Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ลิงค์คำนวณ และการใช้สารเคมีที่หาได้ง่าย เพื่อใช้เพิ่มค่า KH CA MG ในตู้ครับ  (อ่าน 7330 ครั้ง)
un_petit_garcon ออฟไลน์
Club Brother
« เมื่อ: 10/12/14, [18:59:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขออนุญาตแตกกระทู้เรื่องนี้ที่กำลังคุยกันออกมาเป็นอีกกระทู้หนึ่ง เพราะเห็นว่าอาจมีประโยชน์สำหรับใครหลายๆ คน ที่กำลังกระเป๋าฉีกกับการเสียตังซื้อสารละลายสำเร็จรูปมาเติมใส่ตู้ครับ 555

สำหรับลิ้งค์คำนวณ ผมไปขุดมาได้ตามนี้ หลายๆ คนอาจจะเคยเจอมาก่อน ไม่รู้จะกลายเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหรือเปล่านะครับ 5555

http://reef.diesyst.com/chemcalc/chemcalc.html

ยกตัวอย่างสารที่หาได้ง่ายที่ในเว็บคำนวณดังกล่าว มีเอาไว้ให้ ก็ได้แก่

MG ได้แก่ Epsom Salt (Magnesium Sulphate) (เคยถามพี่มิกซ์ พี่มิกซ์บอกว่าคนไทยเรียกว่า ดีเกลือฝรั่ง ไม่ยักกะรู้แฮะ 555) และ Magnesium Chloride ครับ

CA ได้แก่ พวก Calcium Chloride ครับ

KH ได้แก่ Baking Soda ครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น มีลิ๊งค์อีกลิงค์มาฝาก เกี่ยวกับการใช้สารเพิ่ม MG ซึ่งได้กล่าวไว้อย่างละเอียด รวมทั้งผลข้างเคียงต่างๆ และความถี่ในการเปลี่ยนน้ำ เพื่อลดผลข้างเคียงครับ แต่เนื่องจากเว็บเป็นภาษาอังกฤษล้วน การอ่านค่อนข้างต้องใช้กำลังภายในค่อนข้างสูงสำหรับคนโง่อิ๊งอย่างผม ผมเลยพอมีสรุปๆ มาให้เป็นภาษาไทย แบบคร่าวๆ แต่ไม่ละเอียด และไม่ครอบคลุมทั้งหมดนะครับ

http://reefkeeping.com/issues/2006-07/rhf/

ในเว็บบอกว่า การใช้ แมกนีเซียมซัลเฟต เพื่อใช้เพิ่ม แมกนีเซียม ในตู้ อาจส่งผลให้มีการสะสมของ ซัลเฟอร์ ในตู้ของเรามากเกินไป ซึ่งผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามันส่งผลเสียยังไง ผมก็เลยกลัว เลยยังไม่ค่อยกล้าใช้ ในนั้นเขาบอกอีกตัว คือ แมกนีเซียมคลอไรด์ ซึ่งส่งผลกระทบน้อยกว่า เพราะน้ำทะเลมีคลอไรด์มากเป็นปกติอยู่แล้ว การสะสมของคลอไรด์ไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญเท่าไหร่ แต่ข้อเสียคือ แมกนีเซียมคลอไรด์ มักมีอะไรปนเปื้อนมาด้วย โดยเฉพาะแอมโมเนีย

อ่านแล้วค่อนข้างเข้าใจได้เลยว่า ทำไม Mg Supplement ราคาแสนแพง ถึงยังขายได้ และเริ่มเกิดความสงสัยว่า เขาใช้อะไรมาผลิตตัว Supplement ให้เรากันนะ 555

สำหรับ CA ผมยังไม่ค่อยมีความรู้ตรงส่วนนี้เท่าไหร่ ต้องขออภัย ใครพอจะรู้ สามารถเพิ่มเติมได้นะครับ ^^"

ในที่นี้ ผมขอข้ามเรื่องการทำงานของ KH CA MG ไปนะครับ เพราะเชื่อว่า หลายๆ คนที่อยากจะโดสค่าต่างๆ เหล่านี้ลงตู้ น่าจะพอมีความรู้เรื่องนี้กันบ้างแล้ว ยังไงก็ ฝากย้ำอีกครั้งหนึ่งละกันว่า การโดสค่า ควรต้องเรียงลำดับ โดยเริ่มต้นจาก โดส MG ก่อน แล้วทิ้งไว้สักพัก ค่อยตามด้วย CA (หรือ KH ก่อนก็ได้) แล้วค่อยตามด้วย KH นะครับ (หรือ CA กรณีที่เติม KH ก่อน)

ป.ล. เนื่องจากผมเป็นเด็กศิลป์ภาษา ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องการคำนวณหรือพวกเคมีอะไรต่างๆ เท่าไหร่ สิ่งที่ผมนำมาฝากนั้นอาจมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์เท่าไหร่ ยังไงก็ ถ้าใครพอจะเรียนสายวิทย์ หรือมีความรู้ทางด้านเคมีบ้าง ถ้าช่วยเพิ่มเติมให้ได้ จักเป็นพระคุณยิ่งครับ (ขอไว้อาลัยให้กับกูรูทางเคมีที่จากเว็บเราไปแผบนึง) ดังนั้น ผมยินดีรับฟังทุกความเห็นเช่นเคยนะครับ ^^"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18/12/14, [00:24:59] โดย un_petit_garcon »
blank127 ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #1 เมื่อ: 11/12/14, [05:36:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณคับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #2 เมื่อ: 12/12/14, [00:07:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง]
Inaloop ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #3 เมื่อ: 14/12/14, [03:57:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]
Inaloop ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #4 เมื่อ: 14/12/14, [21:46:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

[เจ๋ง]

เพิ่งอ่านจบ ยาวจริงๆ  แต่คุ้มครับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #5 เมื่อ: 17/12/14, [19:46:48] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปักหมุดเลยครับ สำหรับกระทู้นี้ ขอเสริมนิดนึง ถ้าเอาแบบใช้ได้แน่ๆ ไม่เป็นปัญหากับตู้ และสามารถคำนวณจากเว็บนี้ได้ ก็ใช้เป็น

Calcium : Calcium Chloride สูตรทางเคมี CaCl2 แบบไม่มีน้ำหรือ Anhydrus

Magnesium : Magnesium Chloride Hexahydrate สูตรทางเคมี MgCl2.6H20

*** สองตัวแรกระวังเรื่องความชื้นเป็นพิเศษ เนื่องจากตัวมันดึงดูโมเลกุลน้ำง่าย ทำให้การชั่งทำได้ยาก

ส่วน Carbonate : Sodium Hydrogencarbonate สูตรทางเคมี NaHCO3 หรือเรียกว่าผงฟูนั้นเอง

สารทุกตัวสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์เคมี และร้านเครื่องเขียนสึกษาภัณฑ์ครับ เวลาใส่อย่าลืมวัดค่าปริมาณสารในตู้ด้วยละครับ

และที่เคยโพสต์อีกกระทู้นึงครับ

ไม่ค่อยแม่นเคมีมากเท่าไรแต่ที่เคยคำนวณคร่าวๆ มันต้องเอาน้ำหนักสาร คิดกับน้ำหนักโมเลกุลรวม กับเทียบโมลสารละลายอะไรสักอย่าง แล้วค่อยแปลงกับให้ค่าน้ำหนักของสารอยู่ในปริมาณไอออน พวก Mg2+ Ca2+ หรือ CO3- ประมาณนี้ ต้องดูด้วยว่าไปหยิบอะไรมาใช้ สูตรที่เคยลองใช้แบบมึนๆ CaCl2 1.3 กรัม เพิ่ม 5 mg/l MgCl2 4.1 กรัม เพิ่ม 5 mg/l และ ผงฟูบ้านๆ 0.6 กรัม เพิ่ม 0.2dKH คิดเทียบที่น้ำ 100 ลิตร แต่ผสมจริงไม่กี่ ml ให้มันละลายก็น่าจะได้ แวะมาแชร์ประสบการณ์ฮาๆ ถ้าผิดพลาดประการณ์ใดขออภัยด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17/12/14, [19:49:08] โดย ณชช โคม ปะการัง »
un_petit_garcon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 17/12/14, [23:58:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปักหมุดเลยครับ สำหรับกระทู้นี้ ขอเสริมนิดนึง ถ้าเอาแบบใช้ได้แน่ๆ ไม่เป็นปัญหากับตู้ และสามารถคำนวณจากเว็บนี้ได้ ก็ใช้เป็น

Calcium : Calcium Chloride สูตรทางเคมี CaCl2 แบบไม่มีน้ำหรือ Anhydrus

Magnesium : Magnesium Chloride Hexahydrate สูตรทางเคมี MgCl2.6H20

*** สองตัวแรกระวังเรื่องความชื้นเป็นพิเศษ เนื่องจากตัวมันดึงดูโมเลกุลน้ำง่าย ทำให้การชั่งทำได้ยาก

ส่วน Carbonate : Sodium Hydrogencarbonate สูตรทางเคมี NaHCO3 หรือเรียกว่าผงฟูนั้นเอง

สารทุกตัวสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์เคมี และร้านเครื่องเขียนสึกษาภัณฑ์ครับ เวลาใส่อย่าลืมวัดค่าปริมาณสารในตู้ด้วยละครับ

และที่เคยโพสต์อีกกระทู้นึงครับ


ต้องขอขอบคุณสำหรับการแนะนำปักหมุดเลยครับ 5555 emb01 emb01

Anyway ผมรู้สึกว่า NaHCO3 เหมือนจะเป็นสูตรเคมีของ Baking Soda นะครับ ไม่ใช่ผงฟู เพราะเคยได้ยินว่าผงฟูมีฟอสเฟตเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ในสูตรเคมีดังกล่าว ไม่มี P เลย เลยลองไปหาข้อมูลรีเช็คมานิดหน่อยจากวิกิพีเดีย ได้ความว่า ผงฟู หรือ Baking Power นั้น มีชื่อทางเคมีว่า ไดโซเดียมไพโรฟอสเฟต ในขณะที่ เบคกิ้งโซดา มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือ NaHCO3 ครับ เลยอยากจะแก้ไขนิดนึง เพราะถ้าใครไม่รู้ ไปบอกคนขายเอาผงฟูเข้า อาจจะได้ฟอสเฟตแถมเพิ่มมากับ kh ด้วยครับ

ผมไม่ได้จบสายวิทย์ ไม่ค่อยรู้เคมี งูๆ ปลาๆ ไปเรื่อย เลยอาจจะไม่ค่อยมีพื้นความรู้แน่นพอ เลยเขียนอ้างอิงเวิ่นเว้อไปหน่อย ยังไงก็ขออภัยด้วยนะครับ  [แลบลิ้นแอ๊บแบ๊ว] [แลบลิ้นแอ๊บแบ๊ว]

ป.ล. พี่คือไอดอลผมเรื่องโคม LED ปะการังเลย ผมได้ความรู้จากพี่มากๆ เช่นกันครับ ไม่มีโอกาสได้ขอบคุณและชื่นชมตรงๆ สักที ขอพื้นที่ตรงนี้ละกัน  ้hahaha ้hahaha
un_petit_garcon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 18/12/14, [00:10:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อยากจะขอเพิ่มเติมสักเล็กน้อยครับ

1. จากที่ผมหาข้อมูลเพื่อมาตอบคำถาม ก็ได้ความมาอีกนิดหน่อยว่า สารเคมีที่ใช้เพิ่ม kh ได้ นอกจาก Baking Soda หรือ Sodium Bicarbonate แล้ว ยังมี Washing Soda หรือ Sodium Carbonate ด้วย ซึ่งผมเคยเห็นว่า มันสามารถให้ค่า kh ที่สูงกว่า ด้วยปริมาณที่น้อยกว่า แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า Washing Soda นั้น สินค้าที่วางขายทั่วไปไม่ได้มีคุณภาพแบบ Food Grade ดังนั้น อาจมีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนมาได้ จึงแนะนำให้ใช้ Baking Soda มากกว่าครับ

2. การโดสค่าโดยเฉพาะ CA และ KH ที่ผมเกริ่นไว้นี้ เป็นวิธีสำหรับคนงบน้อยแบบเราๆ ไม่มีปัญญาซื้อหาแร่ธาตุปะการังราคาแพงๆ มาใช้นะครับ เพราะการโดสวิธีนี้ มันโดสแค่ KH และ CA เพียวๆ เลย ในขณะที่ปะการังต้องการแร่ธาตุต่างๆ มากกว่านั้น แม้จะใช้ KH และ CA เป็นหลักก็ตาม โดยเฉพาะ Strontium และพวกแร่ธาตุยิบย่อยล้านแปด หรือ Trace Elements ต่างๆ ดังนั้น ถ้าหากมีงบพอ มีที่พอ อยากให้ปะการังโตดีสีสวยสด CA Reactor ที่ใช้ซากปะการังเป็น media ยังคงให้แร่ธาตุกับปะการังได้อย่างครบถ้วนที่สุดครับ และไม่อยากให้ลืมด้วยว่า CA Reactor มาพร้อม PH ที่เป็นกรด จึงต้องคอยรักษาค่า PH ด้วยนะครับ (หนีไม่พ้น Kalkwasser และพวก PH buffer ต่างๆ อีกแล้วสินะ 5555)

ป.ล. หลายคนคงรู้แล้ว เหมือนเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนอีกแล้วสินะเรา
 n032 n032 n032 n032
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 18/12/14, [11:06:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไม่ว่ากันช่วยกันเสริม ช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้อง เดี๋ยวจะฮาตู้คนอื่น  ้hahaha ้hahaha ้hahaha

เสริมอีกนิดหน่อยครับ washing soda หรือ โซเดียมคาร์บอเนต นั้นเพิ่ม KH ได้ดีกว่า แต่ "มันทำให้ pH ผันผวนอย่างรุนแรง ไม่คงที่เหมือน sodium hydrogen carbonate ครับ" เพราะลองมาแล้วเรียบร้อย รู้สึกว่าจะทำให้ pH สูงขึ้นกว่าเดิมให้เติมบ่อยๆ แต่ถ้าเติมครั้งเดียวก็ไม่น่ามีปัญหามากมาย

วิธีเปลี่ยนจาก baking soda เป็น washing soda ทำได้ง่ายๆ คือ เอา baking soda เทใส่ถาดเหล็กแล้วน้ำไปเข้าเตาอบที่อุณหภูมิสูง 200c  มั๊งถ้าจำไม่ผิด เป็นเวลา 30นาที - 1 ชั่วโมง โมเลกุลไฮโดรเจนจะหลุดออก จากเดิม NaHCO3 ---> Na2CO3 ทำแบบนี้บริสุทธิ์ค่อนข้างจะมาก

ความรู้ที่เสริมกัน เอาจากไหน จากเว็บอะไร ก็ดีทั้งนั้นครับ ไม่ต้องจบสายวิทย์ หรือจบเคมี เพราะหลายๆท่านในวงการ ที่เข้าใจถึงเคมีของน้ำทะเล ส่วนมากจบสายอื่นๆกันเยอะ เช่น นิเทศ วารสาร สายสังคม ผมละนับถือจริงๆ ทำได้ดีและเยี่ยมมากๆ ผมก็ตามอ่านประสบการณ์ของแต่ละท่านเช่นกันป

ปล. ขอบคุณสำหรับคำชมนะครับ ก็หวังว่าบทความหรือกระทู้ผม จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ก็แวะไปที่ห้องโวช์ตู้ทะเลได้นะครับ แอบลงกระทู้นิดหน่อยเอาไว้ ^^

 [freddie]
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #9 เมื่อ: 19/12/14, [09:40:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปวช. จบการบัญชี
ปริญญาตรี จบคอมพิวเตอร์
ใช้เวลาเรียนรวม7ปี ยังไม่ค่อยลึกซึ้งเข้าสมอง ... 555


ตั้งตู้ไม่กี่ปี เคมี ชีว ไฟฟ้า ไปๆมาๆ เข้าหัวมากกว่าเรียนตั้ง 7 ปี   [on_007]
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #10 เมื่อ: 20/12/14, [22:29:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปวช. จบการบัญชี
ปริญญาตรี จบคอมพิวเตอร์
ใช้เวลาเรียนรวม7ปี ยังไม่ค่อยลึกซึ้งเข้าสมอง ... 555


ตั้งตู้ไม่กี่ปี เคมี ชีว ไฟฟ้า ไปๆมาๆ เข้าหัวมากกว่าเรียนตั้ง 7 ปี   [on_007]


 [motherofgod]
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #11 เมื่อ: 24/12/14, [11:29:40] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมได้ลองทดสอบไปหลายตัวอยู่ จริงๆแล้วก็ได้ลองครบทั้ง 5ตัวเลย  [on_026] คือ
1. แคลเซียมคลอไรด์
2. แมกนีเซียมคลอไรด์
3. แมกนีเซียมซัลเฟต
4. โซเดียมคาร์บอเนต
5. โซเดียมไบคาร์บอเนต

จากที่แต่ก่อนเคยลองไปซื้อตามร้านที่หาได้ง่ายๆทั่วไป (เป็นความรู้สึกนะครับ วัดไม่ได้ด้วยเครื่องมือ เพราะไม่มีเครื่องมือวัด..55)
สารเคมีพวกนี้อาจจะมีความบริสุทธิ์(หมายความถึงมีอะไรต่างๆแถมด้วยนอกเหนือจากเคมีตัวหลัก)  พอลองแล้วรู้สึกว่าไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่ เลยกลับมาใช้ของฝรั่งแบบสำเร็จรูปเหมือนเดิม

ทำให้ผมสงสัยเรื่องเกรดของสารเคมี ที่เห็นแบ่งยิบย่อยได้แก่
1. Lab grade อันนี้ไม่ต้องพูดถึง มันชัดเจนอยู่แล้ว สืบราคาดู้แล้วก็สูงกว่าเคมีตามร้านทั่วไปปกติมากๆ และคาดว่าที่ฝรั่งทำขายสำเร็จเป็นขวดๆให้เราคงใช้อันนี้
2. Food grade อันนี้ไม่รู้ถึงความบริสุทธิ์ของสารว่า มีมากแค่ไหน มีอะไรปนมาบ้าง และสารต่างๆที่ปนมาอาจจะกินได้ แต่ จะเหมาะกับตู้รึเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ
3. Industrial grade ยิ่งมืดเลย
4. Commercial grade มืดเหมือนเดิม

ใครพอไขความกระจ่างได้บ้าง ระหว่าง 3grade คือ Food / Industrial / Commercial ว่ามันต่างกันกับ Lab grade ยังไง
คือส่วนตัวผมก็กำลังทดลองอยู่กับตัว Lab grade อยู่ว่ามันต่างกันกับเกรดถูกๆมากแค่ไหน แต่ยังต้องรอเวลา ระหว่างรอจึงอยากรู้ครับ
un_petit_garcon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #12 เมื่อ: 24/12/14, [22:26:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

5555 นับถือคุณบิลจริงๆ ครับ ลองหมดทุกอย่างเลย ผมลองแค่เบคกิ้งโซดาเอง ดึครับดีๆๆๆ จะได้มีประสบการณ์จริงมาแชร์กัน

ผมเดานะ lab grade น่าจะมีความบริสุทธิ์มากที่สุด เพราะค่าเคมีต่างๆ มันผิดเพี้ยนไม่ได้ ไม่งั้นจะให้ผลทาง lab ที่ผิดพลาด

ส่วน food grade น่าจะบริสุทธิ์น้อยกว่า แต่อยู่ในความหมายว่า บริโภคได้ เช่นพวก เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ ที่มีทั้งไอโอดีน หรืออะไรต่อมิอะไรมาด้วย แต่ก็ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกาย

ส่วน industrial use น่าจะหมายถึง ใช้ได้ตรงตามวัตถุปะสงค์ของมันก็เพียงพอ โดยไม่สนใจว่าจะมีอะไรปนเปื้อนมาหรือไม่ ตราบใดที่สารเคมีนั้นได้ทำหน้าที่ของมันอย่างสมบูรณ์ เช่น แมกนีเซียมคลอไรด์ มักมีแอมโมเนียแถมมาด้วย ตามที่ผมแปลตำราฝรั่งเค้ามา 5555


มือใหม่มือเก่า ใครพอมีความรู้ทางเคมี หรือ food science ให้คำแนะนำกันได้นะครับ ^^"
un_petit_garcon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #13 เมื่อ: 14/03/15, [23:13:15] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขออนุญาตขุดกระทู้ เนื่องจาก link ตัวเก่าหายสาบสุญไปแล้ว จึง update ลิ้งค์ตัวใหม่ไว้ให้ครับ

http://www.reeftime.com/reef-chemistry-calculator.asp
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: