Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: Damselfish ปลาแดมเซล  (อ่าน 13299 ครั้ง)
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« เมื่อ: 04/09/15, [11:23:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

  
   เป็นปลาใน Family(วงศ์) : Pomacentridae  เป็นปลาในอันดับ:Perciformes(ปลากระพง) มีสมาชิกในวงศ์ถึง 300กว่าชนิด เยอะนะเนี่ย [เอ๊ะ!!!]   แบ่งเป็นสกุล(วงศ์ย่อย)ถึง 29สกุล  เป็นปลาที่มีขนาดเล็กอาศัยในน้ำเค็ม และน้ำกร่อยในบางชนิด ปกติจะมีขนาด 4-8 เซนติเมตร  พบการกระจายทั่วไปตามแนวปะการังทั้งใน ทะเล มหาสมุทรเขตร้อน (อินเดียและแปซิฟิกซะส่วนมาก)  แต่ก็สามารถพบบางชนิดได้ใน ฝั่งแอตแลนติกและทะเลแคริเบี้ยน
  เนื่องจากส่วนมากที่พบเลี้ยงๆกันในตู้ มีสีสันสดใส สวยงามและราคาไม่สูง จึงมักพบเห็นได้บ่อยครั้งในตู้ ซึ่งส่วนนึงอาจจะถูกเชิญออกนอกตู้ในภายหลังเนื่องจาก
  - นิสัย ก้าวร้าวมาก ทั้งกับพวกเดียวกันเองและสมาชิกร่วมตู้ ซึ่งจริงๆในธรรมชาติมักพบเป็นฝูงเล็กๆแต่ก็ยังกัดกันเองภายในฝูง  [on_007]
  - สีสัน บางชนิดตอนเด็กๆสีสวยดี แต่พอโตมาหน่อย สีคนละเรื่องเลย
  - โตเร็ว ทนเกิน [on_024] บางทีอาจจะโตเร็ว-ใหญ่กว่าที่คิดเอาไว้เลยทีเดียว
  - ฯลฯ
  แต่ข้อดีของเจ้าพวกนี้ก็ยังมีนะครับ ส่วนนึงเพราะสีสวย ยิ่งเฉพาะพวกสีฟ้าๆ ดูแล้วได้อารมณ์ทะเล  อีกทั้งบางชนิดยังมีวิ๊งๆสะท้อนแสงไฟได้อีกด้วย หรือไม่ก็พวกแถบๆขาวๆดำๆ ดูเด่นสะดุดตาดี  ราคาก็ไม่สูง  เลี้ยงง่าย ยอมรับอาหารสำเร็จได้ง่าย(มาก) รวดเร็ว หลบหลีกเก่ง ทนทาน (ผมยังมีไว้ครอบครองหลายชนิดเหมือนกัน..55)

ขอแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยต่อก่อนนะครับ เพราะมันเยอะเหลือเกิน คลิ๊กเข้าไปจะ Redirect ไปที่ wiki ก่อนแล้วจะทยอยแปลให้เรื่อยๆนะครับ  อาจจะไม่ครบถ้วนกระบวนความครบทุกอย่างตามที่ตั้งใจไว้ อันนี้ต้องขึ้นกับเวลาและแหล่งข้อมูล และบางสกุลก็ห่างไกลจากทะเลเกินไป แต่ลงไว้ครบๆก่อน ค่อยตัดออกทีหลัง

Subfamily Amphiprioninae (anemonefishes)
   Amphiprion (anemonefishes)
   Premnas (if recognized as distinct from Amphiprion)

Subfamily Lepidozyginae
   Lepidozygus

Subfamily Chrominae
   Acanthochromis
   Altrichthys
   Azurina
   Dascyllus
   Chromis

Subfamily Pomacentrinae
   Abudefduf (sergeant majors)
   Amblyglyphidodon
   Amblypomacentrus
   Cheiloprion
   Chrysiptera (demoiselles)
   Dischistodus
   Hemiglyphidodon
   Hypsypops (garabaldi)
   Mecaenichthys
   Microspathodon
   Neoglyphidodon
   Neopomacentrus (demoiselles)
   Nexilosus
   Parma (scalyfins)
   Plectroglyphidodon
   Pomacentrus
   Pomachromis (reef-damsels)
   Pristotis
   Similiparma
   Stegastes (=Eupomacentrus) (gregories)
   Teixeirichthys


*****************************************************
   Subfamily Amphiprioninae (anemonefishes)
  
   สกุลนี้เป็นสกุลของปลาการ์ตูน โดยมากพบได้บริเวณอินโด-แปซิฟิค ไปจนถึง the Great Barrier Reef และ the Red Sea
(ไม่พบในฝั่งแอตแลนติก) กินอาหารได้เกือบทุกชนิด (Omnivore) อาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล(Sea Anemone) แบบพึ่งพากัน โดยปลาการ์ตูนก็ให้อาหาร(จากเศษอาหารและอึ)รวมถึงกำจัดปรสิตให้กับดอกไม้ทะเล และดอกไม้ทะเลให้ที่อาศัยหลยภัยแก่ปลาการ์ตูนเพราะมีเข็มพิษ(nematocysts) นอกจากปลาการ์ตูน ยังมีลูกปลาบางชนิดที่สามารถอาศัยร่วมกับดอกไม้ทะเลได้เช่น
     - โดมิโน่(แดมเซล threespot dascyllus)  

     - คาร์ดินัล(เช่นคาร์ดินัลอมไข่-Banggai cardinalfish)  

     - Anemone Goby  

   ส่วนปลาการ์ตูนก็ยังแยกออกเป็น2สกุลคือ Amphiprion (ปลาการ์ตูนทั่วไปเช่น ส้มขาว, เพอร์ฯ, อานม้า ฯลฯ) กับ Premnas คือปลาการ์ตูนแดง เพียงชนิดเดียว (รวมถึงการ์ตูนทองที่บ้างก็ว่าควรจะแยกเป็น2species คือ P. biaculeatus-แดง กับ Premnas epigrammata-ทอง)
   เอาแค่นี้ก่อน ถ้ามีเวลาว่าค่อยไปเปิดกระทู้ใหม่สำหรับปลาการ์ตูนเด้อ.. (ถ้ารอไหว  [on_026])


*****************************************************
   Subfamily Lepidozyginae
   Genus : Lepidozygus
     Lepidozygus tapeinosoma Fusilier damselfish น่าจะมีเพียงชนิดเดียวนะใน Genus นี้ เพราะข้อมูลน้อยมาก พบตามธรรมชาติกระจายตัวเป็นวงกว้างตามเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดีย จากตะวันออกของแอฟริกา ไปจนแปซิฟิคจรดฮาวาย อ่าวแคลิฟอร์เนีย ยันตอนเหนือของเปรู ตามแนวปะการัง (coral reefs and lagoons)
     ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10.5ซม สีสันเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรม ตั้งแต่เขียวแววไปจนสีคล้ำๆเวลานอน อาหารคือ zooplankton ท่าจะหาอาหารยาก หน้าตาท่าทางพิจารณาดูแล้วเปราะบาง(รึเปล่า) เพราะทั้งที่กระจายตัวมากแต่ไม่ค่อยเห็นตามตลาดปลา



*****************************************************
   Subfamily Chrominae
   Genus : Acanthochromis
     ไกลตัวและไม่คุ้นตาไปหน่อยสำหรับ Acanthochromis ไม่ค่อยเห็นในตลาดบ้านเราเท่าไหร่ (หรือผมไม่ค่อยได้ไปดู ..555)  ลองมาดูกันครับ
     Acanthochromis polyacanthus เป็นชนิดเดียวในสกุลนี้ ชื่อทั่วไปคือ spiny chromis damselfish   พบตามธรรมชาติทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค บริเวณตอนกลางและตะวันตกของอินโด, ปาปัวนิวกีนี, ตอนเหนือของออสเตรเลีย และ เกาะต่างๆของฟิลิปปินส์ยกเว้นเกาะลูซอน  อาศัยตามแนวปะการังที่ระดับความลึก 4-20เมตร
     ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 14ซม ส่วนหน้าของลำตัวมีสีเทา ส่วนท้ายเป็นสีขาว ครีบหลังและครีบท้องเป็นสีดำ ส่วนตอนเล็กจะมีลำตัวสีเทาและมีเส้นสีเหลืองตามแนวนอนบริเวณกลางลำตัว
     กินแพลงตอนเป็นอาหารหลัก (Planktonivore) ปลาเล็กออกมีเล็มเมือกจากปลาใหญ่
รูปตอนเด็ก และ ตอนโต

   Genus : Acanthochromis
   อันนี้ก็ไกลตัวเหมือนกัน (มั๊ง) สำหรับ Genus นี้มี 2 สปีชีส์ในสกุลนี้คือ
     Altrichthys azurelineatus Silver-streaked Damselfish (บางที่ก็เรียกว่า Azure damsel อาจจะเพราะชื่อวิทย์ฯ)  พบอาศัยบริเวณแนวปะการัง อาศัยเป็นคู่ หรือ กลุ่มเล็กๆสำหรับปลาขนาดเล็ก กินแพลงตอนเป็นอาหาร  พบที่ฟิลิปปินส์ (PORT USON, WEST OF PINAS ISLAND, BUSUANGA ID.)


     Altrichthys curatus Guardian damselfish พบที่ฟิลิปปินส์ (PHILIPPINE IS.: PALAWAN PROV., CUYO I.) ตามแนวปะการังที่เป็นกิ่งบริเวณที่มีปะการังชนิด Echinopora horrida และ Porites cylindrica ที่ระดับความลึก 1-10เมตร


*****************************************************

   Genus : Dascyllus
   Gunus นี้ ออกแนวๆ พวก โดมิโน ม้าลายครับ น่าจะคุ้นเคยกัน
     Dascyllus albisella Hawaiian dascyllus
     มีชื่อเรียกหลายชื่อสำหรับเจ้านี่ครับ ทั้ง Hawaiian Domino หรือ White-spotted Demsel พบบริเวณตอนกลางของแปซิฟิคแถวๆ Hawaiian Islands และ Johnston Island พบได้ตามแนวปะการัง บริเวณน้ำตื้น
     ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12.5ซม. ลำตัวมีสีเทาเข้ม ตรงกลางจะออกสว่างๆหน่อย  ส่วนตอนเด็กจะมีสีดำทั้งตัวแต่จะมีแต้มที่หน้าผากและวงกลมที่กลางลำตัวเป็นสีขาว



     Dascyllus aruanus Whitetail dascyllus
     หรือมีชื่ออีกว่า Humbug damselfish กระจายตัวทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิค อยู่ตามแนวปะการังเหมือนแดมเซลทั่วไป ตัวผู้จะดุมากเมื่ออยู่ในช่วงฟักไข่(เหมือนตัวบน)
     เห็นกันบ่อยๆในตลาดบ้านเรากับเจ้า 3ขีด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ10ซม. แต่ที่พบบ่อยๆจะอยู่ประมาณ6ซม. ลักษณะภายนอกก็มีสีขาวดำสลับ โดยมีแถบดำ3แถบพาด ที่จมูกกับหางมีสีขาว ครีบอกและครีบก้นเป็นสีดำ ครีบหลังก็เป็นแถบแนวเดียวกับที่พาดลำตัว อาจมีสีด้านหน้าที่ออกเทาเข้ม-ดำมากขึ้นตามความเก๋า
     ตอนเล็กๆน่ารักดี อยู่รวมฝูงกันได้ แต่พอเริ่มโตก็ตามปกติของแดมเซลที่อาศัยกันเป็นคุ่และหวงถิ่นอย่างมาก ควรจะซัก120ลิตร/1แดมเซล(ทั่วไปก็ประมาณนี้ยกเว้นตะกรับ(Chromis) และการจัดหินเป็นสิ่งจำเป็นหากต้องการมีหลายแดมเซลในตู้ เพื่อให้หลบหลีกกันได้ครับ
     อาหารและการปรับตัว ไม่ยากครับ ตัวล่าสุดได้มาไม่ถึง2เซน โดนการ์ตูนคู่ไล่เกือบทั้งวัน เผลอแป๊บเดียว ไม่มีใครกล้ายุ่งแล้ว



     Dascyllus auripinnis Golden Domino Damsel
     พบได้ทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิคครับ (ไกลบ้านเรา) กินได้หลากหลายเพราะเป็น Omnivore
     ขนาดเต็มที่ก็ประมาณ 11.5ซม  ตอนเล็กๆก็สีดำ มีแต้มขาวที่หน้าผากและบริเวณหลัง พอโตสีก็จะเริ่มจากลงออกเป็นสีเทาดำที่ด้านบน ส่วนด้านล่างจะออกสีเหลืองจุดสีขาว จะค่อยๆหายไปเมื่อโตเต็มที่  จะออกสีเทาๆเหลืองๆครับ


     Dascyllus carneus Cloudy Damsel
     Indian Dascyllus, Blue Spotted Dascyllus, Striped Damsel ก็เป็นชื่อเรียกของเจ้านี่เช่นกัน ถิ่นอาศัยก็ตามชื่อครับ มหาสมุทรอินเดีย
     ขนาดโตเต็มที่ไม่ใหญ่มาก ประมาณ7ซม กินง่าย อยู่ง่าย อดทน ว่องไว ดุดัน ตามสไตล์แดมเซล



     Dascyllus flavicaudus Yellowtail dascyllus
     พบตามธรรมชาติบริเวณตอนกลางของแปซิฟิค (Southeastern Oceania) ไกลบ้านเราอีกเช่นเดิม พบตามแนวปะการังซอกหินต่างเช่นเดียวกับแดมเซลทั่วๆไป เรื่องอาหารก็ประมาณ zooplankton เช่นกัน ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 12ซม
     เมื่อโตเต็มที่พื้นลำตัวก็จะมีสีเทาๆ ส่วนหน้าก็จะสีคล้ำ บริเวณกลางลำตัวมีสีสว่างกว่า ส่วนหางเป็นสีเหลือง ในภาพยังพัฒนาสีและลายยังไม่เรียบร้อย ยังมีแต้มขาวที่หลังและแถบดำคาดผ่านหลังตาอยู่ ซึ่งจะหายไปเมื่อโตเต็มที่ครับ



     Dascyllus marginatus Red Sea dascyllus หรือ marginate dascyllus
     พบตามธรรมชาติบริเวณฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียประมาณแอฟริกาจนถึงแถว The Red Sea อาหารการกินก็ปกติเหมือนแดมเซลครับ เป็น Omnivore ประเภทอาหารก็ได้แก่พวก zooplankton, สัตว์ขนาดเล็ก หรือ Microalgea สรุปกินกินเกือบทุกอย่าง
     เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีครีมอมเหลือง ขอบเกล็ดเป็นแวว ครีบอก-ขอบครีบหลัง-ขอบครีบก้นมีสีดำ หางสีขาวครับ ตัวไม่ใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6ซม.



     Dascyllus melanurus Four Stripe Damselfish
     ม้าลาย4แถบ ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น blacktail dascyllus, blacktail damselfish และ blacktail humbug  พบการกระจายตัวอยู่ที่ฝั่งแปซิฟิคคือไล่ตั้งแต่แถวๆสุมาตราไปจนออสเตรเลียและหมู่เกาะต่างๆกลางมหาสมุทรแปซิฟิค เป็น Omnivore คือกินทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก
     ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8ซม. ลำตัวมีสีขาว พาดด้วยแถบดำ 4แถบ ตรงจมูกมีสีขาว หางสีดำครับ น่าจะพบกันได้บ่อยๆ


    
     Dascyllus reticulatus Two Stripe Damselfish
     พบได้ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและฝั่งแปซิิฟิค เป็น Omvivore กินได้หลากหลาย
     ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 9ซม. ซึ่งบางครั้งสับสนกับ Dascyllus carneus (Cloudy Damsel) เพราะหน้าตาคล้ายกันมาก เพียงแต่เจ้านี่จะมีขนาดใหญ่กว่า และ จะแถบดำที่หาง ซึ่งอีกตัวส่วนหางจะเป็นสีอ่อนและหางจะเป็นสีขาวครับ ลองเปรียบเทียบดูจากรูปครับ



     Dascyllus strasburgi Strasburg's Dascyllus
     ข้อมูลน้อย เขาว่าพบแถวๆ Eastern Central Pacific บริเวณหมู่เกาะ Marquesas ครับ ขนาดโตเต็มที่ 9ซม.
น่าจะเป็นตัวนี้นะ เพราะกำกับไว้ว่า Dascyllus des Marquises


     Dascyllus trimaculatus Threespot dascyllus
     หรือจะเรียกว่า Three Spot Damsel หรือ Domino Damsel  ชื่อบ้านๆก็ โดมิโน่ครับ    ขำๆตรงสมัยก่อนนู้นเคยไปถามที่ร้านว่ามันชื่ออะไร คนขายตอบแบบหน้าตาเฉยว่า "ปลารูปหล่อ"   อึ้งนิดๆคิดในใจว่า  "แ-่ง มีปลาชื่อนี้ด้วยรึ"
     การพบในธรรมชาติ กระจายทั่วทั้งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิคครับ  กินง่ายอยู่ง่าย อึดทด ตามสไตล์แดมเซลบ้านๆ ราคาก็บ้านๆ
     เจ้านี่เป็นหนึ่งในปลาที่คนเลี้ยงผิดหวังอยู่มากพอสมควร เพราะตอนเล็กๆ หน้าตาน่ารัก ตัวดำๆแต้มสีขาว เด่นมากๆ  พอโตมาคนละเรื่องเลย แถมนิสัยก็ไม่ธรรมดาซะอีก แถมโตเร็วและโตได้ถึง 14ซม เลยทีเดียว
     ตอนเล็กๆ จะหน้าตาคล้ายกับเพื่อนในสกุลเดียวกันคือ ตัวดำๆ มีแต้มหน้าผาก มีวงขาวที่บริเวณหลังทั้ง2ด้าน ซึ่งที่คล้ายๆกันในตอนเด็กจะมีอีก3ตัวคือ
       - Hawaiian Dascyllus Dascyllus albisella
       - Yellow Threespot Dascyllus Dascyllus albisella
       - Strasburg's Dascyllus Dascyllus strasburgi
     เริ่มโตขึ้นแต้มที่หน้าผากจะหายไป ส่วนวงขาวที่หลังจะค่อยๆจางลง คงเหลือไว้แต่เพียง สีเทาทั้งตัว ซึ่งอาจจะมีสีเหลืองส้มแซมที่ครีบและหางบ้าง  ตามรูปไอ้ตัวใหญ่ยังมีแต้มขาวอยู่ซึ่จะค่อยๆจางหายไปเป็นสีเดียวกันกับสีลำตัวนะครับ


*****************************************************


   Genus : Chromis
   Genus นี้ จะเป็นแนวๆพวกตะกรับ (ภาษาตลาดบ้านเรา) ซึ่งปลาในกลุ่มนี้ ยังมีความก้าวร้าวอยู่พอสมควร ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่ากลุ่มอื่นในตระกูลเดียวกัน และบางสายพันธ์ก็สามารถเลี้ยงรวมกันในตู้เป็นฝูงเล็กๆได้ครับ แต่ส่วนมากอยู่กันแบบจับคู่ หรือ รวมกลุ่มเมื่อตอนเด็กเท่านั้น ซึ่งใน Genus นี้ รวมๆแล้วมีกว่า 100สายพันธ์เลยทีเดียว (เยอะจัง จะไหวรึเปล่าน้อ....)  มาไล่ดูกันเลยครับ อาจจะมีข้ามไปบางตัวเพราะ ไม่สวย..หน้าตาไม่น่าคบ..55

     Chromis abrupta
     พบในธรรมชาติบริเวณ Eastern Central Pacific: Marquesas Islands อาศัยในบริเวณ lagoons โตเต็มที่ประมาณ 5.4ซม. ไม่มีรายงานว่ามีการจับจากธรรมชาติเพื่อขาย


     Chromis acares Midget Chromis
     พบบริเวณPacific Ocean: Mariana Islands to Hawaiian Islands, south to Vanuatu and Austral Islands ขนาด 4ซม


     Chromis alleni Allen's Chromis
     พบทางตะวันตกเฉียงเหนือของแปซิฟิคบริเวณ Miyake-jima, Bonin Islands(ญี่ปุ่น) ลงมาถึงไต้หวัน ขนาดประมาณ 6ซม เขาว่าเหมาะกับตู้ปลาล้วนครับ


     Chromis amboinensis Ambon Chromis
     พบแถวๆ ตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เกาะคริสต์มาส ซามัว ฟิจิ ตองก้า  ขนาดประมาณ 9ซม. กินเนื้อเป็นหลัก เขาว่าถ้าใส่ไว้ในตู้ปะการัง เวลาโดนไฟ สีมันจะสวยมว๊ากกก ราคา 14-22USD


     Chromis analis Yellow chromis
     กระจายตัวทั่วไปในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 16ซม. พบในระดับความลึกได้ถึง 100ฟุต


     Chromis atripectoralis Blackaxil/Blue-Green Chromis
     อันนี้น่าจะคุ้นเคยนะครับสำหรับตัวนี้ ... แต่อาจจะไม่ใช่ ตะกรับเขียวตัวที่เราคุ้นกันส่วนมากจะเป็น Chromis Viridis นะครับ
     ส่วนที่แตกต่างกันจะเป็นตุ่มสีดำที่โคนครีบอก(ครีบข้างเหงือกนั่นแหละตามรูปวงสีแดง) นอกนั้นทั้งสีสันและขนาดก็ใกล้เคียงกันคือ เจ้านี่ประมาณ10ซม. ส่วนตะกรับเขียวจะ 9ซม
     แหล่งที่พบก็กระจายตัวทั้งในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค (Indo-Pacific)  นิสัยก็ใกล้เคียงกับตะกรับเขียวคือไม่ดุ รักสงบ อยู่ร่วมกับปลาอื่นได้


     Chromis cyanea Reef/Blue Chromis
     เจ้านี่อยู่ไกลซักหน่อยคือ ฝั่งตะวันตกแอตแลนติก ก็แถวๆ อ่าวเม็กซิโก เบอร์มิวด้า ฟลอริด้า คาริบเบี้ยน  ขนาดก็ประมาณ12ซม. จัดเป็นปลารักสงบอีกตัว เป็น Omnivore ท่าทางจะกินง่าย แต่คงไม่ได้พบเห็นง่ายนักสำหรับตลาดบ้านเรา ค่าตัวที่ประมาณ 18-25USD   หน้าตาน่าจัดลงตู้เลยทีเดียว ลองดูกันเอาเองนะครับ


     Chromis dasygenys Blue-spotted chromis
     ขนาดประมาณ 12ซม. ลำตัวสีเขียวอมฟ้า ส่วนหัวและด้านบนสีเหลือง อาศัยตามแนวปะการังและซอกหินที่ระดับความลึก 1-15เมตร อาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ อาหารได้แก่ zooplankton


     Chromis delta Deep Reef Chromis
     หน้าตาสีสันแบบนี้ คล้ายๆกับ Chromis 2ตัวด้านบนที่แตกต่างกันตรงหางนิดนึง  เจ้านี่ก็ผิดกันอีกนิดนึงคือมีติดสีขาวที่ปลายครีบหลังและครีบก้น (นิดเดียวจริงๆ)  แต่จะกระจายกว่าคือ Indo-West Pacific ที่ประมาณ มัลดีฟส์, เกาะคริสต์มาส, ฟิลิปปินส์ ขึ้นไปถึงไต้หวัน ลงมาถึงวานูอาตู   ขนาดโตประมาณ 7ซม.


     Chromis dimidiata Chocolatedip chromis / Twotone Chromis
     ขนาดประมาณ 7ซม. ลำตัวส่วนหน้าเป็นสีดำ-น้ำตาลเข้ม ครึ่งท้ายเป็นสีขาว อาศัยตามแนวหิน/ปะการังเป็นกลุ่มเล็กๆ กิน zooplankton เป็นอาหารครับ พบได้ในมหาสมุทรอินเดียและ Red Sea


     Chromis enchrysura Yellowtail reeffish
     พบตามธรรมชาติบริเวณตะวันตกของแอนแลนติก อ่าวเม็กซิโก คาริบเบี้ยน บาฮามา บราซิล และฝั่งตะวันออกของแอตแลนติกด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา รวมถึงมหาสมุทรอินเดียบริเวณแอฟริกาใต้
     ขนาดประมาณ 10ซม ลำตัวสีน้ำตาล ครีบหลังส่วนท้าย ครีบหาง ครีบท้อง และครีบก้นเป็นสีเหลือง บริเวณรอบตาจะมีสีม่วง


     Chromis insolata Sunshinefish / Olive Chromis
     พบได้ที่ฝั่งตะวันตกของแอตแลนติก เป็นสายพันธ์ที่ไม่ดุมากนัก ขนาดประมาณ5-6นิ้ว สีสันสดใสมากคือบริเวณส่วนหลังจะเป็นสีเหลือง แนวกลาลำตัวจะเป็นสีม่วง และส่วนล่างจะเป็นสีขาว เป็น Omnivore  ราคา 25-40USD แพงเอาเรื่องอยู่

    
     Chromis iomelas Half-and-half chromis
     บอกตรงๆว่าเริ่มสับสนกับ Chromis ขาวๆดำแระ.. [on_007]  ด้วยสีขาวๆดำๆครึ่งนึง ดูเหมือนกันกับ dimidiata แต่เจ้านี่พบทางฝั่งแปซิฟิค(อีกตัวอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย) แถวๆ เกรทแบเรียรีฟ นิวกีนี ซามัว ขนาดประมาณ 8ซม.
     ลำตัวก็ดำครึ่งหน้า ขาวครึ่งหลัง ส่วนที่แยกจากอีกตัวคือ ครีบหลังกับครีบก้นมันแตกกิ่งออกมากว่า 1-2กิ่ง  [on_026] ยังอุตส่าห์ไปนับกัน (ต้องเข้าใจว่ามันเป็น ID - Species)
  รูปขำๆมีพอดแถมให้

     Chromis leucurai Whitetail chromis
     ขนาดประมาณ 2.5นิ้ว พบเป็นกลุ่มเล็กๆที่ความลึกประมาณ60ฟุต ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ขอบครีบเป็นสีน้ำเงิน  คอดหางสีขาว หางสีขาว-ใส ครีบท้องและที่โคนครีบอกมีสีเหลือง ตอนเด็กๆเป็นสีฟ้าครับ


     Chromis limbaughi Limbaughi chromis
     พบที่ Sea of Cortez (เม็กซิโก) ไม่ดุมาก ตอนเล็กๆจะเป็นสีน้ำเงินส่วนท้ายกับหลังเป็นสีเหลือง เมื่อโตขึ้นสีเหลืองจะหายไปเหลือแต่ที่หาง ส่วนลำตัวจะเปลี่ยนจากน้ำเงินเป็นน้ำเงิน-ม่วงครับ ขนาดเต็มที่ประมาณ 4นิ้วครับ ตัวนี้แพง 35-70USD


     Chromis margaritifer Bicolor chromis
     มาอีกแล้วแนวขาวๆดำ ครึ่งหน้าดำ แต่ท้ายสีขาว(ไม่ถึงครึ่งตัวแต่มากกว่าคอดหาง..55 ปวดหัวจัง)  พบแถวๆเกาะคริสมาสต์(ตรงไหน?) ไปจนทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เขาว่านิสัยดีกว่า Chromis หลายๆตัวคือไม่ดุมาก ขนาดประมาณ3-4นิ้ว กินอาหารได้หลากหลายครับ


     Chromis mirationis Japanese chromis
     เห็นแปลกตาดี เจ้าตัวนี้ อยู่น้ำเย็นหน่อยที่ 22-28องศา เพราะอยู่ในเขตแปซิฟิคตะวันตกประมาณ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ขนาดประมาณ 11ซม. ครับ อาหารก็ zooplankton


     Chromis nitida Barrier Reef Chromis, yellowback puller
     พบแถวๆ ฝั่งตะวันออกของแปซิฟิคครับ แถวๆเกรทแบเรียรีฟไปจนถึง Lord Howe Island ขนาดประมาณ 6ซม. นิสัยดี เขาว่าเลี้ยงในตู้ได้เป็นฝูงเล็กๆ ให้อาหารน้อยๆแต่บ่อยๆ และควรเลี้ยงในตู้ขนาด 400ลิตรขึ้นไป (ว่าลักษณะการเลี้ยงคล้ายๆกับตะกรับเขียว)


     Chromis okamurai Okinawa Chromis
     มาแนวญี่ปุ่นอีกแล้ว(ตามชื่อ) พบในแปซิฟิคตะวันตกและทะเลจีนตะวันออก ขนาดประมาณ 9ซม อาหารการกินส่วนมากก็เป็น zooplankton (สีสันสู้ปลาบ้านเราไม่ได้ บ้านเราสวยกว่า สดกว่า)


     Chromis ovalis Hawaiian Chromis
     ขึ้นชื่อว่า "ฮาวาย" ไม่ทำให้ผิดหวังครับ ตัวนี้สวยจริง พบได้ที่ฮาวาย ขนาดประมาณ 15ซม ตอนเด็กๆสีลำตัวจะใสๆเหลือบฟ้า ด้านบนจะเป็นสีเหลือง พอโตขึ้นสีที่ลำตัวจะเข้มขึ้นกลายเป็นเหลืองเหลือบเขียวครับ แต่เมื่อโตเต็มที่น่าผิดหวังมาก กลายเป็นขาวซะงั้น (ข้อมูลจาก ReefKeeping.com)


     Chromis retrofasciata Blackbar Chromis
     ตัวนี้อยู่ฝั่งตะวันตกของแปซิฟิคครับ ประมาณ อินโต-ฟิลิปปินส์-นิวกีนี-โซโลมอน-ฟิจิ-เกรทแบเรียรีฟ ขนาด 5ซม. เป็น Omnivore คืออาหารควรเป็นสูตรเนื้อและพืช(สาหร่าย)บ้าง ว่านิสัยไม่ก้าวร้าว แต่ควรเลี้ยงตู้ละตัว(เอายังไงแน่) เพราะมักอาศัยบ้านละตัว(แปลได้แบบนี้อ่ะ)  ตัวสีเหลืองๆมีแถบดำอันนึงอยู่ที่ท้ายลำตัว คอดหางและหางเป็นสีขาว เลยเป็นที่่มาของชื่อ "Blackbar"


     Chromis scotochiloptera Philippines Chromis
     พบตามธรมชาติได้ตามชื่อเลยครับ ฟิลิปปินส์ และ อินโด น่าจะอยู่อาศัยตามลาดทะเล(seaward slopes) ตามถ้ำซะมากกว่า เพราะตัวใหญ่อยู่ประมาณ 16ซม ลำตัวสีเหลือง หางขาวมีขอบบน-ล่างเป็นสีดำ


     Chromis scotti Purple Chromis
     พบแถวๆฟลอริด้าและแคริบเบี้ยนนะครับ อาศัยตาม Reef Slope  อาหารก็เป็น zooplankton โดยมีเนื้อเป็นหลักและเสริมด้วยสาหร่ายบ้าง สวยดี สีม่วง  (ถ้าแถวบ้านเราจะออกเป็นสีฟ้า)


     Chromis ternatensis Ternate Chromis
     พบได้กว้างเลยครับ แถวอินโด-แปซิฟิค, Red Sea, ตะวันออกของแอฟริกา, ซามัว ตองก้า  อาศัยตามแนวปะการังและ Reef Slopes อาหารก็เป็น zooplankton และ algae ขนาดประมาณ 10ซม. หน้าตาคล้ายๆกับ Chromis scotochiloptera (Philippines Chromis) แต่เขาตัวใหญ่กว่า แต่เจ้านี่ว่าในอันดามันก็มี เลยลงให้ดูครับ


     Chromis vanderbilti Vanderbilt's Chromis
     พบที่ตอนกลางของแปซิฟิคครับ ประมาณ ไต้หวันจนถึงฮาวาย ขนาดประมาณ 6ซม. อาศัยตามปะการัง อาหารก็เป็น zooplankton ในตู้ก็เป็นประเภทเนื้อ+สาหร่ายบ้าง เขาว่าเลี้ยงเป็นฝูงเล็กๆได้ เพราะไม่ค่อยก้าวร้าว (รักสงบ)


     Chromis viridis Green Chromis
     "ตะกรับเขียว" ปลาบ้านๆ พบกระจายตัวเป็นวงกว้าง ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มาดากัสการ์ ทะเลแดง อ่าวเอเดน อ่าวเปอร์เซีย มัลดีฟส์ ศรีลังกา อันดามัน อ่าวไทย ไปอินโด ฟิลิปปินส์ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ไปจนสุดฮาวายเลย แถมยังไปถึง อ่าวแคลิฟอร์เนีย เปรู กาลาปาโกส (เยอะมากกกก) มีบางรายงานว่าใน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็ยังมี
     อาศัยตามแนวปะการังและลากูน ที่ระดับความลึก 1-12เมตร โดยมากมักพบอยู่ตามดง Acropora  ขนาดลำตัวได้ประมาณ 10ซม ลำตัวเป็นสีเขียวเหลือบฟ้า ในช่วงผสมพันธ์ตัวผู้จะออกเป็นสีเหลืองมากขึ้น
     อาหารในธรรมชาติก็เป็น phytoplankton zooplankton และ algae (ก็เป็น Omnivore นั่นแหละ กินได้หลากหลาย) และสัตว์ไม่มีกระดุกสันหลังขนาดเล็กต่างๆ (พวกพอด)
     ในตู้เลี้ยง สามารถเลี้ยงเป็นฝูงเล็กๆได้ เพราะไม่ค่อยก้าวร้าว ขนาดตู้อย่างต่ำก็ประมาณ 120ลิตรครับ


     Chromis weberi Webers Chromis
     กระจายอยู่ทางแปซิฟิคใต้-ฟิจิ พบอาศัยตามแนวปะการังน้ำตื้น ขนาดประมาณ 13.5ซม สีลำตัวเป็นเขียวๆ เทาๆ เหลือบฟ้า-ม่วง ครีบหางมีสีดำที่ปลายด้านบน-ล่าง  นิสัยรักสงบ ก้าวร้าวน้อยหน่อย เวลาเลี้ยงในตุ้เป็นฝูงเล็กๆได้ ระดับการว่ายน้ำในตู้จะอยู่ระดับกลาง-บนตู้  อาหารก็ประมาณเนื้อ+พืชบ้าง (Omnivore)


     Chromis xanthura Paletail Chromis
     พบในเขต อินโด-แปซิฟิค-แปซิฟิคใต้ ประมาณทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เกาะคริสมาสต์ ฟิจิ นิสัยก้าวร้าวพอควร กิน zooplankton เป็นหลัก
     ขนาดประมาณ 15ซม. ตอนเด็กกับตอนโตไม่เหมือนกัน ตอนเด็กจะมีสีเทา-ดำเหลือบเขียว ครีบหางและปลายครีบหลัง/ครีบก้นเป็นสีเหลือง พอโตขึ้นมา ลำตัวจะเป็นสีดำ และกลายเป็นสีขาวที่คอดหาง-หาง ปลายครีบหลัง/ครีบก้นครับ


     Chromis xouthos Yellow-brown chromis
     พบในมหาสมุทรอินเดีย ประมาณ มัลดีฟส์ เมียนมา อันดามัน(ไทย) และอินโดนีเซีย  เจ้านี่กับตะกรับเหลือง(รึเปล่า) Chromis analis - Yellow chromis เป็นคนละตัวกันนะครับ อันนั้นตัวใหญ่กว่า
     ขนาดลำตัว 9.2ซม. ลำตัวสีพื้น เหลือง-น้ำตาล



จบ Chromis ผมทำแค่นี้ครับ ข้อมูล+รูปภาพไม่ชัดเจน ไม่สวยก็ไม่ได้ทำ   [on_065]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24/09/15, [13:17:52] โดย bill2517 »
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #1 เมื่อ: 04/09/15, [11:28:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มาต่อกันที่ ชุดใหญ่เลยทีนี้ Subfamily Pomacentrinae ที่มี Genus เยอะแยะมากมา และ สายพันธ์(สปีชีส์)เยอะแยะ*เยอะแยะมากมาย  ทยอยขุดคุ้ย ค้นหา มาให้นะครับ ใจเย็น ชุดนี้ใหญ่มากกกก

*****************************************************
   Subfamily Pomacentrinae
   Genus : Abudefduf
     ใน Gunus นี้ เป็นประเภทที่ออกแนวๆ ตะกรับลายเสือ สำหรับภาษาบ้านเรา ถ้าเป็นพวกฝรั่งก็จะว่าเป็น sergeant fish ซึ่งเรียกตามแถบสีดำพาดกลางลำตัวเป็นบั้งๆ (นายสิบ) ฝรั่งเลยเรียก "จ่า-Sergent" ส่วนจะมีกี่ "บั้ง"  มาดูกันครับ

     Abudefduf abdominalis Green damselfish / Hawaiian Sergeant / Mamo(ภาษาฮาวาย)
     พบในธรรมชาติที่แปซิฟิคตอนกลาง แถวฮาวายไปจนถึง โพลีนีเซีย  อยู่ตามกองหิน ใน-นอกแนวปะการัง บริเวณใกล้ๆหาด
     ขนาดประมาณ 25ซม. อาหารคือ zooplankton กินได้ทั้ง เนื้อและสาหร่าย(พืช)


     Abudefduf bengalensis Bengal Sergeant,  Narrow-banded sergeant
     พบกระจายตามทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นในบริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย -  อินโด-แปซิฟิค  ตั้งแต่ทางใต้ของญี่ปุ่นไปยังตอนเหนือของออสเตรเลีย
     ขนาดประมาณ 15ซม. มีบั้งทั้งหมด7บั้ง เมื่อโตเต็มที่สีจะคล้ำๆไม่สดใส อาหารตามธรรมชาติก็ zooplankton


     Abudefduf concolor Dusky sergeant
     พบทางฟากตะวันออกของแปซิฟิคครับ เม็กซิโก เอลซัลวาดอร์ไปถึงเปรู รวมถึงเกาะกาลาปาโกส เกาะโคโค่ อาศัยตามแนวหิน-ปะการังใกล้ชายฝั่งที่ระดับความลึกประมาณ 5เมตร  เป็น Omnivore
     ขนาดประมาณ 19ซม. ลำตัวสีเทา มีบั้งประมาณ 4-5บั้งกว้าง (ทำให้เห็นสีพื้นลำตัวแคบ) สีสันไม่สดใสนักเลยได้ชื่อว่า Dusky ตามสีสัน


     Abudefduf conformis
     พบทางตอนกลางของฝั่งตะวันออกในแปซฟิคที่บริเวณ หมู่เกาะ Marquesas  ลำตัวสีเทา-เขียว มี 5บั้งดำ ขนาดโตประมาณ 13ซม. อาหารก็ zooplankton สาหร่าย และสัตว์ไม่มีกระดูสันหลังขนาดเล็ก (Omnivore)


     Abudefduf hoefleri African Sergeant
     พบในมหาสมุทรแอตแลนติกครับ ฟากตะวันออกทางฝั่งแอฟริกา แถว เซเนกัล-เบนิน  ขนาดประมาณ 20ซม. ออกหากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในตอนกลางคืนครับ


     Abudefduf luridus Canary Damselfish, Bluefin Damselfish
     พบในแอตแลนติกฝั่งตะวันออกครับ Madeira, Azores, Canary Islands, Senegal, Cape Verde เป็น Omnivore อาศัยตามแนวหิน-ปะการังใกล้ชายฝั่ง
     ขนาดประมาณ 15ซม.  ตามีขนาดใหญ่ ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ตามครีบจะมีสีฟ้า ปลาขนาดเล็กอาจจะมีแถบพาดลำตัว


     Abudefduf natalensis Natal Sergeant
     พบในมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันตก แถวแอฟริกาใต้ มาดากัสการ์  อาศัยตามแนวหิน เป็น Omnivore มีความก้าวร้าวพอสมควร ขนาดลำตัว 15ซม. สีพื้นเทาอมเขียว(สว่าง) มี 4บั้ง


     Abudefduf saxatilis Sergeant Major Damselfish
     ตัวนี้เป็น Sergent Major มาตรฐานของแอตแลนติก เพราะพบเป็นวงกว้างในเขตร้อน ขนาดประมาณ 10ซม. อาศัยตามแนวหินใกล้ชายฝั่ง หรือตามแนวปะการัง กินอาหารได้หลากหลายทั้ง สัตว์ขนาดเล็กและพืช
     ลำตัวเทาอมเขียวสว่าง บริเวณหลังมีสีเหลือง บั้งดำ 5 บั้ง


     Abudefduf sexfasciatus Scissortail Sergeant
     ตัวนี้พบในเขต อินโด-แปซฟิค คือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ไปจนถึงฮาวาย (รวมทั้งไทยด้วย) กินอาหารได้หลากหลาย อาศัยตามแนวปะการัง ที่ระดับความลึกถึง 15เมตร
     ขนาดประมาณ 16ซม ลำตัวสีเขียว-สว่าง บั้งดำ 5 บั้ง และ ขอบหางบน-ล่างมีแถบสีดำ เป็นจุดสังเกตุที่ชัดเจน (หางกรรไกรตามชื่อครับ)


     Abudefduf sordidus Blackspot Sergeant
     พบในเขตอินโด-แปซิฟิคเช่นกัน ทางฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ทะเลแดง ไปยันฮาวาย อาศัยตามแนวหิน และ แนวปะการัง
     ขนาดประมาณ 22ซม. ลำตัวสีเทาสว่าง แถบดำ(ไม่เข้ม) 6บั้ง จุดเด่นคือ มีจุดดำอยู่ที่คอดหางด้านบนครับ สังเกตุได้ง่าย  เขาว่าในตู้เลี้ยงมัน..ดุ..มาก


     Abudefduf sparoides False-eye Sergeant
     ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติแถวฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่เคนย่า-แอฟริกาใต้ อาศัยตามแนวหินและแนวปะการัง
     ขนาดประมาณ 15ซม. มีวงดำอยู่ที่บริเวณคอดหาง ไม่มีแถบบั้งสีดำ


     Abudefduf taurus Night Sergeant
     พบในบริเวณเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก ลำตัวหนา ขนาดประมาณ 25ซม.  ลำตัวสีเขียวอมเหลือง มีแถบดำประมาณ 5-6แถบ
     อาหารส่วนมากจะเป็นพืช แต่ในปลาขนาดใหญ่อาจมีการกินไฮดรอยด์และกระดุมได้


     Abudefduf vaigiensis Indo-Pacific sergeant
      อันนี้เป็นมาตรฐานของ sergent ของฝั่งอินโด-แปซิฟิคครับ (ฝั่งแอตแลนติกจะเป็น Abudefduf saxatilis) พบกระจายตัวในเขตร้อน-อบอุ่นของทั้ง มหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค ตั้งแต่แถวๆแอฟริกาตะวันออกไล่ไปจนฮาวาย ญี่ปุ่นจรดออสเตรเลีย (บางรายงานว่าพบในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย)
     ขนาดร่างกายประมาณ 20ซม. พื้นลำตัวเป็นสีสว่าง หลังออกสีเหลือง มีบั้งดำ5บั้ง ตามีสีเหลือง
     อาหารก็กินได้เกือบทุกอย่าง นิสัยก้าวร้าว



*****************************************************
   Subfamily Pomacentrinae
   Genus : Amblyglyphidodon
   อันนี้เป็นรุ่นเล็กครับ มีทั้งหมด 11 sp. ในธรรมชาติปกติมักพบเดี่ยวๆ หรือ จับคู่กัน พบอาศัยตามแนวปะการัง

     Amblyglyphidodon aureus Golden Damselfish
     พบในเขตอินโด-แปซิฟิคตะวันตก ประมาณ อันดามัน เกาะคริสมาสต์ ไปจนถึง ฟิจิ และเกาะต่างๆแถวนั้น มักอาศัยตามแนวปะการัง ลากูน แนะบริเวณที่มีกระแสน้ำในมหาสมุทร
     ขนาดประมาณ 13ซม. ลำตัวมีสีเหลืองทอง มีสีฟ้า-ม่วงเหลือบอยู่ที่ส่วนหัว ปลาในเขตอินโดนีเซีย (สุราเวสี) จะมีสีออกเหลืองทองน้อยกว่าปลาในบริเวณอื่น
     อาหารก็เหมือนแดมเซลทั่วไป กินได้หลากหลายครับ และแน่นอน ต้องก้าวร้าวตามสไตล์แดมเซลครับ


     Amblyglyphidodon batunai Batuna Damselfish
     พบในอินโด-แปซิฟิคตะวันตก บริเวณ มัลดีฟส์ และ อินโดนีเซีย ชอบอาศัยในบริเวณลากูนที่มี staghorn
     ขนาดประมาณ 10ซม. ลำตัวสีพื้นเป็นเขียวอ่อน เกล็ดเป็นวาว


     Amblyglyphidodon curacao Staghorn damselfish
     พบในอินโด-แปซิฟิคตะวันตก บริเวณมาเลเซียถึงซามัว เกรทแบเรียรีฟ  ขนาดประมาณ 9ซม.  ก้าวร้าวมาก ควรเลี้ยง1ตัวร่วมกับเพื่อนร่วมตู้ที่ก้าวร้าวเหมือนกัน และตู้ควรมีขนาดใหญ่ซักหน่อย


     Amblyglyphidodon flavilatus Yellow Damselfish
     พบทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียครับ บริเวณทะเลแดง อ่าวเอเดน  อาศัยตามแนวหิน-ปะการัง ขนาดลำตัว 10ซม.


     Amblyglyphidodon indicus Pale damselfish
     พบในมหาสมุทรอินเดีย ในอันดามัน มัลดีฟส์ ทะเลแดง มาดากัสการ์
     ขนาดประมาณ 9ซม. เมื่อโตเต็มที่ ลำตัวจะเป็นสีเขียว-เทา ที่ขอบครีบจะมีสีดำครับ อาหารก็จะเป็น zooplankton


     Amblyglyphidodon leucogaster Yellowbelly Damselfish
     พบกระจายเป็นวงกว้างทั้งในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก ทะเลแดง ไปถึงเกาะต่างๆในกลางแปซิฟิค กิน zooplankton algae สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่างๆ
     ขนาดประมาณ 13ซม. ลำตัวสีเขียวอมเทาสว่าง ครีบหางขอบบน-ล่างมีแถบสีดำ ปลาที่อยู่ในบริเวณอินโดนีเซียจะมีสีเหลืองที่ลำตัวด้านล่าง ครีบก้น ครีบท้อง สดใสกว่าปลาในบริเวณอื่น


*****************************************************
   Genus : Amblypomacentrus
   Genus นี้ เดิมมีเพียง 1 สายพันธ์ แต่เพิ่งแยกออกเป็น 2สายพันธ์เมื่อปี 2000 ครับ
     Amblypomacentrus breviceps Blackbanded Damsel
     พบในบริเวณตะวันตกและตอนกลางของแปซิฟิค ขนาดประมาณ 8ซม . ลำตัวพื้นสีขาวมุก คาดตาด้วยแถบสีดำ-น้ำตาลเข้ม ลำตัวบริเวณหลังมีแถบดำ-น้ำตาลเข้ม 2แถบ ในปลาขนาดเล็ก บริเวณท้องและครีบก้น มีสีเหลือง และจะจางลงเมื่อโตขึ้นครับ
     อาหารก็ประมาณแดมเซลทั่วไป ที่กินอาหารได้หลากหลายเพราะเป็น Omnivore นิสัยก้าวร้าวบ้าง มากกว่าพวกตะกรับแต่น้อยกว่าพวก แดมเซลทั่วไป


     Amblypomacentrus clarus Banggai damselfish
     พบในอินโดนีเซีย บริเวณหมู่เกาะ banggai ขนาดประมาณ 6ซม. ลักษณะภายนอก เหมือนตัวบน เพียงแต่แตกต่างกันในเรื่องของ There are also differences in lower limb gill-raker counts and tubed lateral-line scales, with 16 lower-limb rakers and 15 tubed lateral-line scales in A. clarus and usually 14-15 rakers and 16-17 tubed scales in A. breviceps.   (ผมแปลไม่ถูก  036)
     โดยสปีชีส์นี้ เพิ่งถูกแยกออกมาใหม่เมื่อปี 2000 ครับ


*****************************************************
   Genus : Cheiloprion  
     Cheiloprion labiatus Big-lip Damsel
     พบในเขต อินโด-แปซิฟิคตะวันตก ตั้งแต่ ศรีลังกาไปจนถึงหมู่เกาะโซโลมอน ทางเหนือก็ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ไปจนตอนเหนือของออสเตรเลีย  มีเพียง Sp. เดียวใน Genus นี้ครับ
     ขนาดประมาณ 6ซม. ลำตัวมีสีน้ำตาลเข้ม ริมฝีปากขนาดใหญ่ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อกินเนื้อเยื่อปะการังโดยเฉพาะ อาศัยในบริเวณที่มี Acroporid โดยเฉพาะ Staghorn  ซึ่งเมื่อปะการังในบริเวณนั้นตายไป หรือ ฟอกขาว ปลาชนิดนี้ก็จะหายไปด้วย



*****************************************************
   Genus : Chrysiptera  
   มีทั้งหมด 34 Sp. ครับใน Genus นี้ หลายๆตัวน่าจะคุ้นเคยกันดีนะครับ เห็นได้บ่อยในตลาดปลาทะเลสวยงาม
   อาจจะไม่ได้เรียงลำดับ A-Z ทั้งหมด เพราะบาง Sp. ใกล้เคียงกัน เลยทำไว้ให้เป็นชุดๆเพื่อจะได้เห็นความแตกต่างชัดเจนขึ้นครับ

     Chrysiptera annulata Footballer damsel, Tiger damsel
     พบอาศัยตามแนวปะการังน้ำตื้นในมหาสมุทรอินเดียฝั่งตะวันตกแถวแอฟริกา มาดากัสการ์ ทะเลแดง
     ขนาดประมาณ 8ซม. ลำตัวสีขาวมุก มีแถบดำคล้ายกับพวกม้าลาย 3-4ขีด แต่สีสันจะสดใสกว่า กินอาหารหลากหลาย


     Chrysiptera biocellata Twinspot Damselfish
     พบกระจายตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ไล่เรื่อยมาจนถึง ซามัว ออสเตรเลีย (อินโด-แปซิฟิคตะวันตก) พบอาศัยตามบริเวณลากูนและแนวปะการังในพื้นราบ
     ขนาดประมาณ 12ซม. เมื่อโตเต็มที่ ลำตัวจะมีสีเทาและมีคาดสีขาวที่หลัง ที่ครีบหลังตรงกลางและท้ายจะมีแต้มสีดำ 2 จุดครับ ส่วนตอนล็กๆจะมีสีเหลืองมีสีดำที่บริเวณหลังและมีเส้นสีน้ำเงินพาดตามแนวนอนที่หลัง มีวงสีน้ำเงิน1วง


     Chrysiptera unimaculata Onespot damselfish
     พบได้ตั้งแต่ทางฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ทะเลแดง ไปจนถึง เกรทแบเรียรีฟ ขนาดประมาณ 7.5ซม. อาศัยตามแนวปะการังในน้ำตื้นระดับความลึก 3-15ฟุต  หน้าตาจะคล้ายกับตัวบนทั้งในตอนเล็ก-ตอนโต แต่เมื่อโตเต็มที่จะมีแค่จุดเดียวครับ


     Chrysiptera brownriggii Surge damselfish
     เป็นอีกตัวที่สร้างความผิดหวังให้ผู้เลี้ยง เพราะตอนเล็กๆสีสวย สดใสมาก พอโตก็ตามรูปเลยครับ ขนาดประมาณ 6ซม. พบได้ในเขตอินโด-แปซิฟิคตั้งแต่ มัลดีฟส์ ศรีลังกา ไปจนถึงแถว the Cook Islands ตามแนวปะการังพื้นราบ
     นิสัยก้าวร้าว กินง่าย หลากหลายครับ ตอนเล็กกับตอนโตคนละลายครับ ตอนเล็กสีเหลือง+แถบสีน้ำเงิน พอโตไม่สวยเลย


     Chrysiptera leucopoma Wellen damselfish
     พบในอินโด-แปซิฟิคตะวันตก บริเวณฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิิลิปปินส์ ไต้หวัน ตอนใต้ของญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาะทางตอนเหนือของออสเตรเลีย  ขนาดประมาณ 6ซม.  แปลงร่างได้


     Chrysiptera bleekeri Bleeker's damsel
     พบในฝั่งตะวันตกของแปซิฟิคประมาณ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยมากมักอาศัยอยู่ในบริเวณแนวปะการังน้ำลึกที่ระดับความลึก 20เมตรขึ้นไป  อาหารก็เป็นปกติครับเพราะเป็น omnivore กินได้ทั้งพืชและเนื้อ นิสัยก้าวร้าว มักพบเดี่ยวหรือเป็นคู่
     ขนาดประมาณ 8ซม พื้นลำตัวเป็นสีม่วง-น้ำเงิน มีแถบเหลืองพาดที่ส่วนบนของลำตัวตั้งแต่ส่วนหัว-หลัง


     Chrysiptera caeruleolineata Blueline damselfish
     พบในบริเวณ อินโด-แปซิฟิคตะวันตก คือในส่วนของฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียไปถึงประมาณ ฟิจิ ซามัว ออสเตรเลีย ขนาดประมาณ 6ซม.  สวยนะ ผมชอบ


     Chrysiptera chrysocephala
     พบแถวๆมาเลเซียครับ อาศัยทั้งในลากูน แนวปะการัง รวมถึงขอบๆของแนวปะการัง ขนาดโตประมาณ 5ซม.  รูปดูเปรียบเทียบด้านล้างครับ เพราะมันเกี่ยวกัน 3 Sp.   [ ตัวนี้ให้ดูรูป B ]
     Chrysiptera rex  King demoiselle
     พบใน Indo-West Pacific ทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียไปถึง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินโต ไปถึงบริเวณเกรทแบเรียรีฟ ขนาดประมาณ 7ซม. อาศัยทั้งในแนวปะการังรวมถึงนอกแนวปะการังด้วย อาหารส่วนมากจะเป็นพืชครับ
     รูปภาพดูเทียบกันเลยครับ 3 Sp. ทางด้านล่าง  [ ตัวนี้ให้ดูรูป C ]
     Chrysiptera caesifrons Greyback damsel
     เป็น Sp. ใหม่ๆสดๆร้อนๆ ปี 2015 พบในฝั่งตะวันตกของแปซิฟิคบริเวณ ปาปัวนิวกีนี โซโลมอน นิวคาลิโดเนียและทางเหนือของออสเตรเลีย ขนาดประมาณ 5ซม.  ซึ่งเมื่อโตเต็มที่จะคล้ายกับ Chrysiptera rex ในตอนโต ส่วนในตอนเล็ก Chrysiptera rex จะไปคล้ายกับ Chrysiptera chrysocephala อีกที .. ปวดหัว อธิบายยาก ต้องดูรูป.. [ ตัวนี้ให้ดูรูป A ]

ทางซ้ายเป็นตอนเด็ก  ทางขวาเป็นตอนโตนะครับ
A=Chrysiptera caesifrons
B=Chrysiptera chrysocephala
C=Chrysiptera rex

     Chrysiptera cyanea Blue Devil / Sapphire Devil Damselfish
     พบเห็นได้บ่อยสำหรับตัวนี้นะครับ แต่ยังมีรายละเอียดในเชิงลึกมากกว่าที่รู้กัน (ผมก็เพิ่งรู้เมื่อตะกี้นี้แหละ...55)
     การพบในธรรมชาติบริเวณ Indo-West Pacific บริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกสุดของมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงทางตะวันตกของออสเตรเลียและเกรทแบเรียรีฟ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ปาปัวนิวกีนี โซโลมอน ฟิจิ  โดยมากอาศัยตามลากูน แนวปะการังน้ำตื้น ในระดับความลึก 1-33ฟุต  อาศัยกันเป็นกลุ่มเล็กๆตามปะการัง โดยจะมีตัวผู้1ตัว กับตัวเมียอีก2-3ตัวและปลาเล็ก ซึ่งบางครั้งอาจพบตัวผู้มากกว่า1 แต่จำนวนตัวเมียก็จะต้องมีมากกว่าตัวผู้   โดยตัวผุ้จะมีหน้าที่รักษาอาณาเขต
     อาหารส่วนมากก็จะเป็น สาหร่าย ตะไคร่ต่างๆ และ สัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร
     ขนาดโตได้ประมาณ 8.5ซม ในธรรมชาติจะมีอายุประมาณ 2-6ปี แต่อาจอยู่ได้ถึง 15ปีในตู้เลี้ยง
     ลักษณะร่ายกายจะมีพื้นลำตัวเป็นสีฟ้าสดใส และมีแถบดำเล็กคาดหน้าที่จมูก-ตา  ในปลาตัวเมียจะมีสีฟ้าเท่านั้น ส่วนตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีการพัฒนาสีที่หางเป็นเหลือง-ส้ม ซึ่งจะมีมาก-น้อย เข้ม-จาง ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการผสมพันธ์
     ส่วนปลาตัวผู้ที่ได้จาก ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์จะเป็นสีฟ้าล้วน แต่จะมีสีดำตามขอบครีบต่างๆ
     และสีเหลืองก็ยังมีความแตกต่างกันอีก...
     ปลาตัวผู้ที่ได้จาก อินโดนีเซียและปาเลา ก็จะคล้ายกันคือ มีสีเหลืองที่หน้า ท้อง ครีบท้อง และ ปลายหาง  แต่ปลาที่ได้จากเกรทแบเรียรีฟและปาปัวนิวกีนีจะมีสีเหลืองแค่ที่ปลายหาง แต่ปลาที่ได้จาก Rowley Shoals จะมีสีเหลืองที่ปลายครีบท้องแต่หางเป็นสีฟ้า/ใส  


     Chrysiptera hemicyanea azure damselfish,  half-blue demoiselle
     พบในเขต อินโด-แปซฟิคตะวันตก คือ ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียกับฝั่งตะวันตกของแปซิฟิคบริเวณ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเกาะต่างๆแถวๆตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย อาศัยตามแนวปะการังน้ำตื้นที่ระดับความลึกประมาณ 1-15เมตร ตามปะการังกิ่งก้านต่างๆเช่น Acropora  อยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ
     ขนาดประมาณ 7ซม. ลำตัวสีน้ำเงินสว่าง ส่วนล่างของลำตัวตั้งแต่ท้องไปถึงหางจะเป็นสีเหลือง นิสัยไม่ค่อยก้าวร้าวเท่าไหร่ (เมื่อเทียบกับแดมเซลหลายๆตัว ยกเว้นตะกรับ)  กินง่าย อยู่ง่ายครับ


     Chrysiptera parasema Yellowtail Blue Damselfish
     แดมเซลหางเหลือง (นอก) ในตำนาน พบได้บ่อยตามตลาดปลาระยะหลังๆ (สมัยก่อนไม่ใช่ตัวนี้)
     พบในฝั่งตะวันตกของแปซิฟิค ฟิลิปปินส์ โซโลมอน ตอนเหนือของนิวกีนี หมู่เกาะรีวกีว (Ryukyu Islands) อาศัยตามลากูนและแนวปะการังในน้ำตื้น ระดับความลึกประมาณ 3-20ฟุต
     ขนาดประมาณ 6ซม ลำตัวสีน้ำเงินสว่า มีสีเหลืองที่บริเวณคอดหางและหาง ปลายหางมีสีใส กินง่ายอยู่ง่าย ไม่ค่อยก้าวร้าว (ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในซีรีส์นี้ .. 555 ได้แก่ C.cyanea , C.hemicyanea , C.giti และ C.arnazae)


     Chrysiptera giti Giti damselfish
     พบในบริเวณปาปัวนิวกีนี ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย ขนาดเล็กประมาณ 3.6ซม. อาศัยตามกิ่งก้านของปะการังเช่น Acropora spp, Seriatopora   ลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับ C. hemicyanea, C. parasema (ท้องเหลือง,หางเหลือง) แต่จะแตกต่างกันที่ ส่วนหาง-คอดหาง-ครีบก้น  (มันกึ่งๆระหว่างแดมเซลท้องเหลืองที่เหลืองถึงครีบท้อง ส่วนแดมเซลหางเหลืองจะเหลืองแค่ที่หางกับคอดหาง)  นิสัยก้าวร้าวแต่ไม่มาก


     Chrysiptera arnazae Arnaz's damselfish
     พบในฝั่งตะวันออกของอินโดนีเซีย โซโลมอน ปาปัวนิวกีนี  มีขนาดประมาณ 4ซม.
     เพิ่งถูกแยกเป็น Sp. ใหม่ออกจาก แดมเซลหางเหลือง (Chrysiptera parasema) เพราะจะมีสีเหลืองนอกจากบริเวณคอดหาง+หางแล้ว ยังมีบางส่วนของครีบก้นและครีบท้องที่มีสีเหลือง ***ข้อมูลตาม ReefBuilder***


     Chrysiptera flavipinnis Yellowfin damselfish
     พบทางฝั่งตะวันตกของแปซิฟิค แถวๆ ปาปัวนิวกีนี เกรทแบเรียรีฟไปจนถึงซิดนีย์ โตได้ประมาณ 8ซม. ลำตัวสีน้ำเงินสว่าง ขอบด้านบนและด้านล่างของลำตัวเป็นสีเหลืองรวมถึงครีบ


     Chrysiptera galba Canary damsel
     พบแถวฝั่งตะวันตกของแปซิฟิค Southeastern Oceania ขนาดประมาณ 7ซม อาศัยตามชายขอบของแนวปะการัง ระดับความลึกประมาณ 30เมตร อาหารเป็น zooplankton


     Chrysiptera glauca Grey damsel
     พบในบริเวณหินตามแนวปะการังหรือตามพื้นทราย อาศัยเป็นกลุ่มเล็กๆ ในเขตอินโดแปซิฟิคตั้งแต่แอฟริกาจนถึงออสเตรเลีย
     ขนาดประมาณ 11ซม ปลาเล็-โตคนละลายครับตามรูป


     Chrysiptera niger Black damselfish
     พบในแปซิฟิคบริเวณ ตะวันออกเฉียงใต้ของปาปัวนิวกีนี (Tufi) ครับ ขนาดประมาณ 7ซม


     Chrysiptera pricei Price's damselfish
     พบแถวอินโดนีเซีย อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ที่ระดับความลึก 3-10เมตร   ขนาดประมาณ 5ซม


     Chrysiptera rapanui Easter damselfish
     ขนาดประมาณ 5.5ซม อาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะบริเวณปะการัง Porites พบได้บริเวณ Kermadec Islands(ตะวันตกเฉียงใต้ของแปซิฟิค  และ Easter Island(ตะวันออกเฉียงใต้ของแปซิฟิค  ไม่รู้ทำไมถึงเป็น2สี แต่สวยดี


     Chrysiptera rollandi Rolland's damselfish
     ตัวนี้ก็พบบ่อยในตลาดปลาบ้านเรา ในธรรมชาติพบที่ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย-ฝั่งตะวันตกของแปซิฟิค แถวอันดามัน ฟิลิปปินส์ ไปจน เกรทแบเรียรีฟ
     ขนาดลำตัวประมาณ 7ซม ตอนเล็กๆอาจอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆได้ แต่โตขึ้นจะเริ่มหวงถิ่นตามปกติครับ กินง่ายอยู่ง่าย


     Chrysiptera starcki Starck's damselfish
     พบทางตะวันตกของแปซิฟิคบริเวณ ฟิจิ ตองก้า ไต้หวัน ถึงตอนใต้ของญี่ปุ่น   ขนาดประมาณ 7ซม ตัวนี้ดุพอประมาณ สีสวยดี ราคาก็สวยด้วย


     Chrysiptera talboti Talbot's damselfish
     พบในบริเวณ อินโด-ออสเตรเลีย คือตั้งแต่ไทย อินโด ติมอร์ ไปถึงตองก้า ฟิจิ  ระดับความลึก 1-30เมตร อาศัยตามแนวหินและแนวปะการัง ขนาดประมาณ 6ซม กินได้หลากหลายครับ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSAYmMACCedjRQlLna4xBQI6i0N9oyLJXE_NM1r-iJq52u5Cs_BKA

     Chrysiptera taupou southseas devil, southseas damsel, fiji damsel
     พบในธรรมชาติบริเวณแปซิฟิคตอนใต้แถว เกรทแบเรียรีฟ ฟิจิ ซามัว อาศัยบริเวณแนวปะการังน้ำตื้น 1-5เมตร
     ขนาดประมาณ 6 ซมครับ อาจจะคล้ายกับตัว Chrysiptera cyanea คือลำตัวสีฟ้าและมีเหลืองตามครีบ-ท้อง และมีจุดดำที่ท้ายครีบหลัง แต่รูปทรงเจ้านี่จะออกแนวแคบ-ยาวกว่า และมีเกล็ดวาวบางส่วนกระจายอยู่ตามลำตัวครับ
http://www.marinelifephotography.com/fishes/damselfishes/Chrysiptera-taupou.jpg

     Chrysiptera traceyi Tracey's Damsel
     พบทางตะวันตกของแปซิฟิค แถว Marshall and the Caroline Islands และบางส่วนในฟิลิปปินส์ ขนาดประมาณ 6 ซม ดุพอประมาณครับ

    
     Chrysiptera tricincta Threeband damselfish, Tuxedo Damselfish
     พบบริเวณตะวันตกของแปซิฟิค อินโดจนถึงซามัว ทางเหนือบริเวณบริเวณหมู่เกาะริวกิว ทางใต้ก็บริเวณซิดนีย์ ออสเตรเลีย
     ขนาดประมาณ 6ซม หน้าตาอาจจะคล้ายกับ พวกม้าลาย แต่เป็นคนละ Genus กัน  พวกนี้จะดุน้อยกว่าพวก Dascyllus ครับ  รูปทรงจะออกแคบ-ยา่วกว่า และเมื่อโตเต็มที่ ปลายหางที่เป็นสีใสๆ จะมีสีออกส้ม-น้ำตาลแทนครับ


     Chrysiptera unimaculata Onespot damselfish
     พบกระจายตัวตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ทะเลแดง ถึง ฟิจิ ทางเหนือก็หมู่เกาะริวกิวลงไปจนถึงเกรทแบเรียรีฟ
     ขนาดประมาณ 10ซม. พบอาศัยเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ตามแนวหิน ใกล้ชายฝั่งบริเวณที่มีสาหร่ายอยู่ เพราะกินพืชเป็นหลัก ก้าวร้าวไม่มาก และ ตอนเล็กกับตอนโตลายไม่เหมือนกัน เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะเป็นสีเขียวอมเทาครับ



จบ Genus : Chrysiptera   เล่นเอาหลายวันเลย  ยังเหลืออีกหลาย Genus สู้ต่อไป... [on_065]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24/09/15, [13:11:49] โดย bill2517 »
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #2 เมื่อ: 04/09/15, [11:28:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ้างอิงจาก
advancedaquarist.com
th.wikipedia.org
en.wikipedia.org
eol.org
fishbase.org
animal-world.com
reefapp.net
saltcorner.com

Reserved แค่นี้น่าจะพอ .. 55  ความขี้เกียจเริ่มครอบงำ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05/09/15, [12:43:19] โดย bill2517 »
tajaba ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #3 เมื่อ: 04/09/15, [11:31:27] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เป็นแก๊งปลาที่น่ากลัวที่สุดใน 3 โลก
bakapuchino ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 04/09/15, [12:55:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อยากเลี้ยง azure กับม้าลาย แต่ไม่กล้า กลัวไล่ปลาเก่าตายหมด  n032
lmul ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #5 เมื่อ: 05/09/15, [12:07:33] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สีมันสวยจริง ๆ นะ พวกเดมเชล
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #6 เมื่อ: 05/09/15, [12:26:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เป็นแก๊งปลาที่น่ากลัวที่สุดใน 3 โลก

อยากเลี้ยง azure กับม้าลาย แต่ไม่กล้า กลัวไล่ปลาเก่าตายหมด  n032

จริงๆถ้าตู้ใหญ่หน่อย จัดหินดีๆ ซับซ้อนหน่อย อาจจะหาตัวไม่เจอเลย เพราะซ่อนตัวเก่งมาก  ออกมาตอนกินอาหาร
ส่วนความก้าวร้าว ก็มีบ้างถ้าไปวนเวียนแถวบ้านมัน ซึ่งเพื่อนร่วมตู้ถ้าตัวใหญ่กว่าเยอะไม่น่ามีปัญหาครับ ยกเว้นพวกขี้ตกใจอย่างไฟร์ฟิช, คาร์ดินัล อาจจะมีปัญหามากหน่อย
ส่วนถ้าเป็นแดมเซลหลายๆตัว-ชนิด ก็มีไล่กันบ้างคือไล่ให้ออกไปจากพื้นที่ของมันปุ๊บก็หยุดไล่เอง


สีมันสวยจริง ๆ นะ พวกเดมเชล
สีสวยกว่านี้รออีกหน่อยครับ ชุดนี้ยังไม่สด ต้องรอ
SubFamily Pomacentrinae กับ Genus Chromis (chromis)
สักหน่อย เดี๋ยวจะทำให้ครับ ไล่จากชุดเล็กๆน้อยๆไปก่อน
un_petit_garcon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 05/09/15, [23:18:08] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โอ๊ยยย Yellow Chromis ตะกรับเหลือง โดนใจ อยากได้ ทำไงดี เหอๆๆๆ

คุณบิลขยันมากกก น่าจับคุณบิลไปดำน้ำด้วยกัน คงต้องสนุกมากๆ แน่ๆ 555
bakapuchino ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 08/09/15, [00:14:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จริงๆถ้าตู้ใหญ่หน่อย จัดหินดีๆ ซับซ้อนหน่อย อาจจะหาตัวไม่เจอเลย เพราะซ่อนตัวเก่งมาก  ออกมาตอนกินอาหาร
ส่วนความก้าวร้าว ก็มีบ้างถ้าไปวนเวียนแถวบ้านมัน ซึ่งเพื่อนร่วมตู้ถ้าตัวใหญ่กว่าเยอะไม่น่ามีปัญหาครับ ยกเว้นพวกขี้ตกใจอย่างไฟร์ฟิช, คาร์ดินัล อาจจะมีปัญหามากหน่อย
ส่วนถ้าเป็นแดมเซลหลายๆตัว-ชนิด ก็มีไล่กันบ้างคือไล่ให้ออกไปจากพื้นที่ของมันปุ๊บก็หยุดไล่เอง

เป็นแค่ตู้ 24 ครับ เลยไม่กล้า

ตอนแรกที่จะลงปลานี่เดมเซลกับหวานเย็นเป็นตัวเลือกต้นๆที่จะเลี้ยงเลยครับ

แต่พอศึกษาดูถึงได้รู้ว่า แมร่งผู้ก่อการร้ายทั้งนั้น  [on_007]
jamprince ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #9 เมื่อ: 15/09/15, [15:05:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เป็นแค่ตู้ 24 ครับ เลยไม่กล้า

ตอนแรกที่จะลงปลานี่เดมเซลกับหวานเย็นเป็นตัวเลือกต้นๆที่จะเลี้ยงเลยครับ

แต่พอศึกษาดูถึงได้รู้ว่า แมร่งผู้ก่อการร้ายทั้งนั้น  [on_007]

้hahaha ้hahaha ้hahaha ้hahaha ้hahaha ้hahaha ้hahaha
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: