Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ปรสิตในกุ้งแคระ สำคัญนะครับอย่ามองข้าม  (อ่าน 7424 ครั้ง)
สแตมป์ ออฟไลน์
Club Brother
« เมื่อ: 23/09/14, [01:58:13] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เจ้าปรสิตที่ว่านี้ชื่อเสียงเรียงนามของมันก็คือ    Scutariella japonica  
มันจัดอยุ่ใน ไฟลั่ม  Platwormen (Platyhelminthes)  ไฟลั่มเดียวกับ ภัยนาเลีย เห้ย !!! พานาเลีย  ้hahaha (ถ้ายังไม่รู้จักพนานาเลีย ก็ เข้าไปอ่านได้เลยครับ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=265460.0#msg3041209 )
เจ้าปรสิตตัวนี้ผมเชื่อว่ามือใหม่รายคนหรือมือเก่าบางคน อาจจะไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้จักมักจี่กับมัน
แต่ถ้าคุณลองสังเกตุดีดีที่หัวกุ้ง ระหว่างกรีกุ้งจะมี สิ่งที่คล้ายๆ หนวดสีขาวๆ นั่นแหละครับ เจ้าตัวปัญหาที่เรากำลังพูดถึง(ไม่ได้มีทุกตัวนะครับ)
เรื่องมีอยุ่ว่า ผมเลี้ยงกุ้งไว้ในบ่อหน้าบ้าน แล้วพอดีนึกคึกอยากเห็นกุ้งเลยจับมาใส่ตู้ วินาทีแรกที่เห็น แม่เจ้า กุ้งกูแก่ขนาดนี้เลยหรอวะ หนวดเคราเต็มเลย (คิดแบบนี้จริงๆนะ แวบแรก)
ชมภาพตามไปนะครับ

credit : www.caridina.cz

นั่งมองอยุ่พักใหญ่เห้ยแมร่งขยับหนวดได้ กูว่าแมร้งไม่ใช่หนวดละ ก็เลยค้นดูใน อากู๋  
เจอของพี่ท่านนึง http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=29786.0
แสดงว่า มันเคยเกิดขึ้นมานานแล้วแต่เราไม่ได้สังเกตุมัน มือใหม่ๆที่เลี้ยงกุ้งแล้วตายลองสังเกตุดูนะครับ
ก็เลยหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ไปเจออีกท่านนึง  http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=193108.0




งั้นเรามา รู้จักมันให้มากกว่านี้ก็ที่จะกำจัดมันนะครับ (จะกำจัดไปป่าววะ?) hide2 hide2
Scutariella japonica เป็น Platworm (Platyhelminthes)
หนอนตัวแบน หรือ แพลทีเฮลมินธิส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Platyhelminthes) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะเด่นคือ เป็นไฟลัมแรกที่มีสมมาตรแบบซ้ายขวา ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorso-ventrally) ลักษณะคล้ายริบบิ้น ผิวลำตัวอ่อนนิ่ม ยกเว้นพวกที่เป็นปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา พบประมาณ 25000 ชนิด จัดอยู่ในสัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง (Accoelomate) กลุ่มใหญ่ที่สุด สามารถพบได้ทั้งในทะเล น้ำจืด บนบก

ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบปรสิต (parasitic) บางวงศ์ดำรงชีวิตอิสระ (free living) ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และสั้น ยกเว้นพยาธิตัวตืด ขนาดและความยาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด พบยาวที่สุดกว่า 20 เมตร


Platyhelminthes มาจากภาษากรีกสองคำคือ platy (แปลว่า แบน) และ helminth (แปลว่า หนอน) ซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่น


หนอนตัวแบน เป็นสัตว์จำพวกแรกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่ เอ็กโทเดิร์ม มีโซเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม แต่ยังไม่มีช่องว่างในลำตัวที่แท้จริง ยกเว้นอาจจะพบได้ใน กึ๋น (gut)

ผิวหนังด้านนอก (ectoderm) แตกต่างกันไปโดย พวก Turbellaria มีลักษณะเป็นซีเลียปกคลุม แต่พวก Cestoda และ Trematoda จะเป็นลักษณะของ Culticle ปกคลุมแทน เอ็กโทเดิร์ม (ectoderm) เป็นเนื้อเยื่อแรกที่ปกคลุมพื้นผิวของร่างกาย เกิดขึ้นมาเป็นชั้นแรกและอยู่ชั้นนอกสุดของ germ layer กล่าวโดยทั่วไป เอ็กโทเดิร์มเจริญไปเป็นระบบประสาท, หนังกำพร้า, และส่วนนอกของระบบปกคลุมร่างกาย ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เอ็กโทเดิร์มแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ external ectoderm (หรือ surface ectoderm) , นิวรัล เครสต์ (neural crest) , และนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งสองอันหลังนี้เรียกรวมกันว่า นิวโรเอ็กโทเดิร์ม (neuroectoderm) เมโซเดิร์ม (mesoderm) เจริญขึ้นภายในเอ็มบริโอของสัตว์จำพวกไตรโพลบลาสติก ในระหว่างกระบวนการแกสตรูเลชัน เซลล์บางส่วนที่เคลื่อนที่เข้าไปด้านในจะเจริญไปเป็นเมโซเดิร์มซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเอ็กโทเดิร์มและเอนโดเดิร์มวิวัฒนาการของเมโซเดิร์มเกิดขึ้นมาเมื่อหลายร้อยล้านปีมาแล้วซึ่งเป็นวิวัฒนาการที่สำคัญที่ทำให้สัตว์มีโครงสร้างที่ซับซ้อนอย่างมาก การเกิดเมโซเดิร์มทำให้มีการเจริญของช่องตัว (coelom) อวัยวะที่สร้างขึ้นภายในช่องตัวสามารถเคลื่อนที่ เจริญเติบโตได้อย่างอิสระโดยไม่มีผนังลำตัวจำกัดและยังมีของเหลวหุ้มช่วยในการป้องกันอันตรายด้วย เมโซเดิร์มเจริญไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อโครงร่าง, โครงกระดูก, ชั้นหนังแท้ของผิวหนัง, คริสตัลเลนส์ของตา, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, ระบบสืบพันธุ์และขับถ่ายปัสสาวะ, หัวใจ, เลือด (เซลล์น้ำเหลือง) และม้าม เอนโดเดิร์ม (endoderm) เป็นหนึ่งใน germ layer ที่สร้างขึ้นระหว่างการเกิดเอ็มบริโอของสัตว์ เกิดจากเซลล์เดินทางเข้าด้านในผ่านอาร์เคนเทอรอน (archenteron; ส่วนเจริญเป็นทางเดินอาหาร) เกิดเป็นชั้นด้านในของแกสตรูลา ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเอนโดเดิร์ม ในระยะแรกเอนโดเดิร์มประกอบด้วยชั้นเซลล์แบน ๆ ซึ่งต่อมาจะมีรูปทรงกระบอก (columnar) เนื้อเยื่อชั้นนี้จะสร้างเป็นเนื้อเยื่อบุผิวของท่อทางเดินอาหารทั้งหมด ยกเว้นส่วนปาก คอหอย และส่วนปลายของไส้ตรง (ซึ่งดาดโดยส่วนหวำของเอ็กโทเดิร์ม) นอกจากนี้ยังสร้างเป็นเซลล์บุของต่อมทั้งหมดที่เปิดออกสู่ท่อทางเดินอาหาร รวมทั้งตับและตับอ่อน เนื้อเยื่อบุผิวของท่อหู (auditory tube) และโพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) ได้แก่ ท่อลม, หลอดลม, และถุงลมภายในปอด, กระเพาะปัสสาวะ, และส่วนของท่อปัสสาวะ ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์และต่อมไทมัส


ระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (digestive system) มีแต่ปาก ไม่มีทวารหนัก

ไม่มีระบบหายใจ (Respiratory system) การแลกเปลี่ยนก๊าซใช้การแพร่ผ่านผนังลำตัว

ไม่มีระบบหมุนเวียน (Circulatory system) อาศัยการแลกเปลี่ยนก๊าซและของเสียทางผิวหนังโดยตรง ดังนั้นผิวหนังจึงสร้างความชุ่มชื้นอยู่เสมอ บางชนิดอาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการกำจัดของเสียที่เรียก เนฟิเดีย (nephridia flame cell)

สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ โดยอาศัยการงอกใหม่ (regeneration) และโดยมีอาศัยเพศ แบบสองเพศในตัวเดียวกัน (hermaphodise) และสามารถผสมข้ามตัว หรือผสมภายในตัวเอง แล้วแต่วงศ์ ไข่มีขนาดเล็ก เมื่อผสมแล้วจะปล่อยออกภายนอกตัว มีทั้งที่หากินเป็นอิสระและเป็นปรสิต

ปัจจุบันจำแนกสัตว์ในกลุ่มนี้ออกเป็น 4 ชั้น คือ

ชั้นทรีมาโตดา (Trematoda) ได้แก่ พยาธิใบไม้ ทุกชนิด ลักษณะลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง เป็นปรสิตทั้งในสัตว์และคน มีหอยน้ำจืดเป็นสื่อกลางในการแพร่พันธุ์
กลุ่มพยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchis viverrini) ฟักตัวในเลือด
กลุ่มพยาธิใบไม้ในลำไส้ (Fasciolopsis buski) ตัวอ่อนของพยาธิ (cercaria) อาศัยอยู่ในน้ำ
ชั้นเทอร์เบลลาเรีย (Turbellaria) ได้แก่
พลานาเรีย พบในน้ำจืดตามสระและคูน้ำ หนอนหัวขวาน พบในที่ชื้นตามป่าและสวน ลักษณะลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง คล้ายพวกพยาธิใบไม้ ส่วนใหญ่อยู่อาศัยอย่างอิสระ
ชั้นเซสโตดา (Cestoda) ได้แก่ พยาธิตัวตืด ทุกชนิด ลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้องต่างๆ แต่ละปล้องสามารถเจริญสืบพันธุ์เป็นตัวใหมได้ ระยะตัวอ่อนจะฝังตัวในกล้ามเนื้อของสัตว์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เม็ดสาคู ส่วนหัวซึ่งเรียกว่า สโคเลกซ์ (Scolex) มีอวัยวะยึดเกาะที่เรียกว่า Sucker
กลุ่มพยาธิตืดหมู (Taenia solium)
กลุ่มพยาธิตืดวัว (Taenia saginata)

โมโนจีเนีย (Monogenea) หนอนตัวแบนโบราณ



วิธีกำจัดมันตอนนี้ที่เห็นผลที่สุดคือการ
แช่น้ำเกลือเข้มข้น   ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 1 ถ้วย แช่กุ้งไว้ประมาณ 10 วิ  (เคยแช่ไว้ครึ่งชั่วโมงยังหน้สด้านไม่ไปไหนอีกสามวันกุ้งตายแต่ตัวที่ผมแช่ไปเกาะทั้งตัวไปจนหางเลย )
ที่เคยใช้แล้วหายก็ เกลือปรุงทิพย์เหยาะลงตรงๆตัวกุ้ง(ฝั่งรูใหญ่)สักสามสี่เหยาะ วันละสองสามครั้ง หายครับที่เคยลองกับกุ้งที่มีติดอยุ่ไม่เยอะมาก
ทางฝั่งเครฟิชเค้าก็มีวิธีกำจัดปรสิต พยาธิ ในวิธีที่คล้ายกัน (แต่เค้าก็บอกไว้แล้วนะ ว่าไม่ค่อยเหมาะกับกุ้งแคระ)
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=meogui&date=16-10-2011&group=1&gblog=26
(อาจจะทำกำจัดได้ด้วยวิธีที่กำจัดพานาเลียได้   ย้ำ! ว่าอาจจะ)
ปล. มีตัวเดียวกุ้งก็ตายได้ อย่าชะล่าใจละครับ ด้วยความหวังดี wuuuu อ้อ  !!! เกือบลืมไปสำมะคันมากๆ  เจ้า Scutariella japonica  มันสามารถไปติดกับกุ้งอื่นได้ด้วยนะครับ คล้ายๆไข้หวัดเลยทางที่ดีแยกตัวที่เป็นออกมาจะดีกว่าครับ
Scutariella japonica ส่วนมากจะเกิดจากการหมักหมมของของเสียภายในตู้ รองพื้นสกปรกมาก และ อาจจะมากับกุ้งป่า
ขอโทษด้วยนะครับถ้าใช้คำที่ไม่เหมาะสม
ข้อมูลส่วนมากมาจาก wiki นะครับ
ข้อมูลถูกผิดประการ ขอโทษด้วยนะครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23/09/14, [02:11:28] โดย สแตมป์ »
bunibuni33 ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #1 เมื่อ: 23/09/14, [03:11:16] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เพิ่งรุ้จักชื่อแส้เจ้าตัวนี้^^ ขอบคุนข้อมูลดีๆคะ  [เจ๋ง] [เจ๋ง]
เพราะเคยมีกุ้งในตู้เป็นแบบนี้เหมือนกันเลยค่ะ ตอนซื้อกุ้งมาลงใหม่ๆก้อจะเจอ  #งดเติมจุลินทรีย์ในน้ำเพราะเคยเติมลงไปแล้วปรากฎว่ามานยิ่งแพร่เชื้อไปติดตัวอื่นไวมากๆๆคะ เลยรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่เจ้าตัวนี้ก็ค่อยๆหายไปเลยค่ะ มาไวไปไว ^^ 
SmileOct. ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #2 เมื่อ: 01/10/14, [09:47:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ  [เจ๋ง]
Boy aquarium & Crayfish ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #3 เมื่อ: 03/10/14, [22:41:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โอ้แม่จ้าวนี้มันสัตว์ประหลาดชัดๆ เอาไป1+ไอ้น้อง
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: