Aqua.c1ub.net
*
  Thu 10/Jul/2025
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความ : การเลี้ยงกุ้งหน้าฝน ปี2551  (อ่าน 3994 ครั้ง)
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« เมื่อ: 19/09/08, [13:25:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

  *** คิดว่าน่าจะมีบางส่วนเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้ที่เลี้ยงกุ้งกลางแจ้ง ในช่วงหน้าฝนนี้นะครับ  [เจ๋ง] ***
 

สถานการณ์การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการประสบปัญหาหลายด้านโดยเฉพาะราคากุ้งขาวที่ตกต่ำมากมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตของกุ้งขาวทั่วโลกมีจำนวนมากรวมทั้งผลผลิตในประเทศไทยก็มีปริมาณมากเช่นเดียวกัน ในขณะที่ประเทศผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยคือ สหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมทั้งผู้ซื้อรายอื่นทั่วโลกก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจขาลงเช่นเดียวกัน อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อราคากุ้งคือ ค่าเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาที่อ่อนค่าลงทำให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งตัวขึ้น จึงทำให้ราคากุ้งขาวตกต่ำมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตกุ้งปัจจุบันนี้สูงขึ้นกว่าหลายปีก่อน เนื่องจากต้นทุนที่
ใช้ในการเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหารกุ้งมีราคาสูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นมาก ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาจนถึงระดับที่การเลี้ยงกุ้งได้ผลผลิตปกติแต่ขายได้ในราคาต่ำมากจนแทบไม่มีกำไร หรืออาจขาดทุนได้ ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อความอยู่รอดโดยหาแนวทางที่จะทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงที่สุด เพื่อให้ต้นทุนในการผลิตต่ำ สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งต่อไปได้


ในขณะที่สภาวะการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมประสบปัญหาด้านราคาและต้นทุนที่ไม่สอดคล้องกัน สภาพภูมิอากาศในประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากสภาวะโลกร้อนที่ทุกคนพูดถึงกันว่าเป็นต้นเหตุที่สำคัญ ของการเกิดสภาพอากาศแปรปรวนขึ้นในหลายประเทศ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย ดังนั้นเกษตรกรจะต้องเตรียมตัวเพื่อหาแนวทางรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะในปีนี้มีปริมาณฝนตกติดต่อกันในหลายพื้นที่เลี้ยงกุ้งมากกว่าปกติ ทำให้การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมประสบปัญหาด้านผลผลิตกุ้งป่วยเป็นโรคมากกว่าในการเลี้ยงที่สภาพอากาศปกติ

ปริมาณน้ำฝนมีผลกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งอย่างไร
1. ทำให้สภาพในบ่อไม่ดี ซึ่งตามปกติการเลี้ยงกุ้งในช่วงที่มีสภาพอากาศดีคือ มีแสงแดดในตอนกลางวันหลังจากเริ่มมีแสงแดดแพลงก์ตอนที่อยู่ในบ่อเลี้ยงกุ้งจะทำการสังเคราะห์แสง ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกดึงไปใช้เพื่อการสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงคือปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำในช่วงกลางวันจะสูงขึ้น จะทำให้สภาพในบ่อดีขึ้นการย่อยสลายสารอินทรีย์ในบ่อโดยจุลินทรีย์ก็เป็นไปได้ดี ของเสียที่สะสมในบ่อในรูปของสารอินทรีย์หรือรูปอื่นๆ จะถูกบำบัดโดยจุลินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ออกซิเจนในการสลาย หลังจากไม่มีแสงแดดหรือในเวลากลางคืน กระบวนการสังเคราะห์แสงจากแพลงก์ตอนไม่มีแต่กระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา จะใช้ออกซิเจนที่สะสมอยู่ในบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอน และเครื่องให้อากาศที่มีอยู่แล้วอย่างเพียงพอ บ่อที่มีการจัดการที่ดี พบว่าปริมาณออกซิเจนจะค่อยๆ ลดลงหลังจากประมาณสี่ทุ่ม จนถึงจุดต่ำสุดตอนเช้ามืด แต่เมื่อมีแสงแดดของวันใหม่กระบวนการที่กล่าวมาแล้วนี้ก็จะเกิดขึ้นหมุนเวียนไปเรื่อยๆ การเลี้ยงกุ้งก็จะไม่มีปัญหา ในทางตรงข้ามถ้าอากาศมืดครึ้มไม่มีแสงแดดหรือมีฝนตกปริมาณมากๆ กระบวนการสังเคราะห์แสงจะไม่เกิดขึ้นเลย มีแต่การใช้ออกซิเจนในกระบวนการย่อยสลายของเสีย กระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิตทั้งกุ้งและแพลงก์ตอนในบ่อกุ้ง ดังนั้นปริมาณออกซิเจนที่เกิดขึ้นในบ่อได้มาจากเครื่องให้อากาศเพียงอย่างเดียวซึ่งพบว่าในช่วงเวลาที่ฝนตกติดต่อกันนานปริมาณออกซิเจนในน้ำจะต่ำอยู่ในระดับที่ไม่สูงหรือค่อนข้างจะต่ำตลอดเวลาไม่เพียงแต่เท่านั้นกระบวนย่อยสลายสารอินทรีย์ของแบคทีเรียทำได้น้อยลง ทำให้เกิดการสะสมของแอมโมเนีย และไนไตรท์ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพกุ้งในเวลาต่อมา

2. สีน้ำล้มหรือแพลงก์ตอนบางส่วนหรือส่วนใหญ่จะตาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงไปในบ่อ ในกรณีที่ในบ่อมีสีน้ำเข้มหรือปริมาณแพลงก์ตอนอย่างหนาแน่นก่อนที่ฝนจะตกหนัก มักจะพบว่าหลังจากฝนตกติดต่อกันนานๆ แพลงก์ตอนส่วนใหญ่จะตาย น้ำจะขุ่น บ่อยครั้งจะพบว่ากุ้งมีเหงือกสีเข้มขึ้นจากตะกอนหรือซากแพลงก์ตอนเข้าไปอุดตันในเหงือก กุ้งที่อ่อนแอบางส่วนจะเริ่มเกาะตามขอบบ่อ



3. กุ้งกินอาหารลดลง กุ้งเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของน้ำ ตามปกติกุ้งจะกินอาหารได้ดีที่อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส ในขณะที่ฝนตกหนักน้ำฝนมีอุณหภูมิประมาณ 24 องศาเซลเซียส ดังนั้นเมื่อฝนตกลงไปในบ่อมีผลทำให้อุณหภูมิของน้ำในบ่อลดลงเรื่อยๆ ถ้าฝนตกติดต่อกันนานหลายวัน อุณหภูมิน้ำจะลดลงถึง 24 องศาเซลเซียส แม้ว่าเป็นช่วงฤดูกาลปกติก็ตาม อุณหภูมิของน้ำที่ลดลงจาก 28-30 องศาเซลเซียส ลงมาที่ 24-25 องศาเซลเซียส มีผลทำให้การกินอาหารของกุ้งลดลงประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง ไม่เพียงเท่านั้น อาหารที่เหลือเนื่องจากกุ้งกินไม่หมด เกิดการย่อยสลาย ทำให้ปริมาณแอมโมเนียสูงขึ้น ในเวลาต่อมาซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพกุ้ง

4. มีการเจริญเติบโตช้าจากการที่กุ้งกินอาหารลดลง ในขณะที่น้ำมีอุณหภูมิต่ำจากปริมาณน้ำฝน ซึ่งบางฟาร์มจะไม่มีการให้อาหารถ้าช่วงเวลาที่จะให้อาหารมีฝนตกหนัก ดังนั้นเมื่อ มีฝนตกติดต่อกันหลาย ๆ วัน จะมีผลทำให้กุ้งมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ อัตราแลกเนื้อจะสูงทำให้ต้นทุนสูงขึ้น


5. กุ้งเป็นโรคได้ง่าย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมักจะสังเกตเห็นว่าเมื่อไรก็ตามที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน มักจะมีกุ้งป่วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคดวงขาวหรือโรคอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อน้ำมีอุณหภูมิต่ำ ภูมิคุ้มกันของกุ้งจะลดลงเพราะกุ้งเป็นสัตว์เลือดเย็น ภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ในขณะที่ไวรัสหลายชนิดจะเพิ่มความรุนแรงเมื่ออุณหภูมิลดลง โดยเฉพาะไวรัสดวงขาว ซึ่งมักจะพบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรงในช่วงอุณหภูมิต่ำ ในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เมื่อฝนตกติดต่อกันหลายวันกุ้งจะเป็นโรคดวงขาวได้มากกว่าช่วงการเลี้ยงปกติ



6. เกิดแผลตามลำตัวมากกว่าปกติ เกษตรกรที่นิยมเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมอย่างหนาแน่น เมื่อเทียบกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำโดยบ่อที่ปล่อยลูกกุ้งหนาแน่นสูงมากมักพบว่าการเลี้ยงกุ้งขาวผ่านช่วงเวลาที่ฝนตกติดต่อกันนานๆ หรือฤดูฝน กุ้งอาจจะมีบาดแผลตามลำตัวมากกว่าฤดูกาลปกติ ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อมีฝนตกติดต่อกันนานๆ ปริมาณน้ำฝนซึ่งมีพีเอชต่ำหรือค่าความเป็นด่าง (alkalinity) ต่ำมาก หรืออาจเป็นศูนย์จะมีผลทำให้พีเอชของน้ำต่ำลง ค่าความเป็นด่างลดต่ำลงไปด้วยเป็นการกระตุ้นทำให้กุ้งขาวแวนนาไมมีการลอกคราบมากกว่าปกติ ในขณะที่ปริมาณแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม คลอไรด์ โซเดียม และซัลเฟต จะลดต่ำลงกว่าปกติเนื่องจากถูกเจือจางด้วยน้ำฝน ปริมาณแร่ธาตุที่สำคัญเหล่านี้ โดยเฉพาะแคลเซียมและแมกนีเซียมจะมีความสำคัญต่อการสร้างเปลือกกุ้ง ตามปกติกุ้งจะพยายามรักษาความสมดุลของปริมาณแร่ธาตุในเลือดให้คงที่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อปริมาณแร่ธาตุที่สำคัญในน้ำลดต่ำลง กุ้งต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการดึงแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำเข้าสู่ร่างกาย ทำให้กุ้งอ่อนเพลียและมีโอกาสที่ป่วยหรือตายหลังจากการลอกคราบได้ ซึ่งมักจะพบในบ่อเลี้ยงกุ้งที่มีน้ำความเค็มต่ำในช่วงฤดูฝนหลังจากมีฝนตกติดต่อกันนาน พบกุ้งตายมีลักษณะตัวนิ่มมาก ทำให้อัตรารอดลดลง เนื่องจากกุ้งกินเอง ส่วนในกรณีการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในน้ำเค็มปกติซึ่งมีปริมาณแร่ธาตุที่กล่าวมาพอเพียงในระยะเริ่มต้นการเลี้ยง แต่เมื่อมีการเลี้ยงกุ้งหนาแน่น กุ้งมีการเจริญเติบโต แร่ธาตุในน้ำจะค่อยๆ ลดลง แม้ว่าแร่ธาตุบางส่วนจะได้มาจากอาหาร เมื่อมีฝนตกติดต่อกันนานๆ หรือในปริมาณมาก ปริมาณแร่ธาตุในน้ำจะลดลงมาก ดังนั้นหลังจากการลอกคราบในขณะที่เปลือกยังไม่แข็งสมบูรณ์ เนื่องจากแร่ธาตุลดลงตามที่กล่าวมาแล้ว เมื่อในบ่อมีกุ้งในอัตราความหนาแน่นสูง ในขณะที่พื้นที่จำกัด โอกาสที่จะเกิดบาดแผลจากกรีกุ้งเนื่องจากการเคลื่อนไหวไปมาของกุ้งในบ่อ จึงมีสูงตามไปด้วย
แนวทางในการแก้ปัญหา

ผู้ประกอบการการเลี้ยงกุ้งจะต้องประเมินสถานการณ์การเลี้ยงว่าในรอบการเลี้ยงต่อไปว่าจะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง โดยดูจากข้อมูลที่ผ่านมาในรอบปีก่อนและคาดหวังว่าปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าปีก่อนด้วย แนวทางการเลี้ยงกุ้งช่วงฤดูฝนมีดังนี้
1. ปล่อยลูกกุ้งในอัตราความหนาแน่นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับปริมาณฝนที่คาดว่าจะมีมากกว่าปกติ
2. ควรเพิ่มเครื่องให้อากาศมากขึ้น เนื่องจากเตรียมไว้ชดเชยปริมาณการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนที่อาจลดลง เนื่องจากฝนตก
3. ควรเสริมแร่ธาตุอย่างสม่ำเสมอมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงก่อนกุ้งลอกคราบและช่วงที่ฝนตกหนัก เพื่อเสริมแร่ธาตุที่สำคัญในน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สำหรับกุ้งที่ใช้ในการเจริญเติบโต นอกจากนั้นควรมีเติมวัสดุปูนเพื่อควบคุมพีเอชของน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะว่าน้ำฝนมีพีเอชต่ำ
ถ้าหากผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งมีการเตรียมความพร้อมและประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าว่าน่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยมีระบบรองรับความเสี่ยงโดยเฉพาะการป้องกันโรค เช่น มีรั้วล้อมรอบบ่อเลี้ยงเพื่อป้องกันปู มีเชือกขึงกันนก มีการฆ่าเชื้อและพาหะในน้ำก่อนปล่อยลูกกุ้ง และที่สำคัญที่สุดคือใช้ลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีจากโรงเพาะฟักที่เชื่อถือได้และผ่านการตรวจเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อการเลี้ยงกุ้ง อาหารคุณภาพดี รวมทั้งการจัดการที่ดีตามที่กล่าวไปแล้ว หวังว่าเกษตรกรที่ต้องเลี้ยงกุ้งผ่านช่วงฤดูฝนจะประสบความสำเร็จได้ผลผลิตตามเป้าหมาย เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจการเลี้ยงกุ้งเป็นอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป



  อ้างอิง : ชลอ ลิ้มสุวรรณ นิติ ชูเชิด สาธิต ประเสริฐศรี แก้วตา ลิ้มเฮง และ จริยาวดี สุริยพันธุ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19/09/08, [13:29:47] โดย ดุ๊กดิ๊ก & ฉึ่ง แมวส้ม »
~<@ Mr.best @>~ ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #1 เมื่อ: 19/09/08, [13:28:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เลี้ยงกุ้งหน้าฝน คนเลี้ยงเหงา emb01
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #2 เมื่อ: 19/09/08, [13:51:57] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เลี้ยงกุ้งหน้าฝน คนเลี้ยงเหงา emb01

 เหงาแล้วก็เปียกด้วยหนอ ยิ่งชอบตกตอนดึกๆอยู่ ( ตรูจะกลับบ้านนนนนนนนนนนนนน )  n032
~<@ Mr.best @>~ ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #3 เมื่อ: 19/09/08, [13:55:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เหงาแล้วก็เปียกด้วยหนอ ยิ่งชอบตกตอนดึกๆอยู่ ( ตรูจะกลับบ้านนนนนนนนนนนนนน )  n032

ช่ายพี่ไม่สบายเลย [ซีดดด]

พอฝนตกที่ร้านก็เงียบกริบ sick1
หะมวย~หมวยจ้า ออฟไลน์
Cute Member
« ตอบ #4 เมื่อ: 19/09/08, [14:01:37] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณค่ะ

นึกว่ากุ้งชอบน้ำเย็นๆซะอีก 036
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #5 เมื่อ: 19/09/08, [14:04:07] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ช่ายพี่ไม่สบายเลย [ซีดดด]

พอฝนตกที่ร้านก็เงียบกริบ sick1

 น่านจิครับ สำหรับคนค้าขายนี่เป็นเรื่องลำบากใจจริงๆหนอ  asspain
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #6 เมื่อ: 19/09/08, [14:07:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณค่ะ

นึกว่ากุ้งชอบน้ำเย็นๆซะอีก 036

 อ๋อ น้ำเย็นๆ กับ น้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าในน้ำ แต่ยังเย็นๆ นี่คนละแบบกันหนอครับ กุ้งบางชนิดชอบน้ำเย็นๆ ถูกต้องแล้วครับ

Zeon ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #7 เมื่อ: 19/09/08, [18:52:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

น้ำเย็นไม่กลัว กลัวน้ำเปลี่ยนค่านี่สิ เดี๋ยวมีร่วง n032
อยากเว้าลาวนำเด้ ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #8 เมื่อ: 19/09/08, [19:01:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ทั้งเหงา ทั้งป่วย ทั้งคน และกุ้ง 036 บทความแจร่มมากๆ
หะมวย~หมวยจ้า ออฟไลน์
Cute Member
« ตอบ #9 เมื่อ: 20/09/08, [01:08:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ๋อ น้ำเย็นๆ กับ น้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าในน้ำ แต่ยังเย็นๆ นี่คนละแบบกันหนอครับ กุ้งบางชนิดชอบน้ำเย็นๆ ถูกต้องแล้วครับ



ขอบคุณค่ะ

พี่ไขได้ทุกปัญหาจริงๆ

เป็นโคนันป่ะเนี่ย....หรือแอล  ้hahaha
hiphip
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 20/09/08, [01:17:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 shock1 ทำเลี้ยงกุ้งในห้องนอนอะครับพี่ มันจะเป็นไรไมครับเนี้ย น้ำโดนแต่แสงนีออนอะครับไม่ได้โดนแสงอาทิตเลย

ปล.แล้วของพี่อะครับก็โดนฝนนิครับกุ้งพี่ไม่เป็นไรหลอครับ มีวิธีแก้อย่างไรมั้งครับถ้ากุ้งโดนน้ำฝน(พอดีจะเอากุ้งมาเลี้ยงนอกบ้านอะครับ)
ska ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #11 เมื่อ: 20/09/08, [03:13:21] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณค่ะ

พี่ไขได้ทุกปัญหาจริงๆ

เป็นโคนันป่ะเนี่ย....หรือแอล  ้hahaha

พี่ เขา ไม่ ได้ เป็น โคนัน หรือ แอล

แต่ ชาว ประมง เลี้ยง กุ้ง  gossip

ขอบ คุณ กับ บท ความ ดีๆๆ  [เจ๋ง]
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #12 เมื่อ: 20/09/08, [10:51:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

shock1 ทำเลี้ยงกุ้งในห้องนอนอะครับพี่ มันจะเป็นไรไมครับเนี้ย น้ำโดนแต่แสงนีออนอะครับไม่ได้โดนแสงอาทิตเลย

ปล.แล้วของพี่อะครับก็โดนฝนนิครับกุ้งพี่ไม่เป็นไรหลอครับ มีวิธีแก้อย่างไรมั้งครับถ้ากุ้งโดนน้ำฝน(พอดีจะเอากุ้งมาเลี้ยงนอกบ้านอะครับ)

  จริงๆ กุ้งเคร ฯ นี่ถ้าโดนแสงแดดรำไรๆ นี่ จะช่วยในเรื่องของสีสรร และ ความแข็งแรงได้นะครับ ( ได้รับวิตามินจากแสงตามธรรมชาติ )

ส่วนในที่เลี้ยง ก็สามารถหาหลอดไฟ ที่มีค่าใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์จริงในธรรมชาติมาให้เขาได้ครับ สนนราคาไม่แพงมาก พอจับต้องได้เด้อ
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #13 เมื่อ: 20/09/08, [10:54:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณค่ะ

พี่ไขได้ทุกปัญหาจริงๆ

เป็นโคนันป่ะเนี่ย....หรือแอล  ้hahaha

 สงสัยจะเป็น " คันดะไอ้ดุ๊ก " มากกว่าครับ  คันในร่มผ้า กลากเกลื้อนนนนน ใช้ โทนาฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟ.... hawaii
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: