Aqua.c1ub.net
*
  Wed 24/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ไนเตรทสูง  (อ่าน 4372 ครั้ง)
reef lover ออฟไลน์
Club Member
« เมื่อ: 09/02/12, [13:33:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 รบกวนขอถาม 4 ข้อ
1. ถ้าไนเตรตสูงจะมีผลต่อปลาและก้นตู้อย่างไรบ้าง
2. อะไรที่เป็นสาเหตุให้ไนเตรตสูงบ้าง
3. จะทำอย่างไรให้ในเตรตลดลงได้บ้าง
4. กระบอก bilo pallet reactor ช่ายลดไนเตรตได้ไหม กลไกการทำงานเป็นอย่างไร
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #1 เมื่อ: 09/02/12, [13:49:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กระทู้นี้พอเป็นแนวทางที่ดีได้ครับ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=167254.0
ถามคำถามเดียวกันว่าใช้น้ำอะไรตีเกลือๆ แล้วลองวัดน้ำดูก่อนหรือเปล่าเพราะอาจมาจากน้ำที่ใช้ก็ได้
1. No 3 สูงอาจไม่เห็นกับปลาแต่กระทบต่อการดำรงชีวิตและเติบโตของก้นตู้ครับ
2. น้ำที่ใช้ ของเสียที่เกิด การหมุนเวียนของน้ำเพื่อบำบัดไม่ดีพอ
3.ลดการเกิดของเสีย ดูดตะกอนของเสียและเมือกตามซอกหิน เปลี่ยนน้ำในปริมาตรมากพอสมควร
4. รอท่านที่ใช้มาตอบนะ
Puzzle ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #2 เมื่อ: 09/02/12, [21:45:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไนเตรท มีผลต่อการเติบโตของก้นตู้...
ของอ่อน กระดุม เห็ด ชอบไนเตรต 50-60 กำลังดี โตเร็ว...
SPS จะทำให้สีไม่สวยสีเขียว หรือน้ำตาล+ดำ...

ไนเตรทก้คือปุ๋ยดีๆนี่เอง
อะไรที่สังเคาระห์แสงก็เหมือนพืชต้นหนึ่ง...

แต่การที่ไนเตรตสูงก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดตะไคร่ สาหร่ายเช่นเดียวกัน
กรณีของกระดุม โกรฟ ถ้าไปคลุมปากอาจจะทำให้ไม่บานและตาย...

ไนเตรตเกิดจาก ของเสียในระบบ
อาหารปลา ของเสียจากปลา
เมือกก้นตู้ การที่ก้นตู้ปล่อยเมือกมากๆ เกิดจากการระคายเคือง
สาเหตุมีหลายประการ เช่นการเติมสารบางอย่าง..ทำให้เกิดการระคายเคือง

การกำจัดไนเตรตเบื้องต้นคือการจัดวางระบบการไหลเวียนของน้ำ การกำจัดสารตั้งต้นของมัน
พวกโปรตีน หรือเมือก โดยอุปกรณ์ที่สำคัญคือ สกิมเมอร์...ชื่อเต็มคือโปรตีนสกิมเมอร์..
การถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ...การใช้ระบบสาหร่าย แต่ต้องใช้ในปริมาณที่มาก
การใส่แบคทีเรียแต่มากไปก็ไม่ดี...
การใส่หินเป็นในกรองล่างเยอะๆ...ฯลฯ



จะรู้ได้ไงว่าไนเตรตในตู้สูง ตะไคร่ขึ้น ก้นตู้สีคล้ำๆขึ้น...เกิดไซยาโนแบคทีเรียสีแดงๆตามพื้น..
น้ำเหลือง แม้ว่าไนเตรทจะไม่มีสีแต่ถ้าน้ำเหลืองแสดงว่าในตู้ก็มีสารตั้งต้นก่อนกลายเป็นไนเตรทในปริมาณที่สูง...

Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #3 เมื่อ: 09/02/12, [22:30:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คุณตั้ม ขอวิธีการแก้ไขไซยาโนทั้งแบบเร่งด่วนและลดการเกิดให้เพื่อนๆเป็นความรู้ด้วยสิครับ [ไอ้แว่น]
Puzzle ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 09/02/12, [22:41:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แบบเร่งด่วนคือการดูดทิ้งครับพี่ป๊อป อย่าดูดแล้วลงถุงกรองนะครับ
แบบดูดน้ำออกแล้วเปลี่ยนน้ำใหม่เลย.....

แล้วมามองดูว่ากระแสน้ำ การไหลวนสู่ระบบการกรองของน้ำมีจุดบอดตรงไหน..

แต่หลักๆของผมคือปัญหาที่มือครับ พอมีปลาก็ให้อาหารตลอดเวลา..555
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #5 เมื่อ: 09/02/12, [22:48:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แต่หลักๆของผมคือปัญหาที่มือครับ พอมีปลาก็ให้อาหารตลอดเวลา..555
jealous อืมมม โดนน้องปลาสะกดจิตทุกวัน ตกดึกถ้วยส้มกับสมองก็กวักหนวดเรียก [อะไรฟะ]
Puzzle ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 09/02/12, [22:49:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไซยาโนย์ มันจะมีลักษณะสีแดงๆ เป็นเหมือนตะไคร่เขียว เป็นเมือกๆ ลื่นๆ..มีทั้งสีแดง และสีเขียว
มีฟองอากาศ ปัดออกง่าย ดูดออกง่าย....

จัดกระแสน้ำดีๆ..
ทุกครั้งที่ผมแนะนำมักจะเป็นเรื่องกระแสน้ำ
ที่ได้มาก็เพราะมีคนสอนมาเช่นเดียวกันครับ และผมก้ทำตามเห็นแล้วดีเลยอยากแบ่งปัน

ตะไคร่ที่น่ากลัวคือสีเขียวแข็งๆที่มักไปเกิดตามกระดุม โกรฟ มันจะไปหุ้มปาก ต้องขูดออก..
แต่ถ้าเป็นแบบอ่อนๆก็ใช้แปรงสีฟันปัดครับ...

อีกตัวคือไดอะตอม มีลักษณะเป็นเส้นๆน้ำตาลๆทองๆ ชอบขึ้นตามกระจก..
มันใช้ฟอสเฟตและซิลิเกตในการสร้างเปลือกของมัน
เราจะพบว่าบางทีน้ำกรอง น้ำประปา ฟอสเฟตเป็น 0 แต่มีซิลิเกตอยุ่...
จึงแนะนำให้ใช้น้ำ ro ครับ...

ไนเตรท ฟอสเฟต ซิลิเกต มีในระบบ แต่อยู่ในรูปอื่น
เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ปลาตายทีนึงก้เกิดขึ้นทีนึง...เป็นต้น

ส่วนแบคทีเรียบูม บางครั้งเป็นฟิล์มขาวๆ เป็นเมือกๆคล้ายไซยาโน
แบคทีเรียแต่ละชนิดสร้างโคโลนีที่มีรูปร่างแตกต่างกัน
ก้เกิดจากแบคทีเรียในระบบมันเยอะ ก็ปัดๆแล้วงดใส่แบคทีเรียครับ...



reef lover ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #7 เมื่อ: 10/02/12, [11:38:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไนเตรท มีผลต่อการเติบโตของก้นตู้...
ของอ่อน กระดุม เห็ด ชอบไนเตรต 50-60 กำลังดี โตเร็ว...
SPS จะทำให้สีไม่สวยสีเขียว หรือน้ำตาล+ดำ...

ไนเตรทก้คือปุ๋ยดีๆนี่เอง
อะไรที่สังเคาระห์แสงก็เหมือนพืชต้นหนึ่ง...

แต่การที่ไนเตรตสูงก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดตะไคร่ สาหร่ายเช่นเดียวกัน
กรณีของกระดุม โกรฟ ถ้าไปคลุมปากอาจจะทำให้ไม่บานและตาย...

ไนเตรตเกิดจาก ของเสียในระบบ
อาหารปลา ของเสียจากปลา
เมือกก้นตู้ การที่ก้นตู้ปล่อยเมือกมากๆ เกิดจากการระคายเคือง
สาเหตุมีหลายประการ เช่นการเติมสารบางอย่าง..ทำให้เกิดการระคายเคือง

การกำจัดไนเตรตเบื้องต้นคือการจัดวางระบบการไหลเวียนของน้ำ การกำจัดสารตั้งต้นของมัน
พวกโปรตีน หรือเมือก โดยอุปกรณ์ที่สำคัญคือ สกิมเมอร์...ชื่อเต็มคือโปรตีนสกิมเมอร์..
การถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ...การใช้ระบบสาหร่าย แต่ต้องใช้ในปริมาณที่มาก
การใส่แบคทีเรียแต่มากไปก็ไม่ดี...
การใส่หินเป็นในกรองล่างเยอะๆ...ฯลฯ



จะรู้ได้ไงว่าไนเตรตในตู้สูง ตะไคร่ขึ้น ก้นตู้สีคล้ำๆขึ้น...เกิดไซยาโนแบคทีเรียสีแดงๆตามพื้น..
น้ำเหลือง แม้ว่าไนเตรทจะไม่มีสีแต่ถ้าน้ำเหลืองแสดงว่าในตู้ก็มีสารตั้งต้นก่อนกลายเป็นไนเตรทในปริมาณที่สูง...



ขอบคุณมากมายเลยครับ  คำตอบโดนมากเลยครับ  สรุปว่ากระบอก remover ไม่สามารถช่วยลดไนเตรทได้ใช่ไหมครับ
Puzzle ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 10/02/12, [11:56:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ช่วยได้ครับ แต่หากสามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ ก็จะช่วยได้หลายๆอย่าง
แต่กรณีบางตู้ที่ตั้งไปแล้ว และไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้มากนัก
ก็คงจำเป็นที่จะต้องใช้กระบอกรีมูฟครับ..

อุปกรณ์ทุกอย่างล้วนมีประโยชน์ เพียงแต่ต้องใช้ให้คุ้มค่า....
และให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดครับ...



Mixzer ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #9 เมื่อ: 10/02/12, [21:53:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไซยาโนย์ มันจะมีลักษณะสีแดงๆ เป็นเหมือนตะไคร่เขียว เป็นเมือกๆ ลื่นๆ..มีทั้งสีแดง และสีเขียว
มีฟองอากาศ ปัดออกง่าย ดูดออกง่าย....

จัดกระแสน้ำดีๆ..
ทุกครั้งที่ผมแนะนำมักจะเป็นเรื่องกระแสน้ำ
ที่ได้มาก็เพราะมีคนสอนมาเช่นเดียวกันครับ และผมก้ทำตามเห็นแล้วดีเลยอยากแบ่งปัน

ตะไคร่ที่น่ากลัวคือสีเขียวแข็งๆที่มักไปเกิดตามกระดุม โกรฟ มันจะไปหุ้มปาก ต้องขูดออก..
แต่ถ้าเป็นแบบอ่อนๆก็ใช้แปรงสีฟันปัดครับ...

อีกตัวคือไดอะตอม มีลักษณะเป็นเส้นๆน้ำตาลๆทองๆ ชอบขึ้นตามกระจก..
มันใช้ฟอสเฟตและซิลิเกตในการสร้างเปลือกของมัน
เราจะพบว่าบางทีน้ำกรอง น้ำประปา ฟอสเฟตเป็น 0 แต่มีซิลิเกตอยุ่...
จึงแนะนำให้ใช้น้ำ ro ครับ...

ไนเตรท ฟอสเฟต ซิลิเกต มีในระบบ แต่อยู่ในรูปอื่น
เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ปลาตายทีนึงก้เกิดขึ้นทีนึง...เป็นต้น

ส่วนแบคทีเรียบูม บางครั้งเป็นฟิล์มขาวๆ เป็นเมือกๆคล้ายไซยาโน
แบคทีเรียแต่ละชนิดสร้างโคโลนีที่มีรูปร่างแตกต่างกัน
ก้เกิดจากแบคทีเรียในระบบมันเยอะ ก็ปัดๆแล้วงดใส่แบคทีเรียครับ...





 ตอบได้ดีครับ
mido ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #10 เมื่อ: 11/01/14, [09:08:23] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ เจอปัญหานี้พอดีเลย

อัพให้เผื่อคนที่มีปัญหาเหมือนกัน  [เจ๋ง]
vahahaha ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #11 เมื่อ: 11/01/14, [14:34:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กระทู้ดีมีประโยชอีกแล้วครับท่าน  [on_066]
Puzzle ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #12 เมื่อ: 18/06/15, [10:37:15] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เก่าแล้ว แต่ขออัพนะครับ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: