Aqua.c1ub.net
*
  Wed 24/Apr/2024
หน้า: 1 2   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำเครฟิช ตอนที่3 Astacus Astacus  (อ่าน 17594 ครั้ง)
กิ้ม ออฟไลน์
Club Follower
« เมื่อ: 27/08/11, [14:47:14] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คำเตือน สิ่งที่ท่านจะได้รับชม อ่าน และจินตนาการต่อไปนี้ เกิดขึ้นจากความจริง ผสมจินตนาการและความคิดเห็นของผู้เขียนเข้าไปด้วย อาจมีเนื้อหาอันน่าหวาดเสียว ตื่นเต้น เสียดสี ทะลึ่ง ลามก จกกะเปรต และรุนแรง ขอให้ท่านผู้มีจิตใจอ่อนแอ ไม่มั่นคง อารมณ์อ่อนไหว หรือผู้หญิงมีประจำเดือน รับชมด้วยความระมัดระวัง สตรีมีครรภ์และคนชรา ควรปรึกษาแพทย์หากเกิดอาการใจเต้นแรง สำหรับเด็กเล็กหรือเด็กโตที่มีบัตรประชาชนแล้ว ควรมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด หากเกิดความเสียวไส้ อารมณ์พลุ่งพล่าน สามารถกรีดร้อง วี๊ดว้าย หรือแต๋วแตกได้อย่างพองาม


ตอนที่ 1 เครฟิช In Thailand


        สวัสดีพี่น้องผองเพื่อนและเหล่าสาวกเครฟิชทั้งหลาย ผู้หลงใหลในความงามทั้ง สีสัน ลวดลาย รูปร่าง และพฤติกรรมของเหล่าเครฟิช กระผมซึ่งก็เป็นหนึ่งในนั้นอยากให้เพื่อนๆที่ทั้งเริ่มเลี้ยงและเลี้ยงมานานแล้วได้รู้จักกับเหล่าเครฟิชมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่ท่านเลี้ยงอยู่ หรือสายพันธุ์ที่ท่านเคยเห็น และบางสายพันธุ์ที่ท่านอาจจะยังไม่เคยได้ยินแม้แต่ชื่อมาก่อน ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้น และขอสละเวลาเพื่อนๆพี่ๆน้องๆมาร่วมเดินทางไปสู่โลกแห่งสัตว์เปลือกแข็งผู้มีเชื้อสายเกี่ยวดองกับแมลงชนิดนี้ด้วยกัน มันก็คือ เครฟิชของเรานั่นเอง และด้วยความอยากรู้อยากเห็นและสนใจในตัวกุ้งเครฟิชของกระผมนี้เอง กระผมจึงได้เริ่มทดลองเลี้ยงและศึกษาจาก พ่อค้า ผู้เพาะพันธุ์ เพื่อนๆ เว็ปทั้งไทยและเทศ หนังสือ รวมไปถึงประสบการณ์ตรง จึงได้ค้นพบว่ากุ้งเครฟิชนั้น มีความน่าสนใจเอามากๆเลยทีเดียว และด้วยโอกาสนี้ผมขอจะบอกเล่า จากข้อมูลที่อ่านและศึกษามา รวมไปถึงประสบการณ์ตรง โดยผมจะไม่เจาะลึกถึงรายละเอียดทางวิชาการให้มากเกินไปจนเกิดความสับสน และงุ่นงงแก่ตัวผู้อ่านและผู้เขียนเองด้วยครับ เนื่องจากมีความรู้น้อยผมขออนุญาติ อ้างอิงถึงเว็ปไซท์ต่างๆ ที่ผมได้เข้าไปศึกษามาเป็นระยะๆ ในตอนแรกนี้อาจจะดูเป็นวิชาการนิดนึงครับ ภาพลักษณ์แรกสำคัญที่สุด เลยโชว์ภูมิฐานไปก่อน1ดอก ตอนอื่นจะดุเด็ดเผ็ดมันขึ้นเรื่อยๆอย่างแน่นอนครับ

       ก่อนอื่นผมขอกล่าวถึงสถานะปัจจุบันของวงการเครฟิชในมุมมองของผมเองครับ วงการผู้เลี้ยงเครฟิชในปัจจุบันนั้นเริ่มมีการขยายตัวอย่างกว้างขวางครับในปัจจุบัน(พ.ศ.2554) วัยรุ่นและวัยรุ่นๆ(คืออายุวัยรุ่น*2)นั้น นิยมหันมาเลี้ยงเจ้ากุ้งเครฟิชเป็นจำนวนมากครับ และในอนาคตน่าจะมากขึ้นกว่านี้อีกครับ ในตลาดการเพาะพันธุ์และจำหน่ายจึงมีการแข่งขันกันอย่างสูงและเอาเป็นเอาตายกันในบางพื้นที่

       สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในประเทศไทยปัจจุบัน(พ.ศ.2554)คือProcambarus Clarkii ค้นพบในปีค.ศ.1852หรือที่เราเรียกกันติดปากว่ากุ้งแดงญี่ปุ่น ไบร์ทออเร้นจ์ สโนว์ไวท์ ซึ่งแท้จริงมันมีถิ่นกำเนิด อย่างกว้างขวางทั้ง ญี่ปุ่น จีน แคนาดา สหรัฐอเมริกา อีกหลายๆประเทศในทวีปอเมิรกาเหนือ,  Procambarus Alleni หรือที่เรามักเรียกว่า อัลลีนี่หรือบลูอัลลีนี่นั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นสกุล(genus)ที่เราเรียกกันว่าProcambarusนั้น แยกย่อยมาจาก วงศ์ Cambaridae และแต่ละสายพันธุ์สามารถแยกย่อยเข้าไปเป็นสกุลแยกย่อยของตนเองอีกที่นึง อย่างเช่นแดงญี่ปุ่น ไบร์ทออเร้นจ์ สโนว์ไวท์นั้นเป็น Procambarus (Scapulicambarus) Clarkii หรืออัลลี่นี่จะเป็น Procambarus (Leconticambarus) Alleni ซึ่งในที่นี้กระผมจะไม่กล่าวเจาะลึกไปถึงจุดนั้น เพราะอาจจะทำให้เกิดความมึนงงสับสนจากที่มีอยู่แล้วมากขึ้นไปอีก (เสริมนิดนึงครับ กุ้งมาเบิ้ลในบ้านเรา มักจะเข้าใจว่าเป็นการนำ กุ้งสายPพันธุ์ต่างๆมาครอสข้ามสายพันธุ์กัน แต่ในต่างประเทศกุ้งมาเบิ้ลของเค้าคือ กุ้งมาโมแครป Procambarus sp.(Marmor Krebse) ที่เรารู้จักกันซึ่งจะมีลายที่ตัวคล้ายหินอ่อนและสามารถสืบพันธุ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวผู้(Pathenogenesis)นะครับ ขอบคุณเว็ป Thaicrayfish สำหรับข้อมูลในส่วนนี้ครับ) มากันที่สาย C กันบ้างครับ แน่นอนเลยที่จะไม่กล่าวถึงไปไม่ได้สำหรับสายCคือ Cherax Destructor ครับ ซึ่งสายพันธุ์นี้นับว่านิยมแพร่หลายอย่างมากในหมู่มวลมนุษยชาติชาวไทยทุกหมู่เหล่าครับ สายพันธุ์นี้ค่อนข้างละเอียดอ่อนต่อการกล่าวถึงนิดนึงครับ(ข้อมูลผิดนิดนึงอาจจะเสียคนได้ครับ) กระผมจึงขอกล่าวอย่างคร่าวๆกันก่อน ว่าเจ้า Cherax Destructor หรือขอเรียกสั้นๆว่าเดสเนี่ย อยู่กันชุกชุมมากๆที่ทวีปออสเตรเลีย โดนเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศออสเตรเลียครับ ซึ่งเดสนั้นเป็นอาหารจานโปรดของชาวออสซี่รวมถึงแขกผู้ไปเยี่ยมเยียนหลายๆท่านเลยทีเดียว เข้ามาในประเทศไทยยุคแรกๆช่วงก่อนปีพ.ศ.2551 และในตอนแรกเกิดสับสนกันมากระหว่างเดส (Cherax Destructor) และ บลูเพิล (Cherax Albidus) จนเกิดการถกเถียงกันอย่างไม่หยุดหย่อนครับ สุดท้ายจึงสามารถหาข้อสรุปที่ค่อนข้างลงตัวได้ว่ามันเป็นเครฟิชที่มาจาก วงศ์เดียวกัน สกุลเดียวกัน แต่คนละสายพันธุ์กันครับ ซึ่ง2สายพันธุ์นี้สามารถผสมข้ามกันไปมาได้ จึงทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้เลี้ยงครับ โดยลักษณะที่แตกต่างจะมีอยู่หลายจุดครับ ส่วนนี้จะกล่าวถึงในภายหลัง แต่เมื่อมาผสมกัน นักเพาะพันธุ์จะเข้าใจว่ากลายเป็นเดสไปในทันทีครับ ไม่ว่าจะมีเลือดเดส99% หรือ แค่1%ก็ตาม(ส่วนนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านนิดนึงครับ) ดังนั้นเรื่องเดสและบลูเพิลก็ยังคงมีคำถามกันไม่จบไม่สิ้นครับ (ส่วนตัวกระผมก็ไม่กล้ายืนยันเต็มปากเรื่องเดสและบลูเพิลอย่างชัดเจนครับ เพราะความรู้น้อยและกลัวหน้าแหกครับ) ดังนั้นผมจะขอกล่าวไปถึงวงศ์ตระกูล สกุลรุนชาติ และสายพันธุ์กันต่อไปครับ

กุ้งเครฟิชทั่วโลกแบ่งได้เป็น7วงศ์ คือ
-Astacidae
-Cambaridae
-Enoplometopidae
-Glypheidae
-Nephropidae
-Parastacidae
-Thaumastochelidae
วงศ์ที่อาศัยอยู่อย่างแพร่หลายมีอยู่3วงศ์ คือ Astacidae, Cambaridae และ Parastacidae
ภาพแสดงฐิ่นที่อยู่อาศัยของ Crayfish ทั้ง3วงศ์


ทั้งนี้ เครฟิชสามารถแยกย่อยเป็น690สายพันธุ์ (species)เช่น Procambarus Clarkii, Cherax Destructor, Cherax Albidus เป็นต้นครับ

      เรียกได้ว่าเยอะจนมึนตึ้บกันไปเลยทีเดียวครับ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นและขี้สงสัย ผมจึงนำข้อมูลสายพันธุ์ต่างๆมาเล่าสู่กันฟังให้เพื่อนได้สังหารเวลาทิ้งโดยไม่เปล่าประโยชน์ครับ ตอนนี้ขออั้นไว้เพียงแค่นี้ก่อนครับ เดี๋ยวมาต่อในรายละเอียดของการเลี้ยง และสายพันธุ์ต่างๆที่น่าสนใจครับ

ขอขอบคุณ        
aqua.c1ub.net            
thaicrayfish.com            
iz.carnegiemnh.org

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30/08/11, [14:40:01] โดย G&B »
bomboom ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #1 เมื่อ: 27/08/11, [17:24:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รอติดตามครับ บทความมีความรู้ดีครับ (+ ฮาด้วย)
อันนี้ชอบส่วนตัว เสียดสีสังคมกุ้งดี ฮ่าๆ

1.ในตลาดการเพาะพันธุ์และจำหน่ายจึงมีการแข่งขันกันอย่างสูงและเอาเป็นเอาตายกันในบางพื้นที่

2.(ข้อมูลผิดนิดนึงอาจจะเสียคนได้ครับ)

 [on_026] [on_026]


กิ้ม ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #2 เมื่อ: 28/08/11, [10:14:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รอติดตามครับ บทความมีความรู้ดีครับ (+ ฮาด้วย)
อันนี้ชอบส่วนตัว เสียดสีสังคมกุ้งดี ฮ่าๆ

1.ในตลาดการเพาะพันธุ์และจำหน่ายจึงมีการแข่งขันกันอย่างสูงและเอาเป็นเอาตายกันในบางพื้นที่

2.(ข้อมูลผิดนิดนึงอาจจะเสียคนได้ครับ)

 [on_026] [on_026]




ขอบคุณสำหรับคำติชมครับ
P.K.Bluemoon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #3 เมื่อ: 28/08/11, [11:46:23] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คำเตือน สิ่งที่ท่านจะได้รับชม อ่าน และจินตนาการต่อไปนี้ เกิดขึ้นจากความจริง ผสมจินตนาการและความคิดเห็นของผู้เขียนเข้าไปด้วย อาจมีเนื้อหาอันน่าหวาดเสียว ตื่นเต้น เสียดสี ทะลึ่ง ลามก จกกะเปรต และรุนแรง ขอให้ท่านผู้มีจิตใจอ่อนแอ ไม่มั่นคง อารมณ์อ่อนไหว หรือผู้หญิงมีประจำเดือน รับชมด้วยความระมัดระวัง สตรีมีครรภ์และคนชรา ควรปรึกษาแพทย์หากเกิดอาการใจเต้นแรง สำหรับเด็กเล็กหรือเด็กโตที่มีบัตรประชาชนแล้ว ควรมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด หากเกิดความเสียวไส้ อารมณ์พลุ่งพล่าน สามารถกรีดร้อง วี๊ดว้าย หรือแต๋วแตกได้อย่างพองาม


 ้hahaha ้hahaha ้hahaha ้hahaha

เดสมีหนาม  บลูเพิร์ลมีขน   ้hahaha   อยู่ๆ กุ้งผมข้างนึงมีขนอีกข้างนึงมีหนาม  ้hahaha  มันต้องเป็น เดสเพิร์ลเตอร์  ้hahaha 
 
ยังไม่ได้อ่านนะครับแต่โคตะระชอบคำนำเลย 55  ขอเอาไปเผยแพร่ ในคลับเครฟิชส่วนตัวผมนะ ^^   [เจ๋ง]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28/08/11, [11:59:54] โดย P.K.Bluemoon »
Prab Prabchana. ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 28/08/11, [12:04:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]

เข้ามาอ่านเก็บเข้าสมอง
กิ้ม ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #5 เมื่อ: 29/08/11, [11:06:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตอนที่2 เดสทรัคเตอร์ & บลูเพิล แฝดคนละฝา หรือคนแปลกหน้าที่บังเอิญคล้ายกัน
     กลับมาพบกันอีกครั้งครับ คราวนี้เครียดกว่าเดิมอีกเท่าตัวครับ เพราะเราจะไปลงถึงรายละเอียดของกุ้งพันธุ์แรกกันแล้ว แต่ก่อนอื่นเราต้องไปพบกับพิธีกรภาคสนามวันนี้ของเราครับ ยินดีต้อนรับคุณ “แป้งโกะ



          นักร้องสาวสวย น่ารัก ที่เวลามิวสิคเธอขึ้นก็ไม่ต้องฟังเพลงแค่มองหน้าก็เพลินแล้วครับ ขนาดเฮียช้างเจ้าของร้านอาหารตามสั่งแถวบ้านเห็นแล้วถึงกับอุทานว่า “กูเห็นหน้าแล้วอยากกลับบ้านไปหาเมีย...แล้วกระทืบให้มันตายคาTeen” วันนี้แป้งโกะจะลงไปจับกุ้งชนิดแรกกันที่น้ำตกเลยครับ

          กุ้งที่จะกล่าวถึงเป็นอันดับแรกจะเป็นพันธุ์อะไรไปเสียมิได้ มันก็คือ เดสทรัคเตอร์(Cherax Destructor) หรือเรียกสั้นๆว่าเดสกันครับ จากที่กล่าวกันไปตั้งแต่ตอนที่แล้ว ข้อมูลที่นำเสนอถ้าไม่แน่น ไม่ปึ้ก ไม่ชัวร์ มีโอกาสหน้าแหกถึงขั้นเสียคนสูงครับ เพราะข้อมูลที่ผิดๆหรือคำพูดที่ผิดหูอาจจะกลิ้งกลุกๆๆ ไปกระทบจิตใจดวงน้อยๆ ของหลายๆคนได้ แต่เพื่อท่านผู้อ่าน คิดได้ดังนั้นแล้ว เอาว่ะ!! ชีวิตมันต้องโดนทำร้าย ผิดถูกตำหนิติเตียนได้ครับ

   แพร่มกันไปยาวขอเลี้ยวกลับมาที่เจ้าเดสน้อยๆของเรากันต่อครับ ก่อนอื่นเราไปดูรายละเอียดทางวิชาการกันก่อนครับ

ชื่อสายพันธุ์ : Cherax Destructor
วงศ์ : Parastacidae
สกุล : Cherax
อุณหภูมิที่เหมาะสม : 1°C – 35°C
ขนาด : โดยเฉลี่ย10-20cm เคยพบใหญ่สุดถึง30cm




        กุ้งชนิดนี้ถูกค้นพบในปีค.ศ.1936 และพบได้มากในออสเตรเลีย มีขนาดประมาณ10-20cm และพบขนาดใหญ่สุดถึง30cm โดยผู้คนนิยมเรียกกุ้งชนิดนี้กันว่า Yabby (ชื่อนี้ถูกน้ำไปเรียกบลูเพิล Cherax Albidus และ อีกหลายสายพันธุ์ด้วย บ้านเราเถียงกันแทบตาย มีแบ่งชั้นวรรณะกันด้วย ทำไมฝรั่งเค้าไม่มานั่งเถียงกันขนาดนี้ สงสัยเค้าเอาเวลาที่จะมาทะเลาะกันไปพัฒนาสายพันธุ์ไม่ก็พบปะสังสรรค์สร้างมิตรภาพมากกว่า!!) มันถูกขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์คุ้มครองโดย World Conservation Union

    เดสนั้นมีสีตั้งแต่ ดำ น้ำเงิน ฟ้า น้ำตาลเข้ม น้ำตาลอ่อน เขียวอมน้ำตาล(แต่ปัจจุบันพี่ไทยนำหน้าเค้าไปแล้วโดยมีสีขาว จะขาวจริง ขาวเก๊ ขาวโอโม่ ขาวชั่วคราวหรือขาวค้างคืนก็เถอะ) เดสของเราจะอาศัยอยู่บริเวณน้ำตก แอ่งน้ำ และลำธารที่มีน้ำใสไหลเย็นทั่วไป โดยกุ้งชนิดนี้เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่ตอนกลางวันถ้าให้อาหารเค้าก็กินนะ(ตามข้อมูล อาหารเมนูโปรดของเดสคือ สัตว์เป็นๆที่เค้าจับได้เองขณะที่เหยื่อยังมีชีวิตอยู่ครับ)

   ว่ากันต่อที่ชื่อ เพื่อให้เกิดความกระจ่างแจ้ง เดสทรัคเตอร์(Cherax Destructor) และ บลูเพิล(Cherax Albidus) นั้นฝรั่งเค้าไม่สนว่ามันจะสีอะไร มีขนด้านในก้ามหรือไม่ ข้อก้ามแดงรึเปล่า เค้าแบ่งแยกพันธุ์กันที่ ”สถานที่” ครับ คือถ้าไปเจอที่ตะวันออกของออสเตรเลียนั้นเค้าจะเรียกว่า Albidus แต่ถ้าไปเจอที่อื่นเค้าจะเรียกว่า Destructor ครับ (แล้วฝรั่งน่ะเค้าไม่มองว่าบลูเพิลที่เจ๋งจริงต้องฟ้านะเฮิฟ เค้าบอกว่าของเมพขิงๆ เทพบลิงๆ มันต้องสีขาว!!! เพราะคำว่า “Albidus” นั้นมาจากภาษาละตินแปลว่าสีขาวครับ บร๊ะเจ้า!! งงกันไปทั้งประเทศเลยครับพี่น้อง)

   กุ้งชนิดนี้สามารถอยู่ได้ทั้งใต้น้ำและบริเวณริมธารที่มีน้ำปริ่มๆได้ครับ โดยมันจะว่างไข่ตอนที่น้ำท่วมถึงและ สามารถอยู่อาศัยเมื่อน้ำลดระดับแห้งลงได้ มันจะผสมพันธุ์ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูร้อนในบ้านเค้าครับ โดยลูกกุ้งจะต้องเอาตัวรอดในช่วงวัยเด็กให้ได้ด้วยตนเอง ในสภาพที่ต้องอาศัยน้ำจากน้ำฝนครับ ประชากรกุ้งส่วนมากจะมีอายุแค่1-2ปีครับ เพราะทนความแห้งไม่ไหว แต่ตัวที่รอดจนฝนมาเยือนอีกครั้งก็จะอยู่ในสภาพที่แห้งบ้าง ชื้นบ้าง มีน้ำบ้าง ตามสภาวะอากาศได้อีกหลายปีเลยทีเดียวครับ แต่ก็ไม่ต้องห่วงครับ เค้าบอกว่ากุ้งพันธุ์นี้มีประชากรอีกบานเลยครับ เผลอๆคงจะเยอะกว่าจิงโจ้ด้วยมั้งครับ

   กุ้งชนิดนี้จะทำการเจริญเติบโตด้วยการลอกคราบเหมือนๆกุ้งพันธุ์อื่นๆครับ โดยสามารถเพิ่มน้ำหนักตัวเองได้มากถึง50%ในการลอกคราบแต่ละครั้ง โดยเฉลี่ยนเดสใช้เวลาขยับไซส์จากน้ำหนัก 10g ไป 50g ประมาณ4เดือน หรือผ่านการลอกคราบตั้งแต่แรกเกิดประมาณ20ครั้งครับ ช่วงระหว่างการลอกคราบควรแยกกุ้งไว้ในที่ๆ ไม่มีสัตว์อื่นรบกวนครับ ไม่เช่นนั้นอาจะเกิดการฟิวชั่นกันระหว่างกุ้ง2ตัวขึ้นไป สูญเสีย หรือมีปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาหลังลอกคราบได้

   “ทำยังไงให้ลอกคราบผ่าน” แน่นอนปัญหาหนักอกที่ไม่ต้องเป็น นาตาลี เดวิส ก็หนักได้คือการลอกคราบไม่ค่อยจะผ่านของเดสคือ การสูญเสียจากการลอกคราบไม่ผ่าน ทำความเข้าใจกันก่อนครับว่า กุ้งจะรับสารอาหารไม่ใช่แค่จากการกินเท่านั้น แต่สามารถดูดซับแร่ธาตุจากน้ำที่เค้าอาศัยอยู่ได้ด้วย ดังนั้นนอกจากอาหารการกินที่ต้องดูแลแล้ว สภาพน้ำก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันครับ โดยสามารถให้อาหารเสริมต่างๆ และแร่ธาตุที่ใส่ลงไปในน้ำทั้งหลายในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอันดีของกุ้งได้ครับ ซึ่งยี่ห้อของผลิตภัณฑ์นั้นเราจะไม่พูดถึง เพื่อหลีกเลี่ยงโฆษณาแฝงครับ แต่วิธีการง่ายๆที่จะเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่เครฟิชที่ท่านรักได้คือ การเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอครับ ปกติความถี่จะอยู่ที่3-4วัน ในประมาณน้ำประมาณ20-40% แต่สามารถลดหย่อนไปที่ทุกๆ1สัปดาห์ในปริมาณ50-70%ได้(ผมเปลี่ยน1-2วันต่อครั้ง ในปริมาณ40-70%โดยใส่น้ำประปาล้วนๆลงไป)

   สุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุด มีข้อมูลเรื่องสีของเดสอยู่นิดหน่อยครับ มีใจความว่า เดสที่อยู่ในน้ำสะอาดใส มีโอกาสที่จะเป็นสีออกไปทางฟ้า และถ้าน้ำสีออกเขียว สีของเดสก็จะออกไปทางเขียวครับ ส่วนในน้ำขุ่นเดสจะมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสีน้ำตาลครับ

   ท้ายสุดขออธิบายเพื่อความเข้าใจว่า ฝรั่งจะไม่เรียกแยกเดสหรือบลูเพิลครับ แต่เค้าจะเรียกรวมว่า Yabby แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอให้เข้าใจว่าเดสที่เราเรียกกันคือ Destructor และ บลูเพิลคือ Albidus ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กันตามการแบ่งแยกทางวิทยาศาสตร์ครับ

   สนใจศึกษาเพิ่มเติมรายละเอียดของสายพันธุ์ Cherax Albidus และความแตกต่างระหว่างเดส กับ บลูเพิล แนะนำให้เข้าไปอ่านที่กระทู้ของพี่ณัฐ Yabby house ครับ ได้ความรู้อย่างละเอียดเลยทีเดียวครับ

ขอขอบคุณ

แป้งโกะ ที่ทำให้เราได้น้ำลาย และเลือดกำเดาไหลกันระหว่างอ่าน

http://www.fish.wa.gov.au

http://en.wikipedia.org/wiki/Common_yabby

พี่ณัฐ Yabby house สำหรับข้อมูลของความแตกต่างระหว่างเดสและบลูเพิลในบ้านเราที่ผมแอบไปศึกษามา

และ เฮียช้าง(คนนี้ขาดไม่ได้ครับ)

คุณสามารส่ง sms ems mms e-mail หรือโทรศัพท์มาตำหนิติเตียนได้โดยตรงที่เบอร์ 191 และ 911 เรียนสาย คุณ ชูวิทย์ ศิษย์เจ้าพ่อโคลอนเซ่ ครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29/08/11, [11:09:35] โดย G&B »
bomboom ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #6 เมื่อ: 29/08/11, [13:56:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มันยังนี้เนี่ยเอง
โดนน้ำเขียวเฮลบลูบอยแน่ ๆ   [on_026]
Eroz CrayFish Tank ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #7 เมื่อ: 29/08/11, [15:16:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตอนที่2 เดสทรัคเตอร์ & บลูเพิล แฝดคนละฝา หรือคนแปลกหน้าที่บังเอิญคล้ายกัน
     กลับมาพบกันอีกครั้งครับ คราวนี้เครียดกว่าเดิมอีกเท่าตัวครับ เพราะเราจะไปลงถึงรายละเอียดของกุ้งพันธุ์แรกกันแล้ว แต่ก่อนอื่นเราต้องไปพบกับพิธีกรภาคสนามวันนี้ของเราครับ ยินดีต้อนรับคุณ “แป้งโกะ



       



อะไรยังไงผมไม่รู้ผมสนใจแต่น้องเค้า [เจ๋ง]
P.K.Bluemoon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 29/08/11, [15:57:48] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ความเห็นเดียวกะคนข้างบน  ้hahaha  ยังไม่ได้อ่านแต่จะบอกว่าน้องเค้าแหล่ม  [เจ๋ง]    ้hahaha

น้องกิ้มนี้ชอบมีอะไรดึงดูดใจอยู่เรื่อย
Aquarist Thailand ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #9 เมื่อ: 29/08/11, [16:01:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตอนที่2 เดสทรัคเตอร์ & บลูเพิล แฝดคนละฝา หรือคนแปลกหน้าที่บังเอิญคล้ายกัน
     กลับมาพบกันอีกครั้งครับ คราวนี้เครียดกว่าเดิมอีกเท่าตัวครับ เพราะเราจะไปลงถึงรายละเอียดของกุ้งพันธุ์แรกกันแล้ว แต่ก่อนอื่นเราต้องไปพบกับพิธีกรภาคสนามวันนี้ของเราครับ ยินดีต้อนรับคุณ “แป้งโกะ



          นักร้องสาวสวย น่ารัก ที่เวลามิวสิคเธอขึ้นก็ไม่ต้องฟังเพลงแค่มองหน้าก็เพลินแล้วครับ ขนาดเฮียช้างเจ้าของร้านอาหารตามสั่งแถวบ้านเห็นแล้วถึงกับอุทานว่า “กูเห็นหน้าแล้วอยากกลับบ้านไปหาเมีย...แล้วกระทืบให้มันตายคาTeen” วันนี้แป้งโกะจะลงไปจับกุ้งชนิดแรกกันที่น้ำตกเลยครับ

          กุ้งที่จะกล่าวถึงเป็นอันดับแรกจะเป็นพันธุ์อะไรไปเสียมิได้ มันก็คือ เดสทรัคเตอร์(Cherax Destructor) หรือเรียกสั้นๆว่าเดสกันครับ จากที่กล่าวกันไปตั้งแต่ตอนที่แล้ว ข้อมูลที่นำเสนอถ้าไม่แน่น ไม่ปึ้ก ไม่ชัวร์ มีโอกาสหน้าแหกถึงขั้นเสียคนสูงครับ เพราะข้อมูลที่ผิดๆหรือคำพูดที่ผิดหูอาจจะกลิ้งกลุกๆๆ ไปกระทบจิตใจดวงน้อยๆ ของหลายๆคนได้ แต่เพื่อท่านผู้อ่าน คิดได้ดังนั้นแล้ว เอาว่ะ!! ชีวิตมันต้องโดนทำร้าย ผิดถูกตำหนิติเตียนได้ครับ

   แพร่มกันไปยาวขอเลี้ยวกลับมาที่เจ้าเดสน้อยๆของเรากันต่อครับ ก่อนอื่นเราไปดูรายละเอียดทางวิชาการกันก่อนครับ

ชื่อสายพันธุ์ : Cherax Destructor
วงศ์ : Parastacidae
สกุล : Cherax
อุณหภูมิที่เหมาะสม : 1°C – 35°C
ขนาด : โดยเฉลี่ย10-20cm เคยพบใหญ่สุดถึง30cm




        กุ้งชนิดนี้ถูกค้นพบในปีค.ศ.1936 และพบได้มากในออสเตรเลีย มีขนาดประมาณ10-20cm และพบขนาดใหญ่สุดถึง30cm โดยผู้คนนิยมเรียกกุ้งชนิดนี้กันว่า Yabby (ชื่อนี้ถูกน้ำไปเรียกบลูเพิล Cherax Albidus และ อีกหลายสายพันธุ์ด้วย บ้านเราเถียงกันแทบตาย มีแบ่งชั้นวรรณะกันด้วย ทำไมฝรั่งเค้าไม่มานั่งเถียงกันขนาดนี้ สงสัยเค้าเอาเวลาที่จะมาทะเลาะกันไปพัฒนาสายพันธุ์ไม่ก็พบปะสังสรรค์สร้างมิตรภาพมากกว่า!!) มันถูกขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์คุ้มครองโดย World Conservation Union

    เดสนั้นมีสีตั้งแต่ ดำ น้ำเงิน ฟ้า น้ำตาลเข้ม น้ำตาลอ่อน เขียวอมน้ำตาล(แต่ปัจจุบันพี่ไทยนำหน้าเค้าไปแล้วโดยมีสีขาว จะขาวจริง ขาวเก๊ ขาวโอโม่ ขาวชั่วคราวหรือขาวค้างคืนก็เถอะ) เดสของเราจะอาศัยอยู่บริเวณน้ำตก แอ่งน้ำ และลำธารที่มีน้ำใสไหลเย็นทั่วไป โดยกุ้งชนิดนี้เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่ตอนกลางวันถ้าให้อาหารเค้าก็กินนะ(ตามข้อมูล อาหารเมนูโปรดของเดสคือ สัตว์เป็นๆที่เค้าจับได้เองขณะที่เหยื่อยังมีชีวิตอยู่ครับ)

   ว่ากันต่อที่ชื่อ เพื่อให้เกิดความกระจ่างแจ้ง เดสทรัคเตอร์(Cherax Destructor) และ บลูเพิล(Cherax Albidus) นั้นฝรั่งเค้าไม่สนว่ามันจะสีอะไร มีขนด้านในก้ามหรือไม่ ข้อก้ามแดงรึเปล่า เค้าแบ่งแยกพันธุ์กันที่ ”สถานที่” ครับ คือถ้าไปเจอที่ตะวันออกของออสเตรเลียนั้นเค้าจะเรียกว่า Albidus แต่ถ้าไปเจอที่อื่นเค้าจะเรียกว่า Destructor ครับ (แล้วฝรั่งน่ะเค้าไม่มองว่าบลูเพิลที่เจ๋งจริงต้องฟ้านะเฮิฟ เค้าบอกว่าของเมพขิงๆ เทพบลิงๆ มันต้องสีขาว!!! เพราะคำว่า “Albidus” นั้นมาจากภาษาละตินแปลว่าสีขาวครับ บร๊ะเจ้า!! งงกันไปทั้งประเทศเลยครับพี่น้อง)

   กุ้งชนิดนี้สามารถอยู่ได้ทั้งใต้น้ำและบริเวณริมธารที่มีน้ำปริ่มๆได้ครับ โดยมันจะว่างไข่ตอนที่น้ำท่วมถึงและ สามารถอยู่อาศัยเมื่อน้ำลดระดับแห้งลงได้ มันจะผสมพันธุ์ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูร้อนในบ้านเค้าครับ โดยลูกกุ้งจะต้องเอาตัวรอดในช่วงวัยเด็กให้ได้ด้วยตนเอง ในสภาพที่ต้องอาศัยน้ำจากน้ำฝนครับ ประชากรกุ้งส่วนมากจะมีอายุแค่1-2ปีครับ เพราะทนความแห้งไม่ไหว แต่ตัวที่รอดจนฝนมาเยือนอีกครั้งก็จะอยู่ในสภาพที่แห้งบ้าง ชื้นบ้าง มีน้ำบ้าง ตามสภาวะอากาศได้อีกหลายปีเลยทีเดียวครับ แต่ก็ไม่ต้องห่วงครับ เค้าบอกว่ากุ้งพันธุ์นี้มีประชากรอีกบานเลยครับ เผลอๆคงจะเยอะกว่าจิงโจ้ด้วยมั้งครับ

   กุ้งชนิดนี้จะทำการเจริญเติบโตด้วยการลอกคราบเหมือนๆกุ้งพันธุ์อื่นๆครับ โดยสามารถเพิ่มน้ำหนักตัวเองได้มากถึง50%ในการลอกคราบแต่ละครั้ง โดยเฉลี่ยนเดสใช้เวลาขยับไซส์จากน้ำหนัก 10g ไป 50g ประมาณ4เดือน หรือผ่านการลอกคราบตั้งแต่แรกเกิดประมาณ20ครั้งครับ ช่วงระหว่างการลอกคราบควรแยกกุ้งไว้ในที่ๆ ไม่มีสัตว์อื่นรบกวนครับ ไม่เช่นนั้นอาจะเกิดการฟิวชั่นกันระหว่างกุ้ง2ตัวขึ้นไป สูญเสีย หรือมีปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาหลังลอกคราบได้

   “ทำยังไงให้ลอกคราบผ่าน” แน่นอนปัญหาหนักอกที่ไม่ต้องเป็น นาตาลี เดวิส ก็หนักได้คือการลอกคราบไม่ค่อยจะผ่านของเดสคือ การสูญเสียจากการลอกคราบไม่ผ่าน ทำความเข้าใจกันก่อนครับว่า กุ้งจะรับสารอาหารไม่ใช่แค่จากการกินเท่านั้น แต่สามารถดูดซับแร่ธาตุจากน้ำที่เค้าอาศัยอยู่ได้ด้วย ดังนั้นนอกจากอาหารการกินที่ต้องดูแลแล้ว สภาพน้ำก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันครับ โดยสามารถให้อาหารเสริมต่างๆ และแร่ธาตุที่ใส่ลงไปในน้ำทั้งหลายในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอันดีของกุ้งได้ครับ ซึ่งยี่ห้อของผลิตภัณฑ์นั้นเราจะไม่พูดถึง เพื่อหลีกเลี่ยงโฆษณาแฝงครับ แต่วิธีการง่ายๆที่จะเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่เครฟิชที่ท่านรักได้คือ การเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอครับ ปกติความถี่จะอยู่ที่3-4วัน ในประมาณน้ำประมาณ20-40% แต่สามารถลดหย่อนไปที่ทุกๆ1สัปดาห์ในปริมาณ50-70%ได้(ผมเปลี่ยน1-2วันต่อครั้ง ในปริมาณ40-70%โดยใส่น้ำประปาล้วนๆลงไป)

   สุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุด มีข้อมูลเรื่องสีของเดสอยู่นิดหน่อยครับ มีใจความว่า เดสที่อยู่ในน้ำสะอาดใส มีโอกาสที่จะเป็นสีออกไปทางฟ้า และถ้าน้ำสีออกเขียว สีของเดสก็จะออกไปทางเขียวครับ ส่วนในน้ำขุ่นเดสจะมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสีน้ำตาลครับ

   ท้ายสุดขออธิบายเพื่อความเข้าใจว่า ฝรั่งจะไม่เรียกแยกเดสหรือบลูเพิลครับ แต่เค้าจะเรียกรวมว่า Yabby แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอให้เข้าใจว่าเดสที่เราเรียกกันคือ Destructor และ บลูเพิลคือ Albidus ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กันตามการแบ่งแยกทางวิทยาศาสตร์ครับ

   สนใจศึกษาเพิ่มเติมรายละเอียดของสายพันธุ์ Cherax Albidus และความแตกต่างระหว่างเดส กับ บลูเพิล แนะนำให้เข้าไปอ่านที่กระทู้ของพี่ณัฐ Yabby house ครับ ได้ความรู้อย่างละเอียดเลยทีเดียวครับ

ขอขอบคุณ

แป้งโกะ ที่ทำให้เราได้น้ำลาย และเลือดกำเดาไหลกันระหว่างอ่าน

http://www.fish.wa.gov.au

http://en.wikipedia.org/wiki/Common_yabby

พี่ณัฐ Yabby house สำหรับข้อมูลของความแตกต่างระหว่างเดสและบลูเพิลในบ้านเราที่ผมแอบไปศึกษามา

และ เฮียช้าง(คนนี้ขาดไม่ได้ครับ)

คุณสามารส่ง sms ems mms e-mail หรือโทรศัพท์มาตำหนิติเตียนได้โดยตรงที่เบอร์ 191 และ 911 เรียนสาย คุณ ชูวิทย์ ศิษย์เจ้าพ่อโคลอนเซ่ ครับ





1 องศา มันคงเย็น ดีชะมัด เพราะใกล้แข็งละ ้hahaha ้hahaha
NuKu CrayFisH ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #10 เมื่อ: 29/08/11, [16:13:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ท่านรัฐมนโท ศาตราจารย์ ร้อยตำรวจเอกนายแพทย์ กิ้ม

ช่างสวดยอด แต่ของผมเดสขาวค้างคืนอ่ะพี่

ขาวไม่จริง เลยไม่โชว์
P.K.Bluemoon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #11 เมื่อ: 29/08/11, [16:28:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กิ้ม.... อัจฉริยะ มากน้อง  [เจ๋ง]   ยอมรับว่าเป็นบทความที่ อ่านสนุก มีการอุปมาอุปมัย ได้ดี พี่ชอบ เด๋ววันมิทติ้งมีตบ เอ้ย  มีติ๊บ  ้hahaha
กิ้ม ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #12 เมื่อ: 29/08/11, [17:08:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆสำหรับการติชมครับ
ชอบอยากแสดงความคิดเห็นโดยตรงติดต่อ เบอร์ด้านล่าง ขอสาย ชูวิทย์เลยครับ
ณัฐ Yabby House ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #13 เมื่อ: 29/08/11, [18:20:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


ขอเสริมสักนิดนะคะ  กุ้งตระกูล  Cherax   สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิระหว่าง  1-35 C

แต่หากอุณหภูมิน้ำต่ำเกินไป   กุ้งจะเข้าสู่ภาวะจำศีล   คือ  ไม่กิน  ไม่โต  ไม่สืบพันธุ์

ส่วนอุณหภูมิเกิน  30 C  กุ้งไม่ตายในทันที  แต่จะไม่ค่อยแข็งแรง   และค่อย ๆ ตายลงอย่างช้า ๆ

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง  24-26 C   กุ้งจะเติบโตได้ดี  แข็งแรงละสวยกว่า

กุ้งที่เลี้ยงในอุณหภูมิสูงเกิน 30 C 

ส่วนเรื่องคำว่า  Albidus  เป็นภาษาละตินแปลว่าสีขาวนั้น  ใช่ค่ะ   และในต่างประเทศกุ้ง Cherax Albidus

ไม่ได้มีแค่สีเดียวคือสีฟ้าเหมือนบ้านเรา   แต่จะมีทั้งสีน้ำตาล   สีเขียว  ฯลฯ  สีสันจะหลากหลายได้

เหมือนกับ  Cherax destructor   เหมือนกันค่ะ  เพียงแต่บ้านเราไม่มีนำเข้ามาเท่านั้น  คาดเดาเอาว่า

เป็นเพราะบ้านเรานิยมกุ้งสีฟ้ากันก็เลยทำให้ไม่มีการนำเข้ากุ้งสีอื่น ๆ ประเภท  wild type  เข้ามาให้เห็น

เพราะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก   [on_018]

ส่วนในออสเตรเลี้ยเค้าไม่ได้มีการแบ่งชั้นวรรณะของกุ้งทั้งหมดเค้าเรียกรวมว่า  Yabby   แต่ที่มีการแบ่ง

แยกกันนั้นเค้าแบ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ค่ะ    กุ้งทุกตัวมีความสวยงามในตัวเค้าเองขึ้นอยู่ที่ความพึงพอใจ

ของคนเลี้ยง    ไม่ได้จำเป็นว่ากุ้งตัวไหนจะเจ๋งกว่าตัวไหน   มันขึ้นอยู่ที่รสนิยมของผู้เลี้ยงเป็นหลัก

ว่าชอบแบบไหน   บางคนชอบขาว สวย  หมวย อึ๋ม   บางคนชอบสีน้ำผึ้ง ตาคม  ผมสีเข้ม   (ตกลงพูดถึง

เรื่องกุ้งหรืออะไร)   [on_026]  ก็แล้วแต่รสนิยมจะเลือกชมกันไปค่ะ    [on_062]


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม   ท่านที่สนใจสามารถอ่านกันได้นะคะ


http://www.bluepearlthailand.com/article/


 [หลั่นล้า]
ณัฐ Yabby House ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #14 เมื่อ: 29/08/11, [18:48:42] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


มีเกมส์มาให้เล่นกันสนุก ๆ ได้ความรู้ค่ะ   ภาพด้านล่างทั้ง 5  ภาพมีทั้ง   Cherax  Albidus   และ

Cherax Destructor   ให้ทายกันเล่น ๆ ค่ะว่าภาพไหนเป็น  Albidus   และภาพไหน  เป็น Destructor

















ลองทายกันเล่น ๆ สนุก ๆ ค่ะ   ลองอ่านข้อมูลในลิ้งค์ด้านล่างนี้ก่อนนะคะ  แล้วค่อยลองแยกดูค่ะ


http://www.bluepearlthailand.com/article/


 [on_055]






Brandon Boyd ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #15 เมื่อ: 29/08/11, [22:00:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สำนวนดีครับ  แถมมีข้อมูลที่ดีด้วย เยี่ยมมากครับ  [กู้ดครับ!] [กู้ดครับ!] [กู้ดครับ!] [กู้ดครับ!] [กู้ดครับ!]
กิ้ม ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #16 เมื่อ: 29/08/11, [23:05:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและติชมครับ

ขอบคุณพี่นัทที่มาให้ความรู้เพิ่มเติมด้วยขอรับ ข้อมูลที่ให้ยังไม่ละเอียดขออภัยด้วยครับ
มือใหม่หัดขับ เ้อย หัดเขียน
bewtiipu ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #17 เมื่อ: 29/08/11, [23:52:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับความรู้จ้า ความรู้ดีๆทั้งนั้น  [เจ๋ง]
แต่พี่อยากถามน้องชายว่า เหนื่อยมั้ย พิมพ์ซะยาวเลย  emb01 emb01
ต้มยำกุ้ง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #18 เมื่อ: 30/08/11, [01:53:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เข้ามาเก็บความรู้ครับผม  [on_066]

ภาพแสดงถิ่นที่อยู่อาศัยของ Crayfish ทั้ง3วงศ์ ในไทยก็มีแว้ววววววว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30/08/11, [13:17:50] โดย ดุ๊กดิ๊กในหมู่ชน & ต๊ะเหมียว แมวเขียว ปลาสลิด »
P.K.Bluemoon ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #19 เมื่อ: 30/08/11, [08:39:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แต้มสีตรงจุดที่บ้านผมอยู่บ้างป่าว ^^  มี กุ้งมาจากหลายถิ่นเลยนะ   Procambarus clarkii / Procambarus alleni /  Cherax destructor  / Cherax quadricarinatus /  Cherax sp. bluemoon 

สาย M ผมก็เลี้ยงนะ  Macrobrachium lanchesteri  ้hahaha

Aquarist Thailand ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #20 เมื่อ: 30/08/11, [09:12:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีเกมส์มาให้เล่นกันสนุก ๆ ได้ความรู้ค่ะ   ภาพด้านล่างทั้ง 5  ภาพมีทั้ง   Cherax  Albidus   และ

Cherax Destructor   ให้ทายกันเล่น ๆ ค่ะว่าภาพไหนเป็น  Albidus   และภาพไหน  เป็น Destructor

















ลองทายกันเล่น ๆ สนุก ๆ ค่ะ   ลองอ่านข้อมูลในลิ้งค์ด้านล่างนี้ก่อนนะคะ  แล้วค่อยลองแยกดูค่ะ


http://www.bluepearlthailand.com/article/


 [on_055]








ขอตอบ ครับ มี cherax destructor แค่ 2 ภาพ
                ที่เหลือ cherax albidus
ณัฐ Yabby House ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #21 เมื่อ: 30/08/11, [10:28:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีเกมส์มาให้เล่นกันสนุก ๆ ได้ความรู้ค่ะ   ภาพด้านล่างทั้ง 5  ภาพมีทั้ง   Cherax  Albidus   และ

Cherax Destructor   ให้ทายกันเล่น ๆ ค่ะว่าภาพไหนเป็น  Albidus   และภาพไหน  เป็น Destructor

















ลองทายกันเล่น ๆ สนุก ๆ ค่ะ   ลองอ่านข้อมูลในลิ้งค์ด้านล่างนี้ก่อนนะคะ  แล้วค่อยลองแยกดูค่ะ


http://www.bluepearlthailand.com/article/


 [on_055]

รอผู้มาตอบค่ะ   [on_055]


chalachinee ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #22 เมื่อ: 30/08/11, [10:48:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เดาเอาว่าน่าจะเป็น A กับ B ที่เป็น Albidus เพราะก้ามเรียวๆ ปลายไม่แหลมสักเท่าไหร่ ที่เหลือดูก้ามบวมๆเดาว่าน่าจะเป็น Destructor ค่ะ .... ถูกมั้ยไม่รู้  036
ณัฐ Yabby House ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #23 เมื่อ: 30/08/11, [11:25:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เดาเอาว่าน่าจะเป็น A กับ B ที่เป็น Albidus เพราะก้ามเรียวๆ ปลายไม่แหลมสักเท่าไหร่ ที่เหลือดูก้ามบวมๆเดาว่าน่าจะเป็น Destructor ค่ะ .... ถูกมั้ยไม่รู้  036

รอหลาย ๆ ท่านมาช่วยกันตอบค่ะ  เดี๋ยวเฉลยทีเดียวเลย   emb01
NanG Cherax Yabby ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #24 เมื่อ: 30/08/11, [13:08:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ทายว่า A, C, D เป็น Albidus
ส่วน B, E เป็น Destructor

 asspain asspain
กิ้ม ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #25 เมื่อ: 30/08/11, [14:37:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตอนที่3 Astacus Astacus สวยอร่อย!!

   สวัสดีครับทุกท่าน ในตอนนี้เราจะไปรู้จักเครฟิชสายพันธุ์ที่น่าสนใจ แต่คนไทยไม่คุ้นหน้าคุ้นตากันบ้างครับ ชื่อของกุ้งพันธุ์นี้คือ Astacus Astacus แค่ชื่อก็น่าสนใจแล้วครับ เหมือนคนตั้งจะย้ำคิดย้ำทำหรือคิดไม่ออกเลยตั้งมันซะอย่างงี้เลย
   มาดูที่ข้อมูลทางวิชาการกันก่อนเช่นเคยครับ

ชื่อสายพันธุ์ : Astacus Astacus(Noble Crayfish, European Crayfish)
วงศ์ : Astacidae
สกุล : Astacus
อุณหภูมิที่เหมาะสม : 16-24 ° C แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตคือ 17-21 ° C(ขอบคุณ คุณ moomin สำหรับข้อมูลครับ)
ขนาด : ตัวผู้ประมาณ16cm ตัวเมียประมาณ12cm




       โนเบิลเคร(ขอเรียกสั้นๆง่ายๆนะครับ)เป็นกุ้งขนาดกลาง ที่มีถิ่นที่อยู่อย่างกว้างขวางในยุโรปครับ และถือว่าเป็นอาหารที่แพร่หลายกันอย่างมากในยุโรปครับ ทั้งใน ฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรีย สวีเดน เดนมาร์ก สวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ บัลแกเรีย โครเอเชีย ลากยาวมาถึงรัสเซียเลยครับ(มีอีกหลายประเทศที่ไม่ได้พูดถึงครับ) สรุปได้ว่าเยอะคอดๆ โดยเจ้าโนเบิลเครฟิชจะอาศัยตามแม่น้ำ น้ำตก และห้วยหนองคลองบึง ที่มีอ็อกซิเจนสูงครับ

   เครฟิชชนิดนี้ จะสามารถมีสีเขียว น้ำเงิน น้ำตาล และสีดำ(พบน้อย)ได้ มีจุดเด่นคือใต้ก้ามจะมีสีแดงเข้มครับ มันมีเปลือกที่หนาแข็งปกป้องร่างกายเช่นเดียวกับกุ้งพันธุ์อื่นๆ ส่วนท้องถูกแบ่งแยกได้เป็น6ส่วน ซึ่งจะช่วยมนการเคลื่อนที่ที่ไหลลื่น กุ้งชนิดนี้มีก้ามขนาดใหญ่1คู่ ต่อด้วยขาสำหรับเดินอีก4คู่(จริงๆน่าจะ3คู่ แต่
คาดว่าคงนับขาที่อยู่บริเวณปากเข้าไปด้วย)และต่อด้วย ขาสำหรับว่าย มีลักษณะเป็นใบพายอีก4คู่ครับ

   เจ้าโนเบิล จะออกหากินตอนกลางคืน โดยของโปรดจะเป็นพวก หนอน แมลงน้ำ รวมไปถึงพันธุ์พืชในน้ำทั้งหลายครับ โดยจะใช้ช่วงเวลากลางวันพักผ่อนในโพรงของเค้าครับ

   ฤดูกาลผสมพันธุ์ของเครฟิชชนิดนี้คือ ช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน โดยตัวเมียจะอุ้มไข่ไว้ใต้ท้องเช่นเดียวกับเครฟิชพันธุ์อื่นๆ

   ปัญหาของกุ้งพันธุ์นี้ก็คือ จำนวนประชากรที่ลดลงอย่างน่าตกใจครับ(40-60% และบางแห่งเช่นในฟินแลนด์ลดลงถึง70-80%เลยทีเดียว)เนื่องจากการล่าเพื่อนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ครับ โดยกุ้งชนิดนี้เมื่อวางไข่ในหน้าหนาวจะเจริญเติบโตไปจนถึงช่วงฤดูล่าคือประมาณเดือนพฤษภาคม ประชากรส่วนใหญ่ทั้งรุ่นเยาว์และขนาดเต็มวัย จะโดนทั้งปลาไหล นาก รวมไปถึงหนูที่เรียกว่า “muskrat” ล่าเป็นอาหาร อีกทั้งยังโดนมนุษย์จับขึ้นมาจากการประมงอีกด้วย ทำให้กุ้งชนิดนี้มีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าใกล้สภาวะ มีโอกาสสูญพันธุ์ได้ครับ

   ถึงแม้กุ้งเครฟิชชนิดนี้จะเคยมีอยู่แพร่หลายทั่วยุโรป แต่ปัจจุบันมันมีราคาสูงมากครับ ทำให้ต้องนำเข้ากุ้งอีกชนิดที่มีชื่อว่า Pacifastacus Leniusculus(ซึ่งจะกล่าวถึงกันในตอนต่อๆไปครับ) มาจากอเมริกาเพื่อบริโภคแทนครับ ยังไม่พอแค่นั้นครับ เคราะห์ซ้ำกระหน่ำซัด กุ้งชนิดนี้ยังถูกธรรมชาติลงโทษด้วยเชื้อราที่เกิดขึ้นในพืชน้ำ ทำให้กุ้งสายพันธุ์นี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าใกล้สภาวะ “ใกล้สูญพันธุ์” เข้าไปทุกทีครับ เห็นอย่างนี้แล้วอดคิดไม่ได้ว่า ธรรมชาติช่วยมาทำร้ายนักการเมืองไทยบ้างเถอะ...สาธุ ไม่วายต้องวกเข้าเรื่องการเมืองอีกจนได้สิเรา วันนี้เวลามีจำกัดต้องขอลาไปก่อนครับ ตอนหน้าเตรียมพบกับกุ้งอีกพันธุ์ที่หลายคนต้องเคยได้ยินชื่อครับ ห้ามพลาดเด้อ ไม่งั้นเค้างอน...นะตัว


   ขอบขอบคุณ
http://www.arkive.org
http://iz.carnegiemnh.org
http://en.wikipedia.org/wiki/Astacus_astacus#Ecology
http://www.iucnredlist.org
พี่หนึ่งและพี่ปู สำหรับแรงจูงใจเรื่องกุ้งชนิดนี้ครับ


   หมายเหตุ คุณสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณ ทักษิณ อิน ดูไบ โดยติดต่อผ่านทางคุณ "ตู่" แล้วเค้าจะโฟนอินติดต่อกลับมาเองครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30/08/11, [15:28:54] โดย G&B »
moomin ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #26 เมื่อ: 30/08/11, [15:04:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เพิ่มให้ครับ  อุณหภูมิที่อยู่ได้ :  16-24 ° C    ช่วงอุณหภูมิ 17-21 ° C  เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต

credit จาก http://iz.carnegiemnh.org
กิ้ม ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #27 เมื่อ: 30/08/11, [15:26:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เพิ่มให้ครับ  อุณหภูมิที่อยู่ได้ :  16-24 ° C    ช่วงอุณหภูมิ 17-21 ° C  เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต

credit จาก http://iz.carnegiemnh.org
ขอบคุณครับ ขออนุญาตเอาไปแปะนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30/08/11, [17:02:17] โดย ดุ๊กดิ๊กในหมู่ชน & ต๊ะเหมียว แมวเขียว ปลาสลิด »
onestop_aquarium ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #28 เมื่อ: 30/08/11, [15:32:13] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอเสริมสักนิดนะคะ  กุ้งตระกูล  Cherax   สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิระหว่าง  1-35 C

แต่หากอุณหภูมิน้ำต่ำเกินไป   กุ้งจะเข้าสู่ภาวะจำศีล   คือ  ไม่กิน  ไม่โต  ไม่สืบพันธุ์

ส่วนอุณหภูมิเกิน  30 C  กุ้งไม่ตายในทันที  แต่จะไม่ค่อยแข็งแรง   และค่อย ๆ ตายลงอย่างช้า ๆ

อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง  24-26 C   กุ้งจะเติบโตได้ดี  แข็งแรงละสวยกว่า

กุ้งที่เลี้ยงในอุณหภูมิสูงเกิน 30 C 

ส่วนเรื่องคำว่า  Albidus  เป็นภาษาละตินแปลว่าสีขาวนั้น  ใช่ค่ะ   และในต่างประเทศกุ้ง Cherax Albidus

ไม่ได้มีแค่สีเดียวคือสีฟ้าเหมือนบ้านเรา   แต่จะมีทั้งสีน้ำตาล   สีเขียว  ฯลฯ  สีสันจะหลากหลายได้

เหมือนกับ  Cherax destructor   เหมือนกันค่ะ  เพียงแต่บ้านเราไม่มีนำเข้ามาเท่านั้น  คาดเดาเอาว่า

เป็นเพราะบ้านเรานิยมกุ้งสีฟ้ากันก็เลยทำให้ไม่มีการนำเข้ากุ้งสีอื่น ๆ ประเภท  wild type  เข้ามาให้เห็น

เพราะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก   [on_018]

ส่วนในออสเตรเลี้ยเค้าไม่ได้มีการแบ่งชั้นวรรณะของกุ้งทั้งหมดเค้าเรียกรวมว่า  Yabby   แต่ที่มีการแบ่ง

แยกกันนั้นเค้าแบ่งตามหลักวิทยาศาสตร์ค่ะ    กุ้งทุกตัวมีความสวยงามในตัวเค้าเองขึ้นอยู่ที่ความพึงพอใจ

ของคนเลี้ยง    ไม่ได้จำเป็นว่ากุ้งตัวไหนจะเจ๋งกว่าตัวไหน   มันขึ้นอยู่ที่รสนิยมของผู้เลี้ยงเป็นหลัก

ว่าชอบแบบไหน   บางคนชอบขาว สวย  หมวย อึ๋ม   บางคนชอบสีน้ำผึ้ง ตาคม  ผมสีเข้ม   (ตกลงพูดถึง

เรื่องกุ้งหรืออะไร)   [on_026]  ก็แล้วแต่รสนิยมจะเลือกชมกันไปค่ะ    [on_062]


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม   ท่านที่สนใจสามารถอ่านกันได้นะคะ


http://www.bluepearlthailand.com/article/


 [หลั่นล้า]
บทความดีจังค่ะ
koko66 ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #29 เมื่อ: 30/08/11, [18:47:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

+1 แหล่มๆ  [เจ๋ง]
หน้า: 1 2   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: