Aqua.c1ub.net
*
  Wed 24/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการสังเกตปลาป่วย การรักษา  (อ่าน 161486 ครั้ง)
[Mr.Kim] ออฟไลน์
Club Follower
« เมื่อ: 24/09/08, [01:20:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมได้เห็น File Power piont ของ อ. ฉัตรชัย ปรีชา มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
สอบถามแล้ว ท่านอนุญาติให้นำมาเผยแพร่ได้ เลยมาแปลงมาไว้ใน web น่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนสมาชิก

วิธีการสังเกตปลาป่วย
1.   ปลามีอาการเซื่องซึมผิดปกติ
2.   ปลาไม่ค่อยกินอาหาร
3.   มีบาดแผลตามตัว
4.   ปลาว่ายน้ำถูตัวกับพื้นตู้หรือวัสดุต่างๆ
5.   ปลาว่ายน้ำสั่นกระตุกและว่ายเร็วผิดปกติ
6.   ปลาขับเมือกออกมามากผิดปกติ
7.   ปลาว่ายน้ำหมุนควง ทรงตัวไม่อยู่  ครีบหรือหางขาดแหว่ง
8.   ตามลำตัวมีสิ่งแปลกปลอมเกาะ
9.   เหงือกของปลากางออกมาก เหงือกเปิดหรือบวมแดง
10.   เกล็ดตั้งชันผิดปกติ
11.   ตามีลักษณะเป็นผ้าขาวหรือเป็นจุดขาว
12.   มีเนื้อเยื่อหรือตุ่มเนื้อนูนขึ้นมาตามลำตัว

การสังเกตอาการป่วยของปลา
        การเคลื่อนไหว
        การเปลี่ยนแปลงสีของลำตัว
        การเกิดเมือก
        การหายใจ
        การผิดปกติของอวัยวะต่างๆ
        การกินอาหาร
        การเจริญเติบโต

ปัจจัยสาเหตุของการเกิดโรคพยาธิ
1. จากสภาพแวดล้อม
        1.1   คุณภาพน้ำ
        1.2   อุณหภูมิ
2. การเคลื่อนย้ายปลา
        2.1   การล้างตู้
        2.2    การนำปลาใหม่เข้ามาเลี้ยง
3.   วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
       
วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ป้องกัน
         –   เกลือแกง 30-40 ppt.
         –   ด่างทับทิม 20 ppm.
         –   คลอรีน 30 ppm.
         –   อาหารที่มีชีวิต (น้ำเกลือ 20 ppt. 30-60 วินาที 2 ครั้ง

โรคพยาธิที่พบมากในการเลี้ยงปลา
โรคจุดขาว (White spot disease)





          โรคจุดขาวสาเหตุ เกิดจากโปรโตซัว (Ichthyopthirius multifilis)
          ลักษณะ เซลล์รูปไข่หรือเกือบกลม มีขนาดใหญ่ 0.5-1.0 มม. มีขน (cilia) รอบตัว
                               มีนิวเคลียสรูปเกือกม้า มักเรียกว่า ich
          การแพร่ระบาด ตัวอ่อนว่ายน้ำเข้าเกาะตัวปลาและฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง ปล่อยสารเพื่อย่อยเนื้อเยื่อปลาเพื่อกินเป็นอาหาร
                    เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะว่ายน้ำออกจากตัวปลาไปเกาะกับวัสดุหรือจมลงสู่พื้นตู้ แล้วสร้างเกราะหุ้มตัว
                    ภายในมีการแบ่งเซลล์ 500-2,000 เซลล์ ตัวอ่อนเจาะผนังออกมาว่ายน้ำเป็นอิสระเพื่อไปเกาะปลาต่อไป
                    วงจรชีวิตใช้ระยะเวลา 12-16 วัน
          ชนิดปลาที่เกิดโรคจุดขาว ได้แก่ ปลาทอง ปลากัด ปลาหางนกยูง ปลานีออน ปลาสอด ปลาแซลฟิน
                                                              ปลาทรงเครื่อง ปลาหางไหม้ ปลาแรด ปลาเสือตอ ฯลฯ
       การรักษา
–   ฟอร์มาลดีไฮด์เข้มข้น 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 5-7 วัน
–   เกลือแกงเข้มข้น 5 ppt.ใส่เวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 5-7 วัน
–   มาลาไคท์กรีนเข้มข้น 1.0 ppm. ใส่ติดต่อกัน 3-5 วัน
–   เมทิลินบลูเข้มข้น 1.0-2.0 ppm. ใส่ติดต่อกัน 3-5 วัน

โรคจุดเหลือง, โรคสนิม


         สาเหตุ เกิดจากโปรโตซัว (Oodinium spp.)
         ลักษณะ เซลล์รูปร่างกลมหรือแบนรูปไข่ มีขนาดประมาณ 0.10-0.15 มม. มีอวัยวะคล้ายแส้ 2 เส้น
                              เพื่อใช้เกาะตัวปลา มีอวัยวะคล้ายปากยืดหดได้เรียกว่า Cytoplasmic process มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ 1 อัน
                              ภายในเซลล์มีเม็ดสีน้ำตาลปนเหลืองเล็กๆ จำนวนมาก
การแพร่ระบาด ตัวอ่อนว่านน้ำเกาะตัวปลาตามเหงือกและลำตัว ทำให้มีสีเหลืองแกมน้ำตาลหรือเป็นหมอกสีขาว
                    ตัวเต็มวัยว่ายน้ำหลุดออกจากตัวปลาแล้วแบ่งตัวออกเป็น 2 เซลล์ ก่อนจะแยกกันมีการสร้างเกราะหุ้มเซลล์ไว้
                     แล้วแต่ละเซลล์จะแบ่งตัวได้ตัวอ่อนเซลล์ละ 128 ตัว จากนั้นจะเจาะเกราะละทุออกมาหาปลาเกาะอีกครั้ง
ชนิดปลาที่เกิดโรค ปลาทรงเครื่อง,ปลากาแดง, ปลาทอง (ลักเล่ห์)
        การรักษา
             ฟอร์มาดีไฮด์ 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 5-7 วัน
             เกลือแกง 5 ppt.

เห็บระฆัง


             สาเหตุ เกิดจากโปรโตซัว (Trichodina sp.)
            ลักษณะ เซลล์รูปร่างคล้ายระฆังหรือถ้วยคว่ำ มีขนาดเล็กมากประมาณ  40-70 ไมโครเมตร
                                  ด้านล่างมีขนรอบตัวเรียงเป็นวง 2 แถว (ใช้ในการเคลื่อนที่) ส่วนล่างสุดเว้าเข้าไปด้านในและมีขอแบนๆ
                                  ฃเรียงซ้อนกันสำหรับใช้เกาะติดกับตัวปลา
           การแพร่ระบาด  ทำให้เกิดแผลตามเส้นเหงือกมี 2 เพศในตัวเดียวกันเมื่อมีการผสมพันธุ์จึงได้ตัวอ่อน
                                          ตัวอ่อนที่ออกจากแม่ระยะแรกมีขนเต็มตัว ว่ายน้ำอิสระ ไปหาที่เกาะและจะเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป
              ชนิดปลาสวยงามที่เกิดโรค มักเกิดกับปลาที่เลี้ยงด้วยน้ำธรรมชาติ หรือเลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติ
                                                          เช่นปลาดุก ปลาตองลาย ปลากด ปลาตะเพียน
              การรักษา
ฟอร์มาลดีไฮด์เข้มข้น 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 5-7 วัน



พยาธิปลิงใส

        สาเหตุ เกิดจากหนอนตัวแบน (Gyrodactylus sp.)
        ลักษณะ รูปร่างคล้ายปลิง ลำตัวใส มองด้วยตาเปล่าเห็นได้ยาก ลำตัวแบน ยาว 1.0-5.0 มม.
                             ส่วนหัวแยกออกเป็น 2 หรือ 4 แฉก ส่วนท้ายลำตัวมี opisthaptor ใช้เกาะ ภายในมีตะขอขนาดใหญ่ 1 คู่
                             และรอบนอกมีหนามเล็กๆ จำนวน 16 อัน
       การแพร่ระบาด ปลิงใสมักเกาะตามเหงือกของปลาโดยใช้หนามและขอที่ท้ายลำตัวเกาะ
                                   จากนั้นใช้ปากดูดเลือดจากเหงือกของปลาทำให้เกิดแผลตามเส้นเหงือกมี 2 เพศในตัวเดียวกันเมื่อมีการผสมพันธุ์
                                   จึงได้ตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ออกจากแม่ระยะแรกมีขนเต็มตัว ว่ายน้ำอิสระ ไปหาที่เกาะและจะเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป
ชนิดปลาสวยงามที่เกิดโรค มักเกิดกับปลาที่เลี้ยงด้วยน้ำธรรมชาติ หรือเลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติ
                                  เช่นปลาดุก ปลาตองลาย ปลากด ปลาตะเพียน
       การรักษา
            ฟอร์มาลดีไฮด์เข้มข้น 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 5-7 วัน

หนอนสมอ


             สาเหตุ เกิดจากครัสตาเซียน (Lernaea sp.)
             ลักษณะ ลำตัวทรงกระบอก ยาว 2-10 มม. ส่วนหัวแยกออกเป็นแฉกคล้ายสมอเรือ ใช้ฝังไปในตัวปลา
                                  ส่วนคออ่อนนุ่มเรียวเล็กจะต่อกับลำตัวซึ่งจะขยายใหญ่ทางด้านท้ายลำตัว มีระยางค์เล็ก 5 คู่ และมีถุงไข่ 1 คู่อยู่ส่วนท้ายลำตัว
             การแพร่ระบาด หนอนสมอเพศเมียเท่านั้นที่เป็น parasite ของปลา ตัวอ่อนเมื่อเข้าเกาะตัวปลาแล้วจะเปลี่ยนรูปร่าง
                                          ใช้ส่วนหัวเจาะเข้าไปในผิวหนังปลาแล้วเกาะกินเลือดปลาทำให้เกิดแผลช้ำแดง ขยายวงออก
                                          เมื่อโตเต็มที่ได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ ไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญอยู่ในถุงไข่ท้ายลำตัว
                                           จากนั้นจะฟักออกเป็นตัว ว่ายน้ำอิสระและไปเกาะตัวปลาต่อไป
                  ชนิดปลาที่เกิดโรค มักพบในปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติเช่น ปลาทอง
                                                    ปลาคาร์พ ปลาตองลาย ปลาสวาย ปลาหางนกยูง
            การรักษา
                    ฟอร์มาลดีไฮด์ เข้มข้น 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 5 - 7 วัน
                    ดิพเทอร์เร็กซ์ 0.5 ppm. ใส่ติดต่อกัน 3 - 5 วัน


เห็บปลา

              สาเหตุ เกิดจากครัสตาเซียน (Argulus spp.)
              ลักษณะ ลำตัวกลมแบน ด้านหลังโค้งมน มีสีเขียวแกมเหลืองและค่อนข้างใส
                                    ยาวประมาณ 5-10 มม. ลำตัวแบ่งเป็นปล้องๆ และเชื่อมติดกัน ปากเจริญดีเป็นท่อยาว มีเข็ม
                                   (Preoral sting) ใช้แทงเข้าไปในเนื้อปลา มีตารวม 1 คู่ ใกล้ปากมี (Suction cup) ใช้สำหรับเกาะติด มีขาว่ายน้ำ 4 คู่
             การแพร่ระบาด เห็บปลาว่ายน้ำไปเกาะตัวปลาที่มีเกล็ด ใช้ Preoral sting แทงลงไปในกล้ามเนื้อปลา
                     และดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของปลา ปลาจะระคายเคือง พยายามว่ายน้ำเอาลำตัวถูกับตู้ หรือวัสดุ
                     เห็บปลาเพศเมียจะวางไข่ตามวัสดุแข็ง เมื่อตัวอ่อนฟักออกมา จะว่ายน้ำเพื่อไปเกาะปลาต่อไป
             ชนิดปลาที่เกิดโรค ปลาทอง ปลาคาร์พ ปลาตะเพียนทอง
              การรักษา
                ฟอร์มาลดีไฮด์ เข้มข้น 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 5-7 วัน
                ดิพเทอเร็กซ์ เข้มข้น 0.5 ppm. ใส่ติดต่อกัน 3-5 วัน



โรคเชื้อรา
         
         สาเหตุ เกิดจากเชื้อราในกลุ่มราน้ำ (Water mold) มีชื่อวิทย์ฯ ว่า (Saprolegnia sp.)
         ลักษณะ เป็นเส้นใยคล้ายปุยสำลี ปกด. mycelium เป็นเส้นใยแตกแขนงออกไปรอบๆ
                               ตรงปลายจะขยายโป่งออกเป็นกะเปาะสำหรับสร้างตัวอ่อน (zoospore) จำนวนมาก
                               เมื่อกะเปาะแตกออกตัวอ่อนจะว่านน้ำเพื่อหาที่เกาะ
        การแพร่ระบาด เมื่อปลาเกิดบาดแผล เชื้อราสามารถเข้าเกาะกินได้ ปลาที่เลี้ยงในบ่อดินมักไม่ค่อยพบเชื้อรา
                                      การฟักไข่ปลาสวยงามที่ไม่ได้รับการผสมจากเชื้อเพศผู้มักเกิดเชื้อราได้ง่าย แล้วแพร่ระบาดออกไปอย่างรวดเร็ว
         ชนิดปลาที่เกิดโรค ปลาสวยงามทุกชนิดสามารถเกิดโรคนี้ได้ถ้าหากมีบาดแผล
                                          และเกิดได้ดีกับการฟักไข่ปลา (โดยเฉพาะไข่เสีย)
         การรักษาโรค
             ฟอร์มาลดีไฮด์ เข้มข้น 10 ppm. ใส่ติดต่อกัน 3-5 วัน
             เกลือแกง เข้มข้น 5 ppt.
             ยาเหลือง เข้มข้น 15 ppm.



Motile Aeromonas Septicemia
                     สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบมีชื่อวิทย์ฯ ว่า (Aeromonas hydrophila)
                     การแพร่ระบาด ทำอันตรายให้ปลาสวยงามน้ำจืดมากในลักษณะโรคระบาดปลา
                                         เมื่อเชื้อเข้าสู่ตัวปลาจะฝังตัวอยู่ในอวัยวะภายใน ลักษณะของโรคระบาดนี้ทำให้กล้ามเนื้อปลาตกเลือด
                                         ท้องบวมน้ำ เกล็ดตั้งพอง อวัยวะภายในมีน้ำขุ่นสีเลือด ตับซีดจาง ปลาเสียการทรงตัว อาจมีแผลเน่าตามตัว เนื้อแหว่ง

                     การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหาร 50 มิลิกรัมต่อปลา 1 กก. ให้กินติดต่อกัน 10 วัน

เทคนิคการรักษาปลาป่วย
          ภาชนะสำหรับรักษาปลาป่วยและการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
          การแยกปลาติดเชื้อที่จะรักษา
          การให้อากาศ
          การเตรียมอาหาร
          การสังเกตอาการตอบสนองของปลา


               วิธีปฏิบัติเมื่อพบว่าปลาป่วย
แยกปลาที่ป่วยออกจากตัวอื่นๆ
วินิจฉัยโรคอย่างรอบคอบเพื่อเลือกใช้ยารักษา และไม่ควรจับปลาให้พ้นจากน้ำ
ระมัดระวังในการคำนวณอัตราส่วนในการใช้ยาเพื่อการรักษา
เมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำควรใส่เกลือแกงไปด้วยทุกครั้งเพื่อลดความเครียดของปลาและช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้
ละลายตัวยาให้เจือจางในภาชนะอื่นๆ ก่อนใส่ในตู้ปลา
การใช้ยาปฎิชีวนะ ควรใช้ในช่วงเย็นเพราะมียาบางชนิดทำปฏิกิริยากับแสงสว่าง
ไม่ควรใช้ยาปฎิชีวนะหลายตัวรวมกันเพราะอาจทำให้ยาบางชนิดไปทำลายฤทธิ์ของอีกชนิดได้
อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้กับปลาป่วย ควรแยกต่างหากไม่ใช้ปะปนกับปลาอื่น
เปลี่ยนถ่านน้ำบ่อยๆ หรือทุกวัน วันละ 20-30 เปอร์เซ็นต์




ตัวอย่างวิธีการใช้ยาและสารเคมี

Tags: โรคปลา 
Champies ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #1 เมื่อ: 24/09/08, [21:35:07] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แจ่ม ขอบคุณครับ +1  [ปิ๊งๆๆ]
หมูจ๋า ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #2 เมื่อ: 09/10/08, [16:02:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เอารูปปลาเกล็ด พองมาแปะให้ดูกัน แบบ จั๋งหนับ ครับ






 ตัวนี้เอาเทลงท่อไปเมื่อคืนแล้วนะครับ
 n032
จากไปอย่างสงบ......
หมูจ๋า ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #3 เมื่อ: 09/10/08, [16:13:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 sho01 อีกโรคที่ชอบมากะ รอยต่ออากาศในหมู่ปลาทอง ท็อปวิว อย่างรันชูคือ โรคเหงือกครับ

 อาการ...  ปลาจะหายใจลำบาก (สังเกตจากการขยับเหงือก) อาจจะหายใจถี่เหมือนวิ่งมาสัก 1000 เมตร
 
 หรืออาจจะ หายใจได้ข้างเดียว (แผ่นเหงือกขยับข้างเดียวนั้นหล่ะ) ปลาจะซึม......อยู่นิ่งๆ ถ้าอาการหนัก

 จะลอยหัว พะงับๆ เบื่ออาหาร ทำหน้าเมินคนเลี้ยง(อิอิ)

 วิธีการรักษา....   ทำน้ำเกลือ 0.5 %  ต่อ (น้ำ 100 ลิตร เกลือ 5 ขีด) แช่ปลาไว้ เปิดอ็อกแรงๆ งดอาหาร ปิดอ่าง
 
  3 วัน มาว่ากันอีกที 

 ปล. โรคนี้เหมือนหวัดในคน แต่เป็นในปลาทองแล้ว นรกดีๆนี่เอง
RichRich ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #4 เมื่อ: 19/01/13, [12:42:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]
praesepe ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #5 เมื่อ: 22/01/13, [22:33:09] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีประโยชน์มากๆครับ  [เจ๋ง]
Cruzio ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #6 เมื่อ: 08/03/13, [12:17:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [กู้ดครับ!]
top1155 ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #7 เมื่อ: 08/03/13, [13:23:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โรคเกร็ดพองนี่เห็นแล้วขนลุกทุกทีครับ n032
raykai555 ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #8 เมื่อ: 04/04/13, [16:46:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีประโยชน์มั๊กๆ ขอบคุณคะ  [เจ๋ง]

พี่คะแล้ว เหงือกของปลากางออกมาก เหงือกเปิดหรือบวมแดง สาเหตุเกิดจากอะไรคะ

แล้ววิธีรักษาต้องทำยังไงมั้งคะ ปลาที่ป่วยเป็นปลาค้าฟคะ

ยังไง รับกวนด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04/04/13, [16:49:26] โดย raykaiforyou »
rosak ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #9 เมื่อ: 16/04/15, [00:33:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แจ่มจิงเบย
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: