เรียบร้อย ไม่กัดเพื่อนร่วมตู้ ขออย่างเดียวอย่าเล็กกว่าปากมันเป็นพอ
วัดปาก - โคนหางได้ 18 นิ้วแว้วววว

ในอนาคตอันไม่ไกล อาจจะต้องตั้งตู้รวมช่อนแคระซะหน่อย
 [on_018]
ระวังด้วยนะครับ...เดี๋ยวเป็นเหมือนผม...ช่อน7สี...ช่อนพม่า....ช่อนอินโด...บู่ดำ...บู่กลับหัว...เหลือผู้อยู่รอดคือช่อนพม่าเพราะตัวใหญ่กว่าเค้าเพื่อน...เเต่จับช่อนอินโดออกทันเลยรอด... [mo_001] [mo_001]...ควรจะเลี้ยงตั้งเเต่เล็กๆและไซด์พอๆกันถึงจะอยู่กันได้นะครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 25/04/12, [12:50:10]
แล้วก็มาต่อกันที่สกุล  Parachanna อีก 3 ตัวที่เหลือ  cryingrun cryingrun
1 Parachanna africana (Steindachner, 1879)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 32.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 25-28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปแอฟริกา : ตอนใต้ของ Benin (ตอนล่างของแม่น้ำ Oum) จนถึงไนจีเรีย (ตอนล่างของแม่น้ำ Cross)
(https://upic.me/i/cy/7eoa1.jpg) (https://upic.me/show/34996411)

2 Parachanna insignis (Sauvage, 1884)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 41.0 cm TL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 22-28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปแอฟริกา : เหมือนกับ Parachanna obscura ในบางส่วนของลุ่มน้ำ Ogowe และ Congo
(https://upic.me/i/vl/sc8a2.jpg) (https://upic.me/show/34996426)

3 Parachanna obscura (Gunther, 1861)
ชื่อทั่วไป : -
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ : 50.0 cm SL
สภาวะแวดล้อม : -
สภาพภูมิอากาศ : เขตร้อน 26-28 องศาเซลเซียส
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ : ทวีปแอฟริกา : แม่น้ำไนล์, เซเนกัล ไปจนถึง ระบบแหล่งน้ำ แชด ขึ้นไปถึง ระบบแหล่งน้ำคองโก
(https://upic.me/i/6s/82sa3.jpg) (https://upic.me/show/34996436)

จบบริบูรณ์
อ้างอิงจาก...www.mornorfishclub.com
ขอขอบคุณทุกกำลังใจด้วยครับ
 
[เดะแว๊น] [เดะแว๊น] [เดะแว๊น] [เดะแว๊น] [เดะแว๊น]                                     [วิ่งชิลๆ] [วิ่งชิลๆ] [วิ่งชิลๆ] [วิ่งชิลๆ] [วิ่งชิลๆ] [วิ่งชิลๆ] [วิ่งชิลๆ]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: Prab Prabchana. ที่ 26/04/12, [00:56:09]
ตัวที่ 15 เจอประจำ ที่ตลาด เอามาเลี้ยงก็ยาก มันไม่ยอมปรับ เข้าับตู้ เข้ามุมอย่างเดียว เลยจับเผาเกลือซะ ไม่ว่าตัวเล็กตัวใหญ่


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 26/04/12, [09:22:57]
ตัวที่ 15 เจอประจำ ที่ตลาด เอามาเลี้ยงก็ยาก มันไม่ยอมปรับ เข้าับตู้ เข้ามุมอย่างเดียว เลยจับเผาเกลือซะ ไม่ว่าตัวเล็กตัวใหญ่
  ้hahaha ้hahaha อร่อยมัยครับ...ไม่เคยกิน...ว่าเเต่ตู้มีขอนหรือไม้น้ำให้มันหลบมัยอะครับหรือตู้โล่ง  [on_065] [on_065] ตอนผมเลี้ยงผมจับมันลงโอ่ง  [on_026] [on_026] ใส่ขอนกะสาหรายให้มันรู้สึกว่ามันจะมีความสุข...


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: mendietai ที่ 26/04/12, [13:05:49]
 [งง] แล้วจะกด Like ให้พี่เค้ายังใง เยอะแยะไปหมด ข้อมูลดีๆขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: parasall ที่ 26/04/12, [15:17:35]
[งง] แล้วจะกด Like ให้พี่เค้ายังใง เยอะแยะไปหมด ข้อมูลดีๆขอบคุณครับ
ขวาล่างจะมีช่อง +Like อะครับกดเข้าไปเลยครับละคอมเม้นได้เลยตามสบายครับ
ขอบคุณนะครับ  [on_066] [on_066]


หัวข้อ: Re: มารู้จักปลาช่อนกันครับ!
เริ่มหัวข้อโดย: SM ที่ 14/04/15, [13:10:07]
ช่อนข้าหลวง งามมาก