Aqua.c1ub.net

Shrimp Club => กุ้งเครฟิช => ข้อความที่เริ่มโดย: fujinken ที่ 02/03/09, [23:55:10]



หัวข้อ: มารู้เรื่องของกุ้งกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: fujinken ที่ 02/03/09, [23:55:10]
กุ้งจัดให้อยู่ในประเภท คลาส มาลาคอสตราคา (Class Malacostraca) คลาสนี้จัดเป็นคลาสที่ใหญ่ที่สุดในซับไฟลัม สมาชิกที่สำคัญได้แก่ กุ้ง (shrimp) กุ้งใหญ่ (lobster) กุ้งน้ำจืด (crayfish) และปู (crab) จัดอยู่ในออเดอร์เดคพอดา (decapoda) ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่มีขา 5 คู่ รวมทั้งขาคู่แรกที่เปลี่ยนเป็นก้ามหนีบขนาดใหญ่
(https://upic.me/i/ex/slide0123_image142.jpg) (https://upic.me/show.php?id=d9f383f6fe952eaba54f8dd0f373025c)
โครงสร้างของลำตัว ร่างกายของกุ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีส่วนหัวรวมกับส่วนอกเรียกเซฟาโลทอแรกซ์ (cephalothorax) มีจำนวนปล้อง 13 ปล้อง และส่วนท้องมีจำนวนปล้อง 6 ปล้อง ระยางค์ของลำตัวประกอบด้วย
                                 - ระยางค์ส่วนหัว มี 5 คู่ คือ หนวด 2 คู่ (antenna & antennule) ขากรรไกรล่าง (mandible) 1 คู่ มีลักษณะเป็นฟันบดแข็ง ขากรรไกรบน (maxilla) 2 คู่ ทำหน้าที่ช่วยจับอาหารเข้าปาก
                                 - ระยางค์ส่วนอกมี 8 คู่ คือ ระยางค์ที่ใช้ในการกิน (maxilliped) ขนาดเล็ก 3 คู่ ขาเดิน 5 คู่ ขาเดินคู่แรกเปลี่ยนเป็นก้ามหนีบ (cheliped) ใช้จับเหยื่อ
                                 - ระยางค์ส่วนท้อง มี 6 คู่ คือ ขาว่ายน้ำ (pleopod หรือ swimmeret) 5 คู่ ใช้ว่ายน้ำ คู่สุดท้ายเป็นแพนหาง (uropod)
การลอกคราบ (Ecdysis) ครัสตาเซียนเป็นสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก ดังนั้นจึงมีการเจริญโดยการลอกคราบ ในระยะตัวอ่อนจะมีการลอกคราบได้หลายครั้ง และจะน้อยลงในช่วงที่เป็นตัวเต็มวัย

ระบบกล้ามเนื้อ  ผิวลำตัวชั้นนอกมีอีพิเดอร์มิส หุ้มด้วยชั้นของคิวติเคิล ใต้ชั้นอีพิเดอร์มิสเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน และมีกล้ามเนื้อตามยาว ช่วยในการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย 1. กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ (flexor muscle) มีอยู่ 2 คู่ เป็นมัดกล้ามเนื้อที่เรารับประทานช่วยในการดีดตัวของกุ้ง 2. กล้ามเนื้อเอคเทนเซอร์ (extensor muscle) มีอยู่ 2 คู่ เป็นมัดกล้ามเนื้อช่วยให้กุ้งเหยียดตัว

ระบบย่อยอาหาร มีระยางค์หลายคู่ช่วยในการจับเหยื่อให้เข้าสู่ปาก ผ่านคอหอยสั้น ๆ เข้าไปยังกระเพาะอาหารส่วนแรก (cardiac stomach) และกระเพาะอาหารส่วนหลัง (pyloric stomach) บริเวณด้านข้างมีรูเปิดของท่อน้ำย่อยจากตับ (digestive gland) เข้ามาช่วยย่อยและมีการดูดซึมในบริเวณนี้ด้วย จากนั้นกากอาหารจะถูกส่งออกตามลำไส้ไปยังทวารที่อยู่ส่วนท้ายของร่างกาย

ระบบหมุนเวียนโลหิตและระบบแลกเปลี่ยนก๊าซ หัวใจอยู่บริเวณด้านเหนือกระเพาะอาหารและอวัยวะสืบพันธุ์ อยู่ในช่องรอบหัวใจ (pericardial cavity) มีช่องเล็ก ๆ ให้เลือดในช่องนี้ไหลเข้าไปในหัวใจได้ เส้นเลือดที่สำคัญมีหลายเส้น และส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ที่สำคัญได้แก่

เส้นเลือด                                      จำนวน                                  หน้าที่การทำงาน

opthalmic artery                           1 เส้น                                   ออกจากหัวใจด้านหน้าไปเลี้ยงส่วนหัวและกระเพาะอาหาร
antennary aratery                         1 คู่                                     เป็นเส้นเลือดที่แยกแขนงออกจาก opthalmic aratery ไปเลี้ยงหนวด
gastric artery                               1 คู่                                      เป็นเส้นเลือดที่แยกแขนงออกจาก opthalmic aratery ไปเลี้ยงกระเพาะ 
hepatic artery                              1 คู่                                      ออกจากหัวใจทางด้านล่างไปเลี้ยงตับ (digestive gland)
dorsal abdominal artery                  1 เส้น                                   ออกจากหัวใจส่วนท้ายด้านล่าง แล้ววกขึ้นบนไปยังหาง 
stemal artery                               1 เส้น                                   แยกจากดอซัลแอบโดมินับ อาทอรี ลงสู่ด้านล่าง 
ventral artery                               1 เส้น                                  อยู่ทางด้านล่าง แล่นไปส่วนหัวเรียก ventral thoracic artery และแล่นไปส่วนท้อง
                                                                                           เรียก  ventral abdominal aratery 

เลือดของกุ้งมีสีฟ้าอ่อน เพราะมีองค์ประกอบของฮีโมไซยานิน เมื่อเลือดไหลออกจากหัวใจไปยังเส้นเลือดต่าง ๆ แล้วไหลเข้ามารวมกันที่แอ่งพักเลือดด้านท้อง เลือดจะไหลเข้าสู่เส้นเลือดที่นำไปฟอกยังเหงือก ซึ่งมีอยู่ 8 คู่ ทางด้านข้างของส่วนอก โดยมีแผ่นเปลือกปิดไว้ แต่ละอันมีใยเหงือกเล็ก ๆ เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเกิดการฟอกเลือดแล้ว เลือดจะไหลออกเพื่อไหลเข้าสู่ช่องรอบหัวใจแล้วเข้าหัวใจทางรูออสเตีย (ostia)


ระบบขับถ่ายของเสีย  อวัยวะที่ใช้ในการขับถ่าย คือ ต่อมที่อยู่บริเวณโคนหนวดเรียกต่อมเขียว (green gland หรือ antennary gland) อยู่ภายในช่องที่มีของเหลวที่เป็นของเสียมารวมอยู่โดยการซึมแพร่เข้าไปในต่อมเขียว ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงและส่งไปพักที่บริเวณกระเพาะพัก (bladder)เปิดออกนอกร่างกายที่โคนหนวดคู่ที่ 2


ระบบประสาท ประกอบด้วยสมอง เป็นปมประสาทขนาดใหญ่อยู่บริเวณส่วนหัว มีแขนงแยกไปเลี้ยงตา (optic nerve) และไปเลี้ยงหนวด (antennary nerve) จากปมประสาท สมองมีเส้นประสาทล้อมรอบหลอดอาหาร ลงมายังปมประสาทด้านล่าง รวมกันเป็นปมประสาททรวงอก (thoracic ganglion) ซึ่งมีปมประสาท 7 ปม จากนั้นจะทอดยาวเป็นปมประสาทส่วนท้อง (ventral nerve cord) และมีปมประสาทแยกออกไปยังกล้ามเนื้อและระยางค์ต่าง ๆ

(https://upic.me/i/zb/slide0130_image149.jpg) (https://upic.me/show.php?id=58c1e11daafeff8baec7a6e6fe4039be)

ระบบสืบพันธุ์  เป็นสัตว์แยกเพศ เพศผู้ประกอบด้วย เทสทิส เพศเมียมีรังไข่อยู่บริเวณด้านหลังของส่วนอก ท่อนำสเปิร์มจะมีรูเปิดออกที่ฐานของขาคู่ที่ 5 ท่อนำไข่จะเปิดออกที่ฐานของคู่ที่ 3 และมีถุงรับสเปิร์มอยู่ระหว่างขาคู่ที่ 4 และขาคู่ที่ 5 ไข่ที่ผสมแล้วจะถูกอุ้มไว้โดยระยางค์ของส่วนท้องจนกลายเป็นตัวอ่อน (nauplius) ซึ่งจะลอกคราบหลายครั้งจนได้ตัวเต็มวัย


(https://upic.me/i/64/slide0137_image161.jpg) (https://upic.me/show.php?id=0d67656d1ca262cffa161ab1ab58a024)




หัวข้อ: Re: มารู้เรื่องของกุ้งกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Torkung ที่ 18/03/09, [13:10:14]
เก็บความรู้เข้าสมอง  idea1


หัวข้อ: Re: มารู้เรื่องของกุ้งกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Post-19 ที่ 18/03/09, [13:11:30]
อยาก+ให้จังเลย

แต่ทำไม่ได้


หัวข้อ: Re: มารู้เรื่องของกุ้งกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: lonelinessz ที่ 17/07/12, [09:37:28]
เจ๋งดีครับ  [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: มารู้เรื่องของกุ้งกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Sixtyfive ที่ 17/07/12, [16:49:43]
+ให้ครับ  [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง]


หัวข้อ: Re: มารู้เรื่องของกุ้งกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: belta400 ที่ 04/05/16, [14:58:00]
แหล่มๆ


หัวข้อ: Re: มารู้เรื่องของกุ้งกันเถอะ
เริ่มหัวข้อโดย: Nawarin ที่ 05/05/16, [00:00:48]
ขอบคุณครับ