Aqua.c1ub.net
*
  Sat 20/Apr/2024
หน้า: 1 2 3 4   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการผสมคาร์บอนยีส จากมุมมองนักเทคโนโลยีชีวถาพ  (อ่าน 36163 ครั้ง)
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #60 เมื่อ: 03/03/10, [11:28:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สรุปแล้ว ไอ้ที่ผมใช้ เบกกิ้งโซดา มันไม่ได้ CO2 หรอกเหรอครับ? [งง]   shock1
เคยอ่านเจอ บางคนใช้ เบกกิ้งโซดา กับ น้ำส้มสายชู ก็ได้ CO2  036

(ผมเรียนสายอาชีพ เลยไม่ได้เรียน เคมีครับ) surrender

สรุป ควรใช้ผงฟูเหรอครับ  [เขิลลลล]

ใช้เบคกิ้งโซดาได้ครับ แต่ต้องใส่กรดเพื่อให้มันมีฟอง แต่ผงฟูสะดวกกว่าเพราะมันใส่มาแล้วโดนน้ำฟองก็ออกเลย
DominoFx ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #61 เมื่อ: 03/03/10, [14:32:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รบกวนถามคุณ coffman หน่อยครับ

อากาศที่เข้าไปในระบบ หมักยีสต์ มีผลเสียมากหรือเปล่าครับ โดยผมทำแบบนี้

ต่อสามทางระหวาง ขวดยีสต์ กับกันย้อน(ขวดดักยีสต์) เพิ่มกันย้อนอีกตัว เอาหลอดฉีดยา อัดอากาศเข้าระบบ
จนแรงดันมากพอ จะมีอากาศ ออกที่ดิฟ (ผมเป็นพวกขี้เกียจรอนานๆหลายชั่วโมงครับ) ไม่เกิน 5 นาที ก็ออกฟู่ๆแล้ว(แต่เป็น O2 ซะส่วนใหญ่ อันนี้ผมเข้าใจ)
ตอนนี้ผมใช้ ขวด 1.25 x2 ต่อแบบของคุณ Kasama ออกที่ 3 ฟองต่อวินาที ตู้ขนาด 36x18x18 วางดิฟ ที่ก้นตู้ครับ

ถ้าผมใช้วิธีการต้มน้ำ และทำความสะอาด ตามวิธีที่คุณแนะนำ การอัดอากาศ เข้าไปในระบบ จะมีผลเสียอะไรหรือเปล่าครับ(ไม่นับเรื่อง O2 ที่เพิ่มขึ้นในตู้ในช่วงแรกนะครับ)
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #62 เมื่อ: 03/03/10, [15:03:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รบกวนถามคุณ coffman หน่อยครับ

อากาศที่เข้าไปในระบบ หมักยีสต์ มีผลเสียมากหรือเปล่าครับ โดยผมทำแบบนี้

ต่อสามทางระหวาง ขวดยีสต์ กับกันย้อน(ขวดดักยีสต์) เพิ่มกันย้อนอีกตัว เอาหลอดฉีดยา อัดอากาศเข้าระบบ
จนแรงดันมากพอ จะมีอากาศ ออกที่ดิฟ (ผมเป็นพวกขี้เกียจรอนานๆหลายชั่วโมงครับ) ไม่เกิน 5 นาที ก็ออกฟู่ๆแล้ว(แต่เป็น O2 ซะส่วนใหญ่ อันนี้ผมเข้าใจ)
ตอนนี้ผมใช้ ขวด 1.25 x2 ต่อแบบของคุณ Kasama ออกที่ 3 ฟองต่อวินาที ตู้ขนาด 36x18x18 วางดิฟ ที่ก้นตู้ครับ

ถ้าผมใช้วิธีการต้มน้ำ และทำความสะอาด ตามวิธีที่คุณแนะนำ การอัดอากาศ เข้าไปในระบบ จะมีผลเสียอะไรหรือเปล่าครับ(ไม่นับเรื่อง O2 ที่เพิ่มขึ้นในตู้ในช่วงแรกนะครับ)
อากาศเข้าตู้ตอนแรกแค่อัดเพื่อไล่ระบบให้มีแรงดันคงไม่มีปัญหาในระยะยาวเพราะสุดท้าย

ดูตารางนะครับ
Components in Dry Air     Volume Ratio compared to Dry Air     Molecular Mass - M(kg/kmol)    Molecular Mass in Air
     Oxygen                                         0.2095(20.95%)                         32.00                                      6.704
    Nitrogen                                         0.7809(78.09%)                         28.02                                    21.88
Carbon Dioxide                                 0.0003(0.03%)                             44.01                                      0.013

ดูน้ำหนักคาร์บอนไดออกไซด์ครับเท่ากับ 44.01 เทียบกับออกซิเจนซึ่งเบากว่า 32.00 ในระบบหมักสุดท้ายออกซิเจนจะถูกไล่ออกไปจากระบบเอง เพราะออกซิเจน เบากว่า Co2 เมื่ออากาศจัดเรียงตัวในระบบมันจะลอยตัวและไล่ออกไปตามลำดับ

แถมครับ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศน้อยมากๆ ไม่พอให้พืชน้ำ เราจึงเติม Co2 จากการหมักครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03/03/10, [15:04:41] โดย coffman »
l3EП-nophila™ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #63 เมื่อ: 03/03/10, [20:15:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รบกวนถามคุณ coffman (อีกคน)
เคยได้ยินมาว่ายีสต์ชอบ"แอมโมเนีย" จึงมีปราชญ์บางคนแนะนำให้ใช้น้ำจากตู้ปลามาใช้ในการผสม(เพราะมีแอมโมเนีย) ข้อมูลดังกล่าวเท็จจริงประการใด แล้วของเสียของปลาจะทำให้เกิดเสียอย่างหรือป่าว
ปล.ผมเป็นคนนึงที่ใช้สูตรนี้ ก็ออกดีและนาน แต่ตอนนี้เริ่มไม่เเน่ใจแล้วว่าก๊าซที่ได้จะเป็นคาร์บอน 100% (อาจจะมีก๊าซอื่นปลอมปนอยู่)
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ...
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #64 เมื่อ: 03/03/10, [21:31:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รบกวนถามคุณ coffman (อีกคน)
เคยได้ยินมาว่ายีสต์ชอบ"แอมโมเนีย" จึงมีปราชญ์บางคนแนะนำให้ใช้น้ำจากตู้ปลามาใช้ในการผสม(เพราะมีแอมโมเนีย) ข้อมูลดังกล่าวเท็จจริงประการใด แล้วของเสียของปลาจะทำให้เกิดเสียอย่างหรือป่าว
ปล.ผมเป็นคนนึงที่ใช้สูตรนี้ ก็ออกดีและนาน แต่ตอนนี้เริ่มไม่เเน่ใจแล้วว่าก๊าซที่ได้จะเป็นคาร์บอน 100% (อาจจะมีก๊าซอื่นปลอมปนอยู่)
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ...
ยีสต์ชอบแอมโมเนียเป็นเรื่องจริงครับในการหมักบางครั้งก็ใช้ยูเรีย หรือแหล่งแอมโมเนียมอื่นๆ เพื่อเป็นไนโตรเจน  เพื่อการเจริญเติบโต การใช้น้ำตู้ปลาก็ใช้ได้เพราะมีสารประกอบแอมโมเนียจากปุ๋ยและของเสียจากขี้ปลาพอเหมาะ ทางทฤษฏีครับ แต่ทางปฏิบัติจะต้องฆ่าเชื้อในน้ำก่อนเพื่อป้องกันการแย่งยีสต์เติบโตและอาจมีก๊าสที่เจือปน โดยเฉพาะก๊าสไข่เน่าที่อัตรายต่อสัตว์และพืชน้ำได้ครับ
l3EП-nophila™ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #65 เมื่อ: 04/03/10, [05:52:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ยีสต์ชอบแอมโมเนียเป็นเรื่องจริงครับในการหมักบางครั้งก็ใช้ยูเรีย หรือแหล่งแอมโมเนียมอื่นๆ เพื่อเป็นไนโตรเจน  เพื่อการเจริญเติบโต การใช้น้ำตู้ปลาก็ใช้ได้เพราะมีสารประกอบแอมโมเนียจากปุ๋ยและของเสียจากขี้ปลาพอเหมาะ ทางทฤษฏีครับ แต่ทางปฏิบัติจะต้องฆ่าเชื้อในน้ำก่อนเพื่อป้องกันการแย่งยีสต์เติบโตและอาจมีก๊าสที่เจือปน โดยเฉพาะก๊าสไข่เน่าที่อัตรายต่อสัตว์และพืชน้ำได้ครับ
แล้วฆ่าไงอะครับ ต้มเหรอครับ... ทุกวันนี้ไม่ได้ทำไรเลย กรอกกันแบบเพียวๆ
แล้วสรุปว่าก๊าซที่ได้เป็นคาร์บอน 100% หรือป่าวครับ
Kotchapol ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #66 เมื่อ: 04/03/10, [09:06:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จริงๆ แล้วการใส่ผงฟูมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรครับ  [งง] เริ่มงง เพราะเท่าที่เคยรู้มาจากในเว็ปส่วนใหญ่มักบอกว่าใส่เื่พื่อปรับ PH แต่เท่าที่อ่านในกระทู้นี้มาเหมือนจะประมาณว่าใส่เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณของคาร์บอน
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #67 เมื่อ: 04/03/10, [10:27:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แล้วฆ่าไงอะครับ ต้มเหรอครับ... ทุกวันนี้ไม่ได้ทำไรเลย กรอกกันแบบเพียวๆ
แล้วสรุปว่าก๊าซที่ได้เป็นคาร์บอน 100% หรือป่าวครับ
ปกติต้องต้มก่อนคร ับ หรือเติมยีสต์ให้มากพ่อที่จะชนะเชื้อที่อยู่ในน้ำเลี้ยงปลา ตอบได้ยากครับว่าคาร์บอน 100% ต้องวัดกันที่ indicator แล้ว
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #68 เมื่อ: 04/03/10, [10:27:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จริงๆ แล้วการใส่ผงฟูมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรครับ  [งง] เริ่มงง เพราะเท่าที่เคยรู้มาจากในเว็ปส่วนใหญ่มักบอกว่าใส่เื่พื่อปรับ PH แต่เท่าที่อ่านในกระทู้นี้มาเหมือนจะประมาณว่าใส่เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณของคาร์บอน
ที่ใช้ผงฟูเพราะผงฟูจะแตกตัวให้ก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ครับทำให้ยีสต์อยู่ใน สภาพไร้อากาศได้ไว ไล่อากาศ ออกซิเจนออกจากขวดหมัก ทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ไวขึ้นจากตัวผงฟูเอง และฆ่าเชื้อโรคในขวดหมักได้ส่วนหนึ่ง   ปรับสมดุล pH ในขวดหมัก
Kotchapol ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #69 เมื่อ: 04/03/10, [10:33:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ที่ใช้ผงฟูเพราะผงฟูจะแตกตัวให้ก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ครับทำให้ยีสต์อยู่ใน สภาพไร้อากาศได้ไว ไล่อากาศ ออกซิเจนออกจากขวดหมัก ทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ไวขึ้นจากตัวผงฟูเอง และฆ่าเชื้อโรคในขวดหมักได้ส่วนหนึ่ง   ปรับสมดุล pH ในขวดหมัก
กระจ่างเลยครับ  [ปิ๊งๆๆ] ขอบคุณมากครับ
Atom ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #70 เมื่อ: 04/03/10, [14:39:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าเอาผงฟูใส่ลงในตู้ที่ไม่มีปลา เพื่อปรับน้ำให้มีค่าเป็นกรดจะเป็นไรกับต้นไม้ไหมครับ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #71 เมื่อ: 04/03/10, [15:03:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าเอาผงฟูใส่ลงในตู้ที่ไม่มีปลา เพื่อปรับน้ำให้มีค่าเป็นกรดจะเป็นไรกับต้นไม้ไหมครับ
ปรับได้ครับ แต่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อระบบกรองชีวภาพทุกชนิดในโลกจะล่ม โดยอัตโนมัติ แลกเอานะครับ
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« ตอบ #72 เมื่อ: 05/03/10, [20:37:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สรุปแล้ว ไอ้ที่ผมใช้ เบกกิ้งโซดา มันไม่ได้ CO2 หรอกเหรอครับ? [งง]   shock1
เคยอ่านเจอ บางคนใช้ เบกกิ้งโซดา กับ น้ำส้มสายชู ก็ได้ CO2  036

(ผมเรียนสายอาชีพ เลยไม่ได้เรียน เคมีครับ) surrender

สรุป ควรใช้ผงฟูเหรอครับ  [เขิลลลล]


อันนั้นมันทำ CO2 ด้วยปฎิกริยาเคมีครับ ได้ก๊าซ CO2 เลย ไม่ได้หมักยีสต์

แล้วฆ่าไงอะครับ ต้มเหรอครับ... ทุกวันนี้ไม่ได้ทำไรเลย กรอกกันแบบเพียวๆ
แล้วสรุปว่าก๊าซที่ได้เป็นคาร์บอน 100% หรือป่าวครับ

คงไม่ใช่ 100% อยู่แล้วล่ะครับ เพราะสังเกตได้เลยว่าต้นไม้จะโตไม่ดีเท่าใช้ถัง ทั้งๆที่ปริมาณฟองเท่ากัน

จริงๆ แล้วการใส่ผงฟูมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรครับ  [งง] เริ่มงง เพราะเท่าที่เคยรู้มาจากในเว็ปส่วนใหญ่มักบอกว่าใส่เื่พื่อปรับ PH แต่เท่าที่อ่านในกระทู้นี้มาเหมือนจะประมาณว่าใส่เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณของคาร์บอน

ในสูตรที่ผมเอามา เค้าให้ใส่เพื่อคุม pH นั่นแหละครับ เพราะเค้าใส่ เบ็คกิ้งโซดา หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต
แต่ของคุณคอฟเค้าใส่เบ็คกิ้งพาวเดอร์ หรือผงฟู มันคนละตัวกันครับ มีสารอื่นผสม มันจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทันทีที่สัมผัสน้ำ เพื่อผลตามข้างบนที่บอกมาแล้ว
มันไม่เหมือนกันน่ะครับ

ถ้าเอาผงฟูใส่ลงในตู้ที่ไม่มีปลา เพื่อปรับน้ำให้มีค่าเป็นกรดจะเป็นไรกับต้นไม้ไหมครับ
มันเป็น pH buffer ไม่ใช่รึ ช่วยถ่วงค่า pH ไม่ให้ขึ้นลง ไม่ได้ลด pH นา
อยากลด pH ก็ใส่กรดด้วยสิ
หรือเปิด CO2 ก็ได้ แล้วใช้น้ำอ่อน ลดกระเจยยยยย

ถ้าใครยังสงสัยอยู่ แนะนำทำตามคุณ coffman นั่นแหละ หลักการมันไม่ได้ต่างจากที่เราทำๆกันอยู่เลย มันมีแต่ดีกว่า เพราะมีวิธีการเตรียมการหมักและขั้นตอนที่สมบูรณ์ขึ้น แต่ก็ยุ่งกว่าปกตินิดหน่อย

และอย่าลืม ที่สำคัญ เตรียมยีสต์ดีแค่ไหน ถ้าขวดรั่วขวดแตกก็จบนะครับ (อาจจะจบเหม็นๆด้วย) ดูแลขวดของท่านดีๆก่อนใช้ครับ
ขวดน้ำอัดลมพลาสติกใสๆดีที่สุด เพราะเค้าทำมาไว้รับแรงดันอยู่แล้วครับ เป็นการรีไซเคิลขยะโดยไม่ต้องใช้พลังงานเพิ่มอีกหนึ่งขั้นตอนด้วยนะเออ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05/03/10, [20:52:51] โดย บ.บัง! »
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #73 เมื่อ: 09/03/10, [00:02:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

14 วันแล้วครับฟองยังเหลือเฟือ 2 ฟอง ต่อวินาที แรงดีไม่ขาดตกบกพร่อง แต่ขวดใส่บวมมากๆ เลือกขวดดีๆนะครับสูตรนี้


ถ่ายวันนี้เลยครับ

l3EП-nophila™ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #74 เมื่อ: 09/03/10, [05:42:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปกติต้องต้มก่อนคร ับ หรือเติมยีสต์ให้มากพ่อที่จะชนะเชื้อที่อยู่ในน้ำเลี้ยงปลา ตอบได้ยากครับว่าคาร์บอน 100% ต้องวัดกันที่ indicator แล้ว
แล้วถ้าเอาไปต้มแอมโมเนียมันจะไม่ระเหยหรือสูญเสียระหว่างการต้มหรือครับ หรือว่าความร้อนไม่มีผลกระทบต่อเเอมโมเนีย
ปล.ตู้สวยนะครับ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #75 เมื่อ: 09/03/10, [11:48:16] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แล้วถ้าเอาไปต้มแอมโมเนียมันจะไม่ระเหยหรือสูญเสียระหว่างการต้มหรือครับ หรือว่าความร้อนไม่มีผลกระทบต่อเเอมโมเนีย
ปล.ตู้สวยนะครับ
 แอมโมเนีย ในตู้ปลามีหลายแบบฟอร์มครับ ถ้าเป็นแอมโมเนียล่ำระเหยแน่ แต่ถ้ามีประจุเป็นเกลือแอมโมเนียม ถึงต้มก็ยังอยู่ครับไม่ระเหยไปไหน Forms and toxicity Total ammonia nitrogen (TAN) is composed of toxic (un-ionized) ammonia (NH3) and nontoxic(ionized) ammonia (NH+4). Onlya fraction of the TAN exists as toxic (un-ionized) ammonia, and a balance exists between it and the on toxic ionized ammonia:  
ดู link  นี้ครับ
วงจรแอมโมเนียในตู้ปลา บ่อปลา

http://aquanic.org/publicat/usda_rac/efs/srac/463fs.pdf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09/03/10, [11:51:50] โดย coffman »
l3EП-nophila™ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #76 เมื่อ: 10/03/10, [00:21:48] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 แอมโมเนีย ในตู้ปลามีหลายแบบฟอร์มครับ ถ้าเป็นแอมโมเนียล่ำระเหยแน่ แต่ถ้ามีประจุเป็นเกลือแอมโมเนียม ถึงต้มก็ยังอยู่ครับไม่ระเหยไปไหน Forms and toxicity Total ammonia nitrogen (TAN) is composed of toxic (un-ionized) ammonia (NH3) and nontoxic(ionized) ammonia (NH+4). Onlya fraction of the TAN exists as toxic (un-ionized) ammonia, and a balance exists between it and the on toxic ionized ammonia:  
ดู link  นี้ครับ
วงจรแอมโมเนียในตู้ปลา บ่อปลา

http://aquanic.org/publicat/usda_rac/efs/srac/463fs.pdf

 036 เออ... สรุปว่าถ้าอยู่ในรูปเกลือนี้ยังไงก็ไม่ระเหยใช่ปะครับ(เกลือนี้หมายถึงไนเตรทใช่ปะคัรบ) ปัญหาทีนี้ก็คือจะรู้ได้ไงว่าเป็นเกลือหรือเป็นสาร ต้องใช่เครื่องมือวัดใช่ปะครับ แต่ความเข้าใจของผมนะ ผมว่ามันน่าจะมีทั้ง 2 ตัวเลย แต่ไม่รู้ว่าตัวไหนมันเยอะกว่ากันหรือมีเท่ากัน โอกาสทีมันจะมีแค่ตัวใดตัวนึงคงไม่มี แอมโมเนียนี้มันจะทำให้กระบวนสร้างคาร์บอนจากยีสต์นี่สมบูรณ์มากขึ้นหรือป่าวครับ
saintchamp ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #77 เมื่อ: 10/03/10, [09:12:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ความรู้เน้นๆเลยนะเนี่ย  [เจ๋ง]
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #78 เมื่อ: 10/03/10, [13:28:13] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

036 เออ... สรุปว่าถ้าอยู่ในรูปเกลือนี้ยังไงก็ไม่ระเหยใช่ปะครับ(เกลือนี้หมายถึงไนเตรทใช่ปะคัรบ) ปัญหาทีนี้ก็คือจะรู้ได้ไงว่าเป็นเกลือหรือเป็นสาร ต้องใช่เครื่องมือวัดใช่ปะครับ แต่ความเข้าใจของผมนะ ผมว่ามันน่าจะมีทั้ง 2 ตัวเลย แต่ไม่รู้ว่าตัวไหนมันเยอะกว่ากันหรือมีเท่ากัน โอกาสทีมันจะมีแค่ตัวใดตัวนึงคงไม่มี แอมโมเนียนี้มันจะทำให้กระบวนสร้างคาร์บอนจากยีสต์นี่สมบูรณ์มากขึ้นหรือป่าวครับ
ขึ้นกับหลายปัจจัยครับทั้ง pH อุณหภูมิ ปริมาณ aerobic แบคทีเรียที่ใช้อากาศ  anaerobic  แบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศดังนั้น วงจรของ NH3 NH4 จึงขึ้นกับสภาพแวดล้อมของตู้เช่น ดูภาพประกอบด้วยครับ
1. ตู้ที่มีกรองแขวน หรือกรองนอกดีๆ มี bacteria ที่ใช้อากาศสลายดีอยู่แล้ว แต่ปูดินบางเกินไป มักขาดแบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศย่อยสลายในชั้นดิน การ reduce หรือย่อยสลาย NO3 หรือไนเตรท จากNO2 หรือ ไนไตรท์ที่แบคทีเรียที่ใช้อากาศผลิตมา ให้กลายเป็นก๊าสไนโตรเจนก็ลดลง ไนเตรทจึงเหลือมาก การที่จะเกิดตะไคร่ขึ้นตู้ก็เยอะ จึงเป็นที่มาของถ้าตู้ยังไม่ เซ็ท ตัว เซียนไม้น้ำเห็นตะไคร่จึงบอกให้เปลี่ยนน้ำ เพื่อลดปริมาณอาหารของตะไคร่แล้วรอจนวงจรนี้สมบูรณ์(อย่าลืมว่าการที่เราเลี้ยงไม้น้ำก็แค่จำลองมาจากธรรมชาติ)การที่ระบบจะ เซ็ทตัวได้ไวช้าต้องสุดแล้วแต่ระบบนิเวศน์ในตู้ของแต่ละคน
2. ตู้ที่ดินหนาดีแต่กรองไม่ดี กรองไม่พอ ก็จะเกิดแอมโมเนียเหลือ มากจนเกิดพิษต่อปลากุ้งได้
การเลี้ยงยีสต์ต้องการไนเตรท ไนไตร์ท ชัวร์เพราะมันคือธาตุอาหารที่รองจากน้ำตาล บางสูตรใช้แอมโมเนียมซัลเฟตเติมลง ไปๅ 0.5% เพื่อให้เซลล์ยีสต์แข็งแรงมากขึ้น
สรุป ใช้น้ำเลี้ยงปลาดีกว่าน้ำเปล่าเลี้ยงยีสต์ได้ดีกว่าแต่หากฆ่าเชื้อที่ติดมากับน้ำเลี้ยงปลา ไม่เหมาะสมก็จะไม่ได้ CO2 ตามหวังครับ ถึงแม้จะต้มแอมโมเนียระเหยไปได้บ้างแต่ยังมี Nitrogen รูปฟอร์มอื่นๆเหลือให้คุณยีสต์ได้ใช้งานกันครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10/03/10, [13:30:17] โดย coffman »
HoNDa ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #79 เมื่อ: 10/03/10, [14:21:55] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดคับ  [เจ๋ง]
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #80 เมื่อ: 10/03/10, [14:30:23] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดคับ  [เจ๋ง]javascript:void(0);
wuuuu wuuuu wuuuu ขอบคุณทุกเสียงทุกสายกำลังใจไม่มีหมดครับ
l3EП-nophila™ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #81 เมื่อ: 10/03/10, [17:13:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขึ้นกับหลายปัจจัยครับทั้ง pH อุณหภูมิ ปริมาณ aerobic แบคทีเรียที่ใช้อากาศ  anaerobic  แบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศดังนั้น วงจรของ NH3 NH4 จึงขึ้นกับสภาพแวดล้อมของตู้เช่น ดูภาพประกอบด้วยครับ
1. ตู้ที่มีกรองแขวน หรือกรองนอกดีๆ มี bacteria ที่ใช้อากาศสลายดีอยู่แล้ว แต่ปูดินบางเกินไป มักขาดแบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศย่อยสลายในชั้นดิน การ reduce หรือย่อยสลาย NO3 หรือไนเตรท จากNO2 หรือ ไนไตรท์ที่แบคทีเรียที่ใช้อากาศผลิตมา ให้กลายเป็นก๊าสไนโตรเจนก็ลดลง ไนเตรทจึงเหลือมาก การที่จะเกิดตะไคร่ขึ้นตู้ก็เยอะ จึงเป็นที่มาของถ้าตู้ยังไม่ เซ็ท ตัว เซียนไม้น้ำเห็นตะไคร่จึงบอกให้เปลี่ยนน้ำ เพื่อลดปริมาณอาหารของตะไคร่แล้วรอจนวงจรนี้สมบูรณ์(อย่าลืมว่าการที่เราเลี้ยงไม้น้ำก็แค่จำลองมาจากธรรมชาติ)การที่ระบบจะ เซ็ทตัวได้ไวช้าต้องสุดแล้วแต่ระบบนิเวศน์ในตู้ของแต่ละคน
2. ตู้ที่ดินหนาดีแต่กรองไม่ดี กรองไม่พอ ก็จะเกิดแอมโมเนียเหลือ มากจนเกิดพิษต่อปลากุ้งได้
การเลี้ยงยีสต์ต้องการไนเตรท ไนไตร์ท ชัวร์เพราะมันคือธาตุอาหารที่รองจากน้ำตาล บางสูตรใช้แอมโมเนียมซัลเฟตเติมลง ไปๅ 0.5% เพื่อให้เซลล์ยีสต์แข็งแรงมากขึ้น
สรุป ใช้น้ำเลี้ยงปลาดีกว่าน้ำเปล่าเลี้ยงยีสต์ได้ดีกว่าแต่หากฆ่าเชื้อที่ติดมากับน้ำเลี้ยงปลา ไม่เหมาะสมก็จะไม่ได้ CO2 ตามหวังครับ ถึงแม้จะต้มแอมโมเนียระเหยไปได้บ้างแต่ยังมี Nitrogen รูปฟอร์มอื่นๆเหลือให้คุณยีสต์ได้ใช้งานกันครับ



โอเคครับ พอจะเข้าใจแล้ว ขอบคุณมากครับ เดี่ยวถ้ามีข้อสงสัยอะไรจะเข้ามาถามอีก คงไม่รำคาญนะครับ
ray ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #82 เมื่อ: 10/03/10, [18:20:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ลองดูแล้วครับ ของผมไม่ได้ใส่ผงฟู แต่จับทุกอย่างต้มฆ่าเชื้อหมด การทำให้ยีสต์แตกตัวโดยการคนกับน้ำตาลอุ่นๆก่อนใส่ขวด
ทำให้ฟองออกเร็วมากกว่าเมื่อก่อนที่ต้องรอนานหลายชั่วโมง ตอนนี้ 5 วันแล้วยังออกดีอยู่ ต้องลองดูต่อไปว่าจะออกนานแค่ไหน [เจ๋ง]
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #83 เมื่อ: 10/03/10, [19:27:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ลองดูแล้วครับ ของผมไม่ได้ใส่ผงฟู แต่จับทุกอย่างต้มฆ่าเชื้อหมด การทำให้ยีสต์แตกตัวโดยการคนกับน้ำตาลอุ่นๆก่อนใส่ขวด
ทำให้ฟองออกเร็วมากกว่าเมื่อก่อนที่ต้องรอนานหลายชั่วโมง ตอนนี้ 5 วันแล้วยังออกดีอยู่ ต้องลองดูต่อไปว่าจะออกนานแค่ไหน [เจ๋ง]
ผม 15 วันผ่านแล้วครับยังดูดีอยู่ที่ สองฟองต่อวิสม่ำเสมอ
~*Arty21th*~ ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #84 เมื่อ: 12/03/10, [17:05:58] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากครับ คาร์บอนถังเลยเลื่อนไปก่อน  emb01
Atom ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #85 เมื่อ: 19/03/10, [21:29:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ออกแรงมากกกก เร็วมากๆด้วย เยี่ยมครับ
l3EП-nophila™ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #86 เมื่อ: 19/03/10, [22:08:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มาคอนเฟิร์มอีกคนว่า ออกเร็วมากๆ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง แต่มาเปลืองตรงแก๊สนี่ละ ต้มที 5 ลิตร 036
Atom ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #87 เมื่อ: 19/03/10, [22:25:45] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มาคอนเฟิร์มอีกคนว่า ออกเร็วมากๆ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง แต่มาเปลืองตรงแก๊สนี่ละ ต้มที 5 ลิตร 036

โห...ขวดไรตั้ง 5 ลิตรอ่ะครับ
YoMmaLokE ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #88 เมื่อ: 11/06/10, [16:08:45] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [on_066] มือใหม่คอนเฟิร์มอีกคนคนครับแรงดันสุดยอดฟองกระจาย แลกกะเสื้อผ้า ๅ ชุด เพราะกันย้อนทำพิษ ก่อนติดตั้งระบบก็ลองเป่ากันย้อนทดสอบดูละกลัวต่อผิดด้านก็เอะใจอยู่ว่ากันย้อนสองอันอันนึงเป่าง่าย อีกอันทำไมเป่าแล้วลมผ่านยากกว่าอีกอันแต่ไม่ได้เฉลียวใจติดตั้งเลย นั้งรอไม่ถึงชั่วโมงฟองปุดๆสมใจ  [เจ๋ง]  ดูไปซักพักเอะทำไมน้ำด่างทับทิมมันไหลย้อนไปทางขวดยีสต์  036 ทำไมผิดป่าวหว่า นั้งเช็คระบบอีกที [งง] ถึงบางอ้อ พอดีผมต่อกันย้อนสองอัน อันนึงต่อกันน้ำด่างทับทิมจากขวดดักยีสต์ไหลย้่อนเข้าขวดยีสต์(อันที่ลมผ่านสะดวก)  อีกอันต่อกันน้ำจากตู้ไหลย้อนเข้าขวดดัก(อันที่ลมผ่านยาก) ผลจากความแตกต่างของกันย้อนทำให้แรงดันในขวดดักมีมากกันย้อนก่อนลงตู้โฟลวไม่ดีทำให้แรงดันดันน้ำด่างไหลย้อนกลับไปติดกันย้อน  [on_008] นึกได้ดังนั้นเลยตัดสินใจถอดสลับกันย้อนทั้งสองทันที โช๊ะเดะ! น้ำไหลย้อนกลับพุ่งกระจายทั้งน้ำจากตู้ และน้ำด่างทับทิมสีส๊วยสวย พร้อมซาวด์ประกอบจากขวดยีสต์ ฟู่ๆๆๆ  n032  สีม่วงเต็มตัวครับท่าน  cryingrun สรุปต้องเซ้ทใหม่หมดคร๊าบบบบบ แต่ใช้ยีสต์ขวดเดิม หลังจากเซ้ทระบบใหม่สลับกันย้อนแล้วรออีกไม่นานฟองกระจายเหมือนเดิมโอเคเลยครับ ตอนนี้เปิดที่สามฟองต่อวิ ผมใช้สายน้ำเกลือต่อครับจะมีที่หมุนปรับความแรงได้ ที่เพิ่มอีกอย่างคือต่อสามทางไว้ที่สายก่อนลงตู้ปลายสามทางต่อวาล์ดไว้เปิดระบาย CO2 ออกตอนปิดไฟเพราะขี้เกียจมาเปิดปิดและปรับนับฟองทุกวัน  สรุปเยี่ยมครับฟองกระจาย [เจ๋ง] [เจ๋ง]
boytoplay ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #89 เมื่อ: 11/06/10, [16:52:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ลองมาแล้วครับ  ปรากฎว่ายีสต์ที่หมักกับน้ำตาล ตอนแรก รอเป็นวันเลยครับกว่าจะออก  แต่พอ ลองมาเป็นสูตรที่ ผมลดน้ำตาลแล้วใส่นมเพิ่มปรากฎว่า 4ชม.ออกเลยครับ  ตอนนี้รอดูอยู่ว่าอะไรจะหมดก่อนกัน หรืออะไรจะเน่าก่อนกัน  แต่รู้สึกว่าไอ้สูตรที่มีนมนี้ สีของขวดนี้เน่าเหมือนกันนะ  โปรตีนตกตะกอนด้านล่างบึม
หน้า: 1 2 3 4   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: