Aqua.c1ub.net
*
  Sat 20/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: Dictionary สำหรับตู้ทะเล แปลบ้านๆ  (อ่าน 19113 ครั้ง)
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« เมื่อ: 18/06/15, [13:03:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

หวังว่า Dictionary นี้น่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆสมาชิกบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
ไม่ได้จำเป็นต้องอ่านให้จบ (เหมือน Dictionay ก็คงไม่มีใครอ่านตั้งแต่ A-->Z) เพียงหวังว่า ก่อนการถามถึง-ตั้งกระทู้ ลองแวะมาค้นหาดู เผื่อเป็นคำตอบให้ได้ครับ

A-C
Aerobic    สิ่งมีชีวิตต้องการอ๊อกซิเจนเพื่อการดำรงชีวิต ก็เรียกว่า aerobic
Aerobic Bacteria    แบคทีเรียที่อาศัยอ๊อกซิเจนในการดำรงชีวิต เป็นส่วนนึงของวงจรไนโตรเจน หน้าที่หลักคือเปลี่ยนจาก สารโปรตีนเป็นแอมโมเนีย และ เป็น ไนไตร์ท และไนเตรท ตามลำดับ
Acan / Acantastrea  ปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ชนิดหนึ่ง (LPS)   FAQ LPS
Acro / Acropora    ปะการังโครงแข็งโพลิปเล็กชนิดหนึ่ง (SPS) ภาพของ Purple Tipped Acropora
Actinic (Light, Bulb)    แสง Actinic เป็นแสงที่อยู่ในช่วงคลื่นสีฟ้า ซึ่งคลื่นแสงสีฟ้านี้มีความสามารถในการทะลุลงไปในน้ำได้ที่ระดับความลึกกว่าช่วงคลื่นอื่น ทำให้ปะการังและพืชในทะเลสามารถนำมาใช้เพื่อการสังเคราะห์แสงได้
Activated Carbon    เป็นรูปแบบคาร์บอนที่ผ่านกระบวนการ x x x ในตู้ทะเลเรานำมาใช้เพื่อช่วยในการดูดซับสารที่ไม่พึงประสงค์-น้ำเหลือง ฯลฯ และต้องมีการเปลี่ยนเป็นระยะ
Adipose fin    ครีบปลา ที่มีขนาดเล็ก อยู่ด้านบนระหว่าง ครีบหลังและครีบหาง (นึกออกไม๊ ตรงนั้นแหละ)  ดูภาพประกอบด้านล่างครับ
Algae  สาหร่าย-ตะไคร่ ในระบบปิด ส่วนมากไม่เป็นที่ต้องการ ยกเว้นเพียงแค่ไม่กี่ชนิดที่เราตั้งใจเลี้ยงเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆทั้ง ช่วยลดของเสีย, เป็นอาหาร, เป็นที่อาศัย ฯลฯ
Algaecide    เป็นการใช้เคมีเพื่อช่วยลด-กำจัดสาหร่ายที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ แต่ก็อาจจะมีผลข้างเคียงกับสิ่งต่างๆในตู้ด้วย ก่อนใช้ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีครับ
Algae Turf Scrubber / ATS    เป็นวิธีตั้งใจเลี้ยงสาหร่ายที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ โดยการกำหนดพื้นที่ให้อยู่ในพื้นที่ที่ควบคุมได้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นเครื่องมือบำบัดน้ำ ซึ่งต้องมีการดูแลและควบคุมปริมาณอย่างสม่ำเสมอ
เกี่่ยวกับตะไคร่และวิธีการกำจัด FAQ ตะไคร่-พืชรบกวน
Alkalinity    สภาพความกระด้าง/ความเป็นด่างของน้ำ เป็นหน่วยวัดตัวนึงซึ่งใช้วัดค่าคาร์บอเนต มีหน่วยเป็น mEq/L หรือ ppm หรือ dKH  ซึ่งค่าความกระด้างนี้จะสัมพันธ์กับค่า pH / Ca / Mg
Ammonia    แอมโมเนีย เป็นสารประกอบของธาตุ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน สูตรเคมีคือ NH3 เป็นก๊าซ และ เป็นพิษ  ส่วนในตู้ทะเลเราก็จะไปดูที่ แอมโมเนียมอิออน(ammonium ion/NH4) ซึ่งตัวแอมโมเนีย(ขอเรียกแบบนี้นะ) ก็จะเป็น 1 ในวงจรไนโตรเจน ซึ่งมีความเป็นพิษกับสัตว์น้ำ
Amphipod    แอมพิพอด เป็นครัสเตเชียน(crustacean)ขนาดเล็ก เป็นแหล่งอาหารให้กับปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ มีขนาด2-50มม. ซึ่งนักเลี้ยงบางท่านก็ตั้งใจสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยให้(เรฟูเจี้ยม)โดยเฉพาะเลย
Amyloodidium    เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวชนิดหนึ่ง ในระบบตู้ทะเลเจ้านี่คือต้นเหตุของโรค velvet disease หรือ oodinium
Anal fin    ครีบก้นของปลา ดูภาพประกอบที่ Fish Anatomy ด้านล่างครับ
Anaerobic    สิ่งมีชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยอ๊อกซิเจน (มีด้วยรึ)...ในการดำรงชีวิต บางชนิดอาจได้รับผลเสียหรือถึงขั้นเสียชีวิตเมื่อได้รับอ๊อกซิเจน
Anaerobic Bacteria    เป็นแบคทีเรียที่ไม่อาศัยอ๊อกซิเจน อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอ๊อกซิเจนต่ำหรือไม่มีอ๊อกซิเจน (บริเวณด้านในของหินเป็นทรายเป็น หรือใต้พื้นทราย/กรวดหนาๆ) เป็นส่วนนึงในวงจรไนโตรเจน หน้าที่หลักคืออาศัยไนเตรทในระบบผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อให้ได้ไนโตรเจนระเหยออกไปจากตู้
Angelfish    กลุ่มปลาสินสมุทร ซึ่งมีทั้ง สินสมุทรขนาดเล็ก (Dwarf Angelfish) และ ขนาดใหญ่ (Large Angelfish)  ดูเพิ่มเติมที่นี่ Angelfish ปลาสินสมุทร
Anthias    กลุ่มปลาทองทะเล เป็นปลาที่อยู่กันเป็นฝูงเล็กๆประกอบด้วยตัวผู้หนึ่งกับตัวเมีย3-4ตัว เป็นปลาที่เลี้ยงได้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายนัก เพราะต้องการอาหารปริมาณมากเนื่องจากกระบวนการเผาผลาญอาหารดีจึงควรอยู่ในตู้ที่มีอุณหภูมิต่ำซักหน่อยเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นการเร่งกระบวนการเผาผลาญอาหารให้ดีกว่าเดิม เป็น Carnivore คือเป็นปลากินเนื้อเป็นอาหารหลัก  ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะกว้างซักหน่อยเพราะเป็นปลาที่ว่ายน้ำตลอดเวลา   FAQ ปลา
Aragonite    เป็นรูปแบบหนึ่งของแคลเซียมคาร์บอเนต เพื่อใช้ในการรักษาระดับ pH และ Alkalinity ในตู้
Aquarium    ภาชนะที่ส่วนมากทำมาจากกระจก(แก้ว) หรือ พลาสติก(อคริลิค) เพื่อใช้ในการบรรจุและเลี้ยงปลาและสิ่งมีชิวิตอื่นๆ
Aquascaping    กระบวนการในการจัดและตกแต่ง ตู้ปลา เพื่อให้ได้ทั้งความสวยงามและประโยชน์ในเรื่องของการกรองชีวภาพและง่ายต่อการดูแลรักษาในระยะยาว  แนวทางการจัดและรูปแบบต่างๆ ดูต่อได้ที่ Aquascape
Artemia    ไรทะเล เป็นครัสเตเชี่ยน(crustacean)สกุลหนึ่ง ซึ่งในระบบตู้ทะเลเราน้ำมาใช้เป็นแหล่งอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตในตู้
Athermatypic Coral  เป็นปะการังที่ไม่สามารถสร้าง Reef (แนวปะการัง) ได้ จึงพบอยู่กันเป็นกลุ่มๆ เนื่องจากมันไม่มี zooxanthallae อาศัยอยู่ในโพลิป (หรือมีน้อยมาก) พบได้ในทะเลทั่วไปรวมทั้งทะเลในเขตหนาว
Atoll / Atoll Reef  เป็นเกาะปะการังรูปวงแหวนที่ล้อมรอบลากูน (Lagoon) ที่อาจปิดล้อมลากูนโดยสมบูรณ์ หรือ ล้อมรอบบางส่วนก็ได้   ส่วนทฤษฏีการเกิดของ อะทอลล์ (Atoll) ก็มีทั้งของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน และ รีจินัลด์ อัลด์เวิร์ธ ดาลี   ผมไม่มีความสามารถขนาดตัดสินได้ ลองหาอ่านต่อเอานะครับ

เปลี่ยนภาพนะครับ เอาภาพนี้ คุณ un_petit_garcon แนะนำมาว่าอันนี้ชัดเจนดีเพราะเห็นทั้ง Top View และ Side View

ส่วนอันนี้ที่ เขาว่า "Maupiti is one of the classic coral atolls with a volcanic island in the center, and a deep lagoon enclosed within a coral reef."

Bacteria    สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ในตู้ทะเลก็จะมีทั้งแบคทีเรียชนิดที่มีโทษและมีประโยชน์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆแต่ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไนโตรเจนที่มีประโยชน์กับตู้ทะเลระบบปิดของเรา
Ballast    บัลลาสต์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการเริ่มและควบคุมการไหลของพลังงานผ่านหลอดไฟ มีทั้งชนิดขดลวดและอิเล็คโทรนิคส์
Bare Bottom / BB    การปล่อยพื้นตู้ให้โล่งโดยไม่มีการปูพื้นด้วยวัสดุกรอง เพื่อประโยชน์ในการดูให้สะดวกขึ้นและง่ายขึ้น แต่ก็จะเสียพื้นที่อาศัยของแบคทีเรียในระบบกรองชีวภาพไป
Basslet fish  บาสเล็ต เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่ค่อยดุร้ายเท่าไหร่ ราคาสูงอยู่ในบางตัว  บางครั้งอาจจะสับสนกับปลาในกลุ่ม Dottyback ด้วยลักษณะและสีคล้ายกัน แต่พวกนี้สีไม่ค่อยตก(ซีด)เมื่อเลี้ยงเป็นเวลานาน ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ได้แก่  Royal Gramma (คล้่ายกับหวานเย็นแต่คนละสายครับ) หรือ เจ้า Gurgle ปลาอนามัยจัดที่อยู่ในตู้ปลานั่นเอง   FAQ ปลา
Bio-ball    เป็นลูกพลาสติกกลมๆ ขนาดเล็ก มีรูพรุน หรือ ขรุขระต่างๆเพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดให้มากขึ้นเพื่อเป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรียในระบบกรองชีวภาพ ปกติจะวางไว้ในตำแหน่งที่มีส่วนที่ทั้งเปียกและแห้ง/น้ำหยด (wet/dry)
Bio-load    เป็นยอดรวมของภาระทางชีวภาพที่ ต้องอาศัยระบบกรองชีวภาพในการบำบัด
Biological Filtration    ระบบกรองชีวภาพ  เป็นส่วนหนึ่งในระบบกรองที่อาศัย-ส่งเสริมแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในตู้ เพื่อให้แบคทีเรียเหล่านี้ทำงานได้เต็มที่ซึ่งจะส่งผลให้ระดับความเข้มข้นของของเสียที่มีในน้ำต่ำลง จนสิ่งมีชีวิตในตู้สามารถอาศัยอยู่ได้ ดูเพิ่มเติมที่ ระบบกรอง...ล้วนๆ
Birdsnest Coral    ปะการังโครงแข็งโพลิปเล็ก(SPS)ชนิดหนึ่ง   รังนกชมพู
Blastomussa Coral    ปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ชนิดหนึ่ง (LPS) อาศัยการสังเคราะห์แสงเป็นหลัก ดูภาพประกอบที่ FAQ - LPS
Blenny  ปลาเบลนนี่ เป็นปลาในอันดับปลากระพง (Order : Perciformes // Sub Order : Blennioidei) ชื่อภาษาไทยว่า "ปลาตุ๊ดตู่" หรือ "ปลาตั๊กแตนหิน" น่าจะเพราะพฤติกรรมที่ชอบอาศัยในรูเหมือนกับตัวตุ๊ดตู่ หรือ อาศัยเกาะตามหินบริเวณพื้นทราย เต้นไป เต้นมา    อาหารหลักคือตะไคร่น้ำ หากินใกล้กับรูที่อาศัย แต่ก็มีบางชนิดที่กินเนื้อเป็นอาหาร    (**ระวังสับสนกับ โกบี้ (Goby) นะครับ คนละอันดับย่อยกัน**) ภาพประกอบดูได้ที่ FAQ ปลา
Brain Coral เป็นปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ (LPS) ด้วยรูปร่างหน้าตาที่คล้ายสมอง ทำให้ได้ชื่อว่าปะการังสมอง จัดอยู่ในอันดับ Order : Scleractinia แต่จะมีหลาย Family ที่คนไทยเรียก(ฝรั่งก็เรียก) ว่าปะการังสมองเช่น
    - Family : Trachyphyllia - พวก โอเพ่นเบรน
    - Family : Mussidae - ก็จะเป็นพวก Favia หรือพวก Scolymia ราคาสูงๆก็อยู่ใน Family นี้
    - Family : Merulinidae เป็นพวก Favites
    - ฯลฯ เยอะแยะมากมาย เอาเป็นดูหน้าตาประมาณว่า เนื้อติดกระโหลก โพลิปเดี่ยวๆ หรือ โพลิปชิดๆกัน ไม่พริ้วไหว ก็น่าจะเดาได้ว่าเป็น Brain Coral เพียงแต่จะเป็น Family หรือ Genus ไหนก็ค่อยไปว่ากัน ขอให้สวยถูกใจก็พอ  ปกติที่เห็นๆซึ้อขายกันก็จะเป็นปะการังที่สังเคราะห์แสงเป็นหลัก กระแสน้ำไม่ต้องแรงมาก พอให้มีกระแสน้ำผ่านก็เพียงพอ
Brine Shrimp    เป็นครัสเตเชี่ยน(crustacean)ชนิดหนึ่ง ไว้เป็นอาหาร หรือ ส่วนผสมของอาหารปลา
Bubble Coral  ปะการังลูกโป่ง เป็นปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ (LPS) ลักษณะโพลิปจะเป็นหัวกลมๆเหมือนลูกโป่ง สังเคราะห์แสงเป็นหลัก แต่ตกดึกๆจะยื่นหนวดพิษเป็นเส้นๆออกมาเพื่อหาจับอาหารหรือป้องกันตัวเอง สีก็มีตั้งแต่ขาวๆ ขาวอมชมพู ไปจนเขียวๆ พวกนี้ต้องการไฟแรงอยู่เหมือนกันครับ กระแสน้ำปานกลางไม่เบาเกินไปและไม่แรงจนเกินไป ดูภาพประกอบที่ FAQ - LPS
Buffer    เป็นสารเคมีที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงค่า alkalinity ในตู้ ซึ่งจะส่งผลให้ pH ในตู้เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันในทิศทางเดียวกัน
Butterflyfish  ปลาผีเสื้อ จัดเป็นปลาที่เลี้ยงค่อนข้างยากในตู้ระบบปิด เพราะต้องการคุณภาพน้ำที่ดี(ถึงดีมาก) เป็นปลากินเนื้อ ซึ่งหากตู้ไหนที่มีก้นตู้ถือว่าเสี่ยงมากๆที่จะโดนตอด เพราะโพลิปปะการังก็จัดเป็นอาหารของเจ้าปลาผีเสื้อนี้เช่นกัน มีหลากหลายชนิด บางชนิด(ไม่กี่ชนิด)สามารถเลี้ยงในตู้ได้ แต่บางชนิดก็อยู่ยาก  ภาพประกอบดูได้ที่ FAQ ปลา
ฺButton Coral แปลไทยน่าจะเป็นกระดุม (ปะการังอ่อน) แต่ฝรั่งเขาไว้เรียกพวก ซาลาเปา (Cynarina) ซึ่งเป็นปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ (LPS) ชนิดหนึ่งที่สังเคราะห์แสงเป็นหลัก ต้องการกระแสน้ำเอื่อยๆ ไฟปานกลาง ระดับการวางแถวๆพื้นตู้น่าจะโอ สีก็ตั้งแต่ น้ำตาล น้ำตาลปนเขียว ไปจน แดง ดูภาพประกอบที่ FAQ - LPS ดูตรงซาลาเปา


Calcium    แคลเซี่ยม (Ca) เป็นองค์ประกอบนึงที่จำเป็นสำหรับตู้ทะเล ปกติระดับแคลเซียมอยุ่ในช่วง 380-450ppm มีผลกับการเจริญเติบโตของปะการัง หอย และสาหร่ายบางชนิด  ส่วนการรักษาระดับแคลเซียมในตู้ทำได้โดยการใช้ แคลเซียมรีแอคเตอร์ (Calcium Reactor), Kalkwasser หรือการเติมแคลเซียมคลอไรด์เจือจางหรือการเปลี่ยนน้ำ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังนิดนึง เพราะการเพิ่มความเข้มข้นที่เร็วเกินไป-มากเกินไป จะส่งผลกับสิ่งมีชีวิตในตู้ได้
Calcium Carbonate    แคลเซี่ยมคาร์บอเนต (CaCO3) เป็นส่วนประกอบหลักของทั้งหิน เปลือกหอย โครงปะการัง  ในตู้ทะเลเราจำเป็นต้องเพิ่มสารส่วนนี้เข้าไป เพราะ ปะการังต้องการแคลเซียมคาร์บอเนตในการเจริญเติบโต
Calcium Reactor    เป็นอุปกรณ์ชุดนึงที่ใช้สำหรับเพิ่มปริมาณแคลเซียมและธาตุสำคัญอื่นๆ โดยต้องมีมีเดียเช่น เศษปะการัง aragonite แล้วใช้การผสมของก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ เพื่อให้เกิดความเป็นกรดเพื่อละลายมีเดียและค่อยๆปล่อยธาตุสำคัญเข้าสู่ระบบตู้ของเรา  ในบางครั้งจะมีการใช้ pH Controller ควบคู่กันด้วย
Candy Cane Coral    ปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ชนิดหนึ่ง (LPS) ดูภาพประกอบที่ FAQ - LPS
Canister Filter    กรองถัง เป็นอุปกรณ์การกรองโดยใช้วัสดุกรองชนิดต่างๆบรรจุลงในถาด อยู่ในถังอีกที เพื่อดึงน้ำจากพื้นที่เลี้ยงเข้ามาบำบัดภายในถังและปล่อยกลับคืนเข้าสุ่ตู้เลี้ยง
Captive Breed    เป็นการผสมพันธ์สัตว์หรือพืชเพื่อเพิ่มปริมาณมากขึ้นในระบบปิด
Carnivore    สัตว์ พืช หรือ ปลาที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก
Caudal Fin    ครีบหาง  ภาพประกอบอยู่ด้านล่าง Fish Anatomy
Caudal Peduncle    คอดหาง - พื้นที่บริเวณก่อนที่จะเป็นครีบหาง ภาพประกอบอยู่ด้านล่าง Fish Anatomy
Chaetomorpha    คีโตมอร์ฟา - สาหร่ายน้ำเค็มชนิดหนึ่ง มักใช้เพื่อดึงสารอาหารส่วนเกินออกจากน้ำ(ลดของเสีย)หรือเพื่อแย่งอาหารจากสาหร่ายชนิดอื่น(ควบคุมสาหร่ายไม่พึงประสงค์) ในเรฟูเจี้ยม(refugium) มีการเจริญเติบโตได้เร็ว จึงต้องมีการดูแลและตัด-ดึงทิ้งออกบ้าง
Chemical Filter    เป็นการกรองโดยการใช้สารเคมีเพื่อลดปริมาณสารอาหารที่ละลายในน้ำ  ตัวอย่างเช่นการใช้ activated Carbon  เพื่อดูดซับสารส่วนเกินต่างๆในน้ำ  ดูเกี่ยวกับเรื่องระบบกรองได้ที่ ระบบกรอง...ล้วนๆ
Chloramine    คลอรามีน เป็นยาฆ่าเชื้อในน้ำประปา ใช้ร่วมกับคลอรีน  เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปลาและสัตว์น้ำ
Chiller    อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนตู้เย็น ใช้งานเพื่อสร้างความเย็นให้กับน้ำในตู้
Chlorine    คลอรีน เป็นยาฆ่าเชื้อในน้ำ เป็นพิษกับสัตว์น้ำ
Circulation    การหมุนเวียนน้ำในตู้  โดยการใช้ปั๊มน้ำ   ในระบบตู้ทะเล การหมุนเวียนน้ำเป็นการนำน้ำเข้าสู่ระบบการกรอง กระจายให้ทั่วถึง และเป็นการเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำ
Class  "ลำดับชั้น" เป็นการแยก-ลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชิวิต  การจัดลำดับของสิ่งมีชิวิต ก็จะจัดเรียงตาม Kingdom-->Phylum/Division-->Class-->Order-->Family-->Gunus-->Species  ดูรูปการจัดลำดับชั้นได้ที่ ด้านล่างสุดเด้อ
Cleanup Crew    หน่วยทำความสะอาด   ในตู้ทะเลจะมีทั้ง สาหร่ายต่างๆ เศษอาหาร หรือ ซากสิ่งมีชีวิต จึงจำเป็นต้องมีหน่วยนี้เพื่อช่วยเก็บ-กำจัด-ควบคุม
Clownfish  ปลาการ์ตูน จัดเป็นปลาสามัญประจำตู้ เป็นปลาที่น่าตาน่ารัก แต่นิสัยไม่น่ารักเลย ค่อนข้างดุร้ายและหวงถิ่นอย่างมาก ในตู้เลี้ยงหากตู้ไม่ใหญ่พอ ไม่ควรลงเกิน 2 ตัว (เมื่อจับคู่กันแล้ว) แม้จะเป็นคนละสายพันธ์ปลาการ์ตูนก็ตาม  เป็นปลาที่กินเนื้อและพืช (Omnivore) เป็นอาหารหลัก  ในธรรมชาติมักพบอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล โดยจะอาศัยกันแบบพึ่งพากัน  ปลาการ์ตูนจะมีเมือกซึ่งทำให้ไม่ได้รับอันตรายจากดอกไม้ทะเลที่มันอาศัยอยู่(เนียน) จับคู่กันหรืออาศัยเป็นกลุ่มเล็กๆ มีตัวเมียเป็นจ่าฝูงซึ่งหากจ่าฝูงตายไป ตัวผู้ที่ลำดับใหญ่สุดจะเปลี่ยนเพศเป็นตัวเมียแทน   สามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธ์ได้ในระบบปิด บ้างก็ว่าปลาเพาะจะสีไม่สวยเหมือนปลาจับจากทะเล แต่จริงๆควรสนับสนุนมากกว่าเพราะลดการจับจากทะเล ซึ่งในทะเลไทยบางจุดพบปลาการ์ตูนน้อยลงอย่างน่าใจหาย ภาพประกอบและรายละเอียดต่างๆ ดูเพิ่มเติมที่ FAQ ปลา
Cnidarian    เป็นคำที่ใช้เรียกสัคว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเซลล์ที่เรียกว่า nematocysts (เข็มพิษ) ตัวอย่างเช่น ปะการังหรือดอกไม้ทะเล (sea anemones)
Coral    ปะการัง เป็นสัตว์ที่อยู่ในชั้น แอนโธซัว(Anthozoa) มีโพลิป อาศัยอยู่รวมกันเป็นอาณานิคม (โคโลนี) ที่ประกอบไปด้วยโพลิปจำนวนมาก บางชนิดสามารถดึงแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำมาสร้างเป็นโครงสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ สามารถขยายพันธ์ได้ทั้งแบบอาศัยและไม่อาศัยเพศ  แม้ว่าปะการังจะมีเข็มพิษ(nematocysts)ที่อยู่บนหนวดและสามารถจับปลาและสัตว์เล็กๆหรือแพลงตอนกินได้  แต่ส่วนใหญ่ปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียว(Zooxanthellae) ทำให้ปะการังทั้งหลายดำรงชีวิตขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และเจริญเติบโตในน้ำทะเลใสบริเวณความลึกน้อยกว่า 60 เมตร
Coralline Algae    สาหร่ายหินปูน ชนิดหนึ่ง เป็นรูปแบบพืชหรือสาหร่ายที่ต้องการทั้งแสงและแคมเซียมในการเจริญเติบโต สามารถสร้างสีที่สวยงามได้เช่นม่วงหรือชมพู แผ่กระจายไปทั่วพื้นที่ในตู้เลี้ยง
Corallivores    ปลาที่กินปะการังเป็นอาหารหลัก เช่น ปลานกแก้ว (Parrotfish)
Crustacean    ครัสเตเชี่ยน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีการสร้างเปลือกนอก(กระโหลก)ไว้เพื่อห่อหุ้มร่างการ ตัวอย่างเช่น กุ้ง ปู ต่างๆ
Cryptocaryon    รู้จักกันทั่วไปในชื่อของ ich เป็นปรสิตชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อปลา ระยะนึงที่เกาะตามตัวปลาจะเห็นเป็นจุดขาวๆอยู่บริเวณผิวของปลา เราเรียกโรคนี้ว่า โรคจุดขาว
Cyanobacteria    ไซยาโนแบคทีเรีย เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่สังเคราะห์แสงได้ ปกติมักจะเห็นเป็นเมือกสีแดง มักเกิดในตุ้ที่มีสารอาหารที่ละลายในน้ำสูง หรือ แสงที่เสปคตรัมไม่ถูกต้อง หรือ อัตราการไหลเวียนของน้ำต่ำ  สร้างความรำคาญ ไม่สวยงาม อีกทั้งยังเป็นพิษรบกวนสัตว์ในตุ้  กำจัดโดยการควบคุมปริมาณสารอาหารในน้ำ(ลดของเสีย) ใช้น้ำRO จัดการกระแสน้ำให้หมุนเวียนดีขึ้น ใช้ไฟที่เหมาะสมกับของที่เลี้ยง เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04/09/15, [15:02:05] โดย bill2517 »
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #1 เมื่อ: 18/06/15, [13:03:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

D-I

Damselfish  ปลาแดมเซล (ผมเรียกปลานรก..55) ปลาสลิดหิน  ด้วยความที่อึด ถึก ทน ดุ ราคาไม่สูง(ในบางพันธ์) ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงจำนวนมาก บางคนนำไปเป็น "ปลาลองน้ำ" ซึ่งมองว่าไม่จำเป็นต้องลองแล้วล่ะครับ หมดสมัยแล้ว อุปกรณ์วัดค่าน้ำมีให้หมด ความรู้มีให้หมด โปรดหยุดพฤติกรรมนี้เถิด..
     ปลาแดมเซลเป็นปลาที่มีสีสันสดใสชนิดนึง เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก(ส่วนมากที่ซื้อขายกันในตลาดปลา) กินง่าย อยู่ง่าย แต่ดุไปซักหน่อย หากคิดจะลงควรคิดดีๆ และลงในลำดับท้ายๆของการลงปลา เพราะอาจสร้างปัญหาให้กับปลาใหม่ที่ขี้ตกใจ หรือพวกปลารักสงบได้   ดูเพิ่มเติมภาพและรายละเอียดได้ที่ FAQ ปลา
Deionization / DI    เป็นกระบวนการสลายไอออนออกจากน้ำโดยใช้เรซินในการดูดจับไอออนของสารต่างๆในน้ำ ในระบบตู้ทะเลเราก็ใช้ร่วมกับเครื่องกรองน้ำระบบ Reverse Osmosis (R/O) เพื่อให้ได้น้ำที่สะอาดบริสุทธิ์มาใช้กับตู้ทะเลของเรา
Deep Sand Bed / DSB    เป็นลักษณะการปูพื้นด้วยทรายหนา  ในระบบปิดของตู้ทะเล จะมีวงจรไนโตรเจน และการปูพื้นด้วยทรายหนาก็เป็นส่วนนึงเพราะเป็นที่อาศัยของแบคทีเรียชนิดที่ไม่อาศัยอ๊อกซิเจนในการดำรงชีวิต วัตถุประสงค์ของการปูพื้นหนาก็เพื่อเปลี่ยนจาก ไนเตรทให้กลายเป็นไนโตรเจนระเหยออกไปจากตู้  ซึ่งข้อดีข้อเสียของการปูทรายก็คือ
   ข้อดี : - สวยงาม (ถ้าไม่มีตะไคร่จับผิวทรายนะ..55) เป็นธรรมชาติ
           - เสริมสร้างระบบกรองชีวภาพให้เสถียรมากขึ้น
           - เป็นที่อาศัยของสัตว์ใต้ผืนทราย
   ข้อเสีย : - ทรายหนา หากจัดการไม่ดี ตะไคร่เกาะผิวทราย ดูไม่สวยงาม ต้องมีสัตว์คอยกลับหน้าทราย
              - ทรายหนา ตะกอนลงไปเยอะ หมักหมมไปหน่อย (เยอะเลย)
              - ใต้ผืนทรายหนา เป็นแก๊ส ระยะยาวอาจจะมีผลเสีย
              - รวมๆ แล้ว ดูแลยากไปนิด
ตู้ TOTM Jan 2009 ใน ReefKeeping.com ของคุณ Emmett Hood
Denitrification    เป็นกระบวนการที่แปลงไนเตรทให้กลายเป็น(ก๊าซ)ไนโตรเจน เพื่อให้ระเหยออกจากตู้  ในกระบวนการนี้จำเป็นต้องใช้ anaerobic bacteria (แบคฯที่ไม่อาศัยอ๊อกซิเจนในการดำรงชีวิต)  ซึ่งอาศัยในบริเวณที่มีอ๊อกซิเจนต่ำหรือไม่มีอ๊อกซิเจนเช่น ใต้พื้นทรายหนา(Deep Sand Bed/DSB) หรือส่วนในลึกๆของหินเป็น
Diet  ชนิด หรือ ผลรวมของอาหารที่กิน  ในทางตู้ทะเลจะเป็นเรื่องของลักษณะอาหารที่กิน เช่น Hebirvore คือ กินพืชเป็นหลัก
Dinoflagellate    เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดหนึ่ง ที่สังเคราะห์แสงได้ เป็นแพลงตอนพืช ซึ่งรวมไปถึง zooxanthellae ก็เป็น dinoflagellate เช่นกัน
dKH    ย่อมาจาก degrees of Karbonate Hardness เป็นหน่วยวัดหนึ่ง ในการวัดค่าความกระด้างของน้ำ หรือ วัดค่าคาร์บอเนตที่มีในน้ำ   ซึ่งหน่วยวัดบางครัั้งก็ใช้เป็น mEq/L หรือ ppm ก็ได้เช่นกัน  เวลานำไปใช้งาน ต้องดูนะครับว่าเป็นหน่วยไหน เข้าใจตรงกัน
Dolomite    หินคาร์บอเนตชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยแคลเซียมแมกนีเซียมคาร์บอเนต นักเลี้ยงตู้ทะเลบางครั้งใช้หินชนิดนี้เพื่อเป็นมีเดีย แต่จะให้ pH ที่ต่ำกว่าการใช้ aragonite  ดังนั้น aragonite จึงน่าจะเหมาะสมกว่าในระบบตุ้ทะเล (แล้วจะบอกทำไม)  
Dori / Dory    เป็นชื่อของปลาชนิดหนึ่งในอนิเมชั่นเรื่อง Finding Nemo ถือเป็นปลาประจำตู้ตัวนึง ใครไม่มีรีบหามาซะ ชื่อเรียกในวงการปลาคือ Blue Tang (ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าในภาษาไทย) เป็นปลาในตระกูลแทงก์ ซึ่งควรจะมีระบบการกำจัดของเสียในตู้ที่เสถียรซักหน่อย(ประมาณ6เดือน) เนื่องจากเป็นปลาที่กินจุ ทำให้ผลิตของเสียได้จำนวนมาก  โรคประจำตัวคือ จุดขาว

  ดูเพิ่มเติมภาพและรายละเอียดได้ที่ FAQ ปลา
Dorsal Fin    ครีบหลัง
Dosing Pump    เป็นอุปกรณ์ชนิดนึงที่ใช้เพื่อ ค่อยๆเติมสารเคมีลงในตุ้แทนการเติมเคมีด้วยมือ  สารเคมีที่ต้องการเติมก็บรรจุลงในกระบอก และ ถูกกำหนดให้ค่อยๆหยดลงไป ดังนั้นจึงต้องคำนวนให้ได้ก่อนว่า ในช่วงหนึ่งหน่วยเวลาต้องเติมลงไปมากน้อยแค่ไหน ใกล้เคียงกับการเติมมือที่เทพรวดลงไป หรือ แคลเซียมรีแอคเตอร์ที่ใช้ความเป็นกรดค่อยๆละลายมีเดียในกระบอก
ภาพจาก ReefCentral
Dottyback  เป็นปลาขนาดเล็กที่สีสรรสวยงาม (ในระยะแรก) เหมาะกับตู้เลี้ยงขนาดเล็กได้ แต่ด้วยความที่นิสัยค่อนข้างก้าวร้าวซักหน่อย ทำให้ควรจัดลงเป็นลำดับท้ายๆ  ปลาในกลุ่มนี้ได้แก่ หวานเย็น สตรอเบอร์รี่ ฯลฯ ซึ่งพบอาการสีซีดได้หากเลี้ยงไปนานๆ น่าจะเป็นเพราะอาหาร แต่ถือว่าเป็นปลาเลี้ยงง่ายชนิดหนึ่ง สามารถเพาะพันธ์ได้ในระบบปิดแล้ว ดูเพิ่มเติมภาพและรายละเอียดได้ที่ FAQ ปลา
Dragonet  ปลากลุ่มนี้ได้แก่พวกแมนดาริน สกู๊ตเตอร์ เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหารหลัก (Carnivore) ในระบบตู้ทะเลจะอาศัยการกินพอดเป็นหลัก ฝึกให้กินเม็ดได้แต่ยากซักหน่อย  หลายท่านตั้งใจสร้างพอดเพื่อต้องการเลี้ยงปลาชนิดนี้ แต่การฝึกกินเม็ดให้ได้ ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญหากต้องการเลี้ยงในระยะยาว ดูเพิ่มเติมภาพและรายละเอียดได้ที่ FAQ ปลา
Dwarf Angelfish  เป็นปลาสินสมุทรขนาดเล็ก หรือ เรียกบ้านๆว่า แองเจิ้ลแคระ ปลาในกลุ่มนี้ก็จะได้แก่พวก Lemon Peel Angelfish, Flame Angelfish ที่เป็นปลานอกราคาสูง หรือพวก Coral Beauty Angelfish (หมอม่วง), Eibli's Angelfish (หมอส้ม), Bicolor Angelfish ที่เป็นปลาบ้านๆราคาไม่กี่ร้อย  รายละเเอียดต่างๆ ดูเพิ่มเติมที่ Angelfish


Ecosystem  ระบบนิเวศน์ คือ ชุมชุมของสิ่งมีชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกัน
ELCB  ย่อมาจาก Earth Leakage Circuit Breake เป็นสวิทซ์ / สะพานไฟ / วงจร / คัตเอาท์ / เบรคเกอร์ ก็ตามแต่จะเรียกกัน สรุปก็คือเป็นอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับตัดวงจรเมื่อมีการรั่วไหลของกระแสไฟลงดิน มีขนาดการใช้งานให้เลือกเช่น 30mA คือเมื่อมีกระแสไฟรั่ว(กลับวงจรเดิมไม่ครบ)จนถึงจำนวน/ขนาดที่กำหนดไว้ก็จะตัดการทำงาน มักพบได้ตามอุปกรณ์ที่สัมผัสกับน้ำเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้าเป็นต้น  ในระบบตู้ทะเล เราน้ำเบรคเกอร์ชนิดนี้มาใช้เพื่อป้องการอันตรายที่เกิดจากไฟรั่วในตู้ครับ   การทำงานจะไม่เหมือนกันเบรคเกอร์ทั่วไปที่จะตัดการทำงานเมื่อกระแสไฟเกินนะครับ คนละตัวกัน เวลาทำแผงวงจรไฟ เลือกให้ถูกชนิดนะครับ สังเกตุตัว "ELCB" เป็นหลัก
Elegance Coral  เป็นปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ (LPS) ภาษาบ้านๆเรียกว่า "ไข่ปลาหมึก" เลี้ยงได้ไม่ยาก สังเคราะห์แสงเป็นหลัก เปราะบางซักหน่อยเวลาเคลื่อนย้ายให้เบาๆแต่ถ้าสภาพดีปกติ ก็เลี้ยงได้สบายๆครับ
Endangered Species  สิ่่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์
Endemic  ถิ่นที่อยู่อาศัย ที่ตั้งสถานที่ทางภูมิศาสตร์
Endosymbiosis  สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น
Estuary  ปากน้ำ...น้ำตรงที่น้ำจืดไหลลงทะเล .. 55
Euphyllia  สกุลของปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ (LPS) ในสกุลนี้ก็ได้แก่พวก แฮมเมอร์ ทอร์ช เกรป (แปลไทย) ฯลฯ
Extinct  สายพันธ์ที่ไม่มีชีวิตอยู่ต่อไป  สูญพันธ์รึเปล่าน้อ..


Family  มิได้แปลว่าครอบครัวในภาษาตู้ทะเล แต่จะเป็น "วงศ์" ของสิ่งมีชีวิต  พบบ่อยๆเวลาค้นหาแล้วเจอชื่อวิทยาศาสตร์ ก็จะมี "อาณาจักร-Kingdom" "อันดับ-Order" "วงศ์-Family" เป็นต้น ไว้จัดลำดับหมวดหมู่ของสิ่งมีชีิวิตว่าใครเป็นญาติกับใคร ทำนองนี้    ดูรูปการจัดลำดับชั้นได้ที่ ด้านล่างสุดเด้อ
Filter    ส่วนหนึ่งของระบบตู้ที่ใช้ในการทำความสะอาดหรือปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น ทั้งทางอุปกรณ์ ทางชีวภาพ หรือทางเคมี
Fin Rot    โรคครีบเปื่อย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยครีบจะมีอาการกร่อน เปื่อย
Fish Only    ปลาเท่านั้น --- ไม่ใช่สิ น่าจะหมายถึงปลาที่ควรจะเลี้ยงในตู้ที่มีเฉพาะปลาเท่านั้น (ไม่มีปะการัง หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง)
Fish Only With Live Rock    น่าจะหมายถึงปลาที่ควรเลี้ยงในตู้ที่มีเฉพาะปลาและมีการจัดหินเป็น
Flashing    ใช้อธิบายลักษณะการว่ายน้ำของปลาที่ว่ายแบบ รวดเร็ว - พุ่งไปอย่างเร็ว (ไม่ใช่ว่ายแบบปกติ) ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคจุดขาว
Flow Rate  อัตราการไหลเวียนของน้ำ โดยมากมักมีหน่วยเป็น L/Hr (ลิตร/ชั่วโมง) พบเห็นได้ส่วนมากตามปั๊มน้ำต่างๆและอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงจากปั๊มเช่นกัน การเลือกขนาด Flow Rate ควรอ่านฉลากก่อนใช้งานให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้นๆ
Fluorescent Light    ไฟฟลูออเรสเซนต์นั่นเองครับ น่าจะรู้จักกันนะ
Fluidized Bed Filter    เป็นการกรองน้ำโดยการให้น้ำผ่านมีเดียที่เป็นทรายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการสร้างแบคฯบนผิวทราย (เลียนแบบหาดทราย) เพื่อเพิ่มความสามารถในการบำบัดน้ำ แต่ควรจะมีการกรองหยาบก่อน เพื่อป้องกันการสะสมของตะกอนและกลายเป็นการหมักหมมสิ่งสกปรกไว้ และต้องมีการดูแลรักษาบ่อยหน่อย (ยุ่งยากไปไม๊เนี่ย)
Foam Fractionation    วิธีการนำเอาสารอินทรีย์ที่ละลายในน้ำด้วยการใช้ฟองอากาศ (โปรตีนสกิมเมอร์ที่เราใช้ๆกันก็ใช้วิธีนี้)
Frag    ชิ้นส่วนเล็กๆของปะการัง เนื่องจากปะการังมีราคาสูงเวลาซื้อขาย จึงทำชิ้นปะการังให้เล็กลงไงจ๊ะ
Fragging    เป็นการทำปะการังให้เป็นชิ้นๆ ไม่ว่าจะเพื่อขยายพันธ์ แบ่งออก เพื่อซื้อขาย โดยชิ้นส่วนนั้นๆต้องมีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้
Frogspawn Coral    ปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ชนิดหนึ่ง (LPS) มีทั้งแบบเป็น Wall และ Branch (หัวเป็นแผ่น หรือ หัวเป็นกิ่ง) สังเคราะห์แสงเป็นหลัก เลี้ยงไม่ยาก หากค่าน้ำปกติในระดับมาตฐาน
Fungia Coral  ปะการังโครงงแข็งโพลิปใหญ่ (LPS) หรือเรียกกันในภาษาบ้านว่า เพลด (Plate Coral) เลี้ยงได้ไม่ยาก ต้องการกระแสน้ำที่ไม่แรงเกินไป มักวางในตำแหน่งบริเวณด้านล่างของพื้นตู้
Full Spectrum Light    คือไฟที่มีคลื่นความถี่ของแสงครบถ้วน(ที่มองเห็นได้)ไล่ตั้งแต่สีม่วงไปจนถึงสีแดง ความยาวช่วงคลื่นอยู่ที่ประมาณ 380-750นาโนเมตร(nm)


GAC    เป็นตัวย่อของ Granular Activated Carbon ซึ่งเป็นใส้กรองในเครื่องกรองน้ำครับ
Genus    เป็นการจัดหมวดหมู่ ลำดับชั้น ของสิ่งมีชีวิต (ในทางวิทยาศาสตร์เด้อ) เช่นปลาการ์ตูน ก็จะอยุ่ใน Genus : Amphiprion เป็นต้น  ดูรูปการจัดลำดับชั้นได้ที่ ด้านล่างสุดเด้อ
GFCI    Ground Falut Circuit Interrupter เป็นวงจรป้องกันไฟรั่วชนิดหนึ่ง  จะตัดวงจรเมื่อมีกระไสไฟฟ้าไหลลงดิน
GDP    ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ที่มีความหมายถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเด้อครับ  ในทางตู้ทะเลเราใช้เป็นตัวย่อของ Gallon Per Day จะพบเห็นในเครื่องกรองน้ำ RO (Reverse Osmosis) ซึ่งจะมี 50GDP หรือไม่ก็ 75GDP มันคือ หน่วยที่เป็นแกลลอนต่อวัน   ส่วน1แกลลอน ถ้าเป็นหน่วยของฟากอังกฤษก็ = 4.546ลิตร  แต่ถ้าเป็นอเมริกาจะได้ 3.785ลิตร/1แกลลอน  ดังนั้น ถ้าตัวอย่างคือ 50GDP ก็จะเป็น 50*3.785 = 189.25ลิตรสูงสุดต่อวัน
GPH    Gallon Per Hour จะพบเห็นได้เมื่อเวลาอ่านเวปต่างประเทศ ซึ่งก็คือ อัตราการหมุนเวียนของน้ำกี่แกลลอน/ชั่วโมง  แต่บ้านเราเป็น L/Hr ถนัดกว่า
Gill  เป็นตัวละครในอนิเมชั่น Finding Nemo อีกตัว ถูกจับมาจากทะเลเช่นกัน ชื่อในวงการปลาบ้านเราคือ โนรีเทวรูป หรือ ผีเสื้อเทวรูป (Moorish idol--Zanclus cornutus) ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มปลาแทงก์ (Tang)  หาใช่ปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อไม่ แต่หน้าตาคล้ายกับ ปลาโนรี ซึ่งเป็นปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae--Heniochus spp.)  
Gills    เหงือกปลา  ไว้ดึงก๊าซอ๊อกซิเจนจากน้ำ ทำให้ปลาหายใจในน้ำได้ ไม่เหมือนเหงือกของคนที่มีไว้ยึดฟันไม่ให้เลื่อน-หลุด-ร่วง-ร่น
Goby  ปลาโกบี้ หรือ ปลาบู่ เป็นวงศ์(Family) ที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก(ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม)  เป็นปลากินเนื้อ (Canivore) หน้าตาใกล้เคียงกับ ปลาเบลนนี่ แต่ไม่ใช่นะ ต่างกันอย่างมากในเรื่องพฤติกรรม
Gonopodium    ครีบก้นที่มีการปรับเปลี่ยนเพื่อวัตถุประสงค์ในการสืบพันธ์
Gorgonian    กัลปังหา เป็นสายพันธ์ทีส่วนมากหาอาหารโดยการจับอาหารที่ลอยตามกระแสน้ำ ไม่ได้สังเคราะห์แสง  แต่ก็มีบางชนิดที่มี zooxanthellae ที่สามารถสังเคราะห์แสงได้

Green Water    น้ำสีเขียว ที่เกิดจากการที่น้ำมีสาหร่ายเซลล์เดียวสีเขียวจำนวนมาก เขาว่าไม่เป็นอันตรายกับปลา แต่ถ้ามีบูมขนาดนี้ คงมีสารอาหารเหลือเฟือให้ สาหร่ายและตะไคร่ในตู้เบิกบานได้เต็มที่แน่ๆ
GSP    สำหรับตู้ทะเลก็จะตัวย่อของ Green Star Polyps หรือ สตาร์ นั่นเอง ซึ่งเป็นปะการังโครงอ่อนชนิดหนึ่ง อาศัยการสังเคราะห์แสงเป็นหลัก  บางตู้ตั้งใจเลี้ยงเพื่อให้เป็นทุ่งหญ้าได้ สวยดี  มีหลายเฉดสี ไล่ตั้งแต่ เขี้ยวววเขียวไปจนน้ำตาล
จากรูปดูทางขวานะ ทั้งหน้าและหลัง โหดมาก


Habitat    ถิ่นที่อยู่อาศัย  เป็นตำแหน่งที่สัตว์หรือพืชอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ  ก่อนการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยง ควรมีการศึกษาถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก่อน เพื่อพยายามเลียนแบบหรือปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในตู้ให้ใกล้เคียงกับถิ่นอาศัยเดิม จะได้อยู่กันนานๆ
Hard Water    น้ำกระด้าง คือน้ำที่มีปริมาณสารต่างๆละลายปนอยู่มาก  น้ำกระด้างยังมี2ชนิดคือ น้ำกระด้างชั่วคราวและน้ำกระด้างค้างคืน  [on_048] เฮ้ย!!!ผิด  น้ำกระด้างถาวร  ซึ่งน้ำกระด้างชั่วคราวจะเป็นน้ำที่เกิดจากเกลือไบคาร์บอเนตเช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนต และ แมกนีเซียมไบคาร์บอเนต สามารถขจัดความกระด้างได้ง่าย โดยการต้มให้เดือด  ส่วนน้ำกระด้างถาวรจะมีสารเช่น แคลเซี่ยมซัลเฟต แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมไนเตรท แมกนีเซียมซัลเฟต แมกนีเซียมคลอไรด์ ไม่สามารถขจัดได้ด้วยการต้มเพียงอย่างเดียว
Heater    เครื่องทำน้ำให้อุ่น (ไม่ใช้คำว่าเครื่องทำน้ำอุ่นนะ เดี๋ยวจะกลายเป็นเครื่องในห้องน้ำไปซะ) ปกติบ้านเราไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ ยกเว้นบางปีที่มีอากาศเย็นมากๆ จนน้ำในตู้ต่ำกว่า25องศา ซึ่งเย็นเกินไปสำหรับการเลี้ยงตู้ทะเล จึงต้องมีการใช้อุปกรณ์นี้ช่วยรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้ต่ำจนเกินไป  ส่วนการใช้ฮีตเตอร์ควรเลือกใช้แบบมาตรฐานซักหน่อย มิฉะนั้นหากอุปกรณ์ขาดความแม่นยำมากเกินไป น้ำในตู้อาจสูงเกินจนส่งผลเสียได้ครับ  หากไม่แน่ใจควรใช้งานร่วมกับ Temp Controller (อุปกรณ์วัด-รักษาอุณหภูมิของน้ำ)
Herbivore    ปลาที่กินพืชหรือสาหร่ายเป็นหลัก เช่น ปลาแทงก์ หรือ ปลาเบลนนี่
Hermatypic Coral    เป็นปะการังที่สามารถสร้างเป็นแนว (Reef) ได้ โดยจะมี zooxanthallae อาศัยอยู่ในโพลิปของปะการังโดยการอาศัยอยู่ร่วมกันแบบ Symbiosis  มีการแพร่กระจายทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นเท่านั้น
HID   / High Intensity Discharge  หมายถึงไฟที่ปล่อยแสงที่มีความเข้มข้นสูง เช่น Metal Halide (เมทัลฮาไลด์)  อันนี้ต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่าสมัยก่อน ตัวเลือกของการเลือกใช้งานไฟมีไม่มากเท่าปัจจุบัน
Hermaphrodite    ปลาหรือสัตว์ที่มีทั้งอวัยวะเพศชายและเพศหญิงในการผลิตทั้งไข่และสเปิร์ม
HITH   / Hole In The Head  โรคหัวเป็นรู ลักษณะอาการที่มองเห็นได้คือ จะมีรูที่บริเวณหัว/หน้าของปลาและจะขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะเหมือนเนื้อ/กระดูกในบริเวณนั้นหายไป ซึ่งเมื่อหายแล้วก็ยังทิ้งรูไว้เช่นเดิม  เกิดจากโปรโตชัว
HO   / High Output  คือ ไฟฟลูออเรสเซนต์ที่มีความเข้มของแสงมากกว่าหลอดทั่วๆไป ปกติที่เห็นบ่อยๆในบ้านเราก็จะเป็นหลอดฟลูฯขนาด T5 ชนิด HO  ซึ่งนอกจาก HO แล้ว ก็ยังมีขนาด VHO (Very High Output) อีกด้วยซึ่งก็จะให้แสงที่มีความเข้มมากกว่า แต่ก็ใช้พลังงาน(เปลืองไฟ)มากกว่าด้วยเช่นกัน
Hospital Tank    ตู้พยาบาล มีความหมายใกล้เคียงกับตู้พักปลา (quarantine tank) ถ้าจะแยกให้ไม่เหมือนกันนะ แบบว่าตู้พยาบาลไว้รักษาปลาที่ป่วย ส่วนตู้พักปลาไว้สำหรับกักโรคเมื่อมีปลาใหม่  ส่วนมีอะไรในตู้บ้างเขาก็บอกไว้ว่า เป็นตู้โล่งๆ ไม่มีซับเสตรท(Substrate น่าจะหมายถึงว่าไม่มีการปูพื้นหรือใช้หินเป็นอาจจะเพราะจะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อหรือเคมี) อาจจะมีฮีตเตอร์(เพราะบ้านเขาหนาวแต่บ้านเราร้อน) มีที่ซ่อนให้ปลา(ใช้ท่อPVC)   มีไฟส่องสว่างให้  ปลาป่วยจะมาเก็บไว้ในตู้นี้เพื่อทำการรักษา เมื่อหายดีก็ปล่อยกลับตุ้เลี้ยง
HQI    เป็นตัวย่อของ High Quartz Iodide หมายถึง หลอดเมทัลฮาไลด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีทั้งแบบขั้วเดียวหรือแบบ2ขั้ว จะมีการเบิร์นเพื่อให้สว่าง และจะให้แสงที่เข้มกว่าหลอดเมทัลฮาไลด์ทั่วไป
Hybrid Fish    ปลาไฮบริด หรือ ปลาลูกผสม(ผมเรียกแบบนี้)  เป็นปลาที่เกิดจากการผสมระหว่าง2สายพันธ์ จะเห็นบ่อยๆในพวก แทงก์ (Tang) หรือ สินสมุทรแคระ (Dwarf Angelfish)
Emperor x Koran
Hydrometer    ไฮโดรมิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความหนาแน่นของของเหลว(Density)  หรือ วัดความถ่วงจำ (Specific Gravity) โดยอาศัยหลักการลอยตัวของวัตถุ (buoyant force) สำหรับตู้ทะเล อุปกรณ์ชนิดนี้ถูกนำมาใช้วัดเป็นค่าความเค็ม (วัดเกลือ/น้ำ) ซึ่งมีทั้งแบบแม่นยำมาก และ แม่นยำน้อย..555  ก่อนใช้ของถูกต้องไปหายืมของแพงมาเทียบเพื่อลดความผิดพลาด หรือแม้แต่ของแพงก็อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าแม่นยำ ทุกอย่างมีโอกาสผิดเพี้ยนได้เสมอครับ   ส่วนหน่วยการวัดก็จะมีทั้งแบบเป็น g/ml ก็จะเป็นแบบ 1.025  หรือแบบ ppt ก็จะประมาณ 30ppt อะไรประมาณนี้


Ich    รู้จักกันในชื่อของโรคจุดขาว  เป็นโรคปลาที่พบบ่อยมาก  ในน้ำจืด ich จะเป็นตัว Ichthyophthirius multifiliis  แต่ในน้ำทะเลจะเป็น Cryptocaryon  ลักษณะอาการของโรคที่สังเกตุเห็นได้ชัดคือจะเป็นจุด-เม็ดเล็กๆสีขาวกระจายอยู่ทั่วทั้งตัว จำนวนจุดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ  ซึ่งเป็นเพราะปรสิตได้อาศัยที่ผิวด้านนอกของปลาเป็นที่อาศัย(ชั่วคราว)   วงจรชีวิตของ Ich ก็จะมีหลายช่วงทั้งช่วงที่ล่องลอยตามน้ำหรือช่วงที่เกาะตามตัวปลา   รายละเอียดเพิ่มเติมรวมถึงวิธีการรักษา ต้องค้นหาต่อไป เดี๋ยวจะยาวเกิน ไม่ใช่ Dictionary ... 555
Ichthyologist    Ichthyology คือการศึกษาเกี่ยวกับปลา   ดังนั้น Ichthyologist คือบุคคลที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับปลา   ตามอควาเรี่ยมขนาดใหญ่ พิพิธภัณฑ์หรือมหาวิทยาลัย-บุคคลเหล่านี้ก็จะทำการศึกษา ระบุสายพันธ์ บันทึกข้อมูลพฤติกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัยของปลา
ID / Identification    การระบุสายพันธ์ประจำตัวสิ่งมีชีวิต
Inch Per Gallon    หมายถึงแนวทางการเลี้ยงปลา โดยใช้ขนาดของปลา 1นิ้ว ต่อน้ำ 1 แกลลอน ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เข้าท่า  หรือ แม้แต่การใช้แนวทางนี้ (ขนาดปลา/ปริมาณน้ำ) เพราะชนิดของปลาที่แตกต่างกัน ก็ต้องการขนาดของตู้(ปริมาณน้ำ)ที่แตกต่างกัน  กรุณาอย่าทำตามแนวทางนี้ (..จริงๆอยากบอกว่า "แล้วจะลงไว้ทำไม"  แต่เรื่องของเรื่องคือ "ผมดันไปแปลทำไม" มากกว่า)
Internal Aquarium Filter    กรองใน  ง่ายๆก็คือบริเวณพื้นที่ที่ใช้ในการกรอง(บำบัดน้ำ)อยู่ในบริเวณของตู้ ซึ่งรวมไปถึง กรองมุม หรือ กรองข้าง หรือ กรองหลัง
Invertebrate    สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง  สำรวจดูในตู้คร่าวๆ ก็พวก กุ้ง หอย ปู ปะการัง ดอกไม้ทะเล ซึ่งรวมไปถึง พอด และสัตว์ประหลาดต่างๆภายในตู้ ด้วยเช่นกัน
Iodine    ในตู้ทะเล ไอโดดายน์ (หรือ ไอโอดีนหว่า) เอาเป็นว่า มันมีความสำคัญกับปะการังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสามารถถูกปั่นออกมาจากสกิมเมอร์ได้  ซึ่งก่อนการเสริมไอโอดายน์ ควรใช้ชุดทดสอบก่อนการเติมลงในตู้   ปกติความเข้มข้นจะอยู่ในช่วง 0.03-0.06 mg/L (ppm)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07/07/15, [12:40:22] โดย bill2517 »
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #2 เมื่อ: 18/06/15, [13:03:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

J-Q


Jaubert System    ระบบโฌแบร์ (Jaubert) เป็นระบบการกรองชีวภาพที่พัฒนาขึ้นโดย ดร.ฌอง โฌแบร์ ในพิพิธภัณฑ์โมนาโก  สาระสำคัญของระบบนี้คือการใช้พื้นทรายหนา (Deep Sand Bed) ซึ่งภายใต้จะมี Plenum ซึ่งเป็นส่วนที่มีระดับอ๊อกซิเจนต่ำ ซึ่งจะเสริมกระบวนการ Denitrifying (เปลี่ยนจากไนเตรทเป็นไนโตรเจน)
(แก้ให้แล้วนะครับ จาก "ชาแบ" เป็น "โฌแบร์" ขอบคุณคุณ un_petit_garcon ที่แจ้งไว้ครับ)

K /  Kelvin   เป็นอุณหภูมิของแสงนะครับ ถ้าพูดกันในเรื่องของตู้ทะเล ซึ่งค่า K ก็จะไปเกี่ยวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งค่า K จะเป็นตัวบอกสีของหลอดฟลูออเรสเซนต์ เช่น 6500K=Daylight ออกสีขาวๆอมเหลือง เหมือนหลอดไฟบ้านทั่วไป  ถ้าซัก 10000K ก็จะเริ่มขาวขึ้น   ไล่ไปจน 20000K ก็จะเริ่มเป็นสีฟ้า ซึ่งอุณหภูมิของสีนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความแรง(กำลังไฟ)ของหลอดนะครับ

K / Potassium   Potassium เป็น Trace Element (แร่ธาตุรอง) ในน้ำทะเลจะมีโพแทสเซียมอยู่ในระดับ 392ppm ซึ่ง จากการค้นหาข้อมูลพบว่าโพแทสเซียมมีส่วนช่วยในเรื่องสีของปะการัง (บางที่บอกว่า แดง  บางที่บอกฟ้า-ม่วง ผมไม่ถนัดSPS ตอบไม่ได้ครับ) ซึ่งปกติโพแทสเซียมจะมีในเกลือสำเร็จรูปอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะเพียงพอโดยไม่ต้องเติมเพิ่มแต่อย่างใด ยกเว้นตู้ที่ดูแลเป็นพิเศษ หรือ ตู้ SPS ที่มีการใช้งานโพแทสเซียมมากกว่าตู้ปกติก็จะมีการเติมเพิ่ม (ก่อนการเติมควรมีการวัดค่าก่อนเติมทุกครั้งเพราะทุกอย่างที่มีมากเกินไปย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี)   การเติมโพแทสเซียมให้กับตู้ทะเลส่วนมากจะเติมในรูปของ Potassium Sulfate, Potassium Iodide, Potassium Chloride  แต่โดยปกติปุ๋ยของพืชก็จะเป็น N-P-K ซึ่งหากมากไปน่าจะมีผลกับสาหร่ายและตะไคร่เช่นกัน
Kalkwasser   เป็นภาษาเยอรมัน ซึ่งแปลว่า "lime water" หรือ Calcium Hydroxide หรือ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งใช้ควบคุมโดยระดับ pH  การเติมเพิ่มก็โดยการเติมแบบช้าๆ ซึ่งการเพิ่มแร่ธาตุโดยการใช้ Kalkwasser มีข้อดีคือ เพิ่มได้ทั้ง แคลเซี่ยมและKH
Kalk Reactor   อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสมน้ำและแคลเซียมไฮดรอกไซด์(kalkwasser) โดยใช้การเติมแบบช้าๆโดยอัตโนมัติ
KH   Karbonate Hardness หรือ ค่าความกระด้างของน้ำ หรือ ปริมาณคาร์บอเนตในน้ำ มีหน่วยวัดเป็น dKH มีความหมายคล้ายกับ Alkalinity
Krill   เป็นครัสเตเชี่ยนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในตู้ทะเลไว้เป็นอาหารเสริมของปลาและมีส่วนช่วยในเรื่องของสีปลา



Lateral Line    แนวเส้นด้างข้างของตัวปลา ไล่ตั้งหัวจนถึงหาง ใช้ในการตรวจจับการสั่นสะเทือน ดูภาพประกอบด้านล่างสุด
LED    ย่อมาจาก Light Emitting Diode  เป็นไดโอดเปล่งแสงชนิดหนึ่ง สำหรับวงการตู้ทะเลเพิ่งเริ่มนำมาใช้งานเมื่อประมาณปี 2007 ซึ่งสมัยแรกๆยังมีราคาสูง(มากกกก) และยังเป็นที่ถกเถียงกันเรื่องการตอบสนองของปะการังกับไฟชนิดนี้ ปัจจุบันมีราคาถูกลงจนสามารถจับต้องได้  กระแสเริ่มแรงขึ้นเนื่องจากให้ความสว่างสูง ใช้พลังงานต่ำ ให้ความร้อนต่ำ (กว่าระบไฟอื่นๆที่ใช้ในตู้ทะเล) และมีการค้นคว้าพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันได้จบลงที่หลอดชนิด Hi-Power LED ซึ่งให้ค่าความสว่างของแสงที่สูงกว่า LED ปกติ และมีหลายเสปคตรัมให้เลือกใช้งาน
LPH (L/H)    ย่อมาจาก Liters Per Hour หรือก็คือปริมาณลิตร/ชั่วโมง  ในตู้จะหมายถึงอัตราการไหลของน้ำผ่านอุปกรณ์ต่างๆ
LPS    หรือ Large Polyped Stony Coral  ซึ่งเป็นปะการังโครงแข็งโพลิปใหญ่ มีการสร้างโครงหินปูน (Calcium Carbonate) เพื่อเป็นกระโหลก (Skeleton) อาศัยอาหารจากการจับกินหรือสังเคราะห์แสง ขยายพันธ์ได้ทั้งแบบอาศัยและไม่อาศัยเพศ   ในระบบตู้ทะเลเราก็จะมีการเลี้ยงทั้งแบบต้องป้อนอาหาร หรือ แบบที่สามารถสังเคราห์แสงได้  บางชนิดก็เลี้ยงไม่ได้(ในระยะยาว)
Light Meter    เป็น อุปกรณ์วัดความเข้มของแสง ดูด้านล่าง LUX Meter
Limewood Diffuser    เป็นการใช้ลักษณะเหมือนหัวทรายแต่เป็นไม้ เพื่อผลิตฟองอากาศ บางครั้งก็ใช้ในสกิมเมอร์ หรือบางทีก็ใช้กับระบบการกรองใต้กรวด
Live Rock    หินเป็น เป็นเศษหิน ชิ้นส่วน ที่เคยเป็นโครงสร้างของแนวปะการังหรือกระโหลกของปะการัง  มีรูพรุนจำนวนมาก เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น เช่นพอดไปจนถึงแบคทีเรียทั้งชนิดที่อาศัยอ๊อกซิเจน และ ไม่อาศัยอ๊อกซิเจนในการดำรงชีวิต  เป็นหัวใจหลักของระบบกรองชีวภาพในตุ้ทะเล
Live Sand    ทรายเป็น ก็เป็นเศษของหินเป็นอีกที ... 55  เป็นทรายทะเล(เหมาะกับตู้ทะเลมากกว่า)ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเช่นกัน ทั้งมองเห็นและมองไม่เห็นเช่นเดียวกับหินเป็น เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของระบบกรองทางชีวภาพคล้ายกับหินเป็น  ผู้เลี้ยงบางครั้งปูพื้นทรายทั้งแบบบางๆ (Shallow Sand Bed) หรือ ปูพื้นทรายหนา (Deep Sand Bed) เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกันตามความต้องการของผู้เลี้ยง ที่ใต้ชั้นทรายหนา ก็ยังเป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรียที่ไม่อาศัยอ๊อกซิเจน เพื่อสร้างกระบวนการเปลี่ยนจากไนเตรทเป็นไนโตรเจนให้ระเหยออกจากตู้
Lumens    ลูเมน คือ จำนวนรวมขอปริมาณแสงที่ออกจากแหล่งกำเนิดแสง (สมัยก่อนวัดตัวนี้กันเยอะ เพราะการเลือกใช้งานไฟให้เหมาะสมกับตู้และปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับตู้ยังมีให้เลือกไม่มาก จึงวัดกันบ่อย)
LUX    ลักซ์ คือ การวัดความเข้มของแสง  ในแสงอาทิตย์(วันที่อากาศสดใส)จะมีค่าลักซ์ อยู่ที่ประมาณ 32,000ลักซ์  ซึ่ง 1ลักซ์=1ลูเมน/ตารางเมตร
LUX Meter    อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความเข้มของแสง บางท่านอาจจะต้องใช้วัดหากตุ้มีความลึกกว่าปกติ หรือ ระยะห่างจากไฟถึงผิวน้ำสูงกว่าปกติ เพราะใช้วัดความเข้มของแสงในแต่ละตำแหน่งของการวางปะการังในตุ้ ตำแหน่งไหนมีความเข้มของแสงเพียงพอให้ปะการังสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งปะการังแต่ละชนิด ก็ต้องการความเข้มของแสงที่แตกต่างกันไป


Magnesium (Mg)    แมกนีเซียมเป็น1ในสามองค์ประกอบที่สำคัญของน้ำทะเล  มีความเข้มข้นอยู่ในระดับ 1200-1300ppm  เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญในการรักษาระดับแคลเซียมและคาร์บอเนต  หากระดับแมกนีเซียมในระบบตู้ต่ำจะส่งผลกับระดับของ แคลเซียม และ คาร์บอเนต โดยตรง
Mantle    หมายถึง ด้านบน สีสัน ส่วนเนื้อของสายพันธ์หอยมือเสือ (Tridacnid Clam) ในเนื้อหอยจะมี zooxanthallae ซึ่งจะสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารหลักแก่หอยมือ
Mariculture    การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  เป็นการทำการเกษตรที่เกี่ยวกับการดูแล ผลิต เพิ่มจำนวนสัตว์น้ำ หรือ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังต่างๆ
Marine Biologist    นักชีววิทยาทางทะเล เป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทางทะลเ ซึ่งรวมถึงสัตว์ ปลา พืช สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ปะการัง ฯลฯ ที่อาศัยในทะเล
Machanical Filter    ระบบการกรองน้ำโดยใช้เครื่องกล เครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อบำบัดน้ำให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยการกรองเอาสิ่งต่างที่ไม่ดีออกไปก่อนเช่น เศษ ตะกอน ต่างๆ โดยการกรองหยาก แล้วจากนั้นก็ผ่านวัสดุการกรองอื่นๆเพื่อปรังปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นต่อไป
Metal Halide (MH)    เป็นไฟที่ให้ความเข้มของแสงสูงมาก (ดู HID ประกอบ)  ใช้สำหรับการเลี้ยงปะการัง (น้ำจืดก็ใช้) เพื่อทดแทนการใช้แสงจากดวงอาทิตย์ ให้ปะการังหรือพืชน้ำใช้ในการสังเคราะห์แสง ตัวโคมจะให้ความสว่างมาก แต่ก็จะแผ่ความร้อนออกมามากเช่นกัน  และเนื่องจากความร้อนที่สูงนี้เอง ทำให้อายุการใช้งานของหลอดสั้นลงจากความร้อน(ปกติเปลี่ยนที่ประมาณ6เดือน-8เดือน-ไม่เกินปี)  ส่วนแสงที่ได้จากหลอดชนิดนี้เป็นที่ยอมรับของนักเลี้ยงโดยทั่วไปว่า "ผ่าน" มีกำลังไฟให้เลือกหลายขนาดตามขนาดของตู้เช่น 150W 250W 400W และมีอุณหภูมิของแสง(K)ให้เลือกด้วยเช่น 14000K 20000K เป็นต้น
mg/L    เป็นหน่วยวัดชนิดหนึ่ง วัดว่ามีกี่ มิลลิกรัมต่อลิตร  เทียบได้ประมาณ ppm
Molybdenum    โมลิบดีนัม  เป็น แร่ธาตุรอง (Trace Element) ที่ถูกใช้เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของ zooxanthellae ปกติมีค่าประมาณ 0.01ppm
Montipora    ภาษาบ้านเรียกว่า มอนติ  ชื่อเต็มๆก็ มอนติโพรา  เป็น SPS (Small Polyp Stony Coral-ปะการังโครงแข็งโพลิปเล็ก) ชนิดหนึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงเพราะจัดว่าเลี้ยงง่ายในเหล่า SPS ทั้งหลาย (แต่ก็ไม่ง่ายซักทีเดียวถ้าคุณภาพน้ำและปัจจัยไม่ดีพอ)  มีหลากหลายสี มีทั้งแบบสีเดี่ยว หรือ สีผสม (เนื้อ-โพลิป)  มีรูปทรงแยกออกได้3ชนิดคือ
     - Montipora Capricornis จะเป็นแผ่นแบนๆ โตขึ้นเป็นชั้นๆ(บางคนมองเป็นดอกไม้ หรือ ดอกกุหลาบ)
  

     - Montipora Digitata จะมีรูปทรงเป็นกิ่งๆ
  

     - Montipora Spongodes เป็นรูปทรงกึ่งๆ คือ ที่ฐานก็เป็นแผ่น แต่จะมีกิ่งยื่นออกมาบนแผ่น
  
Mouth Brooder    ปลาที่อมไข่ไว้ในปาก ในน้ำจืดก็เช่นพวก ปลาหมอ Cichilds  ส่วนปลาทะเลก็จะเป็นพวก คาร์ดินัล (Cardinal Fish)
MTS (Multiple Tank Syndrome)    นั่งอ่านตั้งนาน นึกว่าโรคปลา กลายเป็นโรคของคนซะงั้น  มีอาการที่สังเกตุได้ไม่ยากครับ หลายท่านอาจเป็น  อาการสำคัญคือ อยากให้เงินออกเร็วๆ เห็นอะไรก็สวย อันนั้นก็อยากได้แต่รวมกันไม่ได้ หาทางออกไม่เจอ  พื้นที่ย้งว่าง  กระสับกระส่าย ต้องเพิ่มอีกตู้  ต้องจัดซักหน่อย  ต้องลองหาทาง ... ฯลฯ  ชื่อภาษาบ้านๆเรียกโรคชนิดนี้ว่า โรคตู้งอก   ยังไม่ทราบถึงต้นตอว่าเป็นเชื้อสายพันธ์ไหน  ติดต่อกันทางไหน   บางครั้งอาจพบการติดเชื้อแค่คนเดียว  บางครั้งพบการแพร่กระจายของโรคเป็นวงกว้าง    ยังไม่มียารักษาครับ  หากได้รับเชื้อไป ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานอาหารได้ไม่เต็มที่ (เนื่องจากเม็ดทรัพย์จาง)  บางรายของผู้ป่วยพบอาการปวดหัวแทรกซ้อน
Mutualism    เป็นรูปแบบของการ symbiosis ที่สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์กัน
Mysis Shrimp    สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในกลุ่มครัสเตเชี่ยน  ใช้เป็นอาหารของปลา  โดยเฉพาะ(ปลา)ม้าน้ำ.



nm    นาโนเมตร (nanometre หรือ nonometer)  เป็นหน่วยวัดความยาวของคลื่นแสง  ความยาวช่วงคลื่นในตู้ทะเลก็จะไปสังพันธ์กับ สเปคตรัมที่คลอโรฟิลล์ในพืชนำไปใช้ใน ซึ่งจะอยุ่ในช่วงประมาณ 420-660nm (ก่อนและหลังก็จะใช้แต่น้อยมาก) ซึ่งช่วงคลื่นหลักๆที่พืชดูดแสงได้ได้คลือช่วง 420-460nmในช่วงแสงสีน้ำเงิน(ซึ่งสามารถเดินทางทะลุผ่านน้ำได้ดีที่สุดลึกที่สุด) และ 620-660nmในช่วงแสงสีแดง ส่วนช่วงคลื่นระหว่าง 480-620nm จะเป็นช่วงคลื่นแสงสีเขียว-เหลืองพืชจะไม่ค่อยได้ใช้เพราะสารคลอโรฟิลล์ก็จะมีสีในช่วงนี้ ดังนั้นแสงในช่วงคลื่นนี้จะถูกสะท้อนออกไปหรือทะลุผ่านไป    ส่วนความยาวช่วงคลื่นที่มากกว่าหรือน้อยกว่า 400-700nm ส่วนมากจะไม่ใช่ช่วงคลื่นที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น อุลตร้าไวโอเลต(ก่อนสีม่วง) หรือ อินฟาเรด(หลังจากสีแดง) หรือ x-ray ฯลฯ
Nauplii    นอเพลียส จะใช้อ้างอิงถึงกุ้ง(ครัสเตเชี่ทะเลที่ฟักออกมาใหม่ เป็นช่วงของครัสเตเชี่ยนที่เริ่มว่ายน้ำอย่างอิสระ
Nematocyst    นีมาโตซิสต์ เป็นเซลล์ที่มีเข็มพิษ ของสัตว์ในกลุ่ม cnidarians (ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน) มีไว้เพื่อเป็นกลไลในการป้องกันตัว
Nemo    นีโม่ พระเอกของอนิเมชั่นเรื่อง Finding Nemo เป็นปลาการ์ตูน (clownfish,anemonefish) สายพันธ์หนึ่ง บ้านๆเรียกว่า ปลาการ์ตูนส้มขาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Amphiprion Ocellaris จัดอยู่ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) วงศ์ย่อย Amphirioninae  
        ลักษณะโดยทั่วไปประกอบด้วยลำตัวสีส้ม พาดกลางตัว 1-3แถบสีขาวขอบดำ  บางครั้งจะพบเป็นสีดำแถบขาว (ปลาการ์ตูนดำ) หรือ มีการผสมพันธ์โดยมนุษย์ได้เป็น ซุปเปอร์แบล็ค, snowflake, naked(ไม่มีแถบพาด) ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางการค้า
        เป็น Omnivore คือกินทั้งพืชและเนื้อเป็นอาหารหลัก นอกเหนือจากสายพันธ์ส้มขาว  แถวๆบ้านเราก็ยังพบอีก6ชนิด คือ ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง, ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ, ปลาการ์ตูนอานม้า, ปลาการ์ตุนลายปล้อง, ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง และ ปลาการ์ตูนแดง  ส่วนนอกเหนือจาก 6 ชนิดในแถวบ้านเรา ที่พบขายในตลาดก็ยังมี ปลาการ์ตูนทอง ปลาการ์ตูนเพอร์คูล่า เป็นต้น
        ส่วนลักษณะนิสัย ก็จะเป็นปลาที่มีความดูในระดับนึงทีเดียว(หน้าตาไม่ให้) มักพบเป็นคู่หรือกลุ่มเล็กๆ และมักพบอาศัยอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล(Sea Anemone) ซึ่งจะมีการหวนแหนที่อยู่อาศัยอย่างมาก   หากในกลุ่ม ตัวเมียซึ่งเป็นหัวหน้าตายไป ตัวผู้ที่ลำดับใหญ่ที่สุดก็จะสามารถเปลี่ยนเพศกลายเป็นตัวเมียได้ภายใน4สัปดาห์ครับ

NH3    แอมโมเนีย  ย้อนกลับไปดูที่ Ammonia ด้านบนๆครับ ตัว A
Nitrate / NO3    เป็นช่วงท้ายๆของวงจรไนโตรเจนในระบบตู้ ซึ่งมีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในตู้หากมีในระดับความเข้มข้นสูงเกินไป (แต่มีความเป็นพิษน้อยกว่าตัวอื่นๆในวงจร)  ต้องการกระบวนการ denitrification เพื่อเปลี่ยนรูปให้กลายเป็นไนโตรเจนออกไปจากตู้โดยอาศัย anaerobic bacteria    หากในระบบตู้ไม่มีพื้นที่ให้เป็นที่อยู่ของ anaerobic bacteria จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำเป็นระยะเพื่อลดความเข้มข้นของไนเตรทครับ
Nitrite / NO2    ไนไตร์ท เป็นช่วงหลังจากที่แอมโมเนีย แต่ก่อนจะเป็นไนเตรท ในวงจรไนโตรเจน  มีความพิษสูงกว่าไนเตรท แต่จะน้อยกว่าแอมโมเนีย หากมีความเข้มข้นในน้ำสูงหรือสะสมเป็นเวลานาน
Nitrogen Cycle   วงจร หรือ วัฎจักรไนเตรเจน  เป็นกระบวนการของตัว N ที่วนเวียนเปลี่ยนสภาพจาก สารโปรตีน-->แอมโมเนีย-->ไนไตร์ท-->ไนเตรท-->ไนโตรเจน ซึ่งมีตัวแบคทีเรียหลายชนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นตัวกลางในการแปลงสารจากตัวหนึ่งไปเป็นอีกตัวหนึ่ง  ดูเพิ่มเติมได้ที่กระทู้ปักหมุดครับ
NO    ตัวย่อของ Normal Output Fluorescent Lighting คือหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดให้ความสว่างปกติ (หลอดบ้านๆ) ซึ่งนอกจาก NO ก็ยังมีชนิด HO VHO ซึ่งมีความเข้มของแสงสูง--สูงมากตามลำดับ
Nocturnal    สัตว์ที่ออกหารกินเวลากลางคืน ในระบบตู้ทะเล ปกติในช่วงกลางวันก็จะเป็นกิจกรรมของสิ่งที่เราเลี้ยงส่วนมาก ทั้งปลา และ ปะการัง แต่เมื่อถึงเวลากลางคืน กิจกรรมในตู้ก็จะยังเกิดขึ้น ปลาหลับ ก้นตู้หด  ก็จะเป็นเวลาของสัตว์หลายชนิดเช่น กุ้ง หอย ปู พอด ที่ต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในช่วงมีแสงเพื่อดำรงชีวิต สัตว์จำพวกนี้ ปกติเวลากลางวัน(ช่วงมีแสง)จะพักผ่อน แอบ ซ่อน หาตัวไม่ค่อยเจอ
Nori    อาหารปลา (คนก็กิน) ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารหลัก (Herbivore) มักอยู่ในรูปแผ่น หลายท่านมักใช้เพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับปลา (อาหารหลักคืออาหารเม็ดสำเร็จรูป) เพื่อเสริมโภชนาการ  แปลบ้านๆคือ สาหร่ายโนริ
nsw    ตัวย่อของน้ำเกลือ (Natural Salt Water)
NTS / New Tank Syndrome    เป็นโรคชนิดหนึ่งของตู้ ซึ่งเกิดจากผู้เลี้ยงยังไม่เข้าใจ-ไม่คุ้นเคยกับ ระบบตู้ หรือ วงจรไนโตรเจน


Omnivore    สัตว์ หรือ ปลาที่กินทั้งพืชและเนื้อเป็นอาหารหลัก
Oodinium    เป็นเชื้อปรสิตชนิดนึงที่เห็นสาเหตุของโรค velvet disease หรือ ออดิเนียม เป็นเชื้อต้นเหตุของปลาน้ำจืด (Piscinoodinium หรือ Oodinium)   ในน้ำทะเลจะเป็นอีกตัวคือ Amyloodidium

Osmoregulation    เป็นกระบวนการของการควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือและน้ำ ซึ่งในปลาน้ำจืดและปลาทะเลก็จะมีความแตกต่างกันคือ ปลาน้ำจืดจะมีเกลือในเลือดประมาณร้อยละ1.4หรือต่ำกว่านี้ ส่วนปลาทะเลจะมีเกลือในเลือดประมาณร้อยละ3.5  ดังนั้นปลาน้ำจืดซึ่งมีเกลือในเลือดมากกว่าน้ำภายนอก น้ำจึงซึมผ่านทั้งเหงือกและเนื้อเยื่อต่างๆ(Osmosis) ทำให้ปลาน้ำจืดมีนำในร่ายการเพียงพอและต้องมีการ"ถ่ายเบา"น้ำออกมาเรื่อยๆมิฉะนั้นจะกลายเป็นลูกโป่งน้ำ  ส่วนในปลาทะเลจะกลับกันคือมีเกลือน้อยกว่าน้ำภายนอก ทำให้สูญเสียน้ำอยู่ตลอดเวลาทำให้ปลาต้องเก็บน้ำในร่ายกายให้เพียงพอ(ไม่งั้นจะเหี่ยว) ซึ่งไตปลา(ถูกปรับแต่งมาพิเศษ)ก็จะมีการ "ถ่ายเบา"เพื่อถ่ายน้ำออกจากร่ายการให้น้อยที่สุดและต้องถ่ายเกลือออกมาด้วย รวมถึงขจัดเกลือออกผ่านทางเหงือก
OTS / Old Tank Syndrome  โรคตู้เก่า(เกินไป) เป็นอาการของตู้(ตู้นะไม่ใช่ตัวใดตัวหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง) ที่เมื่อเลี้ยงไปในระยะเวลานานๆ พบกับอาการปลาในตู้ตาย ต่อเนื่อง หรือ ก้นตู้ที่บาน ลาม โตเรื่อยๆ อยู่ดีๆก็มาช๊อตไปเฉยๆ เริ่มมีปัญหา อาการแย่ลง    สาเหตุหลักน่าจะมาจากอาการละเลย ขาดการดูแลเหมือนเดิม ซึ่งเป็นผลให้ค่าต่างๆภายในตู้เริ่มปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่แย่ลง เช่น
     - Deep Sand Bed เพราะพื้นทรายเป็นจุดนึงที่มีการสะสมของตะกอนจำนวนมาก หากดูแลได้ไม่ดีในเวลานาน จะกลายเป็นที่สะสมของของเสีย สารพิษต่างๆ
     - การเปลี่ยนถ่ายน้ำ การที่เราเติมอะไรต่างๆลงไปในตู้ สะสมไว้เป็นเวลานาน สารเคมีส่วนนึงถูกใช้ไป แต่บางส่วนกลับไม่ได้ถูกใช้งานและสะสมจนมีความเข้มข้นมากเกินไปจนทำให้เกิดผลเสีย  หากไม่ได้มีการถ่ายน้ำเป็นประจำและสม่ำเสมอ  เช่นการเติม MG ลงไป ปกติก็จะใช้ Magnesium Chloride+Magnesium Sulfate ส่วนที่ถูกใช้ไปคือ Magnesium แต่ส่วนที่เป็น Sulfate หากสะสมมากๆเข้าโดยไม่มีการถ่ายน้ำเป็นประจำจะเกิดการสะสมของ Sulfate ในปริมาณมากๆ
ดังนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงอาการ OTS เจ้าของตู้ก็อย่าขี้เกียจครับ ดูแลอย่างสม่ำเสมอให้เหมือนกับช่วงเลี้ยงใหม่ๆ ขยัน เอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่พบกับอาการนี้ครับ
Overflow Box    อุปกรณ์ หรือ ชิ้นส่วนที่แขวน-ติดตั้ง อยู่บริเวณด้านข้างตู้เพื่อนำน้ำจากตู้หลักไปยังส่วนที่เป็นระบบกรองของตุ้ อาศัยหลักการของ "กาลักน้ำ" และมีการหยุด-ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อระดับน้ำสูงหรือต่ำกว่าระดับของ Overflow Box
 
Oxygen  / O2    ก็อ๊อกซิเจนนั่นแหละ  เป็นก๊าซที่มีไว้สำหรับหายใจ  ในปลาจะมีเหงือกเพื่อจับอ๊อกซิเจนที่ละลายในน้ำ  ดังนั้นหากระดับอ๊อกซิเจนในน้ำต่ำ ปลาจะมีการลอยขึ้นผิวน้ำเพื่อช่วยหายใจ และอุณหภูมิของน้ำก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับอ๊อกซิเจนด้วยคือน้ำที่เย็นกว่าจะสามารถรักษาระดับอ๊อกซิเจนได้ดีกว่าน้ำที่อุณหภูมิสูง (เวลาแพ็คปลา-ก้นตู้ ใส่ลังโฟมจึงนิยมแถมน้ำแข็งด้วยเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในให้ไม่สูงจนเกินไป)  ส่วนในระบบตู้ทะเลเราไม่ได้ใช้หัวทรายฟู่ๆเพื่อแลกเปลี่ยนอ๊อกซิเจน เพราะการหมุนเวียนของน้ำภายในตู้+น้ำไหลลงท่อต่างๆ+สกิมเมอร์ก็มีการแลกเปลี่ยน-เพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำได้เพียงพอแล้ว
Ozone  / O3    โอโซน เป็นก๊าซที่ไม่เสถียร บางครั้งในระบบตู้ทะเลใช้เพื่อเพิ่มปริมาณการละลายของอ๊อกซิเจนในน้ำ หรือ ใช้งานร่วมกับสกิมเมอร์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการฆ่าเชื้อ


Parasitism    เป็นรูปแบบหนึ่งของ sysbiosis ซึ่งสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้รับประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยจะทำความเสียหายให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆด้วย
PC    ไม่ใช่ Personal Computer ที่เกี่ยวกับทะเลคือไว้ใช้ค้นหา-โต้ตอบตามหน้าเวปและแอปฯต่างๆ  แต่เป็นคำย่อของ Power Compact Fluorescent Light หรือหลอดฟลูฯชนิดหนึ่ง ยกตัวอย่างง่ายๆก็จะเป็นพวก หลอดตะเกียบ หรือ หลอด PL ที่ใช้ๆกัน
pH    พีเอช ค่าความเป็นกรด-เบส ในระบบตู้ทะเลจะพบบ่อยมากๆ เพราะเกี่ยวข้องกันโดยตรงกับตุ้ทะเล ในตู้ทะเลความมี pH อยู่ในระดับ 8-8.5 บางทีก็ 8.1-8.4  จะอย่างไรก็ช่าง เรามีหน้าที่รักษาค่านี้เอาไว้   ในระหว่างวัน pH จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดแต่จะอยุ่ในช่วงแคบๆ เช่น กลางวันระดับ pH ก็จะสูงหน่อย เพราะปลาและสิ่งมีชีวิตหายใจแต่พืชจะเอาคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงและได้อ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้นให้ตู้  แต่ช่วงกลางคืน ทั้งพืชและสิ่งมีชีวิตทุกอย่างหายใจล้วนๆทำให้มีระดับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูงกว่ากลางวัน ค่าน้ำจึงเป็นกรดมากขึ้น pH ในตู้ก็จะต่ำลงนิดนึง  ดังนั้นเวลาวัด pH ให้วัดในเวลาประมาณเดียวกันทุกครั้ง เพื่อความแม่นยำครับ
Phosphage / PO4    ฟอสเฟต ประกอบไปด้วย ฟอสฟอรัสและอ๊อกซิเจน เป็นแร่ธาตุหลักทีพืช(สาหร่ายด้วย)ใช้ในการเจริญเติบโต  นักเลี้ยงทุกคนพยายามหลีกเลี่ยงฟอสเฟต เนื่องจากหากมีในระบบมาก จะส่งผลกระทบที่ไม่ดีหลายอย่างเช่น ตะไคร่สวยงาม หรือ สีปะการังคล้ำไม่สวยสด ตู้ดูไม่สวยงาม  การหลีกเลี่ยงฟอสเฟตทำได้โดยใช้น้ำกรอง(RO-RO/DI) อาหารปลาก็เบาๆมือหน่อย  ส่วนการกำจัด-ลดฟอสเฟตที่ตกค้างในตู้ก็ทำได้หลายอย่างเช่น เลี้ยงสาหร่ายเพื่อแย่ง-ดูดฟอสเฟตไปใช้ หรือใช้ ฟอสเฟตรีมูฟ
Piscinoodinium    เป็นเชื้อปรสิตเวอร์ชั่นน้ำจืด ที่เป็นสาเหตุของโรค Velvet disease หรือ ออดิเนียม  ในปลาทะเลจะเป็นเชื้ออีกตัวคือ Amyloodidium
Plenum    ส่วนมากมักใช้กับตุ้ทะเล  เป็นส่วนที่อยู่ด้านใต้พื้นทรายหนามีปริมาณอ๊อกซิเจนน้อย-ไม่มี ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นระบบการกรองชีวภาพที่อาศัยของแบคฯที่ไม่อาศัยอ๊อกซิเจน ที่มีหน้าที่เปลี่ยนจากไนเตรทให้เป็นก๊าซไนโตรเจนระเหยออกไปจากระบบ
Power Filter    เป็นกรองถัง หรือ กรองแขวน หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันอยู่ด้านบนของตู้หรือแขวนกับตู้..555  ทำงานโดยการดึงน้ำขึ้นไป-เข้าไปในส่วนกรอง  ส่วนพื้นที่กรองก็จะประกอบด้วย ใยกรองหยาบ-->มีเดียต่างๆ แล้วก็ไหลกลับคืนสู่ตู้เลี้ยง  กรองชนิดนี้นิยมใช้กันมากเพราะราคาไม่แพง ดูแลง่ายได้ผลดี สิ่งสำคัญคือการดูแลใยกรองหยาบเพื่อลดภาระของระบบกรองชีวภาพ
Power Head    บ้านๆแบบผมเรียกว่า ปั๊มน้ำครับ ไม่ขออธิบายมาก คร่าวๆคือ มันใช้เพื่อหมุนเวียนน้ำ อัตราส่วนประมาณ10เท่าของปริมาณน้ำรวมในตู้เมื่อใช้เป็นปั๊มหลัก  และกำลังของปั๊มที่ต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นเช่น ชิลเลอร์ รีมูฟเวอร์ ฯลฯ ให้ดูฉลากของอุปกรณ์นั้นๆว่าต้องการอัตราการไหลของน้ำแค่ไหน ก็จัดไปครับ
PPM    ตัวย่องของ Parts Per Million  เป็นหน่วยวัดหนึ่งที่พบบ่อย มีค่าเท่ากับ mg/L
Protein Skimmer    ปกติเขาเรียกสั้นๆว่า สกิมเมอร์ หรือ สกิมฯ นะครับ  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดึงสารอินทรีย์ที่ละลายในน้ำออก โดยใช้กระบวนการ foam fractionation (ใช้ฟองอากาศ)   การทำงานก็คือ ดูดน้ำเข้าไปผสมกับอากาศเป็นฟองเม็ดเล็กๆ  ฟองอากาศก็จะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำในกระบอก มันก็จะเหน็บสารอินทรีย์ขึ้นไปด้วย  ฟองอากาศดันขึ้นอย่างต่อเนื่อง-สารอินทรีย์ก็ถูกดันขึ้นไปด้วยพร้อมกัน มากๆเข้าก็จะเริ่มมองเห็นจากของเหลวเริ่มเป็นของไม่เหลว และถูกดันไปเก็บไว้ในถ้วยด้านบน เพื่อรอการนำไปทำความสะอาด   เป็นการตัดตอนกระบวนการวงจรไนโตรเจนออกตั้งแต่ต้นทางคือยังไม่กลายเป็นแอมโมเนีย   ปกติการเลือกขนาดสกิมเมอร์(ที่มีประสิทธิภาพดี)เพื่อใช้งานในตู้ คิดอัตราส่วนก็ประมาณ 1-3เท่าของน้ำในตู้ เช่น น้ำ400ลิตร ก็เลือกใช้รุ่นประมาณ 400-1200ลิตร
Protogynous Hermaphrodite    เป็นการเปลี่ยนเพศ เช่นเปลี่ยนจากเพศเมียเป็นเพศผู้ หรือจากเพศผู้ไปเป็นเพศเมีย กระบวนการเปลี่ยนแปลงสามารถใช้เวลาหลายสัปดาห์จนถึงเป็นเดือนจนเสร็จสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น ปลาการ์ตูน เมื่อตัวเมียจ่าฝูงตาย ตัวผู้ที่ลำดับใหญ่ที่สุดก็จะเปลี่ยนเป็นตัวเมียแทน
Pulsing Xenia    บ้านเราเรียกการหุบๆอ้าๆของโพลิปว่าการ "ปั๊ม" ดังนั้น จืงหมายถึง ซีเนีย(ปะการังอ่อนชนิดหนึ่ง)ที่ปั๊มได้  เป็นชื่อเรียกรวมๆของกลุ่มปะการังอ่อนชนิดนี้   มีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวกับอาการ "ปั๊ม" ของซีเนียบ้างก็ว่าเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนอ๊อกซิเจนหรือก๊าซ บ้างก็ว่าไว้กรองสารอาหารแร่ธาตุ ฯลฯ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ มันสวยดีและน่าสนใจ
จาก reefBuilders.com


Quarantine Tank    ตู้กักโรค  เป็นตู้โล่ง ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มาใหม่ ทั้งปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นเวลาสั้นหรือแม้แต่หลายสัปดาห์  เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ-สังเกตุว่ามีศัตรูหรือโรคต่างๆติดมาด้วยหรือไม่  ตู้กักโรคสำคัญมากหากท่านไม่ต้องการปวดหัว-สูญเงิน  ซึ่งนอกจากจะไว้กักเพื่อตรวจสอบอาการแล้วยังช่วยให้ปลาที่ปรับตัวช้าสามารถค่อยๆปรับตัวหรือเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดได้มากขึ้นด้วยหากได้รับอาหารที่ดีและเพียงพอก่อนปล่อยลงสู่ตู้เลี้ยงจริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04/09/15, [09:43:36] โดย bill2517 »
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #3 เมื่อ: 18/06/15, [13:04:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

R-Z


RBTA   / Rose Bubble Tip Anemone  แอนนมแดง  (เรียกกันซะน่าเกลียดเลย..55)  เป็นแอนนิโมน(ดอกไม้ทะเล)ชนิดหนึ่ง เขาว่ามันเดิน(ย้ายก้น)น้อยกว่าแอนนิโมนชนิดอื่น อาศัยการสังเคราะห์แสงเป็นหลัก ต้องการไฟที่มีความเข้มข้นสูง  ต้องการกระแสน้ำที่ดี (ไม่แรงแต่ไม่เบาเกินไป)เพื่อพัดพาเอาของเสียออกจากตัว และ นำเอาสารอาหารไปให้  สามารถเพาะพันธ์ได้ในระบบปิดโดยการหั่น  หรือ รอเวลาให้มันแบ่งตัวเอง  บางท่านเลี้ยงได้ไม่ดีก็กลายเป็น "แอนนมยาย" แทน คือไม่เป็นนมสาว ไม่เต่งดึง เรียกนมชนิดนี้ว่า "นมหมดอายุ"

Reef Tank    ตู้ปะการัง เป็นการแยกประเภท ว่าตู้นี้กำหนดไว้ว่าจะเป็นตุ้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง/ปะการัง  ตู้ชนิดนี้แตกต่างจากตู้ปลาล้วน เช่น-ไฟ ต้องเป็นไฟที่สามารถให้ปะการังน้ำไปสังเคราะห์แสงได้ -อุณหภูมิ ต้องกำหนดให้ไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส และจะต้องมีของเสียอยู่ในเกณฑ์ต่ำ(กว่าปลาล้วน) มีค่าต่างๆเช่น ความเค็ม เคมี ที่เหมาะสมที่ต้องคอยดูแลให้คงที่อย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งฟังดูเหมือนจะยากแต่ว่าไม่ยากอย่างที่คิดเพราะค่าของเสีย หรือค่าต่างๆในน้ำ ปกติแม้จะเลี้ยงปลาล้วนก็ควรต้องดูแลเปลี่ยนน้ำเป็นประจำอยู่แล้ว  เหลือที่ต้องดูแลเพิ่มคือส่วนของไฟและอุณหภูมิที่เพิ่มเติมจากปลาล้วน
Refractometer    เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความเค็มของน้ำ โดยการหยดน้ำลงไปที่พื้นผิวแล้วส่องกับแสงไฟ  ภายในจะมีการให้แสงผ่านน้ำแล้วก็หักเห แล้วก็อะไรก็ไม่รู้จนเป็นระดับให้คนสามารถอ่านค่าได้ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้จะมีความแม่นยำมากกว่าอุปกรณ์ชนิดวัดความหนาแน่นของน้ำโดยอาศัยการลอยตัวของวัตถุ (พวกวัดแบบตวง หรือ แบบกระบอก หรือ แบบปรอท)

Refugium    เป็นพื้นที่ที่แยกออกจากส่วนพื้นที่เลี้ยงแต่น้ำยังมีการเชื่อมถึงกัน  ใช้ในการเป็นที่หลบภัย(ตามคำแปล) หรือ ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆเช่น เลี้ยงสาหร่ายเพื่อดูดซับของเสียส่วนเกินในระบบ ใช้เป็นที่สร้างพอดหรือสร้างอาหาร(สาหร่าย)เพื่อให้ปลาได้ประโยชน์ หรือ ใช้เป็นที่แยกปลากรณีที่มีปัญหา หรือ ฯลฯ ตามที่คุณต้องการให้มันเป็น
Respiration    ระบบหายใจ  เป็นกระบวนการของปลาที่ดึง-แยกอ๊อกซิเจนออกจากน้ำเพื่อให้มีชีวิตอยู่
RO / Reverse Osmosis    เป็นกระบวนการกรองน้ำที่นำน้ำผ่านเมมเบรน(ใส้กรองชนิดหนึ่ง)  ส่วนที่สามารถผ่านเมมเบรนออกไปได้ จะมีความบริสุทธิ์ถึง 90% ของน้ำประปาปกติ สามารถใช้ดื่มได้  แร่ธาตุต่างๆส่วนเกินจะถูกกรองออกไปจนสามารถนำมาใช้เพื่อผสมกับเกลือเพื่อผลิตเป็นน้ำทะเล(เทียม) ได้อย่างสบาย ทำให้ลดปัญหาของตะไคร่ได้ระดับหนึ่ง(สูง)ทีเดียวเพราะแร่ธาตุที่เกินความจำเป็นหรือสปอร์ของตะไคร่ได้ถูกกรองออกไป   บางครั้งมีการใช้งานร่วมกับ DI (Deionization) เพื่อให้ได้น้ำที่บริสุทธิมากขึ้น
Ricordea Florida    เห็ดฟลอริด้า เป็นปะการังอ่อนชนิดหนึ่ง (ซึ่งออกกึ่งๆว่าจะเป็นปะการังหรือเป็นแอนนิโมน) มีสีสันสวยงาม หน้าตาจะคล้ายกับเห็ด Yuma แต่ผิดกันตรงที่ตำแหน่ง-ขนาด-การจัดเรียงของตุ่มบนผิวที่แตกต่างกันนิดหน่อย  ราคาสูง   สังเคราะห์แสงเป็นหลัก ต้องการไฟที่มีระดับความแรง(เข้มข้น)กว่าเห็ดผิวเรียบทั่วไป(มันคนละสายกัน) สามารถเพาะพันธ์ได้ในระบบปิด

หาอ่านเพิ่มเติมความต้องการของเจ้าเห็ดนี้ได้ที่   FAQ ปะการังอ่อน Soft Coral
Rock Scaping    การจัดวางหิน การเรียงหิน เพื่อประโยชน์คือความสวยงาม และ ตำแหน่งการวางของปะการัง รวมถึง เกี่ยวข้องกับการได้กระแสน้ำที่ดี หากการจัดเรียงได้ดี


Salinity    หน่วยในการวัดความเค็ม หรือวัดปริมาณเกลือที่ละลายในน้ำทะเล
Sensile    หมายถึง ชิ้นส่วน หรือ อวัยวะ ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง(ก้นตู้) ที่สามารถเคลื่อนที่อย่างอิสระ เพื่อลอยไปยึดเกาะกับพื้นผิวอื่นๆ เช่น หิน ทราย ฯลฯ ในตู้
Skimmer  รบกวนขึ้นไปดูตัว P - Protein Skimmer ครับ
Spawn    การวางไข่ (ของปลา) เพื่อรอการผสมพันธ์
Specific Gravity    ความถ่วงจำเพาะ คือ อัตราส่วนของน้ำหนัก เมื่อเทียบกันของน้ำหนึ่งลิตรกับสารบางอย่าง  การวัดความถ่วงจำเพาะสามารถใช้แทนด้วย Hydrometer ซึ่งในน้ำทะเลจะมีความถ่วงจำเพาะอยุ่ที 1.021-1.025
Spirulina    สาหร่ายเกลียวทอง เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน  ใช้เป็นอาหารปลาครับ
Sponge Filter    กรองฟองน้ำ  เป็นการกรองในตู้ที่นิยมมาก(ตามร้านปลา...555) เพราะง่ายในการดูแลรักษาและทนทาน  จะทำหน้าที่กรองตะกอนหยากต่างๆ และภายในฟองน้ำก็ยังเป็นพื้นที่สำหรับอาศัยของแบคทีเรียในระบบการกรองชีวภาพอีกด้วย  แต่คงไม่เหมาะกับตู้ทะเลมากนัก เพราะพื้นผิวน้อยไปนิด ไม่เหมาะกับการอยู่ยาวๆ หรือ การใช้เลี้ยงจริง
SPS / Small Polyped Stony Coral    ปะการังโครงแข็งโพลิปเล็ก เป็นปะการังชนิดที่มีโครงสร้างของหิน เพื่อเป็นที่อาศัยและป้องกันภัยจากภายนอก อาศัยอาหารจากการสังเคราะห์แสงและการจับอาหารที่ลอยตามกระแสน้ำ  ขยายพันธ์ได้ทั้งแบบอาศัยและไม่อาศัยเพศ  ตัวอย่างเช่น มอนติ(Montipora)  อโคร(Acrioira) สไตโล(Stylophora) มิลลิ(Millepora) เป็นต้น
Strontium    แร่ธาตุรอง (trace element) ในน้ำทะเลที่ช่วยในการเจริญเติบโตของสาหร่าย Calcerous ซึ่งมีส่วนในการช่วงสร้างโครงปะการัง  ปกติ Strontium จะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 8ppm
Substrate    พื้นผิว ในตู้ทะเลน่าจะหมายถึงส่วนล่างของตู้ หรือหมายถึงส่วนที่ปูพื้นตู้ ซึ่งปกติมักเป็น ทรายทะเล หรือ กรวดปะการัง
Sump    ส่วนที่เชื่อมต่อกับตู้หลัก มักถูกซ่อนไว้ด้านหลังหรือด้านล่าง เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้น หรือ ใช้วางอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ต้องการแสดงในตู้เลี้ยงเช่น สกิมเมอร์ ฮีตเตอร์ รีมูฟเวอร์ ฯลฯ แปลเป็นภาษาบ้านๆเข้าใจง่ายๆได้ว่า "กรองล่าง"
Surgeonfish    เป็นชื่อเรียกของวงศ์ปลา (species) แทงก์ หรือ เซอร์เจี้ยน  ที่มีชื่อว่าเซอร์เจี้ยน เพราะที่บริเวณฐานของคอดหางจะมีลักษณะเหมือนใบมีด (ไว้ป้องกันตัว) เป็นปลาที่ปกติกินพืชเป็นอาหารหลัก (Herbivore)  ด้วยความที่กินเก่ง และ ผลิตของเสีย(อึ) ได้จำนวนมาก ระบบตู้ควรมีความเสถียรซักหน่อยเพื่อรองรับปริมาณของเสียจำนวนมากจากปลาชนิดนี้ อายุตู้อย่างต่ำควรจะซัก 6 เดือนขึ้นไปครับ ดูรายละเอียดประกอบกับ T - Tang ด้านล่าง
Symbiosis    เป็นสิ่งมีชิวิต2ชนิดที่มีการอาศัยซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด  ประเภทของ Symbiosis ก็ได้แก่ mutualism, commensalism, parasitism, amensalism, neutrailism และ competition


T5 HO    เป็นชนิดของหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดหนึ่ง ที่มีความเข้มของแสงสูง ขนาดเส้นผ่าศุนย์กลางของหลอด=5/8นิ้ว ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไฟบ้าน (T12-T8) แต่ไฟชนิดนี้ต้องใช้บัลลาสต์คนละชนิดกับหลอดไฟบ้าน (ปกติใช้บัลลาสต์อิเลคโทรนิคส์ ส่วนหลอดไฟบ้านทั่วไปมักใช้บัลลาสต์ขดลวด) แต่ก็จะใช้พลังงานมากกว่าหลอดไฟบ้านทั่วไปด้วยเช่นกัน ด้วยขนาดหลอดที่เล็กกว่า ทำให้สามารถจัดเรียงหลอดเพิ่อใช้งานกับตู้ได้มากกว่าหลอดไฟบ้าน  สามารถเลือกผสมสีได้ตามความต้องการ และ ก้นตู้นำไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้อย่างเพียงพอ
TDS    เป็นตัวย่อของ "Total Dissolved Solids" คือการวัดปริมาณของแข็ง(ตะกอน)ที่อยู่ในน้ำ  ส่วน TDS Meter นักเลี้ยงบานท่านก็เอามาวัดน้ำกรองว่าเครื่องกรอง/ใส้กรองยังทำงานได้ดีหรือปกติอยู่รึเปล่า
Tang    เป็นสายพันธ์ปลาทะเลที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ Tang หรือ Surgeonfish เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารหลัก (Herbivore) บางชนิดก็เลี้ยงง่าย  แต่ก็มีบางชนิดที่เลี้ยงยาก (ภาษาบ้านๆเรียก ปลาปราบเซียน)   จัดอยู่ใน Family : Acanthuridae ซึ่งจะมี Genus หลักๆได้แก่
     - Acanthurus เช่นพวก พาวเดอร์บลู, พาวเดอร์บราวน์, เซอร์เจี้ยน(clown tang) หรือ ออเรนโชเดอร์  
     - Zebrasoma  เช่นพวก เบบี้แทงก์, เยลโล่, เพอเพิ่ล  
     - Ctenochaetus  เช่น โทมินิแทงก์, โคลแทงก์
     - Naso  เช่น นาโซ่, ยูนิคอร์น
     - Paracanthurus บลูแทงก์ (ท้องขาว-ท้องเหลือง)  
     - Zanclus โนรีเทวรูป
  อ่านเพิ่มเติมและภาพประกอบได้ที่ FAQ ปลา
Taxonomy    คือการแบ่งประเภทในการตั้งชื่อตามสายพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในทางวิทยาศาสตร์
Temperature    อุณหภูมิ ในตู้ปลาทะเล เราจะมีการกำหนดอุณหภูมิของน้ำภายในตู้เลี้ยงเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งที่เลี้ยง ปกติก็จะเป็น องศาฟาเรนไฮต์ และ องศาเซลเซียส (บ้านเราใช้เซลเซียส)  การที่อุณหภูมิภายในตู้สูงหรือต่ำเกินไป อาจจะทำให้ไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงสิ่งมีชีวิตบางอย่างเช่นเกิน30องศาเซลเซียสไม่เหมาะกับการเลี้ยงก้นตู้  หรือ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงมากเกินไป-บ่อยเกินไปในระหว่างวันก็จะส่งผลกับสิ่งที่เลี้ยงทำให้อ่อนแอ  การควบคุมอุณหภูมิในตู้เลี้ยงทำได้โดยอาศัย Temp Controller ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่วัดอุณหภูมิและทำงานเมื่อถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้  ใช้งานควบคู่กับ ชิลเลอร์ ฮีตเตอร์ หรือพบเดี่ยวๆต่อพ่วงกับอุปกรณ์เช่นพัดลม
Temp. Controller  เป็นอุปกรณ์กำหนดการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ เมื่อถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้  หน้าตาก็แนวๆนี้
Timer    เครื่องตั้งเวลา  ใช้สำหรับกำหนดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงาน-หยุดการทำงาน เมื่อถึงเวลาที่ตั้งไว้ เช่น ระบบไฟ  จะมีแบบดิจิตอล กับ แบบหมุนๆ ซึ่งแบบดิจิตอลก็จะละเอียดหน่อย ตั้งหน่วยเวลาได้ละเอียดกว่าแบบหมุนๆ และมีถ่านในตัวทำให้เวลาเดินตลอดไม่มีการหยุด(ยกเว้นถ่านหมด) แต่ราคาก็สูงกว่าครับ   และมีทั้งแบบเสียบกับเต้าเสียบโดยตรง หรือ แบบใช้ต่อกับแผงไฟ ก็เลือกใช้งานเอาครับ
 
Trace Elements    แร่ธาตุรอง  ในน้ำทะเลจะมีแร่ธาตุหลัก เช่น ครอไรด์, โซเดียม, ซัลเฟต, แมกนีเซียม, ไบคาร์บอเนต, แคลเซียม, โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุหลัก  ส่วนพวกแร่ธาตุรองก็ได้แก่ เหล็ก ไอโอดายน์ โมลิปดีนัม โบรอน สังกะสี โบรมาย โคบอลท์ ฯลฯ ซึ่งความเข้มข้นของแร่ธาตุรองก็จะมีความเข้มข้นน้อย แต่ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของน้ำทะเลและถูกนำไปใช้ครับ  การเสริมแร่ธาตุรองที่ง่ายที่สุดคือ เปลี่ยนน้ำครับ
Triggerfish    สายพันธ์ปลาทะเลชนิดหนึ่ง เรียกกันภาษาบ้านๆว่า ปลาวัว  เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหารหลัก (Carnivore) หน้าตารูปร่างแปลกตา แต่มีความดุในระดับนึง พวกกุ้งหอยปูปลาเล็กปลาน้อยควรระวังไว้ ตัวอย่างของปลาในกลุ่มนี้ได้แก่ Clown Triggerfish  ปลาวัวตัวตลก,  Picasso Tringger ปลาวัวปิกัสโซ่ เป็นต้น ภาพประกอบและรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ FAQ ปลา
Trickle Filter    เป็นการกรองชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยส่วนที่เปียกและแห้ง (Wet-Dry Filtration)  อาศัยการหยดลงของน้ำไหลผ่านไบโอบอล(หรือมีเดียชนิดอื่น) โดยบางส่วนของมีเดียมีการสัมผัสกับอากาศโดยตรง  เป็นการกรองที่อาศัยการกรองแบบชีวภาพ
Tubifex Worm    ใส้เดือนน้ำ  เป็นอาหารปลาชนิดหนึ่ง ที่ให้โปรตีนและสารอาหารอื่นๆสูง    เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นสัตว์พวกหนอนปล้องชนิดหนึ่งอาศัยตามแหล่งน้ำจืดต่างๆขุดรูหรือหลอดในโคลน หัวอยู่ด้านล่างโผล่แต่หาง(ส่วนท้าย)ออกมา โบกไปมาเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำเพื่อหายใจ  มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าหนอนแดง แต่สกปรกซักหน่อย ต้องทำความสะอาดหลายๆครั้งและเก็บรักษายากเพราะต้องให้อ๊อกซิเจนตลอดเวลา  บางครั้งถูกนำไปแปรรูปให้แห้ง-แช่แข็งเพื่อง่ายต่อการเก็บรักษา
Turn Over    การหมุนเวียนของน้ำ ในระบบตู้ทะเลจะหมายถึงอัตราการไหลของน้ำผ่านระบบกรอง ปกติอัตราการหมุนเวียนของน้ำคร่าวๆอยู่ที่ 10เท่าของปริมาณน้ำรวม เช่น ตู้ขนาด200ลิตรควรมีอัตรการหมุนเวียนอยู่ที่ 2000ลิตร/ชม ก็ไปหาปั๊มให้ได้ขนาดใกล้เคียงเพื่อนำมาใช้งาน แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยเล็กน้อยด้วยเช่น ความสูงในการส่งน้ำขึ้นตู้ การต่อพ่วงกับอุปกรณ์ชนิดอื่นก่อน หรือ แรงดันที่ลดลงเมื่อใช้เป็นเวลานาน(คุณภาพของแต่ละยี่ห้อ)

UV / Ultraviolet Sterilizer    เป็นอุปกรณ์ฆ่าเชื้อในระบบตู้ทะเล เพื่อวัตถุประสงค์ในการฆ่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันโรคติดต่อในตู้ หรือ เพื่อป้องกันปัญหาสาหร่าย(ไม่แน่ใจว่าได้รึเปล่า เขาเขียนไว้แบบนี้) ส่วนวิธีการฆ่าเชื้อก็โดยอาศัยแสงอุลตร้าไวโอเลตเพื่อทำลายโครงสร้างของเซลล์  ส่วน UV ที่นำมาใช้ก็จะอยู่ในรูปของหลอด UV ที่ต้องมีการปกป้องไว้ในกระบอกเพื่อป้องกันอันตราย-ผลกระทบกับผู้เลี้ยงหรือของในตู้   ส่วนหลอด U ควรเปลี่ยนเมื่อใช้ประมาณ6เดือน มีขนาดตั้งแต่ 8W-130W  ใช้ควบคู่กับปั๊มน้ำเพื่อผ่านน้ำเข้าไปในกระบอก อัตราการไหลดูทีผลิตภัณฑ์
Under Gravel Filter    ระบบกรองใต้กรวด เป็นการกรองภายในตู้เลี้ยงที่มีการปูพื้นด้วยวัสดุปูพื้นทับบนแผ่นกรอง จะมีหลอด-ท่อที่ต่อกับสายอาการ ซึ่งจะอาศัยการทำงานโดยฟองอากศจะลอยขึ้นในท่อน้ำภายในตู้ก็จะถูกดึงลงมาด้านใต้ของแผ่นกรอง แล้วก็จะอาศัยการกรองแบบชีวภาพต่อไป (บริเวณใต้แผ่นกรองจะมีตะกอนต่างๆให้แบคทำงานต่อไป)  เป็นที่นิยมมากในอดีตสำหรับระบบกรองแบบนี้ แต่ในปัจจุบัน(สำหรับตู้ทะเล) ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว


Venturi Valve    ถูกใช้ในสกิมเมอร์ (Protein Skimmer) โดยวาล์วนี้จะมีหน้าที่ในการกำหนดปริมาณอากาศเพื่อสร้างฟองอากาศขนาดเล็กผสมกับน้ำ เพื่อดึงสารโปรตีนของเสียให้ลอยขึ้นไปพร้อมกับฟองอากาศและถูกดันเก็บไว้ในถ้วยสกิมเมอร์ต่อไป
VHO    เป็นตัวย่อของ Very High Output ซึ่งตู้ทะเลเราใช้คำนี้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ซึ่งปกติจะพบในช่วง 75W-160W  เนื่องจากให้แสงแรงมาก กินไฟมาก ย่อมก่อให้เกิดความร้อนมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการใช้งานร่วมกับพัดลม หรือ อุปกรณ์ทำความเย็นอื่นๆเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำในตู้ด้วย
Velvet Disease    โรคกำมะหยี่ หรือ ออดิเนี่ยม เป็นโรคที่พบในปลาซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อ Amyloodinium ในปลาทะเล และ Piscinoodinium หรือ Oodinium ในปลาน้ำจืด  ลักษณะภายนอกดูคล้ายกับโรคจุดขาวคือมีจุดเล็กๆบนลำตัวปลา แต่ขนาดของจุดจะเล็กกว่ามาก(มีลักษณะเหมือนกำมะหยี่ตามชื่อเรียก) และสีจะไม่ขาวมาก จะออกขาวอมเหลืองหรือขาวอมเทา  เป็นโรคที่รักษาได้ยากและความเสียหายได้มากกว่าโรคจุดขาว อาจจะต้องมีการตั้งตู้เพื่อรักษาอาการปลา และ มีการให้ยาร่วมด้วยเพื่อหยุดยั้งความรุนแรงของโรค  ซึ่งออดิเนียมสามารถทำให้ปลาตายได้ยกตู้หรือเกือบหมดตู้เลยทีเดียว


Water Change    เป็นกระบวนการเปลี่ยนน้ำภายในตู้โดยการเอาน้ำเก่าในตุ้ออก และ เติมน้ำใหม่ๆใส่เข้าไป  วัตถุประสงค์เพื่อ ลดความเข้มข้นของปริมาณของเสียภายในตู้ ปรับค่าต่างๆให้เหมาะสม ชดเชยแร่ธาตุบางอย่างที่หายไปจากการใช้งานภายในตู้  วิธีการเปลี่ยนน้ำโดยปกติมักจะดูดน้ำบริเวณที่มีตะกอนสะสมทิ้งไปพร้อมกับน้ำ  ปริมาณการเปลี่ยนในแต่ละครั้งก็แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ เช่น เปลี่ยนน้ำตามปกติก็ประมาณ10-20%/ครั้ง หรือ แก้ไขปัญหาของค่าน้ำที่ไม่ปกติอาจจะเปลี่ยนได้ถึง50%  ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องไม่ลืมว่าค่าหลักเช่นอุณหภูมิ หรือ ค่าอื่นๆของน้ำต้องไม่แตกต่างกันจนเกินไป จนเกิดผลเสียมากกว่าผลดีในการเปลี่ยน
Water Parameters    หมายถึงระดับค่าต่างๆของน้ำภายในตุ้ เช่น ค่าหลักๆภายในตู้ทะเลควรจะเป็น
       อุณหภูมิ : 25-29 องศาเซลเซียส
       ความเค็ม : 30-35ppt
       pH : 8.1-8.3
       แอมโมเนีย : น้อยกว่า 0.1ppm
       ไนไตรท์ : น้อยกว่า 0.1ppm
       ไนเตรท : น้อยกว่า 0.2ppm
       ฟอสเฟต : น้อยกว่า 0.03ppm
       แมกนีเซียม : 1250-1350ppm
       แคลเซียม : 380-450ppm
       อัลคาลินิตี้ : 7-11dKH
Water Pump    เป็นอุปกรณ์ในตุ้ปลาที่ออกแบบมาเพื่อเคลื่อนย้ายน้ำ มีหน้าที่นำน้ำให้หมุนเวียนทั้งภายในตู้เพื่อสร้างกระแสน้ำ หรือ ภายนอกตู้คือนำน้ำเข้าสุ่พื้นที่กรอง  ปกติขนาดของปั๊มจะสัมพันธ์กับปริมาณน้ำเช่น ปั๊มหลักในการหมุนเวียนน้ำเข้าสู่ระบบกรองจะอยู่ที่ประมาณ 10เท่าของปริมาณน้ำรวมในตู้
Wave Maker    เป็นอุปกรณ์ในตุ้ปลาที่ออกแบบเพื่อสร้างกระแสน้ำภายในตู้ โดยทำให้เกิดมวลน้ำขนาดกว้าง  กระแสน้ำภายในตู้จะมีหน้าที่แลกเปลี่ยนอากาศกับผิวน้ำ พัดพาเอาแร่ธาตุสารอาหารไปสู่ปะการัง พัดพาเอาของเสียออกจากปะการัง ลดจุดอับของตะกอนภายในตุ้   อาจมีการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ควบคุมคลื่น(Wave Controller) เพื่อกำหนดการทำงานให้หยุดและหมุนเพื่อเลียนแบบกระแสน้ำในทะเล หรือ ปรับลด-เพิ่มความเร็วของใบพัดเพื่อลด-เพิ่มความยาวของกระแสน้ำ
Wave Controller    เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กับ Wave Maker เพื่อกำหนดการสร้างกระแสน้ำภายในตู้ ให้หมุน-หยุด หน่วงเวลา เพื่อสร้างกระแสน้ำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นเพื่อเลียนแบบกระแสน้ำ(คลื่น)ในทะเล
Wave Box    เป็นกล่องที่ใส่ Wave Maker เพื่อเก็บ-ปล่อยน้ำ ออกจากกล่อง เพื่อให้เกิดแรงผลักของน้ำภายใน-ภายนอกกล่อง ใช้ควบคู่กับทั้ง Wave Maker และ Wave Controller เพื่อกำหนดให้ทำงาน-หยุดทำงาน เพื่อสร้างคลื่นให้เกิดการโยกซ้าย-ขวาภายในตู้
ภาพโดยรวม มีทั้ง Wave Box เป็นกล่อง  และมี Wave Maker อยู่ใน Wave Box อีกที    มี Wave Controller ไว้ควบคุมครับ
WPG / Watt Per Gallon    อัตราส่วน วัตต์ : แกลลอน ในระบบตู้ทะเลมักใช้ในการอ้างอิงกับระบบไฟให้สัมพันธ์กับปริมาณน้ำ  เพื่อกำหนดปริมาณแสงให้เพียงพอกับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการการสังเคราะห์แสง
Wet-Dry Filter    เป็นระบบการกรองที่ต้องประกอบด้วยมีเดียส่วนที่ทั้งเปียก(จุ่มน้ำ)และแห้ง(ส่วนที่สัมผัสอากาศ) เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับการกรองชีวภาพ Trickle filter และ Bio-whell filter ก็เป็นการกรองในลักษณะนี้
White Spot Disease    โรคจุดขาว  ดูที่ i-Ich ด้านบนครับ


Yellow Water    น้ำเหลือง(น้ำในตู้เป็นสีเหลือง) เป็นสาเหตุมาจากการมี DOC (Dissolved Organic Carbons) หรือ สารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำอยู่จำนวนมาก  ในการกำจัด DOC คุณจำเป็นจะต้องมีการถ่ายน้ำในปริมาณที่มากและบ่อยขึ้น อาจจะมีการใช้ Chemical Filter (เคมีที่ใช้ในการกรองเคมี) ร่วมด้วยเช่นการใช้ Activated Carbon  และจำเป็นจะต้องลดปริมาณ Bio-Load ในตู้ของคุณด้วย


Zeolite    ซีโอไลท์ ในทางตู้ทะเลจะใช้เป็นแร่ธาตุในระบบกรองเคมี (Chemical Filtration) มีหน้าที่ในการกำจัดแอมโมเนีย
Zoanthid    กระดุม เป็นปะการังอ่อนชนิดหนึ่งที่สามารถเลี้ยงได้ในระบบปิด และ ไม่ผิดกฎหมายด้วย..  สังเคราะห์แสงเป็นหลัก มีหลากหลายสีสัน หลากหลายราคา (ราคาถูกก้อนละหลักร้อยไปจนโพลิปละหลายบาท)  สามารถอยู่ในระดับแสงที่หลากหลาย แต่ระดับความเข้มของแสงปกติเหมือนปะการังอ่อนทั่วไปน่าจะดีกว่า เป็นปะการังที่มีความทนสูง ขยายพันธ์เพิ่มจำนวนโพลิปได้เร็ว (แม้ในตู้เลี้ยงระบบปิด)  แต่ศัตรูของกระดุมก็มากตามไปด้วย เช่นทากกินกระดุม ฝีกระดุม เชื้อรา ฯลฯ ก่อนการนำลงตู้เลี้ยงควรมีการดิป(Dip) และควรดิปด้วยน้ำยาสำหรับดิปปะการังตามสัดส่วนทีระบุไว้
FAQ ปะการังอ่อน Soft Coral
Zooplankton    เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (แพลงตอน) ที่เห็นแหล่งอาหารสำหรับสัตว์ทั้งหลายในมหาสมุทร
Zooxanthellae    สาหร่ายซูซานเทเล่ เป็นไดโนแฟลกเจลเลต (ดู D-Dinoflagellate ด้านบน)  ที่อาศัยภายในเซลล์ของปะการังต่างๆ ซึ่งพวกมันเป็นแหล่งอาหารหลักที่สำคัญของปะการังโดยการ สังเคราะห์แสงเช่นเดียวกับพืชทั่วไปและผลิตคาร์โบไฮเดรตออกมา ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานให้กับปะการัง (90%ของอาหารที่ปะการังชนิดสังเคราะห์แสงได้รับ) ปะการังเองก็จะผลิตของเสีย(แอมโมเนีย)เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับซูซานเทเล่ด้วยเช่นกัน เป็นการอาศัยแบบพึ่งพากัน (Symbiosis)  ส่วนสีของซูซานเทเล่โดยมากมักจะเป็นสีเหลือง-น้ำตาลอมเหลือง    ดังนั้นจึงพบได้บ่อยเมื่อสีสันของปะการังเข้มขึ้นหรือคล้ำขึ้นซึ่งอาจจะเป็นเพราะซูซานเทเล่ในเนื้อเยื่อปะการังมีมากเกินไป ซึ่งมากจาหลายปัจจัยเช่น มีของเสียมากทำให้ซูซานเทเล่เพิ่มจำนวนได้มาก หรือ แสงที่น้อย(ไม่สว่าง)เกินไปทำให้ปะการังจำเป็นต้องมีซูซานเทเล่เพิ่มขึ้นเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอตามที่ปะการังต้องการ   ส่วนอุณหภูมิน้ำที่สูงเกินไปเป็นสาเหตุให้ซูซานเทเล่ตายไปซึ่งก็จะทำให้ปะการังขาดอาหารและตายตามได้  หรือ อาการฟอกขาวก็เป็นเพราะปริมาณของซูซานเทล่มีน้อยเกินไปทำให้ปะการังขาดอาหารและตายตามเช่นกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/07/15, [11:26:10] โดย bill2517 »
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #4 เมื่อ: 18/06/15, [13:28:58] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เพิ่มเติมต่างๆ





การจัดลำดับชั้นของสิ่งมีชีวิต



Credit :
  เนื้อหาส่วนใหญ่ มาจาก Fishlore.com แปลโดย Google Translate+ผสม(มั่ว)เองนิดหน่อย ภาพประกอบ ทำไปเยอะๆจำไม่ได้ แต่ดูจากคำแล้วหาภาพใน Google นะครับ ขออนุญาติเจ้าของภาพด้วย(แม้จะบ่ได้ขอโดยตรง  036)

[จัดทำให้จนเสร็จ A-Z ในรอบแรกแล้ว แต่จะเพิ่มเติมคำที่ควรจะมี และเนื้อหาในส่วนที่ขาดต่อไป และทยอยเติมภาพประกอบที่จำเป็นต่างๆ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/07/15, [11:26:28] โดย bill2517 »
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #5 เมื่อ: 18/06/15, [14:43:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับมีประโยชน์มาก

 [rainbowface]
myboyvz ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 18/06/15, [19:16:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ใจพี่ใหญ่มาก  ขยันรวบรวมสุดยอด

กราบ สาม ที
Puzzle ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 18/06/15, [21:42:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปักหมุดไปเลย.... :)
อู๋ @ ขอนแก่น ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 18/06/15, [21:48:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [กู้ดครับ!]
Chaybee ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #9 เมื่อ: 18/06/15, [22:01:58] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ดีเยี่ยมเลยคร๊าบพี่ ขอบคุณมากเลยคับ [เจ๋ง]
loveletter ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #10 เมื่อ: 23/06/15, [13:49:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง]เอาให้ครบเลยนะครับ A-Z
un_petit_garcon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #11 เมื่อ: 15/08/15, [09:41:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โอ๊ยยยย คุณบิลขยันจัด 55555 ยกย่องในความขยันและความพยายามจริงๆ ครับ สุดยอดดดด


ป.ล. ขออนุญาตทักท้วง นิดนึง รูปประกอบ Atoll นั้น จริงๆ แล้ว มันเป็น Great Blue Hole ตัวมันเองไม่ได้เป็น Atoll เสียทีเดียว แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ Atoll ที่ Belize ครับ

ภาพประกอบ Atoll ขนาดใหญ่ โดยมี Blue hole เป็นเป็นส่วนหนึ่งของ Atoll ภาพจาก Google Map ครับ



Jaubert อ่านว่า โฌแบร์ ครับ

ฮา MTS โชคดีที่ยังไม่ดป็น แต่เกือบเป็น ได้วัคซีน "Sub Jang" มาช่วยไว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/08/15, [11:49:47] โดย un_petit_garcon »
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #12 เมื่อ: 04/09/15, [09:41:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โอ๊ยยยย คุณบิลขยันจัด 55555 ยกย่องในความขยันและความพยายามจริงๆ ครับ สุดยอดดดด


ป.ล. ขออนุญาตทักท้วง นิดนึง รูปประกอบ Atoll นั้น จริงๆ แล้ว มันเป็น Great Blue Hole ตัวมันเองไม่ได้เป็น Atoll เสียทีเดียว แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ Atoll ที่ Belize ครับ

ภาพประกอบ Atoll ขนาดใหญ่ โดยมี Blue hole เป็นเป็นส่วนหนึ่งของ Atoll ภาพจาก Google Map ครับ



Jaubert อ่านว่า โฌแบร์ ครับ

ฮา MTS โชคดีที่ยังไม่ดป็น แต่เกือบเป็น ได้วัคซีน "Sub Jang" มาช่วยไว้
ขอบคุณครับ ..  จริงๆคือไม่ได้รู้หมดทุกเรื่อง บางเรื่องไม่ถนัดเลยด้วยซ้ำ  036
แปล ก็แปลแบบบ้านๆ ผสมกับ มั่วๆตามอากู๋  n032
เดี่ยวจะแก้ไขให้ถูกต้องครับ

ท่านไหน เห็น จุดไหน ผิดพลาด รบกวนแจ้งนะครับ จะได้แก้ไขข้อผิดพลาด ให้ทุกคนเข้าใจได้ถูกต้อง ตรงกันครับผม..
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: