Aqua.c1ub.net
*
  Thu 25/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: การเพาะพันธ์ Biotoecus Opercularis ของ Apistomania  (อ่าน 2801 ครั้ง)
champ ออฟไลน์
หมอแคระ mania
« เมื่อ: 07/06/15, [20:41:33] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เอาบทความที่เคยเขียน Biotoecus Opercularis มาให้อ่านกันครับ ต้องขอโทษที่ภาษาสะดุดและรูปขาดๆเกินๆไปบ้างเพราะไฟล์ต้นฉบับหายไปเหลือแต่ไฟล์ pdF ในเมล ถ้ามีเวลาจะมา update ให้ครับ
____________________________________________________________________________________
Biotoecus Opercularis เป็นปลาหมอชนิดหนึ่งที่นับได้ว่าเป็นปลาหมอ แคระเพราะขนาดตัวเมื่อโตเต็มที่มีขนาด 5 เซนติเมตรเท่านั้นเองในเพศ ผู้ส่วนเพศเมียจะมีขนาดเพียง 4 เซนติเมตร สถานที่อยู่ในธรรมชาติจะชอบอาศัยในพื้นที่บริเวณที่เป็นนำ้สีชาหรือ black water ซึ่งมีค่า pHต่ ามากประมาณ 4.5-5.5 และท้องน้ำ้เป็นทรายคล้ายกับหมอแคระอพิส
โตแกรมมาดิโพลทาเนีย (Apistogramma Diplotania) ที่ผู้เขียนได้น าเสนอไปในฉบับที่แล้ว สถานที่ดังกล่าวจะพบได้ตามสาขาของแม่น้ำต่างๆของทางเหนือของประเทศบราซิล และบางส่วนของประเทศเวเนซูเอรา
ซึ่งลักษณะเด่นๆของสกุลไบโอโทคัสคือจะเป็นปลาที่ทรวดทรงเรียวยาวเหมือนจรวด สีสันบริเวณลำตัวจะมีลักษณะสีเทาเกล็ดมีขนาดเล็กละเอียดมากๆ แทบจะเหมือนกับทรายทีเดียวครับ เท่าที่ผู้เขียนสังเกตจะพบว่าเกล็ดของเจ้าไบโบโอคัส โอเปอคูลาริส เพศผู้เวลาฮีทจะมีประกายเงาแวววาวมากๆ ยิ่งถ้าอยู่ในน้ าสีชาจะส่องแสงออกมาเป็นประกายทีเดียวครับ ซึ่ง
ผู้เขียนเข้าใจว่าคงไว้ใช้เกี้ยวพาราสีเพศเมียเวลาผสมพันธ์ส าหรับบริเวณแผ่นปิดเหงือกของ ไบโอโทคัส โอเปอคูลาริสจะ
มีจุดด าเป็นแต้มใหญ่ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นชื่อมาของชื่อ โอเปอคูลาริสครับ(Operculum = แผ่นปิดเหงือกของ
ปลา) นอกจากนี้สีสันบริเวณครีบของไบ
โอโทคัส โอเปอคูลาริสยังมีสีสันที่งดงามมากๆด้วยครับ ในยามที่อยู่
ในช่วงพร้อมผสมพันธ์




ลักษณะรูปร่างสีสันการจำแนกเพศของไบโอโทคัส โอเปอคูลาริส Biotoecus Opercularis เป็นปลาที่มีลักษณะหัวแหลมตากลมใหญ่ รูปร่างเรียวยาว ครีบมีลักษณะบางใสเจือด้วยสีประกายรุ้ง มองเห็น
ได้ชัดเวลากระทบแสงไฟหรือเวลาถ่ายรูปเปิดแฟลชยิงใส่ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าปลายหางขอบบนของเพศผู้Biotoecus
Opercularis จะมีเปียยื่นออกมา โดยจะพบเห็นเมื่อเลี้ยงจนเติบโจเต็มวัยเท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วสาเหตุที่มีเฉพาะเปียบนยื่นออกมานั้นเพราะว่าไบโอโทคัส โอเปอคูลาริส เป็นปลาที่มีลักษณะหากินบริเวณพื้น ดังนั้นเปีย
ล่างส่วนมากจะครูดไปกับพื้นจนท าให้เปียกุดหายไป ดังนั้นถ้าวัสดุรองพื้นไม่ใช่วัสดุที่ละเอียดมากๆเหมือนทรายในแหล่งน้ าธรรมชาติก็คงจะไม่มีโอกาสได้เห็นเปียล่างที่ยาวออกมาแน่ๆ ส าหรับปลาเพศเมียนั้นการแยกลักษณะไม่ค่อยยากเท่าไรนักในปลาโตเต็มที่ เพราะจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้เมื่อเทียบกับปลาอายุไล่เลี่ยกัน แต่สีสันจะด้อยกว่า
มากเรียกได้ว่าเป็นสีเทาๆเงินๆเท่านั้นเอง ยกเว้นเวลาต้องประกายแสงจะมีสีเหลือบๆเป็นสายรุ่งเช่นเดียวกับเพศผู้ครับ



สอบถามกับเพื่อนนักเลี้ยงชาวต่างประเทศอีกด้วยครับ นั่นคือจุดสีเงินเป็นประกายซึ่งจะพบได้ชัดเจนเวลาปลาแสดงอาการคึก ในปลาเพศผู้จุดสีเงินจะเรียงต่อกันด้วยช่องไฟที่เท่ากัน ส่วนเพศเมียจะพบว่าจุดสีเงินที่ครีบหลังนี้จะต่อเป็นเส้นเดียวกันเหมือนเส้นสีเงินเลยครับ









การเพาะพันธ์ไบโอโทคัส โอเปอคูลาริส ตามข้อมูลที่ผู้เขียนเคยได้อ่านผ่านตามาผู้เขียนได้เรียนรู้ว่าไบโอโทคัส โอเปอคูลาริสเป็นปลาที่เพาะพันธ์ได้ยากชนิดหนึ่ง เรียกได้ว่าแทบไม่เคยมีรายงานการเพาะพันธ์เกิดขึ้นในไทยเลย ท าให้ผู้เขียนสนใจปลาชนิดนี้เป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากปริมาณน าเข้าที่จ ากัดและราคาที่ค่อนข้างสูงและความยากในการเลี้ยง จึงท าให้ ไม่กล้าเลี้ยงสักที จนกระทั่งวันหนึ่งผู้เขียนได้ข่าวว่า Gauger tropic farm ได้น าไบโอโทคัส โอเปอคูลาริส เข้ามาขายท าให้ผู้เขียนสนใจเป็นอย่างมาก เพราะคิดว่าตัวเองนั้นมีประสบการณ์ในการเลี้ยงหมอแคระมาพอสมควร จึงได้ทดลองซื้อมาเลี้ยงจ านวนหนึ่งซึ่งวันที่ปลามาวันแรกนั้นทันทีที่ผู้เขียนได้เห็นก็เป็นความประทับใจครั้งแรกมากๆครับ ใครเอาปลารากกล้วยมาขายนะนี่ ผู้เขียนคิดในใจแต่ก็ซื้อมาจนได้ครับด้วยราคาที่ท าให้ต้องเก็บเงินไว้อย่างประหยัดจนปลายเดือนทีเดียว ผู้เขียนเตรียมตัวเลี้ยงอย่างดี ปลา 5 ตัวถูกเลี้ยงรวมในตู้ขนาด 24 นิ้ว ปูพื้นด้วยดินส าเร็จรูปหนา 2 นิ้ว และใช้
น้ า RO เพื่อลด pH ซึ่งดูแล้วปลาก็ชอบดีครับ อาหารที่ให้ก็ให้อาทีเมียร์แรกฟักสลับกับอาหารส าเร็จรูปตามปกติ แต่ดูปลาจะชอบอาทีเมียร์แกฟักมากว่า เลี้ยงไปได้สักเดือนกว่า ผู้เขียนพบว่าปลาที่น ามาเริ่มมีสีสัน
สวยงามขึ้นเพศผู้มีเปียยาวงอกออกมาที่ปลายหางและสีสันเหลือบสายรุ้งตามต าราแป๊ะ อีกทั้งยังมีนิสัยชอบรวมฝูงและไม่ค่อยหลบตามมุมตู้ ท าให้ยิ่งหลงรักปลาชนิดนี้เข้าไปใหญ่ ไปเปิดดูต าราฝรั่งพบว่าเขาเลี้ยงปลาชนิดนี้ด้วยตู้ที่ปูด้วยพื้นทรายผู้เขียนก็เลยไปเดินหาทรายมาบ้างแต่ไม่เจอทรายที่ต้องการเลย เพราะทรายส่วนใหญ่เป็นทรายที่มีส่วนผสมของหินปูนท าให้ pH สูงไม่เหมาะกับปลาชนิดนี้ แต่ด้วยความ อยากลองเลยทดลองซื้อทรายชนิดหนึ่งสีสวยดีมาทดลองใช้ หวังจะจัด
ตู้เลียนแบบธรรมชาติบ้าง ซึ่งจากการทดลองก็พบว่าปลาดูชอบและสีสวยดีครับ แต่ pH เพิ่มขึ้นจากเดิมค่อนข้างมากเลยเอากลับเป็นตู้ดินเหมือนเดิมดีกว่า

หลังจากย้ายฝูงปลาทั้ง 5 ตัวกลับลงตู้ที่โรยด้วยดินส าเร็จรูปเหมือนเดิมผู้เขียนพบว่ามีปลาคู่นึงเริ่มท าการจับคู่ โดยการขุดหลุมลึกลงไปในดินส าเร็จรูปและตีแปลงกันไม่ให้ตัวอื่นเข้าใกล้ผู้เขียนเลยคิดว่านี่แหละเริ่ม
มีสัญญาณดีแล้ว ปลาก าลังเริ่มจับคู่แต่ก็ไม่ได้แยกปลาตัวอื่นออกจากตู้แต่อย่างใด เนื่องจากคิดว่าปลาเพาะยากหายาก ราคาแพงแบบนี้คง
ไม่ให้ลูกออกมาง่ายๆ แต่อนิจจา ผู้เขียนคิดผิดปลาตัวดังกล่าวพาลูกออกมาว่าย ในวันที่ผู้เขียนท างานต่างจังหวัดโดยมีแผนว่าจะกลับวันศุกร์ซึ่งไม่น่าจะทันท าให้ผู้เขียนทั้งดีใจและกังวลใจพอๆกัน อย่างแรกคืออาจจะเป็นคนแรกที่เพาะปลาชนิดนี้ได้ในไทยแต่ที่กังวลไม่แพ้กันคือการที่ผู้เขียนไม่ได้แยกปลาตัวอื่นๆไว้เพราะลูกปลาตัวเล็กๆว่ายสะแปะ
สะปะอาจกลายเป็นเหยี่อเพื่อนร่วมฝูงก่อนที่ผู้เขียนจะกลับมาแยกทันวันศุกร์ผู้เขียนกลับมาบ้านหวังจะได้เห็นลูกปลาเยอะแยะ แต่ที่ ผู้เขียนเห็นคือลูกปลา 4 ตัวนอนหลบใต้พื้นดิน มีเพียงเท่านี้จริงๆที่รอดจากการเป็นอาหารของฝูงไบโอโทคัส โอเปอคูลาริส ตัวอื่น เกินก าลังกว่าพ่อและแม่ปลาจะปกป้องไว้ได้ เห็นดังนั้นผู้เขียนเลยท าการใช้สาย
ยางดูดแยกลูกปลาออกมาไว้ในภาชนะอนุบาล และท าการแยกไบโอโทคัส โอเปอคูลาริสตัวอื่นออกจากตู้เหลือไว้เฉพาะพ่อแม่พันธ์ โดยลูกปลาที่แยกออกมานั้นผู้เขียนได้ให้กินอาทีเมียร์แรกฟัก แต่ก็ดูไม่กินเท่าไรนักเพียงหนึ่งอาทิตย์ก็ตายลงจนเหลือเพียงแค่ตัวเดียว ท าให้ยิ่งท้อแท้เข้าไปอีกแต่ก็คิดว่าพ่อแม่ปลาที่เคยจับคู่แล้วนั้นน่าจะวางไข่มาอีกหน ซึ่งก็จริง
ตามคาดผู้เขียนสังเกตุเห็นพ่อปลาเริ่มออกอาการคึกเริงระบ าท าหัวหักๆกระทกๆรอบเพศเมีย ส่วนเพศเมียก็เอาปากเกลี่ยหน้าดินบริเวณหน้า
หลุมที่ออกไข่ให้เรียบ จากนั้นก็เข้าหลุมไปผ่านไปสักสี่วันแม่ปลาก็พาลูกปลาออกมาว่ายตามคาด รอบนี้ผู้เขียน
เห็นลูกปลาแข็งแรงดีจึงประเคนให้อาทีเมียร์แรกฟักหลังจากวันที่สองที่แม่ปลาพาออกมาว่ายซึ่งก็กินเป็นอย่างดี เท่าที่ผู้เขียนสังเกตุผู้เขียนพบว่าชนิดนี้ถ้าให้พ่อแม่ปลาเลี้ยงจะมีอัตราการรอดสูงและโตเร็วมาก
ครับ เพียง 20 วันก็โตถึง 1 เซนติเมตรและมีหน้าตาคล้ายพ่อแม่แล้ว


champ ออฟไลน์
หมอแคระ mania
« ตอบ #1 เมื่อ: 07/06/15, [20:55:53] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

วีดีโอทีผมถ่ายไว้ตอนปลาเกี้ยวพาราสี
https://www.youtube.com/watch?v=fD6gEDvPc_E

ตอนลูกปลาออกมาว่าย

https://www.youtube.com/watch?v=evZiWfvMFGo

https://www.youtube.com/watch?v=6tRmMJ6jz2Y
THANANAN ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #2 เมื่อ: 24/09/15, [18:59:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดมากครับผมขอบคุณบทความดีๆนะครับพี่ เห็นแล้วอยากลองเลี้ยงบ้างครับ55 [เจ๋ง]
champ ออฟไลน์
หมอแคระ mania
« ตอบ #3 เมื่อ: 04/02/16, [23:36:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดมากครับผมขอบคุณบทความดีๆนะครับพี่ เห็นแล้วอยากลองเลี้ยงบ้างครับ55 [เจ๋ง]
[/quote
ขอบคุณครับที่ชื่นชอบ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: