Aqua.c1ub.net
*
  Sat 12/Jul/2025
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ถามตอบ เกี่ยวกับ RO/DI  (อ่าน 5823 ครั้ง)
GinkoSea.com ออฟไลน์
Club Follower
« เมื่อ: 11/12/12, [19:13:27] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

RO/DI FAQ คำถามตอบ เกี่ยวกับ RO/DI

อะไรคือ RO/DI ?

เป็นคำย่อนี้มีความหมายถึง ระบบกรองรีเวอร์สออสโมซิส และดีไอออนไนเซชั่น (Reverse Osmosis และ Deionization)
ซึ่งเป็นระบบกรองน้ำรูปแบบหนึ่งที่มีการทำงานร่วมกันของการกรองหลายชนิด (หลายขั้นตอน) ที่สามารถผลิตน้ำซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงจากน้ำประปาทั่วไป


มีความสำคัญต่อการเลี้ยงตู้ทะเลอย่างไร?

น้ำประปาทั่วไปอาจมีสารเจือปนซึ่งสามารถสร้างปัญหาได้เมื่อเรานำมาใช้ในการเลี้ยงตู้ทะเลของเรา
สิ่งเจือปนที่มักพบก็ได้แก่ ฟอสเฟต, ไนเตรท, ซิลิเกต, คลอรีน-คลอรามีน และโลหะหนักต่างๆ
ปริมาณฟอสเฟต, ไนเตรท และซิลิเกตที่มากเกินจะทำให้ตะไคร่ที่เราไม่ต้องการเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ (Algae bloom)
โลหะหนักเช่น ทองแดง(copper) มักพบได้บ่อยในน้ำประปาเนื่องจากการละลายจากระบบท่อของประเทศที่ใช้ท่อประปาทองแดง
ทองแดงมีความเป็นพิษอย่างมากต่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่ง RO/DI สามารถกำจัดสารเจือปนทุกตัวที่กล่าวมาข้างต้นได้


RO/DI มีการทำงานอย่างไร?

ปกติแล้ว RO/DI จะมีขั้นตอนการกรองประกอบไปด้วยอย่างน้อย 4 ขั้นตอน คือ
การกรองตะกอน, กรองคาร์บอน, รีเวอร์สออสโมซีสเมมเบรน และดีไอออนไนเซชั่นเรซิ่น
หากเป็นระบบกรองซึ่งมีขึ้นตอนน้อยว่า 4 ตัวนี้สิ่งที่จะขาดไปคือ ขั้นตอนการกรอง DI เรซิ่น
หากมีขึ้นตอนมากกกว่านั้นมักจะเป็นการขยาย ขั้นตอนใดขึ้นตอนหนึ่งให้มากขึ้นเช่นเพิ่มขึ้นตอนการกรอง DI เป็น 2 ขึ้นตอน



1. การกรองตะกอน: ปกติแล้วจะใช้เส้นใยอัดแท่ง เป็นตัวกรองตะกอนที่มากับน้ำประปา
ประโยชน์เพื่อปกป้อง ไส้กรองคาร์บอนบล็อก และ อาร์โอเมมเบรน จากการอุดตัน
ไส้กรองตะกอนที่ดีจะมีความสามารถกักเก็บตะกอนได้มากและกรองตะกอนขนาด 1-5 ไมครอนขึ้นไป

2. การกรองคาร์บอน: สำหรับกรองคลอรีนและสารอินทรีที่มากับน้ำประปาเพื่อป้องกัน
การเสื่อมสภาพของพื้นผิวอาร์โอเมมเบรนจากการสำผัสคลอรีน




3. รีเวอร์สออสโมซีสเมมเบรน(RO เมมเบรน): เป็นตัวกรองแบบเยื่อเลือกผ่าน semi-permeable ที่บางมาก
ทำจากวัสดุที่มีรูพรุนขนาดเล็กมาก ที่ความดันสูงน้ำจะถูกอัดผ่านเยื่อนี้ไป โดยโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่กว่าน้ำจะแทรกผ่านไปได้น้อยกว่าและจะถูกขับทิ้งไปกับน้ำทิ้ง




4. ดีไอออนไนเซชั่นเรซิ่น (Deionization Resin): โดย DI เรซิ่นจะทำการดูดจับไอออนของสารเจือปนในน้ำที่หลงเหลือจากการกรองอาร์โอด้วยการแลกเปลี่ยนไอออน คงเหลือใว้เพียงโมเลกุลของน้ำ




ชนิดของเมมเบรน CTA และ TFC อะไรคือ?

ชนิดรีเวอร์สออสโมซีสเมมเบรน ที่มีขายอยู่ในตลาด หลักๆมีสองชนิด
Cellulose Triacetate (CTA) และ Thin Film Composite (TFC)
เกือบทั้งหมดของอาร์โอเมมเบรนที่ขายอยู่ในตลาดตู้ปลาเป็นชนิด TFC ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดในการกำจัดเกลือแร่
ความแตกต่างจากเมมเบรนสองชนิดนี้คือความคงทนต่อคลอรีนอิสระ (Free chlorine) และความสามารถในการกรองเกลือแร่ออกจากน้ำ
ชนิด CTA ต้องการคลอรีนในน้ำ เพื่อป้องกันเสื่อมเสียของผิวเมมเบรนเนื่องจากแบคทีเรีย (มีความสามารถในการกรองเลือแร่ออกได้น้อยกว่าชนิด TFC)
ชนิด TFC พื้นผิวจะโดนทำลายจากคลอรีนได้ง่ายมาก ต้องป้องกันการสำผัสกับคลอรีน (ชนิดนี้มีความสามารถในการกรองเลือแร่ออกได้ดีที่สุด)
เนื่องจากคุณสมบัติเด่นของเมมเบรนชนิด TFC ที่เหมาะสมต่อการใช้งานในตลาดตู้ปลาอีกทั้งหาง่ายในบ้านเรา บทความฉบับนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเมมเบรนชนิดนี้


ขั้นตอนการกรอง DI จำเป็นสำหรับฉันหรือเปล่า?

คุณสามารถจะประหยัดเงินบางส่วนได้ หากคุณซื้อระบบกรองแบบอาร์โอ 3 ขึ้นตอน ที่ไม่มี DI
การกรองแบบรีเวอร์สออสโมซีส โดยปกติแล้วสามารถจำกัดสารเจือปนที่มากับน้ำประปาได้ ราว 90-98%
เมื่อเปรียบเทียบระบบ(ตู้) ที่ใช้น้ำประปากับระบบที่ใช้รีเวอร์สออสโมซีสจะพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
และถ้าคุณรู้สึกว่าเท่านั้นมันเพียงพอสำหรับความต้องการของคุณ DI ก็ไม่จำเป็น
การใช้น้ำ อาร์โอ โดยตัวมันเองแล้วก็ดีกว่าการใช้น้ำประปาธรรมดาอย่างแน่นอน
ในหลายกรณีก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เช่นการใช้ในระบบที่เลี้ยงปลาล้วน

ในบางกรณีที่การใช้อาร์โอเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยง เช่นถ้าน้ำประปามีปริมาณ
สิ่งเจือปนที่เราต้องการกำจัดออกอยู่มาก แต่ความสามารถของอาร์โอจะกรองได้มีเพียง 90-98%
ตัวอย่างถ้าในน้ำประปาของเรามีฟอสเฟตอยู่ 10 PPM ซึ่งเมื่ออาร์โอกำจัดออกไปแล้ว 90%
เหลือฟอสเฟตอยู่ 1 PPM นั้นก็ยังเป็นค่าที่สูงมากอยู่ สำหรับการเลี้ยงตู้ประการัง
แต่ถ้าหากคำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นเหตุผลหลัก การติด DI ภายหลังก็สามารถทำได้เช่นกัน




จะใช้ DI อย่างเดียวโดยไม่มี RO เลยได้หรือไม่?

การใช้ตัวกรอง DI เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เหมาะสม เนื่องจากการกรอง DI ถูกออกแบบมาให้ผลิตน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง
แต่ไม่เหมาะสมที่จะรองรับเกลือแร่ปริมาณมากที่มีอยู่ในน้ำประปา ทำให้การนำดีไอเรซิ่นมาต่อตรงกันน้ำประปานั้น
สามารถกรองน้ำให้สะอาดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งความบริสุทธิ์ก็จะไม่สูงเท่าการทำงานร่วมกับ RO ซึ่งนอกจาก
การกรองอาร์โอจะกำจัดเกลือแร่ส่วนมากออกไปแล้ว แล้วตัวอาร์โอและคาร์บอนก็ยังสามารถกำจัดสารต่างๆที่ DI ไม่สามารถกรองออกได้

เครื่องกรอง RO/DI ที่มีขึ้นตอนการกรองมากกว่า 4 ขั้นตอนหมายความว่าอย่างไร?

ขึ้นตอนการกรองที่เพิ่มขึ้น อาจะเป็นการขยายขนาดการกรองขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งให้มากขึ้น
หรืออาจจะน้ำระบบกรองรูปแบบอื่นๆผนวกเข้ามาเพื่อให้ได้ความสามารถการทำงานที่ไม่มีในระบบเดิม
แต่ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเพิ่มการกรอง ดีไอ หรือ คาร์บอน ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกรอง
และยืดอายุการทำงานให้ยาวนานมากขึ้น
ยกตัวอย่างการใช้งานระบบที่มีการกรอง DI หลายขั้นตอน ระยะเวลาที่เราก็จะต้องเปลี่ยนไส้กรองจะยาวนานขึ้น
และยังสามารถ ทำการเปลี่ยนไส้กรองแบบสลับกระบอกกรองลำดับแรกซึ่งประสิทธิภาพการกรองแล้วออก
และเลื่อนไส้กรองตัวถัดไปมาทำหน้าทีและ และใส่ไส้กรอง DI ตัวใหม่เข้าไปที่ตำแหน่งสุดท้าย (FIFO)

อีกตัวอย่างคือการมีการกรองตะกอนหรือ คาร์บอนหลายขึ้นตอนเช่น เราติดตั้งตัวกรองตะกอนหยาบขนาด 5-10 ไมครอน ไว้ก่อนหน้าไส้กรอง 1 ไมครอน
ก็จะสามารถลดการอุดตันของไส้กรอง 1 ไมครอน และยืดระยะเวลาการเปลี่ยนให้นานขึ้น
การใช้ไส้กรองคาร์บอน 2 ขั้นตอนนั้นนอกจากจะช่วยยืดเวลาการเปลี่ยนแล้วยังช่วยให้ประสิทธิภาพการกำจัดคลอรีน-คลอรามีนเพิ่มขึ้น
และลดปริมาณคลอรีนหลุดรอดไปทำลายพื้นผิวของเมมเบรนชนิด TFC และลดการหลุดรอดของสารต่างๆลงในตู้ของเราลงได้
การมีขึ้นตอนการกรองที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ระบบมีราคาที่สูงขึ้นและมีความซับซ้อน-ใช้พื้นที่ติดตั้งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แต่นั้นก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่าหากคุณใช้น้ำปริมาณมาก มีเวลาในการดูเลระบบน้อย หรือให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องคุณภาพน้ำที่กรองได้


กำลังการผลิตน้ำเท่าไรจึงเหมาะสมกับตู้ ?

RO/DI จะแสดงกำลังการผลิตเป็น หน่วย แกลอนต่อวัน gallons per day (GPD)
โดยทั่วไปจะมีให้เลือกอยู่ระหว่าง 50-75-150 GPD (หรือประมาณ 200-300-600 ลิตรต่อวัน) ขนาดกำลังการผลิตนี้จะขึ้นกับขนาดของ อาร์โอเมมเบรน
สิ่งที่แตกต่างกันของเครื่องแต่ละขนาดก็คือ ขนาดไส้กรอง ขนาดปั๊ม และตัวจำกัดน้ำทิ้ง (Flow restrictor)ซึ่งเป็นตัวควบคุมสัดส่วนปริมาณน้ำดี/น้ำทิ้ง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับขนาดเมมเบรน
ขนาดเมมเบรนที่ใหญ่ขึ้น ก็ทำให้อัตราการไหลผ่านของน้ำในไส้กรองคาร์บอนและดีไอเรซิ่นสูงขึ้น เวลาของการสำผัสของน้ำกับสารกรองน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีการขยายขนาดกรองต่างๆ และDI เรซิ่นให้เหมาะสมกับกำลังการผลิต

สำหรับผู้เลี้ยงทั่วไป ขนาด 75 GPD ก็เหมาะสมสำหรับการใช้งานแล้ว
หากผู้เลี้ยงมีถังสำรองน้ำขนาดที่เหมาะสมก็สามารถรองน้ำใว้ก็สามารถใช้งานเครื่องขนาดดังกล่าวได้
ถ้าเครื่องมีกำลังการผลิตสูงขึ้น ก็จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วและความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้น
เช่นเมื่อรองน้ำลงตู้ครั้งแรก และเมื่อต้องการใช้น้ำเร่งด่วน ก็จะทำได้เร็วขึ้น

อัตราการผลิตน้ำของอาร์โอเมมเบรน (GPD) มาตรฐานอุสาหกรรมนั้นระบุไว้
ที่การทำงานที่ ความดัน 60 PSI ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
อัตราการผลิตของอาร์โอเมมเบรนจะแปรผันตาม ปริมาณเกลือแร่ในน้ำประปา, ความดันน้ำ และอุณหภูมิขณะทำงาน


คลอรามีนในน้ำประปา จะใช้ได้หรือไม่?

ผู้ผลิตน้ำประปาบางรายมีการเติมคลอรามีน (เป็นส่วนผสมของแอมโมเนีย และคลอรีน) ลงไปในน้ำประปาเพื่อฆ่าเชื่อโรคในน้ำ โดยธรรมชาติคลอรามีนมีความคงตัวสูงกว่าคลอรีนอิสระ ไม่สลายตัวง่าย
นอกจากนี้คลอรามีนยังมีที่มาจากการทำปฏิกิริยาระหว่างคลอรีนกับสารอินทรีย์หรือแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำดิบที่ใช้ทำน้ำประปาได้ด้วย
ดังนั้นสำหรับผู้ผลิตน้ำประปาที่ใช้แก๊สคลอรีนหรือไฮโปคลอไรด์ก็ยังสามารถเกิดคลอรามีนในน้ำได้เช่นเดียวกัน แต่มักมีอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่าการเติมลง
หากเครื่องกรองใช้กับน้ำประปาชนิดที่เติมคลอรามีนโดยตรงควรเลือกคาร์บอนชนิดที่คุณภาพสูง เนื่องจากคลอรามีนถูกกำจัดโดยคาร์บอนได้ยากและน้อยกว่าคลอรีนอิสระ คาร์บอนที่ยิ่งละเอียดจะยิ่งสามารถกำจัดคลอรามีนได้ดี
ซึ่งหากคลอรามีนหลุดรอดการกรองของคาร์บอนมาก็จะส่งผลทำลายพื้นผิวเมมเบรน TFC, หลุดรอดไปกับน้ำ RO และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในตู้ด้วย
เท่าที่ทราบ สำหรับประปานครหลวงและข้อมูลของประปาท้องถิ่นหลายๆแหล่ง ไม่มีการใช้วิธีเติมคลอรามีน แต่ก็อาจจะมีบางแหล่งที่ทางผู้เขียนไม่มีข้อมูล




จะเป็นเช่นไร ถ้าเราใช้น้ำบาดาล?

น้ำบาดาลไม่มีคลอรีน ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องผลกระทบของคลอรีนต่อ อาร์โอเมมเบรชนิด TFC
แต่ไม่ควรซื้อ อาร์โอเมมเบรนชนิด CTA (ไม่ค่อยมีในบ้านเรา) ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานในน้ำที่ไม่มีการเติมคลอรีน
ตัวกรองคาร์บอน ไม่ค่อยมีความจำเป็นกับน้ำบาดาล แต่ที่ต้องใส่ใจคือเรื่องตะกอนและแร่ธาตุในน้ำ
เช่นธาตุเหล็ก หินปูน และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นตัวที่จะอุดตันเมมเบรนได้ การใช้ตัว Flush ล้างช่วยลดการอุดตันของเมมเบรน
หากน้ำบาดาลมีธาตุเหล็กหรือหินปูนมาก ควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านกรองน้ำเพื่อทำการกำจัดก่อนเข้าเครื่องกรองอาร์โอ


ทำไมถึงต้องมีน้ำทิ้ง?

ปกติระบบกรอง RO จะมีทางออกของน้ำอยู่ 2 ทาง คือ 1.น้ำดี หรือน้ำอาร์โอ (Permeate) 2.น้ำทิ้ง (Drain)
เครื่องอาร์โอจะต้องมีน้ำทิ้ง น้ำนี้คือน้ำที่ทำหน้าที่ระบายเกลือแร่ส่วนที่ไม่สามารถผ่านอาร์โอเมมเบรนไปได้
จะถูกชะออกมากับน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการตกตะกอนอุดตันพื้นผิวของอาร์โอเมมเบรน
ในน้ำทิ้งของอาร์โอนนั้นจะเป็นน้ำที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงขึ้นมากกว่าน้ำประปา
น้ำนี้ผ่านการกรองตะกอนและคาร์บอนมาแล้ว สามารถนำไปใช้งานอื่นๆได้


การติดตั้ง RO/DI ทำอย่างไร?

น้ำเข้านั้นมาจากระบบน้ำประปา(อุณหภูมิธรรมดา ห้ามใช้น้ำร้อน)
โดยจะมีตัวแยกน้ำมาจากท่อประปา หรือตัวแปลงเข้าก็อกน้ำ(อ่างล้างหน้า/ล้างจาน)
ซึ่งเหมาะสำหรับใช้งานในหอพักหรือ บ้านที่ดัดแปลงระบบท่อไม่ได้แล้ว
น้ำทิ้งสามารถปล่อยลงท่อน้ำทิ้งได้เลย หรือจะใช้ตัวแยกท่อน้ำทิ้งแบบพิเศษ (Drain saddle) ที่สามารถเจราะรูที่ท่อน้ำทิ้งและรัดเข้าไปกับท่อก็ได้
ส่วนน้ำดี น้ำ RO หรือ RO/DI จะนำไปต่อกับวาวล์สำหรับปิดเปิด หรือ ต่อกับระบบเติมน้ำลงถังเก็บน้ำซึ่งควบคุมระดับน้ำด้วยลูกลอยก็ได้
ตัวต่อน้ำเข้ามีหลายแบบ คุณสามารถหาแบบที่เหมาะสำหรับการติดตั้งได้จากผู้ขายตอนซื้อเครื่อง


[size="4"]เครื่องวัด TDS คืออะไร เราต้องใช้หรือไม่?[/size]

TDS (Total Dissolved Solids) หรือ ค่าสารละลายทั้งหมดในน้ำ
เป็นการวัดจากค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ เพื่อบ่งบอกความบริสุทธิ์ของน้ำ
หากไม่มีตัววัดค่า TDS นี้เราก็ไม่สามารถบอกได้เลยว่าระบบ RO/DI ของเรายังทำงานปกติดีหรือไม่

มาตรฐานน้ำประปาทั่วไปมีค่าอยู่ระหว่าง 50-500 PPM (มิลลิกรัมต่อลิตร) น้ำอาร์โอควรจะอยู่ที่น้อยกว่า 10% ของน้ำประปา
น้ำ DI ควรอยุ่ที่ 0 หรือ 1 PPM ยกตัวอย่างเช่น หากน้ำประปาของเรามีค่า TDS 200 PPM น้ำ RO ก็ควรอยู่น้อยกว่า 20 PPM
และ น้ำออกจาก DI ต้องอยู่ที่ 0 หรือ 1 PPM

เราต้องวัดค่าหลังจากเครื่องทำงานไปแล้วอย่างน้อย 5 นาที น้ำที่ออกมา 1-2 ลิตรแรกจะมีค่า TDS ที่สูงกว่าที่ทำได้ปกติ
เนื่องจากการแพร่ของเกลือแร่ในขณะที่เครื่องหยุดทำงาน เครื่องกรองรุ่นใหม่ๆบางรุ่น มีการปล่อยน้ำส่วนที่มีค่าสูงนี้ทิ้งไปก่อนการทำงาน

เครื่องวัด TDS ไม่สามารถวัดปริมาณสารที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนในน้ำ และ สารพิษในน้ำได้
คุณอาจจะวัด ได้น้ำสะอาด ที่ 500 PPM แต่วัดน้ำที่มีพิษเจือปนที่ 50 PPM
การใช้งานหลักเป็นการวัดความสามรถของเครื่องกรอง RO/DI เท่านั้น ไม่สามารถระบุความปรอดภัยของน้ำได้




[color="#4169E1"]เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อใดควรจะเปลี่ยนไส้กรอง?[/color]

-กรองตะกอนและคาร์บอน:
ถ้าหากเราใช้น้ำประปาที่มีคลอรีน ก็ควรเปลี่ยนไส้กรองตะกอนและคาร์บอนเป็นประจำ
เอาจำง่ายๆก็ประมาณ6เดือนเป็นอย่างน้อย ถ้าหากเครื่องคุณมีเกจวัดความดันก็สามารถดูได้ว่า
ตัวกรองตะกอนอุดตันแล้วหรือยังจากความดันที่ลดลงกว่าปกติ

-อาร์โอเมมเบรน:
ตัวกรองเมมเบรนมีการเสียได้จากสองอย่าง
1.เกิดการเสื่อมสภาพของพื้นผิวการทำงาน ทำให้กรองเกลือแร่ออกไม่ได้ กรณีนี้ TDS ที่ได้จะสูงกว่าปกติที่ควรเป็น
2. เกิดการอุดตันของพื้นผิวเมมเบรน อาการคือความดันน้ำเข้าปกติ แต่น้ำดีอาร์โอใหลช้ามาก ซึ่งเกิดจากการอุดตัน
หรือ หากน้ำดีอาร์โอที่กรองได้มีค่า TDS สูงกว่า 10% ของน้ำประปา แสดงว่าเกิดการรั่วของเกลือแร่ ทำให้ได้น้ำคุณภาพแย่ลง
หากเกิดสองอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ควรเปลี่ยนเมมเบรน โดยทั่วไปจากประสปการณ์การใช้ก็จะอยู่ประมาณ 1-2 ปี
ถ้าเราไม่ได้ดูแลเปลี่ยนไส้กรองตะกอนและคาร์บอนตามที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดการเสื่อมของอาร์โอเมมเบรนได้เร็วขึ้น

-ตัวกรอง DI (ดีไอออนไนเซชั่น เรซิ่น):
น้ำที่ออกมาจากตัวกรอง DI ควรมีค่า 0 หรือ 1 PPM
เราสังเกตว่าตัวกรองดีไอเริ่มหมดแล้วได้จากการวัด TDS ที่จะมีค่าค่อยๆสูงขึ้น
ดีไอเรซิ่นบางชนิดก็จะมีการเปลี่ยนสีเมื่อดูดจับจนเต็มแล้วโดยสีจะค่อยๆเปลี่ยนไปอย่างช้าๆก่อนจะหมดความจุ


เราต้องมีเกจวัดความดันหรือไม่?

เกจวัดความดันที่ติดตั้งมากับตัวเครื่องจะวัดความดันน้ำที่อัดเข้าเมมเบรน เพื่อให้คุณรู้ว่าน้ำนั้นมีความดันเพียงพอสำหรับการใช้งาน
และใช้สังเกตว่าไส้กรองตะกอนเริ่มอุดตันแล้วหรือยัง ความดันเหมาะสมทำงานควรอยู่ที่ 60-80 PSI หากน้อยกว่า 40 PSI เมมเบรน
จะงานได้ไม่เต็มที่ (คือน้ำไหลช้าและไม่สะอาด) ส่วนมากในประเทศไทย จะมีการติดตั้งปั๊มเพิ่มแรงดันมาอยู่แล้ว ทำให้ควาดันทำงานอยู่ที่
75-85 PSI ซึ่งเหมาะแก่การทำงานแล้ว


ต้องระวังเรื่องอุณหภูมิ หรือไม่?

อุณหภูมิทำงานปกติของเมมเบรนอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ตามที่ผู้ผลิตกำหนด
ถ้าน้ำเย็นมากกว่านั้น จะทำให้การไหลช้าลง (เป็นปัญหาสำหรับเมืองหนาว)
ถ้าน้ำร้อนมากๆอย่างบ้านเรา อุณหภูมิน้ำประปามาจากท่อที่ 25-35 องศาเซลเซียส ก็ถือว่าใช้ได้ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าน้ำร้อนมากอย่างเช่นเก็บไว้ในถังบนดาดฟ้า ก็ต้องระวังหน่อยครับ เอาว่าไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส ถือว่าใช้ได้คับ
แต่ต้องเข้าใจว่าถ้าน้ำยิ่งร้อน เกลือแร่ก็ยิ่งผ่านได้เก่งขึ้น คุณภาพน้ำอาร์โอที่ได้ก็ต่ำลง และหากมีตัวกรองดีไอเรซิ่น ก็จะรับโหลดมากขึ้นหมดเร็วขึ้นครับ


เราต้องการ Booster pump หรือไม่?

โดยปกติในประเทศไทย จะมีการติดตั้งปั๊มเพิ่มแรงดันมาอยู่แล้ว ทำให้ได้ความดันที่เหมาะกับการทำงานอยู่แล้ว
(ลองมาเปลี่ยนคำถามเป็น “ต้องใช้ปั้มน้ำบ้านอัดเข้าเครื่องหรือเปล่า”กันดีกว่า)
ก็ต้องยอมรับจริงๆว่าน้ำประปาหลายๆที่ในเมืองไทยนี้อ่อนมากยิ่งตอนกลางคืนดึกๆยิ่งอ่อน
ถ้าน้ำประปาที่บ้าน พอจะแรงขึ้นถึงชั้น 2 ได้ก็สามารถใช้ได้ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าน้ำอ่อนมากๆ
ก็จะมีปัญหาเรื่องการทำงานแบบทำๆหยุดๆของเครื่องได้ เนื่องจากเครื่องที่ขายในไทยจะมีตัววัดความดันน้ำประปาอยู่
ถ้าต่อปั๊มกับน้ำประปาที่ผ่านปั๊มน้ำบ้านมาแล้ว ก็จะช่วยรักษาแรงดันน้ำประปาและแรงดันในเครื่องให้คงที่มากขึ้นได้
ถ้าปั้มน้ำบ้านแบบแรงดันสูงมากๆ ไม่เหมาะสม อาจจะทำให้ตัวเครื่องเสียหายได้ แรงดันของปั้มน้ำบ้านไม่ควรสูงเกิน 45-50 PSI
ถ้าสูงกว่านั้นและต้องการต่อจากน้ำที่มีแรงดันสูงนี้ก็จะมีตัวลดความดัน Regulator มาช่วยลดแรงดันก่อนเข้าเครื่องอีกที


เราสามารถนำน้ำไปดึ่มได้ด้วยหรือไม่?

เครื่อง RO/DI บางเครื่องมีตัวแยกน้ำระหว่าง น้ำ RO และ น้ำ DI
คุณสามารถใช้น้ำ RO สำหรับการดื่มได้ (ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ DI สำหรับการดื่ม)


สามารถจะเลือกซื้อ RO/DI จากที่ไหนได้บ้าง?

เครื่อง RO และ RO/DI สามารถหาได้จากผู้สนับสนุนของเวป (มีหลายเจ้าครับ)
คุณสามารถหาข้อมูลต่างๆรายละเอียดต่างๆได้จากโดยเข้าไปในห้องของผู้สนับสนุน[color="#0000FF"][size="5"]RO/DI FAQ "คำถามยอดนิยมเกี่ยวกับ RO/DI"[/size][/color]

อะไรคือ RO/DI ?

เป็นคำย่อนี้มีความหมายถึง ระบบกรองรีเวอร์สออสโมซิส และดีไอออนไนเซชั่น (Reverse Osmosis และ Deionization)
ซึ่งเป็นระบบกรองน้ำรูปแบบหนึ่งที่มีการทำงานร่วมกันของการกรองหลายชนิด (หลายขั้นตอน) ที่สามารถผลิตน้ำซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงจากน้ำประปาทั่วไป


มีความสำคัญต่อการเลี้ยงตู้ทะเลอย่างไร?

น้ำประปาทั่วไปอาจมีสารเจือปนซึ่งสามารถสร้างปัญหาได้เมื่อเรานำมาใช้ในการเลี้ยงตู้ทะเลของเรา
สิ่งเจือปนที่มักพบก็ได้แก่ ฟอสเฟต, ไนเตรท, ซิลิเกต, คลอรีน-คลอรามีน และโลหะหนักต่างๆ
ปริมาณฟอสเฟต, ไนเตรท และซิลิเกตที่มากเกินจะทำให้ตะไคร่ที่เราไม่ต้องการเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ (Algae bloom)
โลหะหนักเช่น ทองแดง(copper) มักพบได้บ่อยในน้ำประปาเนื่องจากการละลายจากระบบท่อของประเทศที่ใช้ท่อประปาทองแดง
ทองแดงมีความเป็นพิษอย่างมากต่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่ง RO/DI สามารถกำจัดสารเจือปนทุกตัวที่กล่าวมาข้างต้นได้


RO/DI มีการทำงานอย่างไร?

ปกติแล้ว RO/DI จะมีขั้นตอนการกรองประกอบไปด้วยอย่างน้อย 4 ขั้นตอน คือ
การกรองตะกอน, กรองคาร์บอน, รีเวอร์สออสโมซีสเมมเบรน และดีไอออนไนเซชั่นเรซิ่น
หากเป็นระบบกรองซึ่งมีขึ้นตอนน้อยว่า 4 ตัวนี้สิ่งที่จะขาดไปคือ ขั้นตอนการกรอง DI เรซิ่น
หากมีขึ้นตอนมากกกว่านั้นมักจะเป็นการขยาย ขั้นตอนใดขึ้นตอนหนึ่งให้มากขึ้นเช่นเพิ่มขึ้นตอนการกรอง DI เป็น 2 ขึ้นตอน



1. การกรองตะกอน: ปกติแล้วจะใช้เส้นใยอัดแท่ง เป็นตัวกรองตะกอนที่มากับน้ำประปา
ประโยชน์เพื่อปกป้อง ไส้กรองคาร์บอนบล็อก และ อาร์โอเมมเบรน จากการอุดตัน
ไส้กรองตะกอนที่ดีจะมีความสามารถกักเก็บตะกอนได้มากและกรองตะกอนขนาด 1-5 ไมครอนขึ้นไป

2. การกรองคาร์บอน: สำหรับกรองคลอรีนและสารอินทรีที่มากับน้ำประปาเพื่อป้องกัน
การเสื่อมสภาพของพื้นผิวอาร์โอเมมเบรนจากการสำผัสคลอรีน




3. รีเวอร์สออสโมซีสเมมเบรน(RO เมมเบรน): เป็นตัวกรองแบบเยื่อเลือกผ่าน semi-permeable ที่บางมาก
ทำจากวัสดุที่มีรูพรุนขนาดเล็กมาก ที่ความดันสูงน้ำจะถูกอัดผ่านเยื่อนี้ไป โดยโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่กว่าน้ำจะแทรกผ่านไปได้น้อยกว่าและจะถูกขับทิ้งไปกับน้ำทิ้ง




4. ดีไอออนไนเซชั่นเรซิ่น (Deionization Resin): โดย DI เรซิ่นจะทำการดูดจับไอออนของสารเจือปนในน้ำที่หลงเหลือจากการกรองอาร์โอด้วยการแลกเปลี่ยนไอออน คงเหลือใว้เพียงโมเลกุลของน้ำ




[color="#4169E1"][size="4"]ชนิดของเมมเบรน CTA และ TFC อะไรคือ?[/size][/color]

ชนิดรีเวอร์สออสโมซีสเมมเบรน ที่มีขายอยู่ในตลาด หลักๆมีสองชนิด
Cellulose Triacetate (CTA) และ Thin Film Composite (TFC)
เกือบทั้งหมดของอาร์โอเมมเบรนที่ขายอยู่ในตลาดตู้ปลาเป็นชนิด TFC ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดในการกำจัดเกลือแร่
ความแตกต่างจากเมมเบรนสองชนิดนี้คือความคงทนต่อคลอรีนอิสระ (Free chlorine) และความสามารถในการกรองเกลือแร่ออกจากน้ำ
ชนิด CTA ต้องการคลอรีนในน้ำ เพื่อป้องกันเสื่อมเสียของผิวเมมเบรนเนื่องจากแบคทีเรีย (มีความสามารถในการกรองเลือแร่ออกได้น้อยกว่าชนิด TFC)
ชนิด TFC พื้นผิวจะโดนทำลายจากคลอรีนได้ง่ายมาก ต้องป้องกันการสำผัสกับคลอรีน (ชนิดนี้มีความสามารถในการกรองเลือแร่ออกได้ดีที่สุด)
เนื่องจากคุณสมบัติเด่นของเมมเบรนชนิด TFC ที่เหมาะสมต่อการใช้งานในตลาดตู้ปลาอีกทั้งหาง่ายในบ้านเรา บทความฉบับนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเมมเบรนชนิดนี้


ขั้นตอนการกรอง DI จำเป็นสำหรับฉันหรือเปล่า?

คุณสามารถจะประหยัดเงินบางส่วนได้ หากคุณซื้อระบบกรองแบบอาร์โอ 3 ขึ้นตอน ที่ไม่มี DI
การกรองแบบรีเวอร์สออสโมซีส โดยปกติแล้วสามารถจำกัดสารเจือปนที่มากับน้ำประปาได้ ราว 90-98%
เมื่อเปรียบเทียบระบบ(ตู้) ที่ใช้น้ำประปากับระบบที่ใช้รีเวอร์สออสโมซีสจะพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
และถ้าคุณรู้สึกว่าเท่านั้นมันเพียงพอสำหรับความต้องการของคุณ DI ก็ไม่จำเป็น
การใช้น้ำ อาร์โอ โดยตัวมันเองแล้วก็ดีกว่าการใช้น้ำประปาธรรมดาอย่างแน่นอน
ในหลายกรณีก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เช่นการใช้ในระบบที่เลี้ยงปลาล้วน

ในบางกรณีที่การใช้อาร์โอเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยง เช่นถ้าน้ำประปามีปริมาณ
สิ่งเจือปนที่เราต้องการกำจัดออกอยู่มาก แต่ความสามารถของอาร์โอจะกรองได้มีเพียง 90-98%
ตัวอย่างถ้าในน้ำประปาของเรามีฟอสเฟตอยู่ 10 PPM ซึ่งเมื่ออาร์โอกำจัดออกไปแล้ว 90%
เหลือฟอสเฟตอยู่ 1 PPM นั้นก็ยังเป็นค่าที่สูงมากอยู่ สำหรับการเลี้ยงตู้ประการัง
แต่ถ้าหากคำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นเหตุผลหลัก การติด DI ภายหลังก็สามารถทำได้เช่นกัน




จะใช้ DI อย่างเดียวโดยไม่มี RO เลยได้หรือไม่?

การใช้ตัวกรอง DI เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เหมาะสม เนื่องจากการกรอง DI ถูกออกแบบมาให้ผลิตน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง
แต่ไม่เหมาะสมที่จะรองรับเกลือแร่ปริมาณมากที่มีอยู่ในน้ำประปา ทำให้การนำดีไอเรซิ่นมาต่อตรงกันน้ำประปานั้น
สามารถกรองน้ำให้สะอาดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งความบริสุทธิ์ก็จะไม่สูงเท่าการทำงานร่วมกับ RO ซึ่งนอกจาก
การกรองอาร์โอจะกำจัดเกลือแร่ส่วนมากออกไปแล้ว แล้วตัวอาร์โอและคาร์บอนก็ยังสามารถกำจัดสารต่างๆที่ DI ไม่สามารถกรองออกได้

เครื่องกรอง RO/DI ที่มีขึ้นตอนการกรองมากกว่า 4 ขั้นตอนหมายความว่าอย่างไร?

ขึ้นตอนการกรองที่เพิ่มขึ้น อาจะเป็นการขยายขนาดการกรองขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งให้มากขึ้น
หรืออาจจะน้ำระบบกรองรูปแบบอื่นๆผนวกเข้ามาเพื่อให้ได้ความสามารถการทำงานที่ไม่มีในระบบเดิม
แต่ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเพิ่มการกรอง ดีไอ หรือ คาร์บอน ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกรอง
และยืดอายุการทำงานให้ยาวนานมากขึ้น
ยกตัวอย่างการใช้งานระบบที่มีการกรอง DI หลายขั้นตอน ระยะเวลาที่เราก็จะต้องเปลี่ยนไส้กรองจะยาวนานขึ้น
และยังสามารถ ทำการเปลี่ยนไส้กรองแบบสลับกระบอกกรองลำดับแรกซึ่งประสิทธิภาพการกรองแล้วออก
และเลื่อนไส้กรองตัวถัดไปมาทำหน้าทีและ และใส่ไส้กรอง DI ตัวใหม่เข้าไปที่ตำแหน่งสุดท้าย (FIFO)

อีกตัวอย่างคือการมีการกรองตะกอนหรือ คาร์บอนหลายขึ้นตอนเช่น เราติดตั้งตัวกรองตะกอนหยาบขนาด 5-10 ไมครอน ไว้ก่อนหน้าไส้กรอง 1 ไมครอน
ก็จะสามารถลดการอุดตันของไส้กรอง 1 ไมครอน และยืดระยะเวลาการเปลี่ยนให้นานขึ้น
การใช้ไส้กรองคาร์บอน 2 ขั้นตอนนั้นนอกจากจะช่วยยืดเวลาการเปลี่ยนแล้วยังช่วยให้ประสิทธิภาพการกำจัดคลอรีน-คลอรามีนเพิ่มขึ้น
และลดปริมาณคลอรีนหลุดรอดไปทำลายพื้นผิวของเมมเบรนชนิด TFC และลดการหลุดรอดของสารต่างๆลงในตู้ของเราลงได้
การมีขึ้นตอนการกรองที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ระบบมีราคาที่สูงขึ้นและมีความซับซ้อน-ใช้พื้นที่ติดตั้งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แต่นั้นก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่าหากคุณใช้น้ำปริมาณมาก มีเวลาในการดูเลระบบน้อย หรือให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องคุณภาพน้ำที่กรองได้


กำลังการผลิตน้ำเท่าไรจึงเหมาะสมกับตู้ ?

RO/DI จะแสดงกำลังการผลิตเป็น หน่วย แกลอนต่อวัน gallons per day (GPD)
โดยทั่วไปจะมีให้เลือกอยู่ระหว่าง 50-75-150 GPD (หรือประมาณ 200-300-600 ลิตรต่อวัน) ขนาดกำลังการผลิตนี้จะขึ้นกับขนาดของ อาร์โอเมมเบรน
สิ่งที่แตกต่างกันของเครื่องแต่ละขนาดก็คือ ขนาดไส้กรอง ขนาดปั๊ม และตัวจำกัดน้ำทิ้ง (Flow restrictor)ซึ่งเป็นตัวควบคุมสัดส่วนปริมาณน้ำดี/น้ำทิ้ง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับขนาดเมมเบรน
ขนาดเมมเบรนที่ใหญ่ขึ้น ก็ทำให้อัตราการไหลผ่านของน้ำในไส้กรองคาร์บอนและดีไอเรซิ่นสูงขึ้น เวลาของการสำผัสของน้ำกับสารกรองน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีการขยายขนาดกรองต่างๆ และDI เรซิ่นให้เหมาะสมกับกำลังการผลิต

สำหรับผู้เลี้ยงทั่วไป ขนาด 75 GPD ก็เหมาะสมสำหรับการใช้งานแล้ว
หากผู้เลี้ยงมีถังสำรองน้ำขนาดที่เหมาะสมก็สามารถรองน้ำใว้ก็สามารถใช้งานเครื่องขนาดดังกล่าวได้
ถ้าเครื่องมีกำลังการผลิตสูงขึ้น ก็จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วและความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้น
เช่นเมื่อรองน้ำลงตู้ครั้งแรก และเมื่อต้องการใช้น้ำเร่งด่วน ก็จะทำได้เร็วขึ้น

อัตราการผลิตน้ำของอาร์โอเมมเบรน (GPD) มาตรฐานอุสาหกรรมนั้นระบุไว้
ที่การทำงานที่ ความดัน 60 PSI ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
อัตราการผลิตของอาร์โอเมมเบรนจะแปรผันตาม ปริมาณเกลือแร่ในน้ำประปา, ความดันน้ำ และอุณหภูมิขณะทำงาน


คลอรามีนในน้ำประปา จะใช้ได้หรือไม่?

ผู้ผลิตน้ำประปาบางรายมีการเติมคลอรามีน (เป็นส่วนผสมของแอมโมเนีย และคลอรีน) ลงไปในน้ำประปาเพื่อฆ่าเชื่อโรคในน้ำ โดยธรรมชาติคลอรามีนมีความคงตัวสูงกว่าคลอรีนอิสระ ไม่สลายตัวง่าย
นอกจากนี้คลอรามีนยังมีที่มาจากการทำปฏิกิริยาระหว่างคลอรีนกับสารอินทรีย์หรือแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำดิบที่ใช้ทำน้ำประปาได้ด้วย
ดังนั้นสำหรับผู้ผลิตน้ำประปาที่ใช้แก๊สคลอรีนหรือไฮโปคลอไรด์ก็ยังสามารถเกิดคลอรามีนในน้ำได้เช่นเดียวกัน แต่มักมีอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่าการเติมลง
หากเครื่องกรองใช้กับน้ำประปาชนิดที่เติมคลอรามีนโดยตรงควรเลือกคาร์บอนชนิดที่คุณภาพสูง เนื่องจากคลอรามีนถูกกำจัดโดยคาร์บอนได้ยากและน้อยกว่าคลอรีนอิสระ คาร์บอนที่ยิ่งละเอียดจะยิ่งสามารถกำจัดคลอรามีนได้ดี
ซึ่งหากคลอรามีนหลุดรอดการกรองของคาร์บอนมาก็จะส่งผลทำลายพื้นผิวเมมเบรน TFC, หลุดรอดไปกับน้ำ RO และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในตู้ด้วย
เท่าที่ทราบ สำหรับประปานครหลวงและข้อมูลของประปาท้องถิ่นหลายๆแหล่ง ไม่มีการใช้วิธีเติมคลอรามีน แต่ก็อาจจะมีบางแหล่งที่ทางผู้เขียนไม่มีข้อมูล




จะเป็นเช่นไร ถ้าเราใช้น้ำบาดาล?

น้ำบาดาลไม่มีคลอรีน ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องผลกระทบของคลอรีนต่อ อาร์โอเมมเบรชนิด TFC
แต่ไม่ควรซื้อ อาร์โอเมมเบรนชนิด CTA (ไม่ค่อยมีในบ้านเรา) ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานในน้ำที่ไม่มีการเติมคลอรีน
ตัวกรองคาร์บอน ไม่ค่อยมีความจำเป็นกับน้ำบาดาล แต่ที่ต้องใส่ใจคือเรื่องตะกอนและแร่ธาตุในน้ำ
เช่นธาตุเหล็ก หินปูน และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นตัวที่จะอุดตันเมมเบรนได้ การใช้ตัว Flush ล้างช่วยลดการอุดตันของเมมเบรน
หากน้ำบาดาลมีธาตุเหล็กหรือหินปูนมาก ควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านกรองน้ำเพื่อทำการกำจัดก่อนเข้าเครื่องกรองอาร์โอ


ทำไมถึงต้องมีน้ำทิ้ง?

ปกติระบบกรอง RO จะมีทางออกของน้ำอยู่ 2 ทาง คือ 1.น้ำดี หรือน้ำอาร์โอ (Permeate) 2.น้ำทิ้ง (Drain)
เครื่องอาร์โอจะต้องมีน้ำทิ้ง น้ำนี้คือน้ำที่ทำหน้าที่ระบายเกลือแร่ส่วนที่ไม่สามารถผ่านอาร์โอเมมเบรนไปได้
จะถูกชะออกมากับน้ำทิ้งเพื่อป้องกันการตกตะกอนอุดตันพื้นผิวของอาร์โอเมมเบรน
ในน้ำทิ้งของอาร์โอนนั้นจะเป็นน้ำที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงขึ้นมากกว่าน้ำประปา
น้ำนี้ผ่านการกรองตะกอนและคาร์บอนมาแล้ว สามารถนำไปใช้งานอื่นๆได้


การติดตั้ง RO/DI ทำอย่างไร?

น้ำเข้านั้นมาจากระบบน้ำประปา(อุณหภูมิธรรมดา ห้ามใช้น้ำร้อน)
โดยจะมีตัวแยกน้ำมาจากท่อประปา หรือตัวแปลงเข้าก็อกน้ำ(อ่างล้างหน้า/ล้างจาน)
ซึ่งเหมาะสำหรับใช้งานในหอพักหรือ บ้านที่ดัดแปลงระบบท่อไม่ได้แล้ว
น้ำทิ้งสามารถปล่อยลงท่อน้ำทิ้งได้เลย หรือจะใช้ตัวแยกท่อน้ำทิ้งแบบพิเศษ (Drain saddle) ที่สามารถเจราะรูที่ท่อน้ำทิ้งและรัดเข้าไปกับท่อก็ได้
ส่วนน้ำดี น้ำ RO หรือ RO/DI จะนำไปต่อกับวาวล์สำหรับปิดเปิด หรือ ต่อกับระบบเติมน้ำลงถังเก็บน้ำซึ่งควบคุมระดับน้ำด้วยลูกลอยก็ได้
ตัวต่อน้ำเข้ามีหลายแบบ คุณสามารถหาแบบที่เหมาะสำหรับการติดตั้งได้จากผู้ขายตอนซื้อเครื่อง


เครื่องวัด TDS คืออะไร เราต้องใช้หรือไม่?

TDS (Total Dissolved Solids) หรือ ค่าสารละลายทั้งหมดในน้ำ
เป็นการวัดจากค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ เพื่อบ่งบอกความบริสุทธิ์ของน้ำ
หากไม่มีตัววัดค่า TDS นี้เราก็ไม่สามารถบอกได้เลยว่าระบบ RO/DI ของเรายังทำงานปกติดีหรือไม่

มาตรฐานน้ำประปาทั่วไปมีค่าอยู่ระหว่าง 50-500 PPM (มิลลิกรัมต่อลิตร) น้ำอาร์โอควรจะอยู่ที่น้อยกว่า 10% ของน้ำประปา
น้ำ DI ควรอยุ่ที่ 0 หรือ 1 PPM ยกตัวอย่างเช่น หากน้ำประปาของเรามีค่า TDS 200 PPM น้ำ RO ก็ควรอยู่น้อยกว่า 20 PPM
และ น้ำออกจาก DI ต้องอยู่ที่ 0 หรือ 1 PPM

เราต้องวัดค่าหลังจากเครื่องทำงานไปแล้วอย่างน้อย 5 นาที น้ำที่ออกมา 1-2 ลิตรแรกจะมีค่า TDS ที่สูงกว่าที่ทำได้ปกติ
เนื่องจากการแพร่ของเกลือแร่ในขณะที่เครื่องหยุดทำงาน เครื่องกรองรุ่นใหม่ๆบางรุ่น มีการปล่อยน้ำส่วนที่มีค่าสูงนี้ทิ้งไปก่อนการทำงาน

เครื่องวัด TDS ไม่สามารถวัดปริมาณสารที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนในน้ำ และ สารพิษในน้ำได้
คุณอาจจะวัด ได้น้ำสะอาด ที่ 500 PPM แต่วัดน้ำที่มีพิษเจือปนที่ 50 PPM
การใช้งานหลักเป็นการวัดความสามรถของเครื่องกรอง RO/DI เท่านั้น ไม่สามารถระบุความปรอดภัยของน้ำได้




เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อใดควรจะเปลี่ยนไส้กรอง?

-กรองตะกอนและคาร์บอน:
ถ้าหากเราใช้น้ำประปาที่มีคลอรีน ก็ควรเปลี่ยนไส้กรองตะกอนและคาร์บอนเป็นประจำ
เอาจำง่ายๆก็ประมาณ6เดือนเป็นอย่างน้อย ถ้าหากเครื่องคุณมีเกจวัดความดันก็สามารถดูได้ว่า
ตัวกรองตะกอนอุดตันแล้วหรือยังจากความดันที่ลดลงกว่าปกติ

-อาร์โอเมมเบรน:
ตัวกรองเมมเบรนมีการเสียได้จากสองอย่าง
1.เกิดการเสื่อมสภาพของพื้นผิวการทำงาน ทำให้กรองเกลือแร่ออกไม่ได้ กรณีนี้ TDS ที่ได้จะสูงกว่าปกติที่ควรเป็น
2. เกิดการอุดตันของพื้นผิวเมมเบรน อาการคือความดันน้ำเข้าปกติ แต่น้ำดีอาร์โอใหลช้ามาก ซึ่งเกิดจากการอุดตัน
หรือ หากน้ำดีอาร์โอที่กรองได้มีค่า TDS สูงกว่า 10% ของน้ำประปา แสดงว่าเกิดการรั่วของเกลือแร่ ทำให้ได้น้ำคุณภาพแย่ลง
หากเกิดสองอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ควรเปลี่ยนเมมเบรน โดยทั่วไปจากประสปการณ์การใช้ก็จะอยู่ประมาณ 1-2 ปี
ถ้าเราไม่ได้ดูแลเปลี่ยนไส้กรองตะกอนและคาร์บอนตามที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดการเสื่อมของอาร์โอเมมเบรนได้เร็วขึ้น

-ตัวกรอง DI (ดีไอออนไนเซชั่น เรซิ่น):
น้ำที่ออกมาจากตัวกรอง DI ควรมีค่า 0 หรือ 1 PPM
เราสังเกตว่าตัวกรองดีไอเริ่มหมดแล้วได้จากการวัด TDS ที่จะมีค่าค่อยๆสูงขึ้น
ดีไอเรซิ่นบางชนิดก็จะมีการเปลี่ยนสีเมื่อดูดจับจนเต็มแล้วโดยสีจะค่อยๆเปลี่ยนไปอย่างช้าๆก่อนจะหมดความจุ


เราต้องมีเกจวัดความดันหรือไม่?

เกจวัดความดันที่ติดตั้งมากับตัวเครื่องจะวัดความดันน้ำที่อัดเข้าเมมเบรน เพื่อให้คุณรู้ว่าน้ำนั้นมีความดันเพียงพอสำหรับการใช้งาน
และใช้สังเกตว่าไส้กรองตะกอนเริ่มอุดตันแล้วหรือยัง ความดันเหมาะสมทำงานควรอยู่ที่ 60-80 PSI หากน้อยกว่า 40 PSI เมมเบรน
จะงานได้ไม่เต็มที่ (คือน้ำไหลช้าและไม่สะอาด) ส่วนมากในประเทศไทย จะมีการติดตั้งปั๊มเพิ่มแรงดันมาอยู่แล้ว ทำให้ควาดันทำงานอยู่ที่
75-85 PSI ซึ่งเหมาะแก่การทำงานแล้ว


ต้องระวังเรื่องอุณหภูมิ หรือไม่?

อุณหภูมิทำงานปกติของเมมเบรนอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ตามที่ผู้ผลิตกำหนด
ถ้าน้ำเย็นมากกว่านั้น จะทำให้การไหลช้าลง (เป็นปัญหาสำหรับเมืองหนาว)
ถ้าน้ำร้อนมากๆอย่างบ้านเรา อุณหภูมิน้ำประปามาจากท่อที่ 25-35 องศาเซลเซียส ก็ถือว่าใช้ได้ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าน้ำร้อนมากอย่างเช่นเก็บไว้ในถังบนดาดฟ้า ก็ต้องระวังหน่อยครับ เอาว่าไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส ถือว่าใช้ได้คับ
แต่ต้องเข้าใจว่าถ้าน้ำยิ่งร้อน เกลือแร่ก็ยิ่งผ่านได้เก่งขึ้น คุณภาพน้ำอาร์โอที่ได้ก็ต่ำลง และหากมีตัวกรองดีไอเรซิ่น ก็จะรับโหลดมากขึ้นหมดเร็วขึ้นครับ


เราต้องการ Booster pump หรือไม่?

โดยปกติในประเทศไทย จะมีการติดตั้งปั๊มเพิ่มแรงดันมาอยู่แล้ว ทำให้ได้ความดันที่เหมาะกับการทำงานอยู่แล้ว
(ลองมาเปลี่ยนคำถามเป็น “ต้องใช้ปั้มน้ำบ้านอัดเข้าเครื่องหรือเปล่า”กันดีกว่า)
ก็ต้องยอมรับจริงๆว่าน้ำประปาหลายๆที่ในเมืองไทยนี้อ่อนมากยิ่งตอนกลางคืนดึกๆยิ่งอ่อน
ถ้าน้ำประปาที่บ้าน พอจะแรงขึ้นถึงชั้น 2 ได้ก็สามารถใช้ได้ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้าน้ำอ่อนมากๆ
ก็จะมีปัญหาเรื่องการทำงานแบบทำๆหยุดๆของเครื่องได้ เนื่องจากเครื่องที่ขายในไทยจะมีตัววัดความดันน้ำประปาอยู่
ถ้าต่อปั๊มกับน้ำประปาที่ผ่านปั๊มน้ำบ้านมาแล้ว ก็จะช่วยรักษาแรงดันน้ำประปาและแรงดันในเครื่องให้คงที่มากขึ้นได้
ถ้าปั้มน้ำบ้านแบบแรงดันสูงมากๆ ไม่เหมาะสม อาจจะทำให้ตัวเครื่องเสียหายได้ แรงดันของปั้มน้ำบ้านไม่ควรสูงเกิน 45-50 PSI
ถ้าสูงกว่านั้นและต้องการต่อจากน้ำที่มีแรงดันสูงนี้ก็จะมีตัวลดความดัน Regulator มาช่วยลดแรงดันก่อนเข้าเครื่องอีกที


เราสามารถนำน้ำไปดึ่มได้ด้วยหรือไม่?

เครื่อง RO/DI บางเครื่องมีตัวแยกน้ำระหว่าง น้ำ RO และ น้ำ DI
คุณสามารถใช้น้ำ RO สำหรับการดื่มได้ (ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ DI สำหรับการดื่ม)


สามารถจะเลือกซื้อ RO/DI จากที่ไหนได้บ้าง?

เครื่อง RO และ RO/DI สามารถหาได้จากผู้สนับสนุนของเวป (มีอยู่หลายเจ้าครับ)
คุณสามารถหาข้อมูลต่างๆรายละเอียดต่างๆได้จากโดยเข้าไปในห้องของผู้สนับสนุน

บนความเกี่ยวกัน ตู้ทะเล อื่นๆที่เคยเขียน-แปลไว้สามารถอ่านได้จาก link นี้ครับ
http://www.ginkosea.com/article

ขอบคุณครับ (สะกดผิดไปบ้างก็ขออภัยไว้ด้วยนะครับ)  [เหะๆ]
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #1 เมื่อ: 11/12/12, [21:27:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ดีครับคุณเจิล [เจ๋ง]
นายบรรเจิด ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #2 เมื่อ: 12/12/12, [16:39:56] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ที่บ้านเป็นน้ำบาดาลครับ แนะนำหน่อยว่าผมควร ทำเช่นไร
wewe ออฟไลน์
Redbee Fanclub
« ตอบ #3 เมื่อ: 12/12/12, [16:47:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สนนราคาเครื่องกรองระบบdiเดี๋ยวนี้ถูกลงหรือยังครับสนนราคาเริ่มต้นเดี๋ยวนี้ประมาณเท่าไหร่ครับ
GinkoSea.com ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #4 เมื่อ: 12/12/12, [17:54:42] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ที่บ้านเป็นน้ำบาดาลครับ แนะนำหน่อยว่าผมควร ทำเช่นไร

น้ำบาดาล มีความแตกต่างกันไปตามแต่พื้นที่ครับ เช่น
- ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีหินปูนมาก ก็จะทำให้ได้มีความกระด้างสูง(Calcium/magnisium) และมีค่า KH (Carbonate Hardness) สูง เมื่อนำมาใช้ผสมเกลือเรื่อเติมในตู้ทะเล ก็จะทำให้น้ำในตู้มีค่า KH ที่สูงมากผมเคยเจอเพื่อนๆที่มีปัญหานี้ ค่า KH ในตู้เลี้ยงพุ่งไปอยู่ที่ +20 dKH
- ในบางพื้นที่ก็อาจจะมีปัญหา NO3 สูงบ้างก็เคยเจอแต่ก็ไม่พบบ่อยเท่าไร
ส่วนมากก็จะเจอเรื่องความกระด้างและธาตุเหล็กครับ

ถามว่าน้ำบาดาล สามารถใช้กับเครื่องกรอง RO หรือ RO/DI ได้หรือไม่ ตอบว่าใช้ได้ แต่ถ้าน้ำมีความกระด้าง(Calcium/magnisium)หรือธาตุเหล็กมากๆ ต้องมีกรองเอาสารพวกนี้ออกไปก่อนเพื่อบ้องกันไปเกิดตะกรันอุดตันพื้นผิวของ อาร์โอเมมเบรนครับ

สนนราคาเครื่องกรองระบบdiเดี๋ยวนี้ถูกลงหรือยังครับสนนราคาเริ่มต้นเดี๋ยวนี้ประมาณเท่าไหร่ครับ

ถูกลงมามากแล้วครับ อย่างรุ่มาตรฐานของ GinkoSea ขายอยู่ ราคาเริ่มต้นเพียง 4900 บาทครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12/12/12, [17:57:18] โดย Reef_Angel »
นายบรรเจิด ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #5 เมื่อ: 14/12/12, [13:29:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

น้ำบาดาล มีความแตกต่างกันไปตามแต่พื้นที่ครับ เช่น
- ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีหินปูนมาก ก็จะทำให้ได้มีความกระด้างสูง(Calcium/magnisium) และมีค่า KH (Carbonate Hardness) สูง เมื่อนำมาใช้ผสมเกลือเรื่อเติมในตู้ทะเล ก็จะทำให้น้ำในตู้มีค่า KH ที่สูงมากผมเคยเจอเพื่อนๆที่มีปัญหานี้ ค่า KH ในตู้เลี้ยงพุ่งไปอยู่ที่ +20 dKH
- ในบางพื้นที่ก็อาจจะมีปัญหา NO3 สูงบ้างก็เคยเจอแต่ก็ไม่พบบ่อยเท่าไร
ส่วนมากก็จะเจอเรื่องความกระด้างและธาตุเหล็กครับ

ถามว่าน้ำบาดาล สามารถใช้กับเครื่องกรอง RO หรือ RO/DI ได้หรือไม่ ตอบว่าใช้ได้ แต่ถ้าน้ำมีความกระด้าง(Calcium/magnisium)หรือธาตุเหล็กมากๆ ต้องมีกรองเอาสารพวกนี้ออกไปก่อนเพื่อบ้องกันไปเกิดตะกรันอุดตันพื้นผิวของ อาร์โอเมมเบรนครับ

ถูกลงมามากแล้วครับ อย่างรุ่มาตรฐานของ GinkoSea ขายอยู่ ราคาเริ่มต้นเพียง 4900 บาทครับ


แล้ว (Calcium/magnisium)  เอาอะไรกรองออกละครับ  จากที่สังเกตุ จากตู้ปลาทอง คาดว่าหน้าจะมีเยอะอยูครับเพราะขอบตู้เป็นคราบขาวๆ บานเลย
GinkoSea.com ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #6 เมื่อ: 14/12/12, [20:44:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แล้ว (Calcium/magnisium)  เอาอะไรกรองออกละครับ  จากที่สังเกตุ จากตู้ปลาทอง คาดว่าหน้าจะมีเยอะอยูครับเพราะขอบตู้เป็นคราบขาวๆ บานเลย
ใช้ระบบกรองน้ำอ่อน (water Softening) ในการดึง Ca/Mg ออกจากน้ำครับ

ระบบนี้จะใช้เม็ดเรซิ่น แลกเปลี่ยนไอออนบวก (Cation exchange resin) ในการแลกเปลี่ยน ion โซเดี่ยม กับไปออน แลคเซียม/เมกนีเซียม เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งเราก็ทำการล้างด้วยน้ำเกลือครับ


เรื่องของขนาดตัวกรองก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่เราใช้ครับ อาจจะเป็นตัวกรองเล็กๆต่อก่อนหน้าเครื่องกรอง RO/DI ก็ได้แต่อย่างนี้ก็จะต้องล้างบ่อยหน่อย ถ้าเป็นถังใหญ่ๆจะใช้ได้ทั้งบ้าน ก็จะใช้ได้นานขึ้น และมีระบบล้างอัตโนมัติเข้ามาช่วยทำหน้าทีแทนเราด้วย ครับ
นายบรรเจิด ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #7 เมื่อ: 15/12/12, [13:23:44] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ใช้ระบบกรองน้ำอ่อน (water Softening) ในการดึง Ca/Mg ออกจากน้ำครับ

ระบบนี้จะใช้เม็ดเรซิ่น แลกเปลี่ยนไอออนบวก (Cation exchange resin) ในการแลกเปลี่ยน ion โซเดี่ยม กับไปออน แลคเซียม/เมกนีเซียม เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งเราก็ทำการล้างด้วยน้ำเกลือครับ


เรื่องของขนาดตัวกรองก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่เราใช้ครับ อาจจะเป็นตัวกรองเล็กๆต่อก่อนหน้าเครื่องกรอง RO/DI ก็ได้แต่อย่างนี้ก็จะต้องล้างบ่อยหน่อย ถ้าเป็นถังใหญ่ๆจะใช้ได้ทั้งบ้าน ก็จะใช้ได้นานขึ้น และมีระบบล้างอัตโนมัติเข้ามาช่วยทำหน้าทีแทนเราด้วย ครับ


ขอบคุณมากครับ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: