Aqua.c1ub.net
*
  Sat 20/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอผู้มีประสบการณ์ช่วยเเนะนำครับ  (อ่าน 539 ครั้ง)
su_pea ออฟไลน์
Club Member
« เมื่อ: 19/04/14, [11:11:14] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คือผมคิดว่าตะไคร่มันน่าจะเกาะตามแอนตามแฮมเมอร์ เเละก้นตู้อีกหลายๆ อย่างอะครับ ทำหั้ยมันบานไม่เต็มที่ใช่ไหม เเระมีผลกับการสังเคราะห์เเสงไหม หากมันเกาะจิง ผมจะทำไงกับมัน เพราะขนาดข้างกระจก ขัดได้สามวันก้อมาอีก ตอนนี้ ตะไคร่เขียวเกาะหินเป๋นป่าเหมือนทุ่งหญ้าเเพรกเลย หอยมันคงกินไม่ได้ เพราะมันต้นใหญ่แล้ว ส่วนสีน้ำตาลก้อมาเรื่อย ไงก็เเนะนำหน่อยครับ ตั้งตู้มา จะ 6 เดือนเเล้ว ทำไมมันไม่หายไปสักที
chatkana ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #1 เมื่อ: 19/04/14, [14:41:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอรายละเอียดเพิ่มครับ
ขนาดตู้
ระบบกรอง
อุปกรณ์
ไฟ
จำนวนสิ่งมีชีวิตในตู้

ตะไคร่มันเกิดเรื่อยๆละครับ มากน้อยว่ากันไป
แต่ถ้ามาเยอะแบบต่อเนื่องนี่ ต้องดูเคสบายเคสละครับ
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #2 เมื่อ: 19/04/14, [14:52:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เรื่องตะไคร่ เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก มองผ่านๆมันเป็นเรื่องพื้นฐาน ที่ใครๆก็เจอครับ เพียงแต่ใครเจอมากก็ปวดหัวมาก
ครั้นจะว่า ทุกตู้มีตะไคร่ มันก็เป็นเรื่องจริงอีกนั่นแหละ

ส่วนการมีตะไคร่เกาะตามปะการัง ย่อมส่งผลให้ไม่บาน บานไม่เต็มที่แน่ๆครับ
และก็มีผลกับการสังเคราะห์แสงอีกเช่นกันครับ
ที่ทำได้ ขั้นแรก คงพู่กันครับ ปัดเบาๆ หากปัดออก คงช่วยได้ในระดับนึง
บางทีแต่ก่อนเคยขึ้นเกาะที่ฐานโกรฟ แบบเป็นเส้นๆเลย ผมก็เอามือดึงออกหากตะไคร่ยาวพอให้ทำแบบนั้นได้นะครับ

การปัดออก-ดึงออก คงเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาในอันดับแรก

แต่ระยะยาว ผมมองว่าจะง่ายก็ไม่ง่ายนัก แต่จะยากก็ไม่เชิงว่ามันยากเกินไป
เพียงแต่มันต้องอาศัยการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และ ใช้เวลานานเอาการอยู่

หากตัดเรื่องของน้ำจืดที่เรามาใช้ว่าเป็นน้ำ RO เป็นอย่างน้อย
คงต้องมองเรื่องของ
1. ที่มาและปริมาณของของเสีย
2. การกำจัดของเสียขึ้นพื้นฐาน
3. ตัวช่วยเสริมต่างๆ
เริ่มปวดหัวยัง... ขอยาวๆหน่อยนะ เพราะสั้นๆ คงไม่ได้ใจความ  [on_026] แต่จะเอาแบบไม่ยาวจนเกินไป

1.ที่มาและปริมาณของเสีย - หากของเสียในตู้มีมาก ย่อมส่งผลให้โอกาสการเกิดตะไคร่(อย่างต่อเนื่อง)มีสูงแน่นอน
การให้อาหารปลา การป้อนกุ้ง การสังเคราะห์แสง รวมถึงความหนาแน่นของสิ่งมีชิีวิตในตู้ ล้วนเป็นตัวที่ทำให้เกิดของเสียแน่ๆ แก้ไขโดย ลดอาหารปลาให้น้อยลง หรือ ป้อนอาหารปะการังน้อยลง เป็นอันดับแรกๆที่ทำได้ แต่น้อยลงมันแค่ไหน อันนี้ตอบยากครับ มือคนเลี้ยงแต่ละคนไม่เท่ากัน ความสนุกสนานในการชมปลากินอาหารอย่างเอร็ดอร่อย ก็ทำให้อดใจไม่ไหว
สรุป เอาแค่พองาม คิดแค่ว่า   ให้เยอะ ปัญหาตามมาเยอะ ... ให้น้อยไป ก็สงสาร
อีกทั้งชนิดของสิ่งมีชีวิตที่เราเลี้ยง ก็ผลิตของเสียได้แตกต่างกัน(มาก) เช่น การ์ตูน10ตัว อาจสร้างของเสียได้น้อยกว่าแทงก์3ตัว อะไรประมาณนี้

2.การกำจัดของเสียขั้นพื้นฐาน - คืออุปกรณ์แรกๆในการกำจัดของเสียเช่น กระแสน้ำที่ดีที่นำของเสียจากตู้หลักเข้าระบบกรอง->ถุงกรอง->สกิมเมอร์->หินเป็น เป็นพื้นฐานตู้ทะเลซึ่งรู้กันทุกท่านอยู่แล้ว ก็จัดการให้พอเหมาะพอดีครับ
  กระแสน้ำดีๆ จัดยากหน่อย แต่ก็ต้องทำครับ ไม่งั้นสกิมราคาสูงๆ อาจใช้งานได้ไม่สมราคาและประสิทธิภาพ
  ถุงกรอง ล้างบ่อยหน่อย ถ้าหากว่าเดิมล้างบ่อยแล้วยังมีตะไคร่ ก็ต้องล้างให้บ่อยกว่าเดิม  ช่วงผมมีตะไคร่เริ่มเยอะผมถึงขนาดล้างทุกวันหรือวันเว้นวันเลยทีเดียว เกือบเดือนกว่าจะรู้สึกว่าทีลงทุนทำลงไปไม่สูญเปล่า
  สกิมเมอร์ ก็หาที่มันพอเหมาะครับ ไม่ใช่แค่เหมาะกับปริมาณน้ำ แต่ต้องเหมาะกับความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตในตู้ด้วย ถ้วยสกิมก็ล้างพร้อมกันถุงกรองก็ได้ ง่ายดี
  หินเป็น ถ้ามีไม่มากพอ(กับปริมาณของเสีย) คงต้องจัดเพิ่ม ทั้งจัดลงตู้หลักให้สวยงาม และ กรองล่าง
** แต่ละตู้ไม่เหมือนกัน ทั้งขนาดและความหนาแน่นรวมถึงชนิดสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยง ไม่มีตายตัวครับกำหนดเป็นรุ่นๆไม่ได้ ให้ดูตามความเหมาะสมแต่ละตู้ไปครับ

3.ตัวช่วยเสริม นับรวมถึง ทั้งสิ่งมีชีิวิตและอุปกรณ์นะครับ
  3.1เสริมด้วยสิ่งมีชีวิต - ก็ออกแนวๆ กินมันซะ กินให้เรียบ กินให้เกลี้ยง เลือกใช้บริการกันตามใจชอบครับ ทั้งแทงก์กินตะไคร่ ปูกุ้งทั้งหลาย หอยหรือเม่น เป็นทางเลือกที่ง่ายดี แต่***** ต้องไม่ลืมว่า สิ่งที่เราเอาลงไปเพิ่มนั้น มันก็เป็นตัวผลิตของเสียด้วยเช่นกัน ต้องคำนวนดีๆครับ ว่าจะลงอะไร? เพื่อกำจัดอะไร? หาตัวที่เก่งที่สุดที่กินตะไคร่ปัญหาที่เรามีครับ
  3.2 เสริมด้วยมือ - มือครับ ดึงได้ดึง ขัดได้ขัด ขัดแล้วทิ้ง ขัดแล้วล้างถุง ล้างสกิม เพื่อให้ตะไคร่ออกไปจากตู้เราให้เร็วที่สุด
  3.3 เสริมด้วยการเปลี่ยนน้ำ - พอเริ่มกำจัดตะไคร่ที่ตามองเห็นได้ทั้งหาตัวมากิน ทั้งขัด-ดึงออก คงต้องเปลี่ยนน้ำเพื่อเอาของเสียออกจากตู้ครับ อันนี้ก็เร็วดี ทำให้ของเสียที่เข้มข้น จางลง ก็ช่วยลดตะไคร่ที่จะมาใหม่ได้ครับ แต่ไม่ทันตาเห็น ไม่ทันใจนะครับ ต้องเปลี่ยนน้ำอีกหลายครั้ง ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ  ถ้ามันยังมีอีกก็ กิน ดึง ขัด ล้าง ทำซ้ำไปเรื่อยๆ
  3.4เสริมด้วยอุปกรณ์ - ออกแนวแบบว่า แก้ไม่ตกแล้ว คงต้องใช้อันนี้ครับ ไบโอพาเลต ฟอสเฟตรีมูฟ เพื่อดึงของเสียออกตู้ครับ ถ้าตะไคร่สีน้ำตาลเยอะหน่อยเดาว่าNO3มีเยอะไว้ก่อน ถ้าสีเขียวเยอะกว่าเดาเอาว่าฟอสเฟตเยอะ ก็เลือกใช้เอาครับว่าจะลดตัวไหนก่อน
  3.5เรฟูเจี้ยม - อันนี้ใช้ไม่ง่ายนักครับ ดูเหมือนจะช่วยได้ดี แต่มันเป็นตัวนึงที่ทั้งดึงของเสียออกและเพิ่มของเสียเข้าระบบตู้เรา จะใช้เรฟูได้ดี ต้องมีปริมาณพืชมากพอและมีการดูแลอย่างต่อเนื่องครับ

สุดท้าย การสู้กับตะไคร่ ไม่ง่ายครับ แต่คงไม่ยากเกินไป เพียงแต่ที่ทำๆลงไปมันไม่เห็นผลทันที และต้องทำควบคู่กันหลายอย่าง และต้องมีการทำต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลครับ
ผมคนนึง สู้กับตะไคร่มาอย่างหนัก ตั้งแต่อดีตกาล  [on_007] จนปัจจุบันมันก็มี เพียงแต่อยู่ในระดับที่ผมรับได้ สู้มาทุกสีครับ ทั้งน้ำตาล เขียว แดง ทั้งเส้น ทั้งแผ่น ทั้งเม็ดกลมๆ ไซยาโน
ไม่ได้ว่าตัวเองเก่ง เป็นเทพ อะไรนะครับ เคยสู้กับมันบางครั้งยังมีท้อเป็นบางช่วง อยากเลี้ยงปลาล้วนให้จบๆปัญหาไปก็มี

สุดท้ายผมก็ทำตามแบบด้านบนเกือบทั้งหมด (ยกเว้นอุปกรณ์เสริมเพราะงบหมด) ทำไปเรื่อยๆ ดูแลให้มากขึ้น ทำซ้ำๆไป น่าจะไม่ต่ำกว่า 2-3เดือน จึงเห็นผลแบบสังเกตุได้ รู้สึกได้ ว่ามันลดลงแล้วจริงๆ

ท้อได้ แต่ ไม่ถอยนะครับ  ใจเย็นๆ สู้กับมัน ลงทุนลงแรงกับตู้เราไปตั้งเยอะ จะไปยอมแพ้มันได้ไง  [on_048]
chatkana ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #3 เมื่อ: 19/04/14, [15:08:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [mo_001] [mo_001]

เอาไปสิบดาวเลยครับ  [on_066]
bill2517 ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #4 เมื่อ: 19/04/14, [15:13:58] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

[mo_001] [mo_001]

เอาไปสิบดาวเลยครับ  [on_066]

ไม่ขนาดนั้นครับ

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ทุกคนพอจะทราบกันคร่าวๆอยู่แล้ว ว่าตะไคร่ มันเกิดยังไง มันแก้ยังไง

เพียงแต่หลายคนลองแก้ดู 3วัน 7วัน มันทำไมไม่หายซักที หรือมันไม่ทันใจเรา เหมือนว่าที่ทำไปมันไม่เห็นปลายทางซักที
มีเคสที่เคยเจอ บางคนทำเป็นเดือน ตะไคร่ก็ยังเท่าเดิม

พอลองให้ทำใหม่แบบจริงๆจังๆ มันก็ลดลงเองครับ ปรากฎว่าเคสที่เคยเจอ ยังไม่ได้ทำแบบตั้งใจจริงๆ มันจึงไม่ลดลง แค่นั้นเอง (มีเคสแบบนี้เยอะซะด้วย)

ถ้าตั้งใจทำจริงๆจังๆ ตะไคร่ลดลงทุกเคสครับ ผมยืนยัน
su_pea ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #5 เมื่อ: 20/04/14, [21:45:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอรายละเอียดเพิ่มครับ
ขนาดตู้
ระบบกรอง
อุปกรณ์
ไฟ
จำนวนสิ่งมีชีวิตในตู้

ตะไคร่มันเกิดเรื่อยๆละครับ มากน้อยว่ากันไป
แต่ถ้ามาเยอะแบบต่อเนื่องนี่ ต้องดูเคสบายเคสละครับ

ตู้ผมขนาด 15*15*15 ทรงแบบลูกเต๋า อะครับ
ตู้กรองล่างขนาดใกล้เคียงกัน ใส่เศษปะการัง ประมาณ 2 กิโล
สกิมเมอร์ แบบปั้มน้ำอะครับ nac QQ ตัวเล็ก ปั้ม 8 W มั้ง จำไม่ได้
ปั้มหลัก AP 1600 มั้งนะพี่
ไฟ LED 72 W มีหลอดย่าน UV 1หลอด ขนาด 3 W. เมื่อก่อนเปิด 08.00-22.00 ประมาณ เเต่ตอนนี้ เปิด 15.00-22.00

เยลโล่สกูบาร์ 1
ส้มขาว 2 ตัว
หอยนมสาว 1
กุ้งนักเลง 1
ก้นม่วง 1 เท่ากำปั้นได้มั้ง หดไม่มีหนวดเลย ไม่เดินไปไหน ฐานมันยังมีสีม่วงเข้มๆ นะไม่รุปกติป่าววว
กระดุมเขียวๆ 1 ก้อน เท่ากำปั้นมือ
หินเขียว 1
หนอนท่อ 1

ให้อาหารเม็ดเล็ก วันละสองเวลา เวลาละ ประมาณ 10 เม็ด

ก้อประมาณนี้อะครับ  [on_007] [on_007]


su_pea ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #6 เมื่อ: 20/04/14, [21:54:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เรื่องตะไคร่ เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก มองผ่านๆมันเป็นเรื่องพื้นฐาน ที่ใครๆก็เจอครับ เพียงแต่ใครเจอมากก็ปวดหัวมาก
ครั้นจะว่า ทุกตู้มีตะไคร่ มันก็เป็นเรื่องจริงอีกนั่นแหละ

ส่วนการมีตะไคร่เกาะตามปะการัง ย่อมส่งผลให้ไม่บาน บานไม่เต็มที่แน่ๆครับ
และก็มีผลกับการสังเคราะห์แสงอีกเช่นกันครับ
ที่ทำได้ ขั้นแรก คงพู่กันครับ ปัดเบาๆ หากปัดออก คงช่วยได้ในระดับนึง
บางทีแต่ก่อนเคยขึ้นเกาะที่ฐานโกรฟ แบบเป็นเส้นๆเลย ผมก็เอามือดึงออกหากตะไคร่ยาวพอให้ทำแบบนั้นได้นะครับ

การปัดออก-ดึงออก คงเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาในอันดับแรก

แต่ระยะยาว ผมมองว่าจะง่ายก็ไม่ง่ายนัก แต่จะยากก็ไม่เชิงว่ามันยากเกินไป
เพียงแต่มันต้องอาศัยการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และ ใช้เวลานานเอาการอยู่

หากตัดเรื่องของน้ำจืดที่เรามาใช้ว่าเป็นน้ำ RO เป็นอย่างน้อย
คงต้องมองเรื่องของ
1. ที่มาและปริมาณของของเสีย
2. การกำจัดของเสียขึ้นพื้นฐาน
3. ตัวช่วยเสริมต่างๆ
เริ่มปวดหัวยัง... ขอยาวๆหน่อยนะ เพราะสั้นๆ คงไม่ได้ใจความ  [on_026] แต่จะเอาแบบไม่ยาวจนเกินไป

1.ที่มาและปริมาณของเสีย - หากของเสียในตู้มีมาก ย่อมส่งผลให้โอกาสการเกิดตะไคร่(อย่างต่อเนื่อง)มีสูงแน่นอน
การให้อาหารปลา การป้อนกุ้ง การสังเคราะห์แสง รวมถึงความหนาแน่นของสิ่งมีชิีวิตในตู้ ล้วนเป็นตัวที่ทำให้เกิดของเสียแน่ๆ แก้ไขโดย ลดอาหารปลาให้น้อยลง หรือ ป้อนอาหารปะการังน้อยลง เป็นอันดับแรกๆที่ทำได้ แต่น้อยลงมันแค่ไหน อันนี้ตอบยากครับ มือคนเลี้ยงแต่ละคนไม่เท่ากัน ความสนุกสนานในการชมปลากินอาหารอย่างเอร็ดอร่อย ก็ทำให้อดใจไม่ไหว
สรุป เอาแค่พองาม คิดแค่ว่า   ให้เยอะ ปัญหาตามมาเยอะ ... ให้น้อยไป ก็สงสาร
อีกทั้งชนิดของสิ่งมีชีวิตที่เราเลี้ยง ก็ผลิตของเสียได้แตกต่างกัน(มาก) เช่น การ์ตูน10ตัว อาจสร้างของเสียได้น้อยกว่าแทงก์3ตัว อะไรประมาณนี้

2.การกำจัดของเสียขั้นพื้นฐาน - คืออุปกรณ์แรกๆในการกำจัดของเสียเช่น กระแสน้ำที่ดีที่นำของเสียจากตู้หลักเข้าระบบกรอง->ถุงกรอง->สกิมเมอร์->หินเป็น เป็นพื้นฐานตู้ทะเลซึ่งรู้กันทุกท่านอยู่แล้ว ก็จัดการให้พอเหมาะพอดีครับ
  กระแสน้ำดีๆ จัดยากหน่อย แต่ก็ต้องทำครับ ไม่งั้นสกิมราคาสูงๆ อาจใช้งานได้ไม่สมราคาและประสิทธิภาพ
  ถุงกรอง ล้างบ่อยหน่อย ถ้าหากว่าเดิมล้างบ่อยแล้วยังมีตะไคร่ ก็ต้องล้างให้บ่อยกว่าเดิม  ช่วงผมมีตะไคร่เริ่มเยอะผมถึงขนาดล้างทุกวันหรือวันเว้นวันเลยทีเดียว เกือบเดือนกว่าจะรู้สึกว่าทีลงทุนทำลงไปไม่สูญเปล่า
  สกิมเมอร์ ก็หาที่มันพอเหมาะครับ ไม่ใช่แค่เหมาะกับปริมาณน้ำ แต่ต้องเหมาะกับความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตในตู้ด้วย ถ้วยสกิมก็ล้างพร้อมกันถุงกรองก็ได้ ง่ายดี
  หินเป็น ถ้ามีไม่มากพอ(กับปริมาณของเสีย) คงต้องจัดเพิ่ม ทั้งจัดลงตู้หลักให้สวยงาม และ กรองล่าง
** แต่ละตู้ไม่เหมือนกัน ทั้งขนาดและความหนาแน่นรวมถึงชนิดสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยง ไม่มีตายตัวครับกำหนดเป็นรุ่นๆไม่ได้ ให้ดูตามความเหมาะสมแต่ละตู้ไปครับ

3.ตัวช่วยเสริม นับรวมถึง ทั้งสิ่งมีชีิวิตและอุปกรณ์นะครับ
  3.1เสริมด้วยสิ่งมีชีวิต - ก็ออกแนวๆ กินมันซะ กินให้เรียบ กินให้เกลี้ยง เลือกใช้บริการกันตามใจชอบครับ ทั้งแทงก์กินตะไคร่ ปูกุ้งทั้งหลาย หอยหรือเม่น เป็นทางเลือกที่ง่ายดี แต่***** ต้องไม่ลืมว่า สิ่งที่เราเอาลงไปเพิ่มนั้น มันก็เป็นตัวผลิตของเสียด้วยเช่นกัน ต้องคำนวนดีๆครับ ว่าจะลงอะไร? เพื่อกำจัดอะไร? หาตัวที่เก่งที่สุดที่กินตะไคร่ปัญหาที่เรามีครับ
  3.2 เสริมด้วยมือ - มือครับ ดึงได้ดึง ขัดได้ขัด ขัดแล้วทิ้ง ขัดแล้วล้างถุง ล้างสกิม เพื่อให้ตะไคร่ออกไปจากตู้เราให้เร็วที่สุด
  3.3 เสริมด้วยการเปลี่ยนน้ำ - พอเริ่มกำจัดตะไคร่ที่ตามองเห็นได้ทั้งหาตัวมากิน ทั้งขัด-ดึงออก คงต้องเปลี่ยนน้ำเพื่อเอาของเสียออกจากตู้ครับ อันนี้ก็เร็วดี ทำให้ของเสียที่เข้มข้น จางลง ก็ช่วยลดตะไคร่ที่จะมาใหม่ได้ครับ แต่ไม่ทันตาเห็น ไม่ทันใจนะครับ ต้องเปลี่ยนน้ำอีกหลายครั้ง ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ  ถ้ามันยังมีอีกก็ กิน ดึง ขัด ล้าง ทำซ้ำไปเรื่อยๆ
  3.4เสริมด้วยอุปกรณ์ - ออกแนวแบบว่า แก้ไม่ตกแล้ว คงต้องใช้อันนี้ครับ ไบโอพาเลต ฟอสเฟตรีมูฟ เพื่อดึงของเสียออกตู้ครับ ถ้าตะไคร่สีน้ำตาลเยอะหน่อยเดาว่าNO3มีเยอะไว้ก่อน ถ้าสีเขียวเยอะกว่าเดาเอาว่าฟอสเฟตเยอะ ก็เลือกใช้เอาครับว่าจะลดตัวไหนก่อน
  3.5เรฟูเจี้ยม - อันนี้ใช้ไม่ง่ายนักครับ ดูเหมือนจะช่วยได้ดี แต่มันเป็นตัวนึงที่ทั้งดึงของเสียออกและเพิ่มของเสียเข้าระบบตู้เรา จะใช้เรฟูได้ดี ต้องมีปริมาณพืชมากพอและมีการดูแลอย่างต่อเนื่องครับ

สุดท้าย การสู้กับตะไคร่ ไม่ง่ายครับ แต่คงไม่ยากเกินไป เพียงแต่ที่ทำๆลงไปมันไม่เห็นผลทันที และต้องทำควบคู่กันหลายอย่าง และต้องมีการทำต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลครับ
ผมคนนึง สู้กับตะไคร่มาอย่างหนัก ตั้งแต่อดีตกาล  [on_007] จนปัจจุบันมันก็มี เพียงแต่อยู่ในระดับที่ผมรับได้ สู้มาทุกสีครับ ทั้งน้ำตาล เขียว แดง ทั้งเส้น ทั้งแผ่น ทั้งเม็ดกลมๆ ไซยาโน
ไม่ได้ว่าตัวเองเก่ง เป็นเทพ อะไรนะครับ เคยสู้กับมันบางครั้งยังมีท้อเป็นบางช่วง อยากเลี้ยงปลาล้วนให้จบๆปัญหาไปก็มี

สุดท้ายผมก็ทำตามแบบด้านบนเกือบทั้งหมด (ยกเว้นอุปกรณ์เสริมเพราะงบหมด) ทำไปเรื่อยๆ ดูแลให้มากขึ้น ทำซ้ำๆไป น่าจะไม่ต่ำกว่า 2-3เดือน จึงเห็นผลแบบสังเกตุได้ รู้สึกได้ ว่ามันลดลงแล้วจริงๆ

ท้อได้ แต่ ไม่ถอยนะครับ  ใจเย็นๆ สู้กับมัน ลงทุนลงแรงกับตู้เราไปตั้งเยอะ จะไปยอมแพ้มันได้ไง  [on_048]

ขอบคุณมากครับพี่

ผมจะทำตามขั้นตอนพี่ไปเรื่อย ๆ ดูว่าใครมันจะเจ๋งกว่ากัน ไม่มันก้อผม หั้ยตายกันไปข้างนึง

 [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง]

หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: