Aqua.c1ub.net
*
  Sat 27/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วงจรไนรโตรเจนในตู้ปลา ที่ไม่ควรมองข้าม  (อ่าน 9379 ครั้ง)
deathless123 ออฟไลน์
Club Member
« เมื่อ: 18/05/12, [11:24:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

   ก่อนอื่นผมเป็นเพียงคนเลี้ยงปลาทะเลที่อ่านและศึกษาข้อมูลเพื่อจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์เลี้ยงจิงว่าทำไม มันเกิดขึ้นเพราะอะไร?
   เริ่มเดิมทีปัญหาที่ผมเจอคือ ตู้ตะไคร่เยอะขัดแล้วมันก็มาทั้งๆที่ใช้น้ำRo ปลาไม่ค่อยกินอาหาร เกิดเลยเกิดคำถามว่ามันเกิดจากอะไรเลยลองศึกษาดู
  ในการเลี้ยงปลาไม่ว่าจะน้ำจืด หรือปลาทะเล เมื่อปลากินก็จะทำการขับถ่ายทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ และ แอมโมเนีย ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ถูกจัดการด้วย การเติมอากาศ แอมโมเนีย เราใช้แบคทีเรียย่อยด้วยกระบวนการ aerobics ย่อยสลายเป็น ไนไตรท์ และเป็น ไนเตรทในลำดับสุดท้าย
    แอมโมเนีย (NH3) เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่สำคัญตัวหนึ่ง เป็นผลผลิตจากของเสียที่สิ่งมีชีวิตในน้ำขับถ่ายออกมา แอมโมเนียถือว่าเป็นสารพิษสารหนึ่ง ซึ่งมีโทษกับทั้งคน และสัตว์ คุณสมบัติของมันคือ เป็นก๊าซไ่ม่มีสี มีกลิ่นฉุนแรง และเป็นอันตรายต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต และลองนึกดูสิครับว่า หากปลาในตู้ปลาของเราได้รับแอมโมเนียเข้าไป มันจะอยู่ได้หรือ? แต่แอมโมเนียก็เป็นอาหารของพวกแบคทีเรียอีกทีหนึ่ง และทางที่ดีที่สุดคือควรทำให้ตู้ปลาทะเลมีระดับของแอมโมเนียต่ำที่สุด
  แอมโมเนียมีผลเสียต่อปลา โดยที่มันจะไปทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตของปลามีการไหลเวียนที่ดีน้อยลง ทำให้เหงือกเกิความเสียหาย รวมทั้งยังไปทำลายเมือกของปลาทะเลอีกด้วย หากระดับแอมโมเนียสูงเกินไป จะทำให้สิ่งมีชีวิตใสตู้ปลามีการตอบสนองที่ช้าลง สังเกตุจาก ปลาจะขึ้นมาหายใจบนผิดน้ำบ่อย มันยังทำให้สภาพในน้ำมีสภาพเป็นกรดอีกด้วย
  บางท่านอาจเคยลงปลาทีเดียวหลายๆตัวแล้วปลาตายโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุอาจเกิดจากแอมโมเนียในน้ำ เพราะแบคทีเรียไม่สามารถย่อยสลายแอมโมเนียได้ทัน ดังนั้นการลงปลาควรลงทีละตัว สองตัว แล้วรอซักเดือนแล้วค่อนลงเพิ่ม เพื่อให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนพอที่จะย่อยสลายแอมโมเนีย
  ไนไตรท (NO2) มันมีพิษน้อยกว่าแอมโมเนีย แต่ถ้าอยู่ในน้ำมากๆ จะทำให้คุณภาพของน้ำเสื่อมได้เช่นกัน เจ้าตัวไนไตรทนั้นเป็นผลผลิตทีได้มาจากการ เผาผลาญอาหารจากแบคทีเรีย โทษของมันคือ ทำลายระบบปราสาท ตับ ไตของปลา และที่สังเกตุง่ายๆ คือฝาปิดเหงือกของปลา จะไม่กลับมาเปิดปิดกับลำตัวของปลาได้อีก
    ไนเตรท (NO3)ด้วยว่าไนเตรทเป็นพิษน้อยกว่าแอมโมเนียและไนไตรท์ แต่ก็ไม่ใช่ของดีนักหนา และมักเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามอยู่เสมอถามกันต่อ ถ้าปริมาณไนเตรทสูงเกิดอะไรขึ้น
    ไนเตรทจะซึมเข้าสู่ตัวปลาทำให้การได้รับออกซิเจนเป็นไปได้น้อยลง หมายความว่า แม้ว่าในน้ำจะมีออกซิเจนเหลือเฟือ ปลาหายใจเข้าไปแล้ว เหงือกไม่สามารถดึงออกซิเจนมาใช้ได้ ทำให้ ปลาเหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง กินอาหารน้อยลง ภูมิคุ้มกันลดลง ไม่โต แกร็น ถ้าเป็นแผลจะหายช้า ลุกลามติดเชื้อได้ง่าย ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้ามีปริมาณไนเตรทสูงมากๆ ปลาใหญ่อาจทนได้หลายเดือน แต่ปลาเล็กมักอยู่ได้ไม่กี่อาทิตย์
    ไนเตรทเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายของวงจรไนโตรเจน มันมีพิษต่ำมาก เกิดจากที่แบคทีเรียเปลี่ยนจากไนไตรท + ออกซิเจน(เป่าออกซิเจนเข้าไปในน้ำ) แล้วเกิดเป็นไนเตรท ไนเตรทมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ คือเป็นปุ๋ยชนิดหนึ่ง ที่สร้างการเจริญเติบโตให้กับประการัง สาหร่าย ต้นไม้ในน้ำได้อีกด้วย และทำให้พืชนั้นเจริญเติบโต และผลิตออกซิเจนออกมาให้กับตู้ปลาได้อีกด้วย ไนเตรทยังสามารถเปลี่ยนไปเป็นไนตรัสออนไซด์ และไนโตรเจน ออกนอกระบบปิด (ในตู้ปลา)ได้อีกด้วย
   วิธีการกำจัดไนเตรทในระบบตู็ปลาทะเล
1.ระบบ Refigium จิงๆแล้วเป็นระบบที่ใช้สาหร่ายในการสลายไนไตร แต่เรียกว่าเรฟูเจียมเนื่องจากสาหร่ายเหล่านี้จะกลายเป็นที่หลบของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก พวกแพลงตอนพืช พอต และหนอนชนิดต่างๆ เป็นการสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์ภายในตู้ไปในตัว และช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำด้วย การทำก็ไม่ยากส่วนใหญ่จะเลี้ยงสาหร่ายในกรองที่แยกมาจากตู้หลัก ใช้ไฟธรรมดาอะไรก็ได้เพื่อให้สาหร่ายใช้ในการสังเคราะห์แสง เปิดอย่างน้อยวันละ6-10ชม. ข้อเสียของระบบคือบางคนบอกว่ามันหมักหมม เป็นที่เพาะพันธ์ของพอต หรือหนอนซิ่งบางชนิดกินปะการังก้นตู้ บางชนิดเป็นอันตรายต่อคน เช่นหนอนไฟ โดนแล้วปวดแสบปวดร้อนมาก ข้อควรระวังของระบบอีกอย่างหนึ่งคือ ควรหมั่นตัดสาหร่ายทิ่งเมื่อมันโตมากเกิน ไม่เช่นนั้นเมื่อสาหร่ายมากเกินกว่าแร่ธาตุที่ไม่ในน้ำ จะทำให้แร่ธาตุไม่เพียงพอ สาหร่ายจะพากันตายทั้งหมด ทำให้น้ำขุ่น ตู้ล่มได้ครับ
2.Trickle Tower, TT ,WET & DRY TOWER
ว่ากันว่า TRICKLE TOWER เป็นเครื่องมือชนิดวิเศษ สามารถบำบัด NITRATE จนมีค่าเป็นศูนย์ บ้างก็ว่าจัดการแอมโมเนียและไนไตรท์ได้ด้วย นำมาประยุกต์เพิ่มเติมจากระบบเดิมได้ง่าย มันคือการทำหอบำบัด โดยการให้น้ำไหลผ่านMEDIAชนิดต่างๆ และอาจมีการเติมออกซิเจนเข้าไปด้วย(แล้วแต่สูตรครับ) โดยตัวมีเดียจะมีรูพรุนและทำหน้าทีดูซับ แอมโมเนีย ไนไตรน์ ไนเตรท เอา้ไว้แล้วแต่ชนิดของมีเดีย ระบบนี้เป็นระบบสำเร็จรูปซื้อมาใช้ได้เลยครับ ข้อควรระวังมีเดียมีอายุการใช้งานครับ ถึงเวลาเปลี่ยนต้องเปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยนมีเดียจะูดูดสารเข้าไปมากเกินกว่าที่จะรับได้ แล้วมีเดียจะคลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ดูดไว้ออกมา เรียกส่ามีเดียระเบิด ก็จะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมฆ่าสังหารหมู่เกิดขึ้น ตู้ล่มแบบน่าเศร้ามาก
    ทั้งหมดนี้เป็นแค่ข้อมูลเพียงส่วนน้อย ผมเชื่อว่าถ้าทุกคนอ่าน และศึกษาให้มากจนมีความรู้ความเข้าใจแล้วการเลี้ยงตู้ทะเลจะเป็นเรื่องง่ายๆครับ อยากให้อ่านเยอะๆ เพราะโลกมีนวัตกรรมใหม่ๆทุกวัน(เมื่อก่อนเลี้ยงกรองใต้ทราย  ไม่มีกรองแยก ไม่มีสกิมเมอร์) อ่านเว็ปนอกบ้างถ้าพออ่านได้ อ่านเข้าใจก็เอามาแชร์ความรู้กัน ผมเป็นมือใหม่ในเว็บนี้ยังไงก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ ถ้าซ้ำ หรือผิดพลาดประการใดก็ขออภัยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18/05/12, [11:27:10] โดย deathless123 »
wai1970 ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #1 เมื่อ: 18/05/12, [12:04:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ทุกตู้ปลาต้องมีวงจรไนโตรเจนในการกำจัดของเสีย ถูกมากๆครับ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: