Aqua.c1ub.net
*
  Sat 27/Apr/2024
หน้า: 1 2  ทั้งหมด   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลาบ้านโรม.... เข้ามาชมgallery และ คุยกัน  (อ่าน 39845 ครั้ง)
Longhairguy ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #30 เมื่อ: 09/10/12, [18:36:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอพวกคอมเพรสด้วยคร๊าบบบ ปลาโปรดของผมเลย
corydoras ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #31 เมื่อ: 09/10/12, [19:22:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอพวกคอมเพรสด้วยคร๊าบบบ ปลาโปรดของผมเลย
เชียด้วย ของโปรดเช่นกัน
Riccia ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #32 เมื่อ: 09/10/12, [20:59:33] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เลปโต เนี่ย พันธุ์เดียวกัน จากแหล่งเดียวกัน สีมันต่างกันด้วยเหรอครับ //  รอ ชม พวก หมอหอย กับ Xenotilapia ครับ ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ ที่อัดแน่นไปด้วยความรู้  [เจ๋ง]
อ๊อดๆ!!! ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #33 เมื่อ: 15/10/12, [23:08:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เล่มต่อไปมะไหร่ออก รอๆๆๆ อยู่น้า
siamsystem ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #34 เมื่อ: 17/10/12, [12:01:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เลปโต เนี่ย พันธุ์เดียวกัน จากแหล่งเดียวกัน สีมันต่างกันด้วยเหรอครับ //  รอ ชม พวก หมอหอย กับ Xenotilapia ครับ ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ ที่อัดแน่นไปด้วยความรู้  [เจ๋ง]

รอหมอหอยด้วยคนครับ... [on_018]

rome ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #35 เมื่อ: 25/12/13, [00:10:37] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

Xenotilapia papilio " Tembwe ll"
สวัสดีแฟนสายแท้อีกครั้ง  ช่วงนี้ฝนเริ่มเทอย่างแรง นักเลี้ยงปลาหลายท่านคงชอบ  เพราะน้ำในตู้ปลาเริ่มจะเย็นลง  แต่ก็ให้ระวังเรื่องไฟฟ้าขัดข้อง เพื่อปลาที่เรารัก  เตรียมอุปกรณ์สำรอง กันให้พร้อมกันนะ บทความตอนนี้ยังเป็นปลาจากทะเลสาป แทนแกนยิกา ขอเสนอ Xenotilapia papilio " Tembwe ll"  เป็น ปลาในในกลุ่มปลาทราย ชนิดหนึ่ง อยู่ในกลุ่มหากินตามแนวโขดหิน rock-dwelling  ซึ่งมีความสวยงาม ด้วยท่วงท่าการว่ายน้ำ  การทรงตัว ตลอดจนลวดลายอันมหัศจรรย์  ได้รับสมญานามเป็น ผีเสื้อใต้น้ำแห่งแทนแกนยิกาเลยเชียว   
    Xenotilapia papilio   ได้ถูกค้นพบในปี 1990 โดยชาวเยอรมันชื่อ Heinz H. Büscher  เขาได้ค้นพบปลาชนิดนี้ในขณะดำน้ำอยู่ทางตอนใต้ของโมบ้า  ในบริเวณที่เรียกว่า Tembwe Deux   (เทมเว่ โด') เขตแดนประเทศคองโก    Xenotilapia papilio   ถูกจัดอยู่ในปลาประเภทปลาทราย แต่พฤติกรรมจะแตกต่างจาก Xenotilapia ชนิดอื่น ๆ ตรงที่ มักจะค้นพบตามโขดหินน้ำลึก ไม่ได้อยู่ตามพื้นทราย
   ในธรรมชาติ Xenotilapia papilio   อาศัยอยู่ในน้ำลึกมาก ราว ๆ  40 เมตร มีแหล่งหากินอยู่ในบริเวณกองหินใต้น้ำ  ปลาที่มีอายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะจับคู่ และอยู่ด้วยกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน  และไม่นิยมอยู่เป็นฝูงเหมือนตอนเด็ก ๆ  มันจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวกับปลาขนิดเดียวกัน  ที่เข้ามาบุกรุกเขตแดนของมัน      
   ในการแยกเพศเป็นเรื่องค่อนข้างลำบากเนื่องจากเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก  ปลาเมื่อโตเต็มที่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และครีบก้นจะแหลม ในขณะที่ตัวเมียจะออกทู่กว่า ถ้าเอาให้แน่ ต้องจับหงายดูเพศปลา ซึ่งลักษณะการดูเพศจะเหมือนกับปลาหมอสีในทะเลสาป
   จากประสบการณ์ในการเลี้ยง Xenotilapia papilio " Tembwe ll"      ผมถูกใจปลาจากแหล่งนี้มาก เนื่องจากลวดลายอันสวยงามตามครีบส่วนต่าง  ๆตลอดจนเหลือบสีบนตัวของมัน  ที่เด่นชัดและสะดุดตามากกว่าปลาจากแหล่งอื่น ๆ   รวมถึงขนาดตัวที่ไม่ใหญ่ สามารถเลี้ยงในตู้เล็ก ๆ ขนาด 36 นิ้วได้
   การทดลองเลี้ยงในช่วงแรก ๆ พบว่าเป็นปลาที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากมันเป็นปลาที่เครียด และตกใจง่าย เวลาเครียดมันจะหอบอย่างแรง  และชอบพุ่งไปมาแบบไร้ทิศทาง  กินอะไรก็ไม่รู้เปิดเวปเมืองนอกหาข้อมูล    เขาบอกมันเป็นปลากินเนื้อ (Carnivore)  พอกินไรทะเลไปได้สี่ห้าวัน เริ่มหอบแฮก ๆ ท้องอืดแล้วก็ตาย  ตอนนั้นถอดใจไปบ้างแล้ว   แต่ปลาตายต้องจับเข้าสูตรประจำใจ  "ตาย 1 ต้องเพิ่ม 3"  ลองไปเรื่อยๆ   จากชุดแรก 6 ตัว ตายเรียบ ฮา.....  จับเข้าสูตรปุ๊บ ! ได้ชุดสองมา 18 ตัว  คราวนี้ตั้งสมาธิดี ๆ  จิตจดจ่อไม่วอกแวก  เปลี่ยนน้ำ ตรงเวลา อุณหภูมิน้ำใหม่ ต้องใกล้เคียงน้ำเก่า  ให้อาหารเม็ดอย่างเดียวในช่วงแรก เนื่องจากกลัวมันตายแบบชุดแรก ประเคนทั้งวัสดุกรองขั้นเทพ และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกเพียบ  เวลาผ่านไป 3 เดือน  ผมทำให้มันหยุดตายได้   ดีอกดีใจอย่างกับถูกหวยเลยครับ รู้สึกว่าในชีวิตนี้ไม่เคยเลี้ยงอะไรแล้วสนุก ขนาดนี้มาก่อน  ตื่นนอนก็รีบมาดู  กลับจากที่ทำงานก็รีบมาดู  เป็นอย่างนี้หลายเดือน  จนวันถึงผมเจอปลาตัวเมียอมไข่ ดีใจขนาดวิ่งออกไปหน้าบ้าน ร้องกรี๊ดดดดดดดด     เวลาจะดูปลาต้องย่องเงียบ ๆ ค่อย ๆ โผล่หัวเข้าไปมอง เพราะกลัวปลาตัวเมียตกใจกลืนไข่   
   และเป็นเรื่องธรรมดาของแม่ปลาวัยสาว ที่มักจะอมไข่ไม่เหนียว   เป็นอยู่อย่างนี้หลายเดือน อยู่มาวันนึงมันก็ประสบความสำเร็จ ผมได้ลุกปลามาชุดนึง แสนจะภูมิใจ 
   จากเรื่องราวที่เล่ามาผมมีเทคนิคการเลี้ยงจะสรุปให้แบบง่าย ๆ มีดังนี้
   1. ได้ปลาดี มีชัยไปเกินครึ่ง  กรณีที่เป็นปลานำเข้าจากต่างประเทศ มีความเสี่ยงตั้งแต่เปิดกล่อง ปลาอาจจะมาแบบไม่แข็งแรง  ซึ่งการพักปลาไม่ควรพักรวมกับปลาชนิดอื่น ๆ หรือแม้แต่พวกเดียวกันเองก็ไม่ควรอยู่กันอย่างหนาแน่นเกินไป การปรับน้ำเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากปลาที่ขนส่งมาทางเครื่องบิน อุณหภูมิน้ำในถุงจะเย็นมาก และค่าน้ำมักจะต่างกับค่าน้ำในถิ่นอาศัยของประเทศเรา  สำหรับลุกปลาที่เกิดจากการเพาะในประเทศ มักไม่ค่อยมีปัญหาในการปรับตัว และเลี้ยงง่ายกว่าอีกด้วย
   2. จำนวนปลาก็สำคัญ  แม้ว่าปลาจะอยู่กันเป็นคู่ แต่ปลาในวันเล็กควรเลี้ยงให้ได้จำนวน 4-10 ตัว เพราะลดอาการตื่นตกใจ และเพิ่งโอกาสในการเลือกคู่ของปลา                  3. การจัดตู้  อาจจะไม่ต้องเหมือนกับในธรรมชาติ เพราะเราเลี้ยงในสถานที่ปิด มีอาณาบริเวณไม่กว้างขวางเหมือนในธรรมชาติ  แนะนำให้ปูพื้นด้วยทราย วางหินแบบหลวม ๆ ให้ปลาได้ที่หลบซ่อน   เน้นการมองเห็นได้ง่าย และลดความหมักหมม                           4. การให้อาหาร แนะนำว่าให้กินอาหาร 1 วัน ต่อ 1 มื้อก็เพียงพอแล้ว โดย จะให้อาหารสด หรือ อาหารเม็ด ก็ได้ครับ โดยเฉพาะอาหารสดควรสดใหม่จริง และสะอาดปราศจากพวกปรสิต 
   5. ขนาดตู้ ควรมีขนาดความยาวไม่น้อยกว่า 36 นิ้ว ขนาดตู้ที่แนะนำคือความยาว 48 นิ้ว ขึ้นไป และควรมีฝาปิดมิดชิด เพราะปลาชนิดนี้กระโดดเก่งมาก แถมแม่นด้วย มีรูรอดนิดเดียว ก็สามารถกระโดดลอดออกมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ                              6. Xenotilapia papilio " Tembwe ll"   เป็นปลาที่ชอบน้ำสะอาดมาก จึงควรมีระบบกรองที่ดี และที่สำคัญคือการเปลี่ยนน้ำ ควรทำอย่างเป็นประจำ และสม่ำเสมอ                   7. เพื่อนร่วมตู้  สามารถเลี้ยงรวมกับปลาในตระกูล Altolamprologus calvus , Altolamprologus compressiceps,  Cyprichromis leptosoma, Lamprologus  ocellatus , Cyathopharynx foai  เป็นต้น 
   8.  การจับคู่ และผสมพันธุ์  เมื่อปลามีความสมบูรณ์พร้อมและสภาพแวดล้อมเหมาะสม มันจะจับคู่และผสมพันธุ์  ปลาตัวผู้จะก่อรังเป็นแอ่งตื้น ๆ  เรียกร้องความสนใจให้ตัวเมียเข้ามาวางไข่ในรัง  Xenotilapia papilio " Tembwe ll"   เป็นปลาอมไข่  ใช้เวลาฟักไข่เป็นตัวในปากแม่ ประมาณ 15-20 วัน  และเมื่อลูกมีพัฒนาจากไข่เป็นตัวโดยสมบูรณ์จะว่ายออกจากปากแม่ โดยในช่วงแรก ๆ แม่ปลาจะยังคงเลี้ยงดูลุกไปสักพัก  ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงอันตรายลุกจะว่ายเข้าไปแอบในปากแม่ปลา  แม่ปลาจะเลี้ยงลุกไประยะนึง และจะปล่อยให้ลุกหากินเองต่อไป                           การเลี้ยงXenotilapia papilio " Tembwe ll"   เป็นประสบการณ์ล้ำค่า และเป็นงานท้าทายความสามารถของผู้เลี้ยงได้ดี  โดยส่วนตัวแล้ว ไม่คิดว่ายากเกินกว่าความสามารถของเพื่อน ๆ แน่นอนครับ  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามผม ได้ทาง facebook (Nithi kirdkidsadanon)  หรือทาง Thai cichlids society ในเฟสบุ๊คได้ครับ  แล้วพบกันฉบับหน้า ขอบคุณ
rome ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #36 เมื่อ: 19/10/14, [15:44:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

Lamprologus ocellatus
 ว่ากันว่าปลาในตระกูลหมอหอย Lamprologus ocellatus  ที่ได้รับความนิยมสูงสุด  ด้วยความน่ารัก  หน้าตาคล้ายกบ และตัวมีน้ำตาลหรือสีเหลือง หรือ สีฟ้า  (ขึ้นอยู่กับแหล่งอาศัย) มีเกล็ดมุกสีน้ำเงิน อยู่ตามแนวยาวของลำตัว  มีนิสัยดุดัน  ชี้สงสัย แต่ไม่ก้าวร้าว มีนิสัยที่ไม่กลัวคน  เวลาเอากระชอนตักปลาลงตู้ถ้าเข้าไปใกล้รังของมัน แทนที่มันจะแอบ กลับว่ายเข้ามาไล่จิกกระชอน อย่างไม่กลัวเกรง  ทั้ง ๆ ที่ตัวเล็กนิดเดียว   Lamprologus ocellatus  มีขนาดตัวประมาณ 3-5 ซม ซึ่งไม่ใหญ่มาก สามารถจะนำมาเลี้ยงในตู้ขนาดเล็ก โดยจัดเป็นคู่ ๆ หรือ  จะเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงก็ได้
ในธรรมชาติ สามารถพบ Lamprologus ocellatus  ในทะเลสาปแทนแกนยิกา ตามแหล่งน้ำตื้นระดับ 15 – 100 ฟุต ได้แก่ บริเวณ Mbita,Wampembe และในบริเวณประเทศ Zambia   ตัวที่ฮิตที่สุด จะเป็นตัว gold เพราะมีสีเหลืองสวยงามทั้งตัว   พวกมันจะอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นในอาณาบริเวณสุสานหอย คือ บริเวณที่มีซากปลือกหอยทับถมอยู่อย่างเนืองแน่น   และจะใช้ซากเปลืองหอยเป็นที่หลบภัยจากปลานักล่า หรือสัตว์อื่น ๆ ตลอดจนใช้เป็นที่สร้างรังเพื่อผสมพันธุ์   ให้ปลาตัวเมียได้วางไข่ และเก็บซ่อนลูกปลาอย่างปลอดภัย 
เนื่องจาก Lamprologus ocellatus  เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ได้ง่าย มันจะพร้อมสืบพันธุ์เมื่อมีอายุ 1 ปีขึ้นไป  สามารถวางไข่ได้ประมาณ 5 - 6 รอบภายใน 1 ปี  การสังเกตเพศค่อนข้างดูยากซักหน่อย  เนื่องจากมันเป็นปลาขนาดเล็ก  ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่ ลำตัวออกยาวกว่าตัวเมีย และตัวเมียท้องจะกลมป้อมสั้นกว่าตัวผู้  ส่วนสีสันบนตัวปลานั้นไม่สามารถแยกเพศได้เพราะมีสีเหลืองเหมือนกัน  และความเข้มของสีก็ไม่แตกต่างกัน
การเลือกขนาดของตู้ปลา สามารถเลี้ยงปลาเป็นคู่ในตู้ขนาดตั้งแต่ 20 นิ้วขึ้นไป  หรือจะเลี้ยงเป็นฝูงอย่างน้อย 4 ตัวขึ้นไปสำหรับตู้ 24 นิ้วขึ้นไป  ระบบกรองจะใช้กรอกแขวน หรือกรองฟรองน้ำก็ได้  ปลาพวกนี้อึดทนพอสมควร  แต่ก็ควรเปลี่ยนน้ำให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง  ๆ ละ 20 -30 เปอร์เซ็นต์  อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเลี้ยงคือ 25-30 องศาเซียลเซียส ค่าพีเอส ประมาณ 8-9
 การจัดตู้   ควรหาเปลือกหอย ขนาดเล็ก ๆ วัดให้ใหญ่กว่าขนาดตัวปลาเล็กน้อย ได้แก่หอยเชอรี่ หอยหวาน  ใส่ลงไปในตู้ด้วยจำนวนที่มากกว่าตัวปลา  ควรใช้ทรายละเอียด โดยจะใช้ทรายขาวหรือทรายดำก็ได้  แต่ผมแนะนำทรายขาวดีกว่า  สีปลาจะขับสวยกว่า  เปลือกหอยที่ใส่ลงไปไม่ต้องตกแต่งใด ๆ  เพียงแต่โปรยลงไปให้ทั่วตู้  ปลาตัวผู้และปลาตัวเมียจะทำการคัดเลือกหอยและจะขุดทรายดึงเปลือกหอย ลงไปใต้พื้นทรายและฝังกลบให้เห็นโผล่มาแค่เฉพาะรูหอยเท่านั้น ส่วนเปลือกหอยอันอื่นมันจะอมทรายมาเทกลบปากหอยเพื่อไม่ให้ปลาตัวอื่นเอาไปใช้  เมื่อรังถูกสร้างเสร็จมันจะอาศัยหากินอยู่แต่บริเวณนั้น  เรียกได้ว่ากินนอนอยู่ปากหอยกันเลยทีเดียว  และมักจะมีอาการหวงอาณาเขต   มันจะไล่ปลาตัวอื่นที่พยายามเข้าใกล้รังมัน  แต่ความก้าวร้าวก็ไม่ได้รุนแรงอะไรมากนัก ไม่ถึงขนาดเลือดตกยากออก
Lamprologus ocellatus   เป็นปลาที่กินได้ทั้งอาหารสด และอาหารเม็ด(สำหรับปลาหมอสี)  แถมกินเก่งมาก  เวลามันหิวมันจะว่ายมาขออาหารหน้าตู้ เอาปากถูกไถกระจก สะบัดหางไปมา เวลาโยนอาหารลงไป มันจะเข้ามารุมกินกันอย่างสนุกสนาน   จำนวนมื้ออาหารที่เหมาะสมอยู่ที่ 1-2 มื้อต่อวัน
การผสมพันธุ์ ปลาจะจับเลือกคู่กันเอง  บางครั้งแม้เราจะเลือกเพศปลาได้อย่างถูกต้องแล้ว แต่ก็ไม่เสมอไปว่าปลาจะจับคู่ และอยู่กันได้อย่างปกติ ไม่กัดกัน   วิธีการแก้ปัญหาตรงนี้ ผมมักจะเลือกที่จะเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง เพื่อให้ปลาจับเลือกคู่กันเอง    ปลาที่จับเข้าคู่กันแล้ว  ปลาตัวผู้จะพยายามชักชวนตัวเมียให้มาวางไข่ในเปลือกหอยของมัน  ตัวเมียจะวิ่งเข้า - วิ่งออกหอยอยู่หลายวัน เมื่อตัวเมียพร้อมจะทำการวางไข่  ตัวผู้จะทำการฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในหอยเพื่อให้ไข่ได้รับการปฎิสนธิ  ช่วงที่ตัวเมียวางไข่นั้นมันจะมุดเข้าไปหอย จนบางทีผมคิดว่าปลาหายไปไหน  ตัวเมียจะไล่ปลาทุกตัวที่เข้ามาใกล้หอยที่มันวางไข่ ปลาตัวผู้ก็ไม่มีข้อยกเว้นด้วยเช่นกัน  ไข่จะมีลักษณะเป็นสีขาว เม็ดเล็กมาก ๆ  มีจำนวนประมาณ 8-30ฟองใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกปลาจะฟักออกมาเป็นตัว  ผมแนะนำว่าถ้าเราเห็นว่ามีลูกปลาว่ายออกมาให้เห็นแล้วก็ตาม แต่ไม่ควรไปตักลูกปลาออกมาเลี้ยงข้างนอก เนื่องจากปลาขนิดนี้ พ่อแม่ปลาจะไม่กินลูก มันจะช่วยกันเลี้ยงและปกป้องลูก ๆ ของมัน รวมถึงป้อนอาหารด้วย  ผมเคยเอาอาหารเม็ดแช่น้ำ ใส่ลงไปให้ปลากิน แม่ปลาจะเคี้ยวอาหารให้ละเอียด แล้วพ่นออกมาทางเหงือก ให้ลูกปลาได้กินอาหาร เป็นภาพที่น่ารักมาก  เวลาที่ปลอดภัยลูกปลาจะออกมาว่ายเล่นอยู่บริเวณปากหอย แม่ปลาคอยคุ้มกัน เมื่อมีศัตรูมา ลูกปลาจะรีบกลับเข้าหอย  เมื่อคิดว่าปลอดภัยลูกมันจะออกมาใหม่  ผมนั่งดูทั้งวันไม่มีเบื่อเลย
   เมื่อพ่อแม่เลี้ยงดูลูกจนมีขนาด 1 – 1.5 ซม  ผมสังเกตุว่าพ่อแม่ปลาจะเริ่มไม่รักลูกแล้ว มันจะคอยไล่ลูกปลาไม่ให้เข้ามาในอาณาเขตมัน  จึงควรตักพ่อปลาออกไปเลี้ยงที่อื่น  แม่ปลาจะเลี้ยงลูกของมันต่อไป  และทำให้แม่ปลาได้พักฟื้นก่อนจะผสมพันธุ์ใหม่อีกรอบด้วย  หรือจะตักเอาลูกปลาออกไปเลี้ยงในตู้อนุบาลก็ได้ครับ 
กรณีที่มีตู้ขนาดใหญ่ขนาดเกิน 36 นิ้ว เราสามารถนำปลาชนิดอื่นได้แก่  Cyprichromis  มาเลี้ยงรวมกันได้ อย่างไม่มีปัญหาครับ  แต่ถ้าจะเลี้ยงเน้นเพื่อเพาะพันธุ์ก็เลี้ยงเฉพาะอย่างเดียวไปเลยจะดีกว่า 
โรคที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ กับ Lamprologus ocellatus  คือ  อาการท้องอืด  อาการคือปลาจะไม่กินอาหาร
ท้องมีลักษณะบวม  ขี้ปลามีสีขาว  ถ้าพบว่าปลาป่วยในระยะแรก  ๆ  สามารถรักษาได้ โดยใช้ยา metronidazole  ขนาด 200 มิลลกรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร  นำปลาป่วยมาแยกรักษา ในตู้โล่ง เปิดอ๊อกซิเจนเติมอากาศ  ใส่ยาตามจำนวนโดส   เติมยาทุก 24 ชั่วโมง  ช่วง 3 -5 วันแรกไม่ควรเปลี่ยนน้ำ  เพราะตามประสบการณ์ของผู้เลี้ยง ไม่ควรเปลี่ยนน้ำในช่วงปลาป่วย แม้จะไม่มาก จะพบว่าปลาช๊อกตายทันที   เมื่อปลากินอาหารแสดงถึงสัญญาณดีว่ามันหายป่วยแล้ว สามารถเปลี่ยนน้ำปลา ได้เป็นปกติ
      ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้กล่าวไปนั้น  หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจจะเลี้ยง Lamprologus ocellatus    หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามผม ได้ทาง facebook (Nithi kirdkidsadanon)  หรือทาง Thai cichlids society ในเฟสบุ๊คได้ครับ  แล้วพบกันฉบับหน้า ขอบคุณ



Test Kits Monitor ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #37 เมื่อ: 01/06/15, [09:58:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]
หน้า: 1 2  ทั้งหมด   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: